ความเป็นมาของ 5ส และบทความ

ที่มาของ 5ส
     5ส เกิดขึ้นครั้งวแรกที่ประเทศสหรัฐอมริการียกว่า กิจกรรมการทำความสะอาดบ้าน ( House Keeping ) เพราะควารมเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะอาดของสถานที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสถานที่ทำงานเปรียบเเสมือนบ้านหลังหนึ่ง จึงควรยึดถือและปฏิบัติอย่างเป็นระบบและเคร่งครัด เฮนรี่ ฟอร์ด ( Henry Ford )  เป็นบุคคลที่กล่าวถึงวิธีกการลดความสูญเปล่าในสถานที่ทำงานมาตั้งแต่ ก่อน ค.ศ.1920 โดยอาศัยหลักการ CANDO ซึ่งย้่อมาจากการขจัดออก  ( Cleaning up ) การจัดเตรียม ( Arranging )  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ( Neatness ) วินัย ( Discipline )  และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ( Ongoing Improvement . 2016 )  

     ประเทศญี่ปุ่นมีการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทำงานเป็นกิจวัตรโดยถือว่าเป็นเรื่องของสามัญสำนึก ในช่วงแรกไม่ได้มีวิธีการที่เป็นระบบ (กฤชชัย อนรรฆมณี,เชษฐพงศ์ สินธารา และสุทธิ สินทอง ,2551 )  แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีผู้เชี่ยวชาญอเมริกัน เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ เพื่อปรับปรุงภาคอุตสาหกรรม บริษัทญุี่ปุ่นจึงได้รับองค์ความรู้ที่เป็นคุณูปการหลายเรื่อง อาทิ การบำรุงรักษาเชิงป้อง แนวคิดการจัดการคุณภาพ วงจร PDCA   การใช้สถิติเพื่อการควบคุม และกิจกรรมทำความสะอาดบ้าง เพื่อจัดสถานที่ทำงานให้มีคงวามเป็นระเบียบและมีความสะอดาด เพื่อช่วยตรวจสอบสิ่งผิดปกติ ยกระดับคุณภาพ ประสิทธิภาพดและผลิตภาพในการผลิต

     ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แนวคิด 5ส ได้จัดระบบขึ้นในประเทศญี่ปุ่น และใช้เป็นกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นเลิศทางธุรกิจของบริษัทญีุ่ปุ่น  ( De Mente,1994 ) แต่ 5สของญี่ปุ่นไม่ใช่เป็นแค่กิจกรรมทำความสะอาดบ้าน แต่เป็นทั้งปรัชญาและวิธีการทำงาน ต่อมาได้บูรณาการ 5ส กับปรัชญา ไคเซ็น ( Kaizen,การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง )  และประยุกต์ใช้ที่ โตโยต้ามอเตอร์คอร์เปเรชั้น ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตแบบโตโยต้า  ดังนั้น 5ส จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งของระบบลีน เนื่องจากช่วยลดความสูญเปล่าและสร้างคุณค่าให้แก่กระบวนการทำงาน ( Rarmdass,2015 )

     มีการหนังสือ 5ส เพื่อการปรับปรุงงานและยกระดับคุณภาพขึ้นหลายเล่ม ผู้เขียนที่มีอิทธิพลอย่างต่อแนวคิด 5ส มีดังนี้

          1. Osada ,1991  ซึ่งมีความคิดเห็นว่า 5ส เป็นปรัชญา หรือเป็นวิธการปรับปรุงรูปแบบการดำเนินชีวิต และเน้นความสำคัญของการสร้างวินัยว่า มีความสำคัญมากที่สุด 

          2.  Hirano ,1996 ซึ่งมุมมองว่า  5ส เป็นเทคนิคหรือเครื่องมือ ในการทำงาน จึงเน้นความสำคัญของสะสางและสะดวก

     5ส ในประเทศญี่ปุ่นเป็นปรัชญาและวิถึการดำเนินชีวิตทั้งที่่บ้านและสถานที่ทำงาน ในขณะที่แนวคิดแบบตะวันตก  5ส เป็นเทคนิคหรือเครื่องมือในการบริหารรงาน ( Kobayashi, Fisher,and Gapp,2008)

      เมื่อชาวญี่ปุ่น มาตั้้งบริษัทและโรงงนอุตสาหกรรมเป็นประเทศต่างๆ เป็นผลให้แนวคิด 5ส ได้ขยายไปยังประเทศนั้น ๆ ด้วย ต่อมาได้แผยเข้าประเทศไทย ในปี 2522 บริษัท เอ็นเอซเค สปริง (ประเทศไทย) จำกัด  เป็นบริษัทญี่่ปุ่นแห่งแรกที่ได้นำ 5ส มาใช้ (ตฤตณัย นพคุณ และศิริชัย อระเอี่ยม,2542 ) และในปี 2526  บริษัทปูนซืเมนต์ไทย จำกัด  (มหาชน) เป็นบริษัท ของคนไทยแห่งแรกที่ใช้ 5ส และกำหนดคำภาษาไทยว่า สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย

      ในปี 2527  สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี่ (ไทย ญี่ปุ่น)  ได้เผยแพร่แนวคิด 5ส และกำหนดใช้คำว่า  สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน สร้างวินัย

      ปัจจุบัน 5ส เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย มีการรณรงค์ส่งเสริมให้หน่วยงาน ภาคธุรกิจ เอกชน รัฐวิสาหกิจ และราชการ ไดนำมาใช้ในการพัฒนาบุคคลากร และใช้เป็นพื้นฐานเพื่มประสิทธิภาพ คุณภาพ และผลิตภาพ รวมไปถึงการจัดประกวดรางวัล 5ส ในประเทศไทย ตั้งแต่ ปี 2545 เป็นต้นมา

 

    5ส  เป็นแนวคิดการจัดระเบียบความเรียบร้อยในสถานที่ทำงาน เพื่อให้เกิดสภาพการทำงานที่ดี ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงผลิตภาพ แม้นิยมเรียกันว่า  กิจกรรม 5ส

    แต่แท้จริงแล้ว 5ส ไม่ใช่กิจกรรม เนื่องจากกิจกรรมหมายถึงสิ่งที่ทำแล้วมีวันสิ้นสุด  มีวันจบ หรือมีวันเลิก แต่ 5ส ต้องทำอย่างต่อเนื่อง จะเลิกทำต่อเมื่อปิดกิจการเท่านั้น  ดังนั้น  จึงไม่ควรกล่าวว่า  " ทำกิจกรรม 5ส" 

   หลายคนมีคำถามว่า 5ส คืออะไร ในเบื้องต้น อาจกล่าวได้ว่า

      5ส  คื่อ เครื่องมือที่นำมาช่วยให้พนักงานทำงานได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ถูกต้องขึ้น มีประโยชน์ และช่วยลดอุบัติเหตุ

      5ส คือ เครื่องมือที่ช่วยสร้างกำไร

      5ส คือ เครื่องที่ช่วนในการทำงานและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

      5ส คือ เครื่องเมือที่เป็นพื้นฐานของทุกกิจกรรม ช่วยลดเวลาในการทำงาน เพื่อให้การทำงานรวดเร็วขึ้น สะดวกขึ้น ชวงปรับปรุงการทำงาน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

                ..........................................................................................................................................

มาดูอีกตำราหนึ่งของสถานบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติครับ

 ความเป็นมาของ 5ส

        ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความสะอาดของสถานที่ทำงานถือเป็น สิ่งจำเป็นประเทศในแถบตะวันตกรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย และทำความสะอาดสถานที่ทำงานกันอย่างเป็นระบบและเคร่งครัด

      ในประเทศญี่ปุ่นมีการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทำงานกัน เป็นกิจวัตร และถือเป็นเรื่องของสามัญสำนึก (Common sense) ซึ่งไม่ได้มีวิธีการ ที่เป็นระบบแต่อย่างใด ในตอนเริ่มแรกมักปฏิบัติในกลุ่มงานอุตสาหกรรม เพื่อ มุ่งเน้นให้เกิดความปลอดภัยในการทีทำงาน และมุ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม และ การจัดระเบียบเรียบร้อยและความสะอาดในสถานที่ทำงานเพื่อยกระดับคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการเพิ่มผลผลิต

        ในปี ค.ศ. 1985 การจัดระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทำงานแบบญี่ปุ่นได้ถูก จัดระบบเรียกว่า 5S มีการจัดพิมพ์หนังสือ 5S เล่มแรกขึ้นเมื่อต้นปี ค.ศ. 1986 และ เป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่งโดยไม่เคยมีใครคิดมาก่อนว่าหนังสือเล่มนี้จะติด อันดับเป็นที่นิยมได้ หลังจากนั้นได้มีการเขียนหนังสือเรื่อง 5S เพื่อการปรับปรุงงาน และยกระดับคุณภาพ ประสิทธิภาพในโรงงานอีกหลายเล่มโดยสำนักพิมพ์ของ ประเทศทางตะวันตก

      สำหรับประเทศไทย บริษัทแรกที่ดำเนินกิจกรรม 5S (โดยเริ่มใช้ 3S แรก) คือ บริษัท เอ็นเอชเค สปริง (ประเทศไทย) จํากัด ต่อมาบริษัทญี่ปุ่นหลายบริษัทก็นำ กิจกรรม 5S มาปฏิบัติจากนั้น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน) เป็นบริษัท ไทยแห่งแรกที่น่า 5S มาใช้ และได้กาหนดคำภาษาไทยว่า 5ส (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย) ซึ่งใช้กันมาจนทุกวันนี้ แต่ก็มีบางบริษัทที่ ดดำเนินกิจกรรม 5ส แต่ไม่เรียก 5ส เช่น บริษัท บริดจสโตน จํากัด เรียก 4ก คือ กำจัด กำหนด เก็บกวาด และกฎเกณฑ์

     สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติในฐานะเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ส่งเสริมการเพิ่ม ผลผลิต ได้รณรงค์ส่งเสริมให้หน่วยงานทั้งภาคธุรกิจเอกชน รัฐวิสาหกิจ และราชการ นำกิจกรรม 5ส มาใช้ในการพัฒนาบุคลากรและพื้นฐานการเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพและการเพิ่มผลผลิต ตั้งแต่เมื่อยังเป็นหน่วยราชการชื่อว่า ศูนย์เพิ่มผลผลิต แห่งประเทศไทย ในยุคแรกเริ่มของการดำเนินกิจกรรม 5ส ในประเทศไทย ศูนย์ เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย ได้รับความช่วยเหลือด้านวิชาการจากศูนย์เพิ่ม ผลผลิตแห่งประเทศญี่ปุ่น และได้รับความสนับสนุนร่วมมือในการเผยแพร่กิจกรรม 5ส จาก บริษัท เอ็นเอชเค สปริง (ประเทศไทย) จํากัด บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน) การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งได้ ดำเนินกิจกรรม 5ส จนเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลอย่างชัดเจนและได้ร่วมกัน เผยแพร่กิจกรรมสู่สาธารณชน

       ปัจจุบัน 5ส เป็นที่แพร่หลายในหลายประเทศทั้งประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้นมีสิ่งพิมพ์วิชาการมากมายเกี่ยวกับกิจกรรม 5ส ทั้ง ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น ไทย จีน และเผยแพร่ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา ซึ่งให้การ ยอมรับและถือว่ากิจกรรม 5ส เป็นพื้นฐานสำคัญในการบริหารการเพิ่มผลผลิต ในองค์กร

        ส่วนประเทศไทยของเรามีหลายหน่วยงานทั้งภาคเอกชนรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงาน ราชการประสบความสำเร็จในการนำกิจกรรม 5ส มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ และพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานตลอดจนเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

        กิจกรรม 5ส คือ พื้นฐานที่สำคัญของแนวคิดการเพิ่มผลผลิต ซึ่งทุกคน มารถปฏิบัติได้ทุกสถานที่ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน และได้แพร่หลายไปยังหน่วยงาน ต่าง ๆ อย่างรวดเร็วทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน โรงพยาบาล รวมถึง หน่วยงานราชการ

 นิยามและความหมายที่แท้จริงของ 5ส

       5ส เป็นแนวคิดการจัดระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทำงาน เพื่อให้เกิดสภาพ การทํทำงานที่ดี ซึ่งจะนําไปสู่การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต

เหตุพลที่กิจกรรม 5ส ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

       • เป็นเทคนิคในการปรับปรุงง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก

          5ส เป็นเทคนิคที่ทุกคนสามารถเข้าใจแนวทางในการปฏิบัติได้ง่าย อุปกรณ์ที่ใช้มีเพียงเครื่องมือทำความสะอาด ซึ่งใช้งบประมาณต่ำ

      • ผู้ทำ 5ส ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม

     กิจกรรม 5ส เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติเป็นกลุ่มพื้นที่ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนเรื่อง การทำงานเป็นทีม สมาชิกในพื้นที่ได้ร่วมกันวางแผนและลงมือปรับปรุง พื้นที่ปฏิบัติงานของตน และกลุ่มกิจกรรม 5ส ยังช่วยเสริมสร้างทักษะ การเป็นผู้นำให้แก่หัวหน้าพื้นที่อีกด้วย

      • เห็นพลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม

        พื้นที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีการจัดเก็บสิ่งของเป็นระเบียบมากขึ้น ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาของ หรือเอกสาร การปรับปรุงที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่มองเห็นได้และเป็นรูปธรรม

 นิยามและความมายที่แท้จริงของ 5ส

      • ส่งเสริมการสร้างนิสัย และการมีวินัยในหน่วยงาน

         การปฏิบัติกิจกรรม 5ส อย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตร ประจำวันจะเสริมสร้างลักษณะนิสัยและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้ปฏิบัติ กิจกรรม สิ่งของในที่ทำงานมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น • เป็นพื้นฐานของกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตอื่น ๆ

          กิจกรรม 5ส เป็นกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตที่เข้าใจง่ายที่สุดสามารถนำไป ปฏิบัติได้ง่าย และยังเป็นพื้นฐานของกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตอื่น ๆ เช่น  ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2000 - ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000      การบริหารความปลอดภัยในการทำงาน (Safety management) กิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance : TPM) - การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual control) - การผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just in-time) เป็นต้น

 5ส

 The Abacus 5 Series

 The Absolute 5s Serie

 ทีมาข้อมูล สถานบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

อาจารย์สุทธิ สินทอง อ.เชษฐพงศ์ สินธารา และอ.กฤชชัย อนรรมมณี

 

 

Visitors: 592,386