แบบสปร.5

สวัสดีครับ

รบกวนสอบถามแอดมินหรือผู้รู้ค่ะ กรณีเกิดอุบัติเหตุคัตเตอร์บาดมือพนักงาน มีการเย็บบาดแผล ไม่หยุดงาน สามารถกลับมาทำงานได้ ต้องแจ้งแบบสปร.5 หรือไม่ค่ะ
ถ้าเป็นเคสหนัก เช่น อวัยวะขาดหัก เสียชีวิต หรือหยุดงานตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ต้องแจ้ง สปร.5 ภายใน 7 วัน ตั้งแต่วันเกิดเหตุ
แต่ถ้านิดหน่อย ไม่ต้องแจ้ง สปร.5 ให้ทำรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ หาแนวทาง ป้องกันการเกิดซ้ำ
อันนี้อ้างอิงตามกฏหมายนะคะ กรณีที่ส่งสปร.5 มี 3 กรณี
1.เสียชีวิต
2.ไฟไหม้ สารเคมีหกรั่วไหล หรือเกิดเหตุการณ์ร้ายเเรง
3.เกิดอุบัติเหตุ เเละใช้กองทุนเงินทดเเทน ไม่ว่าจะหยุดงาน หรือไม่หยุดงาน ต้องส่งสปร.5 คะ
อันนี้อ้างอิงตามกฏหมายนะคะ กรณีที่ส่งสปร.5 มี 3 กรณี
1.เสียชีวิต
2.ไฟไหม้ สารเคมีหกรั่วไหล หรือเกิดเหตุการณ์ร้ายเเรง
3.เกิดอุบัติเหตุ เเละใช้กองทุนเงินทดเเทน ไม่ว่าจะหยุดงาน หรือไม่หยุดงาน ต้องส่งสปร.5 คะ


เพราะตอนนี้จป.ส่วนใหญ่เข้าใจผิดกันมาก ว่าถ้าหยุดงานเกิน 3 วันถึงส่ง เเต่ในกฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องหยุดงานถึง 3 วัน เขาเเค่ระบุว่า หากมีการใช้กองทุน ต้องส่งสปร.5 ภายใน 7 วันคะ


เห็นด้วยครับ ใช้ กท.ส่งทุกเครส
แต่โดยนัย แล้ว ถึงแม้องค์กรจะมีประกันใดๆ ก็ตาม มันก็มีค่าใช้จ่ายอยู่ดี ถึงไม่ใช้สิทธิ กท.16 แต่อุบัตเหตุเกิด และมีข้อบกพร่องที่ต้องหา Root course

ระบบรายงานก็คือระบบรายงาน แต่ระบบการติดตาม Root Course กับทำ Preventive Action สำคัญยิ่งกว่า เพราะเขาคือทรัพยากรของบริษัทฯ ที่มีความรู้ ทักษะ หรือแม้แต่ความชำนาญ
เอาจริงๆ เคสส่วนมาก ที่เจอมา เคสหนักก็ใช้ กท.ทั้งนั้น ถ้าเป็นเล็กน้อยๆ ก็ ประกันสังคมไป
ความเห็นส่วนตัว
ถ้าตีความตามกฎหมาย
ถ้ากรณีที่แจ้ง แบบ สปร.5 คือ กรณีที่เข้า พรบ.ความปลอดภัย 2554 มาตรา 34(1) และ (2) คือ
(1) ลูกจ้างเสียชีวิต
(2) กรณีที่สถานประกอบกิจการได้รับความเสียหายหรือต้องหยุดการผลิต หรือมีบุคคล
ในสถานประกอบกิจการประสบอันตรายหรือได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจากเพลิงไหม้ การระเบิด
สารเคมีรั่วไหล หรืออุบัติภัยร้ายแรงอื่น นะคะ

แต่ถ้าเป็นการ ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยอื่นๆที่นอกเหนือ (1) (2) ไม่ว่าหยุดงานหรือไม่หยุดงาน ตาม (3)
ให้แจ้ง สนง.ประกันสังคม (กท.16/กท.44) และส่งสำเนาแจ้งสวัสดิการฯ ค่ะ
หรับไฟล์เอกสารแนบใน google form เมื่อกดส่งแล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้ครับ ดังนั้นให้บริษัทแจ้งทางอีเมล safetynetwork@labour.mail.go.th โดยใส่รายละเอียด ดังนี้
- ชื่อสถานประกอบกิจการ
- ระดับที่สมัคร (ประเทศ/จังหวัด)
- จังหวัดที่ตั้งของสถานประกอบกิจการ
- รายละเอียดเอกสารที่ต้องการให้แก้ไข (พร้อมแนบไฟล์)
- เบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อกลับ (กรณีที่ต้องมีการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม)

เมื่อได้รับข้อมูลแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการแก้ไขไฟล์เอกสารแนบดังกล่าวให้ครับ
สปก.ต้องดำเนินการตามนี้ คือส่ง สปร.5 กรณี มาตรา 34(1)และ(2) สำหรับ มาตรา 34(3) ให้ส่งสำเนาที่แจ้งประกันสังคมให้สสค.หรือ สรพ.คะ

 

Visitors: 569,050