การชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง โดย JSA

หลักสูตรการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง โดย JSA

หลักการและเหตุผล

         การประเมินความเสี่ยงตามหลักสูตรนี้ เป็นการประเมินสภาวะความเสี่ยงในการทำงานตามหลักการด้านความปลอดภัย   อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งมีความแตกต่างจากการประเมินความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจซึ่งเน้นไปที่ความไม่แน่นอนของตัวแปรทางธุรกิจและการแข่งขัน ส่วนการประเมินความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย จะเน้นไปที่โอกาสเกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน และโอกาสที่จะเกิดความเสียหายแก่สายการปฏิบัติงานหรือโอกาสเกิดอันตรายภายในองค์กร ความเสี่ยงเป็นเรื่องของโอกาสซึ่งอาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ แต่การไม่รับรู้ถึงความเสี่ยงหรือภัยที่ซ่อนอยู่นับเป็นความเสี่ยงที่ร้ายแรงที่สุด จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีสายการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง สารเคมี เครื่องจักร ไฟฟ้า การผลิต การประกอบ การบรรจุ การขนส่ง จะต้องมีการประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการที่ถูกต้อง

         อีกทั้งวิธีการชี้บ่งเพื่อประเมินอันตรายต่อสุขภาพนั้น ระบุว่า วิธีการอื่นใดที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือวิธีการอื่นที่หน่วยงานราชการยอมรับหรือวิธีการอื่นใดที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายให้ความเห็นชอบ ซึ่ง การชี้บ่งอันตราย แบบ JSA เป็นการที่นิยมใช้ ทุกคนเข้าใจ สามารถนำไปใช้ในการทำประเมินความเสี่ยงได้ง่ายและสะดวกที่สุด ทำตามแบบฟอร์มที่ราชการกำหนดคือ แบบ ปอ.1 หรือปอ.2) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา 22 พ.ย.2567 มีผลบังคับใช้ 21 พ.ค.2568 นี้ โดยมีการประเมินความเสี่ยง ศึกษาผลกระทบและจัดทำแผน   ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 180 วัน นับตั้งแต่ บังคับใช้ (ให้แล้วเสร็จ16 พ.ย.2568)

วัตถุประสงค์

              1. เพื่อให้ทราบถึงหลักการของการบ่งชี้อันตรายและการประเมินความเสี่ยง

              2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์อันตรายและจุดเสี่ยงในแต่ละขั้นตอนของงานได้

              3. เพื่อให้สามารถหาแนวทางหรือมาตรการป้องกันอันตรายของงานได้ 

              4. เพื่อจัดทำเป็นคู่มือในการปฏิบัติงานติดหน้างานและประเมินความเสี่ยงในงานที่ทำได้

หัวข้อการบรรยาย

  1. ความหมายศัพท์ที่ควรรู้ ความเสี่ยงอันตราย Near Miss อุบัติเหตุ และอุบัติการณ์
  2. การชี้บ่งอันตราย  เช่น Checklist ,What if, HAAOP ,FMEA,ETA,FTA
  3. การประเมินความเสี่ยง แบบ  JSA การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย                                                                              

              ●   เลือกงาน (Select) ที่จะทำการวิเคราะห์

              ●   แตกงาน (Step) ที่จะวิเคราะห์เป็นลำดับขั้นตอน

              ●   ค้นหาอันตราย (Identify) ที่แฝงอยู่ในแต่ละขั้นตอน

              ●   พัฒนา (Develop)  เพื่อหามาตรการในการแก้ไขปัญหา

             Workshop :  แบ่งกลุ่ม ระดมสมอง ทำ JSA แต่ละแผนก พร้อมนำเสนอหน้าห้อง

  1. การทำ SWI จาก JSA (คู่มือความปลอดภัยหรือมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย ประกอบด้วย ก่อนปฏิบัติงาน ,ขณะปฏิบัติงาน และหลังปฏิบัติงาน
  2. การชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงจากที่ทำงานแบบ JSA

            5.1  การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงและโอกาส

                  ●   ระดับโอกาสเกินอันตราย

                  ●  ระดับความรุนแรงของอันตราย

                  ●   ระดับความเสี่ยง

           5.2  รายงานการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน

  1. การดำเนินการหลังจากการประเมินความเสี่ยงจากอันตราย

                 ●    การจำกัดแหล่งอันตรายและลดความเสี่ยง

                 ●  การติดตามและเมินผลการปฏิบัติตามแผนงาน

                 ● ทะเบียนสรุปการจัดการความเสี่ยงที่ต้องควบคุม

                 ●  แผนดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยง

                 ●  แผนปฏิบัติเพื่อควบคุมและลดความเสียง

  1. การฝึกปฏิบัติการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง

รูปแบบการอบรม :  บรรยาย 60  % Workshop 40  %

ผู้เข้าอบรม   : หัวหน้างาน ผจก ฝ่าย และเจ้าหน้าที่พนักงานที่เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาอบรม  :  1 วัน ( 09.00 น - 16.00 น. )

วิทยากร   :  อ. วินัย  ดวงใจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ วิธีปฏิบัติงานอย่างมีขั้นตอนและถูกต้อง
  2. มีคู่มือความปลอดภัยในการปฏิบัติงานติดหน้าพื้นที่ปฏิบัติงาน
  3. มีการประเมินความเสี่ยงส่งหน่วยงานราชการ ปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎหมายและลดความเสี่ยงในพื้นที่ปฏิบัติงาน                                                                                              
Visitors: 617,138