Safety Mind จิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับ หัวหน้างาน 2 วัน

หลักสูตรการสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับหัวหน้างาน ( 2 วัน) 

(เน้นการสอบสวนอุบัติเหตุ-KYT-เขียนคู่มือความปลอดภัย-พูดคุย ชมเชย-สร้างพฤติกรรมความปลอดภัยสู่วัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืน)
หลักการและเหตุผล

ในการทำงาน “ความปลอดภัย” เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงอยู่เสมอ โดยอย่างยิ่งในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมที่มีโอกาสสูงในการได้รับอันตรายจากการทำงาน เพราะต้องทำงานร่วมกับเครื่องจักร วัตถุดิบ หรือองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ควรอยู่ในการควบคุม โดยส่วนใหญ่แล้วอุบัติเหตุมักเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาท แต่ก็มีไม่น้อยที่เกิดเพราะสิ่งแวดล้อม เช่น ในด้านอาคารสถานที่ กระบวนการที่ออกแบบมาไม่เหมาะสม ซึ่งในทุกกระบวนการหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาแล้วไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อผู้ปฏิบัติงาน ยังส่งผลเสียต่อภาพรวมการผลิต การทำงานที่ต้องหยุดชะงัก และมีต้นทุนมากมายจากความเสียหายนั้น ไปจนถึงด้านขวัญและกำลังใจ

“ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน” อันหมายถึงความปลอดภัยจากอุบัติต่าง ๆ ทั้งแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน จึงมีความสำคัญในภาพรวมของทุกองค์กรอุตสาหกรรม

            การสอบสวนและการรายงานอุบัติเหตุ เป็นการชี้บ่งถึงสาเหตุและลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ โดยพิจารณาจากประเด็นรายละเอียดข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ และจากพยานที่เห็นเหตุการณ์ แล้วนํามาวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทั้งสาเหตุทางตรง และสาเหตุทางอ้อม ซึ่งในการปฏิบัติที่ถูกต้องสถานประกอบการต้องมีการสอบสวนและรายงานอุบัติเหตุอย่างเป็นระบบ รวมถึงการจัดทำมาตรการป้องกัน และควบคุม ทั้งนี้วัตถุประสงค์สำคัญของการสอบสวน วิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุแล้วนำมาจัดทำมาตรการป้องกัน หรือแผนการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานนั้นและการรายงานอุบัติเหตุเพื่อมิให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นซ้ำอีก

            เทคนิคการฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย แบบ KYT (Kiken Yoshi Training) เป็นเครื่องมือหรือเทคนิคในการวิเคราะห์ที่คิดค้นมาจากประเทศญี่ปุ่น และจัดได้ว่าเป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ความปลอดภัยในหลายองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ โดยเนื้อหาของการอบรม ความผิดพลาดของมนุษย์ ย่อมมีแต่เราต้องมาค้นหาอันตรายที่แอบแฝง แล้วมาร่วมกันคิดหามาตรป้องกันแก้ไข มือชี้ปากย้ำ เตือนสติก่อนปฏิบัติ เพื่อลดอุบัติเหตุเป็นศูนย์

          “การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย” จากวิธีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี แต่ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผู้บริหาร และหัวหน้างาน ควรที่จะเพิ่มเติมโดยการ “แสดงความรัก ความห่วงใย เข้าใจ ออกมาจากใจด้วยการกระทำที่ชัดเจน, ฟังให้มาก, พูดให้เขาคิดแต่ไม่สั่งให้เขาทำ, เสนอแนะให้เขายอมรับ และรับฟังที่เขาเสนอ, ชมเชยเมื่อมีโอกาส ไม่ต่อว่าถ้าต่อหน้าคนอื่น, เครียดไปไม่บรรเจิด สนุกเถิดจะเกิดผล” การ สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยต้องใช้เวลา การทำอย่างสม่ำเสมอ ถูกต้อง และได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร จะช่วยให้งานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยประสบความสำเร็จได้ อย่ารีบร้อน หรือผลักดันมากเกินไป พนักงานจำเป็นต้องใช้เวลาการปรับเปลี่ยน และซึมซับการสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย เพื่อให้กลายเป็นนิสัย และพฤติกรรมความปลอดภัยติดตัวตลอดไป
วันแรก การสอบสวน การวิเคราะห์และการรายงานอุบัติเหตุ&การฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย

หัวข้อการอบรม
    ♠ ความหมายของศัพท์ที่ควรรู้ ( Incident , Near Miss, Accident )     

    ♠ สาเหตุของอุบัติเหตุ แลผลกระทบของอุบัติเหตุ

    © การสอบสวน การวิเคราะห์และการรายงานอุบัติเหตุ

         1. การรายงานอุบัติเหตุ  
            1.1 ผู้ทีมีหน้าและหัวข้อการรายงานอุบัติเหตุ

            1.2 ขั้นตอนการรายงานอุบัติเหตุ

                  (1) ผู้พบเห็นเหตุการณ์การเกิดอุบัติเหตุ

                  (2) หัวหน้างานผู้รับผิดชอบในพื้นที่

                  (3) หัวหน้างานร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยฯ

       .   2. การสอบสวนอุบัติเหตุ 

               2.1 แนวคิดการสอบสวนอุบัติเหตุ

               2.2 วัตถุประสงค์ของการสอบสวนอุบัติเหตุ

                2.3 ระบบการสอบสวนและรายงานอุบัติเหตุ

                 2.4 หลักการสอบสวนอุบัติเหตุ

                  2.5 ปัจจัยที่สำคัญเกี่ยวกับการสอบสวนอุบัติเหตุ

                  2.6 ขั้นตอนในการสอบสวนอุบัติเหตุ ( 5W 1 H )

          © กิจกรรม KYT การฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย   

                1.  ความหมาย ประวัติ ความเป็นมา KYT 

                2. วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการหยั่งรู้ระวังอันตราย KYT

                3. การค้นหาอันตรายภายในสถานประกอบการ

               4. ประเภทของ KYT  ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน

                       -  KYT 4 ยก ( 4 Rounds KYT)

                       -  KYT  จุดเดียว ( One Point KYT )

                       -  KYT ปากเปล่า ( Oral KYT )

                 5. ขั้นตอนและวิธีการ ทำ KYT  4 ยก  ค้นหาอันตราย วิเคราะห์ ว่ามีกิจกรรมใดบ้าง? และจะต้อง

                     ปฏิบัติอย่างไร? " มือชี้ ปากย้ำ" เตือนสติ ก่อนปฏิบัติงาน  ด้วยการระดมสมอง

                          ยกที่ 1  ค้นหาจุดอันตราย จากภาพที่ซ่อนเร้น พร้อมสาเหตุ
                          ยกที่ 2  เลือกจุดอันตรายที่สำคัญที่สุด
                          ยกที่ 3  หามาตรการป้องกันแก้ไข
                          ยกที่ 4  เลือกมาตรการป้องกันที่ทำได้ง่าย ทันที

                      ตั้งสโลแกน โดยเลือกมาตรการป้องกันที่ดีที่สุด ทำและจำได้ง่าย ... เตือนสติก่อนทำงาน

            -  Workshop : กิจกรรมย่อย ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ร่วมค้นหาอันตราย ทำ KYT จากภาพหรืออุบัติเหตุ

                ที่เคยเกิดขึ้น  2  รอบ  KYT ปากเปล่า 1 รอบ

วันที่สอง การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงานสำหรับหัวหน้างาน (Work Safety Awareness for Supervisor)
หัวข้อการอบรม

  1. สถิติและความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน
  2. สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทำงาน
  3. การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทำงาน
  4. เทคนิคการทำอุบัติเหตุเป็น ศูนย์ 
  5. การฝึกเขียนลำดับขั้นตอนการทำงานและการวิเคราะห์งาน เพื่อความปลอดภัย จัดทำเป็นคู่มือความปลอดภัย
  6. ค้นหาและระบุพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่ปลอดภัย
  7. การสังเกตพฤติกรรม

          -    พบพฤติกรรมเสี่ยง ให้คำแนะนำ ตักเตือน เพื่อปรับปรุงและให้กำลังใจ

          -    พบลูกน้องทำงานดี มีพฤติกรรมปลอดภัย ต้องชม

          -    ช่วยกันชม ช่วยกันเตือน ไม่ต้องแยกหน่วยงานที่เกิดพฤติกรรมเสียงหรือปลอดภัย ด้วยความห่วงใย

  1. ขั้นตอนการกำจัดพฤติกรรมเสี่ยง   ( หยุด สังเกต ทักทาย กำชับ)
  1. กฎความปลอดภัยที่ต้องบังคับให้กลายเป็นนิสัย
  2. การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ที่เกิดจากทัศนคติความปลอดภัย และจิตสำนึกที่ดีของสมาชิกในองค์กรโดยการวางรากฐานของพฤติกรรมความปลอดภัย (Behavior-based safety)

รูปแบบการอบรม  :    บรรยาย 60  % Workshop  40 %

กลุ่มเป้าหมาย  :       พนักงาน หัวหน้างาน และผู้บริหาร

ระยะเวลาการอบรม:        จำนวน 2 วัน  ( 12 ชั่วโมง )

จำนวนผู้เข้าอบรม:           30-45  คน/รุ่น

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     1 .ผู้เข้ารับการอบรมสร้างสัญชาติญานความปลอดภัย คาดการณ์อันตรายล่วงหน้า เตือนสติก่อนปฏิบัติงาน

     2. ผู้เข้าอบรมค้นหามีการค้นหาอันตรายในแผนก สร้างวินัย สร้างสามัคคี การทำงานเป็นทีม

     3. ผู้เข้าอบรมเกิดความคิดแสดงความคิดเห็น กล้าพูด ในที่สาธารณะมากขึ้น

     4. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการสอบสวน รายงาน และการวิเคราะห์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

     5. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจการตรวจสอบและวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุแล้วนํามา

        จัดทำมาตรการป้องกันและควบคุม หรือปรับปรุงแก้ไข  เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในลักษณะเดียวกันซ้ำอีก

    6. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจถึงวิธีการและเทคนิคการสอบสวนอุบัติเหตุในสถานประกอบการ

    7. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมร่วมกันสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับสถานประกอบการ

 

 

Visitors: 569,602