เข็มขัดพยุงหลัง (BackSupport)

  พนักงานที่ยกเคลื่อนย้ายของหนักจำเป็นต้องใส่เข็มขัดพยุงหลังหรือไม่

๑. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยกเคลื่อนย้ายของหนัก

ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยกเคลื่อนย้ายของหนัก คือ กฎกระทรวง กำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้กำหนดให้ลูกจ้างทำงานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนัก ไม่เกินอัตราน้ำหนักต่อลูกจ้างหนึ่งคน ดังต่อไปนี้

(๑) เด็กหญิง(ตั้งแต่ ๑๕ ปี แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปี) ไม่เกิน ๒๐ กิโลกรัม
(๒) เด็กชาย(ตั้งแต่ ๑๕ ปี แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปี) ไม่เกิน ๒๕ กิโลกรัม
(๓) ลูกจ้างหญิง ไม่เกิน ๒๕ กิโลกรัม
(๔) ลูกจ้างชาย ไม่เกิน ๕๕ กิโลกรัม

๒. สาเหตุของการปวดหลังจากการทำงาน

อาการปวดหลังจากการทำงานเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในกลุ่มพนักงานที่ทำงานในสถานประกอบกิจการ ซึ่งมักมีอาการปวดที่บริเวณเอวและหลัง เมื่อพักผ่อนก็จะมีอาการดีขึ้น แต่เมื่อเริ่มเคลื่อนไหวทำงาน ก็จะเริ่มมีอาการปวดหลังขึ้นอีก อาการปวดหลังเรื้อรังนี้จะส่งผลไปถึงการหยุดงาน การสูญเสียรายได้ การเสียค่ารักษาพยาบาล

สาเหตุอาการปวดหลังของคนกลุ่มนี้ มักเกิดจากต้องคร่ำเคร่งกับการทำงาน ก้มตัวยกของหนัก ทำงานอยู่ในท่าเดียวกันนานๆ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ มีรายงานประเทศอุตสาหกรรม มีอุบัติการณ์ของอาการปวดหลังสูง เช่น สหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยปวดหลัง ร้อยละ ๕ ของประชากรวัยทำงานทั้งหมด สำหรับประเทศไทยในแต่ละปีพนักงานในสถานประกอบกิจการประสบปัญหาบาดเจ็บจากการทำงานที่มีสาเหตุจากท่าทางการทำงาน และการยกเคลื่อนย้ายของหนักด้วยการใช้แรงคน จนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ทำกายภาพบำบัดมีจำนวนสูงขึ้นทุกปี เช่น ปีพ.ศ. ๒๕๔๙ มีจำนวน ๑,๒๕๑ ราย ปีพ.ศ. ๒๕๕๐ มีจำนวน ๒,๓๙๕ ราย ปีพ.ศ. ๒๕๕๑ มีจำนวน ๕,๙๒๕ ราย ตามลำดับ (สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม)

๓. ข้อเสนอแนะการใช้เข็มขัดพยุงหลัง

      เข็มขัดพยุงหลัง (back support) นับวันพนักงานในสถานประกอบกิจการยิ่งมีความนิยมนำมาสวมใส่เสมือนเป็นอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเช่นเดียวกับหมวกหรือรองเท้านิรภัยที่ใช้ในขณะทำงานมากขึ้นทุกที

เข็มขัดพยุงหลังมีประโยชน์ในพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บและกำลังฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อกลับเข้าทำงานเดิม การใส่จะมีประโยชน์มากในช่วงแรก เพื่อลดอาการเจ็บ แต่ควรจะใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ

การที่คิดว่าการใส่เข็มขัดพยุงหลังแล้วจะป้องกันอาการปวดหลังได้นั้นเป็นความคิดที่ผิด เพราะการป้องกันอาการปวดหลังจากการทำงาน ต้องอาศัยการจัดสภาพการทำงานให้เหมาะสม น้ำหนักวัตถุที่จะยกไม่หนักเกินกำลัง เมื่อใดที่ยกของหนักเกินกำลังของตนเอง และต้องบิดตัวขณะยก ไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เข็มขัดพยุงหลังก็จะมีโอกาสปวดหลังได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้น พนักงานที่ไม่มีอาการบาดเจ็บหรือปวดหลังไม่จำเป็นต้องใส่เข็มขัดพยุงหลัง นอกจากสิ้นเปลืองแล้ว ยังมีผลต่อสุขภาพร่างกายดังนี้

(๑) กล้ามเนื้อบริเวณลำตัวทำงานลดลง

     เข็มขัดพยุงหลังในทางการแพทย์จะใช้พยุงหลังบรรเทาอาการปวด ในกรณีที่กระดูกสันหลังเคลื่อนหรือหลังผ่าตัดหลัง เพื่อช่วยทำงานแทนกล้ามเนื้อหลังที่อ่อนแอไปหลังจากการผ่าตัด และทำให้การซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บเร็วขึ้น เพราะกล้ามเนื้อทำงานน้อยลง แต่การใส่ระยะยาวจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำตัวทำงานลดลง

มีการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า อัตราการบาดเจ็บหรือปวดหลังระหว่างพนักงานที่ใส่เข็มขัดพยุงหลังกับพนักงานที่ไม่ใส่ มีอัตราที่ไม่แตกต่างกัน แต่พนักงานที่ใส่เข็มขัดพยุงหลังมีการบาดเจ็บที่รุนแรงมากกว่า เนื่องจากพนักงานที่ใส่เข็มขัดพยุงหลังจะรู้สึกมั่นใจมากเมื่อยกของหนัก คิดว่าตนเองมีความปลอดภัยแล้ว ความมั่นใจนี้จะมีผลเสียทำให้ยกของหนักโดยไม่ระมัดระวังเท่ากับในขณะที่ไม่ได้ใส่เข็มขัดพยุงหลัง

   (๒) เกิดไส้เลื่อน ริดสีดวงทวาร เส้นเลือดขอด และความดันเลือดเพิ่มขึ้น

      ได้มีการศึกษาโดยการตรวจวัดความดันเลือดของพนักงานที่ใส่เข็มขัดพยุงหลังในขณะยกของหนัก นั่ง และทำงานเบา พบว่า การใส่เข็มขัดพยุงหลังทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งอธิบายได้ว่า การใส่เข็มขัดพยุงหลังจะมีความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ปริมาณเลือดที่ไหลกลับเข้าหัวใจเร็วขึ้น ทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น ผู้ที่มีความดันเลือดสูงอยู่แล้วก็จะสูงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผลระยะยาวจากการใส่เข็มขัดพยุงหลังที่ทำให้ความดันในช่องท้องสูงนานๆ อาจทำให้เกิดไส้เลื่อน ริดสีดวงทวาร เส้นเลือดขอดที่ขาและถุงอัณฑะได้

๔. การป้องกันอาการปวดหลัง

    อาการปวดหลังนี้ แพทย์และนักกายภาพบำบัดเป็นเพียงผู้ช่วยให้อาการปวดทุเลา ซึ่งอาจกลับเป็นได้อีก แต่การปวดหลังนี้สามารถที่จะป้องกันได้ โดยการปฏิบัติดังนี้

        (๑) การยกของหนัก ท่าทางในการยกต้องทำให้ถูกวิธีโดยยืนให้ชิดสิ่งของที่จะยก ย่อเข่าให้หลังเป็นแนวตรง แขนแนบชิดลำตัว และอย่ายกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินไป

        (๒) หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าเดียวนานๆ โดยเฉพาะท่านั่ง

        (๓) การยืนทำงานนานๆ ควรมีที่พักเท้า

        (๔) อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไป ซึ่งมีเกณฑ์มาตรฐานดังนี้

             เพศชาย : ส่วนสูง (เซนติเมตร) – ๑๐๕ = น้ำหนัก ± ๑๐ กิโลกรัม

            เพศหญิง: ส่วนสูง (เซนติเมตร) – ๑๑๐ = น้ำหนัก ± ๑๐ กิโลกรัม

            เช่น เพศชาย สูง ๑๗๐ เซนติเมตร น้ำหนักควรอยู่ระหว่าง ๖๕ ± ๑๐ กิโลกรัม (๕๕ – ๗๕ กิโลกรัม) เป็นต้น

       (๕) ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องและหลังแข็งแรง เช่น การใช้วิธีนอนคว่ำ นำหมอนหนุนใต้ท้อง ค่อยๆยกศีรษะขึ้น ค้างไว้ ๓ – ๕ วินาที แล้วค่อยๆลดศีรษะลง โดยทำซ้ำ ๕ – ๑๐ ครั้ง เป็นต้น

        (๖) เมื่อมีอาการปวดหลัง อาจใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางบริเวณที่ปวดนาน ๒๐ – ๓๐ นาที แต่ถ้ามีอาการปวดร้าวลงขา อาจเกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ควรรีบไปปรึกษาแพทย์

 

เอกสารอ้างอิง
๑. วรรธนะ ชลายนเดชะ. เข็มขัดรัดหลัง : จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน?. ค้นเมื่อ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒, จาก https://www.doctor.or.th
๒. วรวิทย์ เลาห์เรณู. โรคปวดหลัง. ค้นเมื่อ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๒, จาก https://www.med.cmu.ac.th

 งานการยศาสตร์แรงงาน ฝ่ายพัฒนาความปลอดภัยสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน

 

.

เข็มขัดพยุงหลังที่ต่างกัน เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกันควรรู้

3 ปีที่ผ่านมา โดย เจ้าของร้าน

สำหรับใครที่กำลังมองหาเข็มขัดพยุงหลังสักเส้นอยู่ละก็บทความนี้จะแนะนำวิธีเลือกเข็มขัดพยุงหลังที่เหมาะสมที่สุดให้คุณ เนื่องจากในท้องตลาดมีหลากหลายรูปแบบเสียเหลือเกิน ถึงเบื้องต้นจะเลือกลักษณะการใช้งานที่มีความสะดวกสบาย เพราะเข็มขัดพยุงหลังจะต้องอยู่กับเราหลายชั่วโมงต่อวัน แต่ ในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหรือตอบสนองความต้องการของเราได้ด้วย 

เข็มขัดที่มีสายคล้องไหล่   

             เข็มขัดพยุงหลังที่มีสายคล้องไหล่ เหมาะสำหรับคนที่ต้องทำงานแบบยกถามเพื่อต้องการเข็มขัดเลื่อนหรือหลุดจากตำแหน่ง ซึ่งจะทำให้การทำงานสะดวกมากขึ้น ไม่ต้องพะวงกับตัวเข็มขัดมากเกินไป เข็มขัดที่มีสายคล้องยังมีประโยชน์สำหรับคนที่ไม่ชอบความอึดอัด ต้องเคลื่อนไหวตัวเองตลอดเวลา คือจะใช้วิธีการรัดเข็มขัดที่ไม่แน่นเกินไปแต่ก็ยังป้องกันการหลุดหรือเคลื่อนจากจุดที่ต้องการได้ 

 เข็มขัดที่มีแกนเสริมโลหะ

เข็มขัดพยุงหลังที่มีแกนเสริมโลหะ จะช่วยบล็อกหลังของคุณให้อยู่ในสภาพนิ่งที่สุด เคลื่อนไหวน้อยที่สุด เหมาะกับคนที่เพิ่งผ่านการผ่าตัด หรือคนที่หมอสั่งห้ามไม่ให้ขยับเขยื้อนเพื่อป้องกันการอักเสบ เหมาะสำหรับคนที่ปกติไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว เพราะว่าแกนโลหะจะมีความยืดหยุ่นน้อย อาจไม่ค่อยสะดวกหากต้องทำงานไปด้วย


แกนเสริมพลาสติก PE

แกนเสริมพลาสติก PE มีข้อดีคือ ยืดหยุ่นได้ดีกว่าแกนเสริมโลหะ เหมาะสำหรับคนที่ต้องใส่เข็มขัดแต่ยังต้องทำงานไม่ว่าจะเดินเล็กน้อยหรือแบกยกของ จะทำให้การเคลื่อนไหวได้ดีกว่า ไม่ทำให้รู้สึกอึดอัดมากเกินไป ลุกนั่งได้ได้สะดวกเนื่องจากแกน PE จะปรับเข้ากับสรีระของเราอัตโนมัติ แต่ยังมีความแข็งแรงทนทานสปริงตัวได้ดีไม่แตกหักง่าย

จำนวนของแกนเสริม

สำหรับการใช้งาน บางทีจำนวนของแกนเสริมก็มีความสำคัญ เข็มขัดพยุงหลังบางรุ่นมีแกนเสริมรอบทิศทาง บางรุ่นแกนเสริมเรียงกันอยู่ตรงบริเวณหลัง จุดประสงค์การใช้งานจะต้องดูจำนวนของแกนเสริม ถึงจะเป็นความชอบส่วนบุคคล แต่แกนเสริมที่มีมากเกินไปอาจจะทำให้ทำงานไม่สะดวก ในขณะเดียวกันหากต้องการบรรเทาอาการปวดหลังแต่แกนเสริมน้อยเกินไปอาจทำให้หายช้า

เข็มขัดพยุงหลังเสริมสปริง

"เข็มขัดพยุงหลังที่"เสริมสปริงจะช่วยเพิ่มความกระชับเป็น 2 เท่า สปริงจะทำให้เข็มขัดชิดกับสรีระของเรามากขึ้นเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการอยากให้เข็มขัดปรับไปตามการเคลื่อนไหวของเรา 

 เสื้อกระชับแก้ปวดหลัง

            เป็นลักษณะเข็มขัดพยุงหลังและเสื้อกล้ามในตัวเดียวกัน ซึ่งจะช่วยพยุงทั้งส่วนของเอวและแผ่นหลังไปพร้อม ๆกัน เนื่องจากบางคนมีอาการปวดร้าวทั้งแผ่นหลังจึงต้องการความกระชับเป็นพิเศษ

เนื้อผ้าเข็มขัดพยุงหลัง

 เข็มขัดพยุงหลังที่ทำจากเนื้อผ้าหรืออีลาสติ เป็นเนื้อผ้าที่ทอเป็นพิเศษ แบบโปร่ง ช่วยระบายอากาศได้ดี ไม่ร้อน ไม่ทำให้อึดอัด ทำความสะอาดง่าย บางประเภทจะใช้ผ้าผสมหนังเทียม เพราะหนังจะช่วยพยุงและบล็อกหลังของเราได้ดีกว่า แต่สำหรับคนที่ต้องเคลื่อนไหวมาก ๆ อาจจะไม่ค่อยถนัด แต่ทุกวันนี้เข็มขัดพยุงหลังนี้นิยมใช้หนังและผ้าผสมผสานกันทำให้ยังคงช่วยบล็อกหลังได้ดีและสะดวกสบายในเวลาเดียวกัน

สำหรับคนที่กำลังมองหาเข็มขัดพยุงหลังก็ได้เห็นแล้วว่าวัสดุมีความแตกต่างกันมาก นอกจากเรื่องของราคาแล้วควรเลือกลักษณะการใช้งานให้เหมาะสม มีความยืดหยุ่นเคลื่อนไหวได้สะดวก และปรับให้เข้ากับสรีระของเราได้

และที่สำคัญควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ไม่ควรใช้เข็มขัดพยุงหลังนานเกินไป ใช้เมื่ออาการเจ็บปวดหรือจำเป็นที่จะต้องยกของหนัก แต่ไม่ควรใช้ตลอดเวลา เนื่องจากการบีบรัดที่ตัวตลอดเวลาอาจจะทำให้อวัยวะส่วนอื่นทำงานผิดปกติได้

เข็มขัดพยุงหลัง หรือ Back Support ช่วยลดปวดหลังได้จริงหรือ

เข็มขัดพยุงหลัง หรือ Back Support ช่วยลดปวดหลังได้จริงหรือ 

เข็มขัดพยุงหลัง เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อช่วยป้องกันอาการปวดหลังที่เกิดมาจากการนั่งทำงานนานๆ โดยไม่ได้มีการขยับร่างกาย ยืดเส้นยืดสาย หรือการนั่งผิดท่าทาง ก็อาจจะส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ จนอาจจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น เข็มขัดพยุงหลังจึงช่วยปกป้องส่วนหลังจากการบาดเจ็บเมื่อต้องยกของ ป้องกันกระดูกสันหลัง

เข็มขัดพยุงหลังที่ใช้กันทั่วไปในคนทำงานนั้นดัดแปลงมาจากเฝือกพยุงเอว (Lumbo sacral Support) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ควรใช้เมื่อจำเป็นหรือตามแพทย์สั่งเท่านั้น โดยมีจุดประสงค์ในการใส่เพื่อประคองหลังในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังมาก หรือมีการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่ส่วนหลัง หรือเป็นโรคเกี่ยวกับหลัง เช่น โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) โรคหมอนรองกระดูกแตกกดทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus) ตลอดจนผู้ป่วยหลังผ่าตัดส่วนหลัง เป็นต้น ผู้ป่วยดังกล่าวมักมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องลดลง จึงจำเป็นต้องมีการประคับประคองส่วนหลังชั่วคราว

ข้อดีของการใส่เฝือกพยุงเอว

  1. จะช่วยกระชับบริเวณแผ่นหลังและช่วยทำงานแทนกล้ามเนื้อหลังที่อ่อนแรงหรือมีอาการเจ็บมาก ลดหรือจำกัดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง โดยสามารถลดการเคลื่อนไหวใน ทิศงอ-เหยียดหลังได้เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดหลังเฉียบพลัน เพื่อลดอาการปวดจากการเคลื่อนไหวในระยะสั้น นอกจากนี้ยังเป็นการจำกัดการเคลื่อนไหวของส่วนหลัง
  2. เพิ่มความดันภายในช่องท้อง ส่งผลให้แรงกระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลังลดลงจากการศึกษาพบว่า เสื้อพยุงหลัง มีคุณสมบัติ ช่วยลดแรงเฉือนได้มากกว่าการลดแรงกดที่เกิดขึ้นกับหมอนรองกระดูกสันหลังระดับ L5-S1 การก้มและบิดเอว ทำให้เกิดแรงกระทำต่อกล้ามเนื้อที่พยุงแกนกลางลำตัว (erector spinae muscle) ซึ่งท่าทางที่ทำให้เกิดแรงกดและแรงเฉือนต่อหมอนรองกระดูกสันหลังระดับ L5-S1 สูงสุด

ข้อเสียของการใส่เฝือกพยุงเอวในระยะยาว

การสวมใส่อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อรอบลำตัวทำงานลดลงและที่สำคัญคือผู้สวมใส่มักติดการใช้ไม่ยอมถอดออก เพราะไม่มั่นใจ กลัวว่าการเคลื่อนไหวจะทำให้บาดเจ็บหรือปวดหลังอีก จึงเป็นผลให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังและหน้าท้องของผู้สวมใส่อ่อนแรงลง

โดยจุดประสงค์ในการใส่เข็มขัดพยุงหลัง หรือ Back Support นั้นคือเพื่อประคองหลังในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังมาก ทำให้เกิดการจำกัดการคลื่อนไหวของหลังจึงทำการลดอาการปวดของหลังได้ แต่ถ้าหากใส้ไว้เป็นเวลานานอาจจะทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อลำตัวได้ ดังนั้นการใส่อุปกรณ์พยุงหลังควรควบคู่กับการออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัด

Can a back support belt really help reduce back pain?

back support belt It is a widely used device. To help prevent back pain caused by sitting for a long time without having to move the body stretch or sitting wrong It may result in pain in various organs. Until it may cause more severe symptoms The back support belt helps to protect the back from injury when lifting things. spine protection

The lumbar support belt commonly used by workers is a modification of the lumbar sacral support, a medical device that should only be used when needed or as directed by a physician. It is intended to be inserted to support the back in the event that the patient has severe back pain. or had an accidental injury in the back or a back-related disease such as a spinal disc disease (Spondylolisthesis), Herniated Nucleus Pulposus, as well as patients after surgery on the back, etc. Such patients often have lower back and abdominal muscle strength. Therefore, temporary back support is required.

แหล่งอ้างอิง

  1. วัชระ สุดาชม. (2559).ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด มหาลัยมหิดล. การใส่เสื้อพยุงหลังช่วยลดปวดได้จริงหรือ.
  2. สันติชัย เย็นทั่ว. (2553). ผลของเข็มขัดพยุงหลังต่อการประเมินทางชีวกลศาสตร์ของภาระกล้ามเนื้อ erector spinae.ฃ

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

Visitors: 615,144