Safety with Krisana
สวัสดีครับ
ผมขออนุญาต นำมาเผยแพร่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
BBS (Behavior Based Safety) การ์ด..การพยากรณ์ความปลอดภัย และยุทธวิธีสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร
กฤษณ เคลือบสุวรรณ
BBS (Behavior Based Safety) การ์ด..การพยากรณ์ความปลอดภัย และยุทธวิธีสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร
อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าผมชวนพนักงานเล่นไพ่พยากรณ์นะ Safety ไม่ชอบเล่นการพนันหรอก คือมันมีความหมายดังนี้
Behavior = พฤติกรรม
Based = พื้นฐาน
Safety = ความปลอดภัย
แปลตามตัวแบบรวมๆจะได้ พฤติกรรมที่เป็นพื้นฐานความปลอดภัย ซึ่งระบบนี้เป็นที่นิยมในหลายๆสถานประกอบการ ไม่ว่าจะในบ้านเราหรือต่างประเทศ เป็นวิธีที่นิยมและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันไม่ให้ ได้รับบาดเจ็บในสถานที่ทำงาน อันเนื่องมาจากแนวคิดที่ว่า “อุบัติเหตุ”นั้น เกิดจาก “พฤติกรรมเสี่ยง” ของผู้ที่ปฏิบัติงาน ดังนั้น การนำระบบBBSคือการใช้หลักจิตวิทยามาใช้เป็นกลวิธีที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความปลอดภัยด้วยการดูแลเอาใจใส่เฉกเช่นเดียวกับ “เพื่อนเตือนเพื่อน” หรือ ระบบ “บัดดี้” เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรนั่นเอง
แต่โดยทั่วไป พฤติกรรมความปลอดภัย (Behavior Base Safety: BBS) นั้น หมายถึง การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน โดยใช้การจูงใจในเชิงบวก (Positive Approach) ซึ่งมีขั้นตอน 4 ขั้นตอนหลัก ( DO IT) ดังนี้
ขั้นที่ 1 ชี้บ่งพฤติกรรมเป้าหมาย (Defining Safe and At-Risk Behavior: D) กำหนดพฤติกรรมที่ปลอดภัย และพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญในพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยพิจารณาตามหลักในการชี้บ่งพฤติกรรม SOON Concepts โดยพฤติกรรมที่นำมาปฏิบัติจะต้องเป็นไปดังนี้
S = Specific: จำเพาะเจาะจง ไม่กำกวม
O = Observable: สังเกตได้ วัดได้ บันทึกได้
O = Objective: ไม่ต้องตีความ อะไร ทำไม
N = Naturalistic: กิจกรรมที่ทำงานเป็นปกติในแต่ละวัน
ขั้นที่ 2 การสังเกตพฤติกรรม (Observations: O)
ขั้นที่ 3 การปรับเปลี่ยน พฤติกรรม (Intervention: I) การใช้หลักการการจูงใจเชิงบวกเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายใน ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมภายนอกที่ต้องการโดยอาศัยตัวกระตุ้นให้นำไปผลที่ได้
ขั้นที่ 4 การทดสอบผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Testing an Intervention: T)เป็นการสังเกตพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 โดยวัดผลเปอร์เซ็นต์ของพฤติกรรมความปลอดภัย (% Self-Behavior)
รูปแบบของ BBS อาจไม่ได้ตายตัวแบบเดียวเสมอไป ในบางบริษัท อาจอยู่ในรูปแบบของ Stop work authority บางบริษัทอยู่ในรูปแบบ Take5 ในขณะที่บางบริษัทอาจจะอยู่ในรูปแบบของ Buddy remind หรือ Safety buddy ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการกระทำใน 2 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะที่ 1 เป็นลักษณะที่พนักงานของหน่วยงานหนึ่งเตือนพนักงานอีกหน่วยงานหนึ่ง หรือ บริษัทหนึ่งเตือนพนักงานของพนักงานอีกบริษัทหนึ่ง (กรณีหลายบริษัท ทำงานร่วมกันในพื้นที่เดียวกัน เช่น งานก่อสร้าง) เช่น นาย A ไปพบพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยของ นาย B ซึ่งอยู่คนละหน่วยงาน นายA จึงเข้าไปเตือนนาย B และทำการจดบันทึกลงใน BBS การ์ด ซึ่งนาย B ก็ยอมรับการเตือนของนาย A หลังจากนั้น นาย A ก็ส่ง BBS การ์ดนี้ไปที่ต้นสังกัดของนาย B ทางต้นสังกัดก็ตรวจสอบไปทางนาย B ว่าเป็นความจริงหรือไม่ เป็นอันว่าจบกระบวนการ
ลักษณะที่ 2 เป็นลักษณะที่พนักงานหน่วยงานเดียวกันเตือน ส่วนใหญ่จะใช้ระบบบัดดี้เข้ามาช่วย เนื่องจากเป็นเพื่อนร่วมงานที่อยู่ใกล้กันมากที่สุด
ทั้งสองลักษณะมักใช้ในสถานประกอบการพัฒนาในเรื่องความปลอดภัยแล้ว เพราะในหลายสถานประกอบการที่ผู้บริหารและพนักงานที่ยังไม่ค่อยเข้าใจหรือยังไม่ได้รับ การพัฒนาความคิดในเรื่องความปลอดภัยอาจมองว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมจับผิดระหว่าง เพื่อนร่วมงานด้วยกัน ดีไม่ดี นาย A อาจโดนนาย B เตะปากเอาได้ง่ายๆ บางบริษัทที่ผู้บริหารมีแนวคิดอยากจะริเริ่มกิจกรรมนี้ ก็เมตตาพนักงาน กลัวว่าพนักงานจะไปทะเลาะกันเสียเปล่าๆ ก็เลยพยายามทำให้เกิดพฤติกรรมกลับกัน คือแทนที่คนเตือนจะเขียนรายงาน ก็ให้คนถูกเตือนเขียนรายงานซะเลย โดยอาจกำหนดรูปแบบให้หัวหน้าเป็นคนเก็บรวบรวมรายงานจากพนักงานในหน่วยตนเอง โดยการสอบถามว่าวันนี้มีรายงานหรือไม่ (คือขอร้องแกมบังคับให้พนักงานร่วมมือ) แล้วก็มีการส่งรายงานไปยังหน่วยงานตนเอง ไปจนถึงการประกวด พนักงานที่เขียนรายงานได้รับรางวัล ซึ่งจากประสบการณ์ผมเอง มันก็เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมแรงในการสร้างระบบวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรโดยรวม แรกๆอาจจะขอร้องแกมบังคับ เอารางวัลมาช่วยในช่วงแรกๆ หลังๆอาจจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ
Behavior = พฤติกรรม
Based = พื้นฐาน
Safety = ความปลอดภัย
แปลตามตัวแบบรวมๆจะได้ พฤติกรรมที่เป็นพื้นฐานความปลอดภัย ซึ่งระบบนี้เป็นที่นิยมในหลายๆสถานประกอบการ ไม่ว่าจะในบ้านเราหรือต่างประเทศ เป็นวิธีที่นิยมและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันไม่ให้ ได้รับบาดเจ็บในสถานที่ทำงาน อันเนื่องมาจากแนวคิดที่ว่า “อุบัติเหตุ”นั้น เกิดจาก “พฤติกรรมเสี่ยง” ของผู้ที่ปฏิบัติงาน ดังนั้น การนำระบบBBSคือการใช้หลักจิตวิทยามาใช้เป็นกลวิธีที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความปลอดภัยด้วยการดูแลเอาใจใส่เฉกเช่นเดียวกับ “เพื่อนเตือนเพื่อน” หรือ ระบบ “บัดดี้” เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรนั่นเอง
แต่โดยทั่วไป พฤติกรรมความปลอดภัย (Behavior Base Safety: BBS) นั้น หมายถึง การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน โดยใช้การจูงใจในเชิงบวก (Positive Approach) ซึ่งมีขั้นตอน 4 ขั้นตอนหลัก ( DO IT) ดังนี้
ขั้นที่ 1 ชี้บ่งพฤติกรรมเป้าหมาย (Defining Safe and At-Risk Behavior: D) กำหนดพฤติกรรมที่ปลอดภัย และพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญในพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยพิจารณาตามหลักในการชี้บ่งพฤติกรรม SOON Concepts โดยพฤติกรรมที่นำมาปฏิบัติจะต้องเป็นไปดังนี้
S = Specific: จำเพาะเจาะจง ไม่กำกวม
O = Observable: สังเกตได้ วัดได้ บันทึกได้
O = Objective: ไม่ต้องตีความ อะไร ทำไม
N = Naturalistic: กิจกรรมที่ทำงานเป็นปกติในแต่ละวัน
ขั้นที่ 2 การสังเกตพฤติกรรม (Observations: O)
ขั้นที่ 3 การปรับเปลี่ยน พฤติกรรม (Intervention: I) การใช้หลักการการจูงใจเชิงบวกเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายใน ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมภายนอกที่ต้องการโดยอาศัยตัวกระตุ้นให้นำไปผลที่ได้
ขั้นที่ 4 การทดสอบผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Testing an Intervention: T)เป็นการสังเกตพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 โดยวัดผลเปอร์เซ็นต์ของพฤติกรรมความปลอดภัย (% Self-Behavior)
รูปแบบของ BBS อาจไม่ได้ตายตัวแบบเดียวเสมอไป ในบางบริษัท อาจอยู่ในรูปแบบของ Stop work authority บางบริษัทอยู่ในรูปแบบ Take5 ในขณะที่บางบริษัทอาจจะอยู่ในรูปแบบของ Buddy remind หรือ Safety buddy ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการกระทำใน 2 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะที่ 1 เป็นลักษณะที่พนักงานของหน่วยงานหนึ่งเตือนพนักงานอีกหน่วยงานหนึ่ง หรือ บริษัทหนึ่งเตือนพนักงานของพนักงานอีกบริษัทหนึ่ง (กรณีหลายบริษัท ทำงานร่วมกันในพื้นที่เดียวกัน เช่น งานก่อสร้าง) เช่น นาย A ไปพบพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยของ นาย B ซึ่งอยู่คนละหน่วยงาน นายA จึงเข้าไปเตือนนาย B และทำการจดบันทึกลงใน BBS การ์ด ซึ่งนาย B ก็ยอมรับการเตือนของนาย A หลังจากนั้น นาย A ก็ส่ง BBS การ์ดนี้ไปที่ต้นสังกัดของนาย B ทางต้นสังกัดก็ตรวจสอบไปทางนาย B ว่าเป็นความจริงหรือไม่ เป็นอันว่าจบกระบวนการ
ลักษณะที่ 2 เป็นลักษณะที่พนักงานหน่วยงานเดียวกันเตือน ส่วนใหญ่จะใช้ระบบบัดดี้เข้ามาช่วย เนื่องจากเป็นเพื่อนร่วมงานที่อยู่ใกล้กันมากที่สุด
ทั้งสองลักษณะมักใช้ในสถานประกอบการพัฒนาในเรื่องความปลอดภัยแล้ว เพราะในหลายสถานประกอบการที่ผู้บริหารและพนักงานที่ยังไม่ค่อยเข้าใจหรือยังไม่ได้รับ การพัฒนาความคิดในเรื่องความปลอดภัยอาจมองว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมจับผิดระหว่าง เพื่อนร่วมงานด้วยกัน ดีไม่ดี นาย A อาจโดนนาย B เตะปากเอาได้ง่ายๆ บางบริษัทที่ผู้บริหารมีแนวคิดอยากจะริเริ่มกิจกรรมนี้ ก็เมตตาพนักงาน กลัวว่าพนักงานจะไปทะเลาะกันเสียเปล่าๆ ก็เลยพยายามทำให้เกิดพฤติกรรมกลับกัน คือแทนที่คนเตือนจะเขียนรายงาน ก็ให้คนถูกเตือนเขียนรายงานซะเลย โดยอาจกำหนดรูปแบบให้หัวหน้าเป็นคนเก็บรวบรวมรายงานจากพนักงานในหน่วยตนเอง โดยการสอบถามว่าวันนี้มีรายงานหรือไม่ (คือขอร้องแกมบังคับให้พนักงานร่วมมือ) แล้วก็มีการส่งรายงานไปยังหน่วยงานตนเอง ไปจนถึงการประกวด พนักงานที่เขียนรายงานได้รับรางวัล ซึ่งจากประสบการณ์ผมเอง มันก็เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมแรงในการสร้างระบบวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรโดยรวม แรกๆอาจจะขอร้องแกมบังคับ เอารางวัลมาช่วยในช่วงแรกๆ หลังๆอาจจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ
ประมาณช่วงต้นปี2553ผมได้รับคำสั่งจากผู้จัดการความปลอดภัยให้ไปดูแลงานความ ปลอดภัยในโครงการขยาย ส่วนต่อของเหมืองทองคำและทองแดงที่เมืองเซโปน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พอไปถึงปุ๊บก็ได้รับอีเมล์จากผู้จัดการเลย แกก็สั่งนักสั่งหนาเลยทีเดียวว่า ระบบรายงาน Take 5 (ต้นแบบมาจากบริษัทแม่ที่ออสเตรเลีย แกเพิ่งรับนโยบายมา) ขอให้รายงานทุกเดือนนะ ทำยังไงก็ได้ให้พนักงานให้ความร่วมมือให้ได้มากที่สุด
ทีนี้ก็คิดสิ คิดไปคิดมา ถ้าจะรอทำเดือนละครั้งคงไม่ได้ตามเป้าหมายเป็นแน่แท้ พนักงานที่นั่นมี ร้อยกว่าคน ส่วนใหญ่เป็นคนไทย แต่ก็ใช่ว่า เขาจะเอาด้วย จะเริ่มต้นจริงๆ ต้องเอาแบบรายสัปดาห์ไปเลย ก็ประกาศตอน Tool box talk (ที่นั่นจะมี Pre-start talk ทุกวันตอนเช้าและ Tool box Talk ทุกบ่ายวันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์) ขอสัปดาห์แรกของการทำงานเลย ได้เรื่องเลยครับ สัปดาห์แรกส่ง 2 ใบ คือสองใบจริงๆจากพนักงานทั้งหมด เอาละสิ ที่นี้ ทั้งยืนคิด นั่งคิด กระทั่งนอนเอาเท้าก่ายหน้าผากคิด (อันหลังนี่ล้อเล่น.. ไม่ได้เรียนโยคะมา ทำไม่ได้หรอก)คือเอาเข้าจริงๆมันก็เป็นความท้าทายที่จป.แต่ละคนต้องเฟ้นหายุทธวิธี ที่จะทำให้ได้ ยิ่งถ้าในบางโครงการมี จป. หรือ Safety หนึ่งคนต่อหนึ่งโครงการเนี่ย เรียกว่าแทบจะทำงานแบบหัวเดียวกระเทียมลีบจริงๆ แถมตอนนั้นเพิ่งตั้งโครงการใหม่ๆ คณะกรรมการความปลอดภัยในหน่วยงานก็ยังไม่ได้ตั้ง ดูทุกอย่างมันเลวร้ายไปเสียหมด
ช่วงที่คิดก็เดินไปร้านขายของชำในแคมป์ที่พักของเหมืองที่มีขายทุกอย่าง ที่สำคัญรับเงินไทยด้วย(คือเจ้าของร้านจะได้เอาไปซื้อของฝั่งไทยได้สะดวกขึ้นแล้วเอา สินค้ามาขายชาร์จคนซื้ออีกที..รวยน่าดู) แลเห็นถั่วกระป๋อง สนนราคากระป๋องละ 10,000 กีบ หรือ ประมาณ 40 บาทไทย ไอเดียก็บรรเจิดทันที
ผมกำลังจะทำอะไรเหรอ? การทำระบบ BBS ในระดับพนักงาน ผมว่าตอนช่วงเริ่มต้นเนี่ยมันสำคัญมาก ยิ่งถ้าองค์กรยังไม่รู้ที่มาที่ไปของระบบนี้ จะทำได้ยากมาก นอกเหนือไปจากการให้ความรู้และประกาศใช้แล้ว การทำให้ตอนจบของกระบวนการก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่การจะเริ่มต้น มันควรจะประกอบไปด้วยสองส่วนที่ต้องทำงานด้วยกันก็คือ คุณภาพ (Quality) และ ปริมาณ (Quantity)
ในช่วงสัปดาห์ที่สองที่มีคนเริ่มส่งมา4-8 ใบ ซึ่ง 5 ใน 8 ใบนั้นเป็นคนๆเดียวกันถึง 2 คน พอถึงช่วงที่ต้องมี Tool box Talk ของสัปดาห์ที่สาม ก็จัดช่วงมอบรางวัลเลยครับ รางวัลที่1สำหรับคนที่ส่งTake5มากที่สุด(3ใบ)เรียนเชิญผู้จัดการโครงการมาแจกรางวัล เลย รางวัลเป็นถั่วกระป๋องพร้อมเงินสดอีกสองหมื่นกีบที่ฝากระป๋อง รางวัลที่สอง รับถั่วกระป๋องเช่นกันแต่ได้เงินเพียงหมื่นกีบ
เชื่อไหมครับ ก่อนประกาศรางวัลในสัปดาห์ที่สี่ จาก 8 ใบ พุ่งพรวดขึ้นมาถึง85 ใน จากพนักงานจำนวน 125 คนทันที และ สัปดาห์ต่อมาผมได้รับBBS การ์ด ถึง 180 ใบ ส่งรายงานด้วยความสบายใจ เบ็ดเสร็จผมใช้เงินไปประมาณสัปดาห์ละ 200 บาท (เงินส่วนตัว) จนกระทั่งจัดคณะกรรมการความปลอดภัยประจำหน่วยงานเสร็จ จัดประชุมวันแรก มีคำถามในห้องประชุมทันทีว่า คุณใช้งบอะไรในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ (เข้าทางSafetyรอคำถามนี้มานานแล้ว)ผมก็บอกไปตามตรงแล้วก็ตามด้วยการอ้อน อีกนิดหน่อยว่า"เมื่อทุกคนรู้แล้วว่าเงินที่ทำกิจกรรมนี้มาจากไหนครั้งหน้าจะมีท่านใดเมตตา ผมไหมครับ "ทุกคนเงียบหมดผมเลยหันไปถามผู้จัดการโครงการแกเป็นเจ้านายฝรั่ง นิวซีแลนด์ที่ค่อนข้างใจดีมากคนหนึ่งที่ผมเคยมี ตอบแบบไม่ลังเลว่ายูเพิ่มรางวัลให้ พนักงานเราได้ไหม คิดมาเลยว่าต้องใช้ต่อเดือนเท่าไหร่ เดี๋ยวไอจะจัดการให้..อ้าว อย่างงี้ ก็เสร็จ Safety สิครับ ฮ่าๆๆ
ก็อย่างที่ผมได้กล่าวไว้ว่า สองอย่างที่ต้องทำควบคู่กันตอนทำกิจกรรม BBS ก็คือ คุณภาพ (Quality) และ ปริมาณ (Quantity) ตอนนี้ผมได้ปริมาณแล้ว ยังเหลือคุณภาพ เพราะตั้งใจจะให้กิจกรรมนี้ช่วยเปลี่ยนแนวคิดพนักงานให้มองให้เป็นว่า อะไรคือความเสี่ยงและสามารถนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้ ผมก็จัดรางวัลใหญ่กว่าเดิมขึ้นมาเลย เริ่มคัดกรองคุณภาพด้วยการให้ผ่านการคัดเลือก จากคณะกรรมการความปลอดภัยหน่วยงานแต่ก็ยังมอบรางวัลให้กับผู้ที่เขียนมามากที่สุด เพื่อรักษาระดับการมีส่วนร่วมไว้.. แต่เอ๊ะ มอบรางวัลทุกสัปดาห์ แต่ประชุมเดือนละครั้ง มันจะไม่สอดคล้องกัน อย่ากระนั้นเลย ประชุมมันทุกสัปดาห์เลยแล้วกัน ควบรวมกับการประชุมแผนงานประจำสัปดาห์ไปเลย
เจ้านายเห็นด้วยอีก คนอะไรชื่อเหมือนผู้กำกับหนังฮอลีวูด(แกชื่อสตีเว่นส์) แล้วยังใจดีกับ Safety อีกจัดไปครับกิจกรรมนี้ก็เลยวินวินและก็สร้างความสนุกสนาน ให้กับพนักงานค่อนข้างมากเพราะทุกคนที่ขึ้นมารับรางวัลต้องมาอ่านให้เพื่อนฟังด้วยสนุก สนานกันไปจนกระทั่งจบโครงการ
พอช่วงปี 2554 และช่วงปี 2556-2558 คราวนี้ไปไกลกว่าเดิม นานาชาติกว่าเดิม นู่นเลย ภาคอีสานของสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ คือบริษัทผมได้ร่วมงานกับบริษัทน้ำมันและก๊าซยักษ์ใหญ่ของโลก ซึ่งมีฐานปฏิบัติงานขุดเจาะก๊าซธรรมชาติอยู่ที่นั่น ท่ามกลางไร่ชาเขียวที่อยู่ล้อมรอบ Safety ที่นั่น มีทั้งคนไทย อเมริกัน อินเดีย ฮ่องกง สิงคโปร์ และบังกลาเทศ
ที่นั่นก็มีระบบ BBS ครับ แต่อยู่ในรูปแบบของ Stop work authority แต่วิธีการทำก็คล้ายๆกัน เพียงแต่ เค้าทำกันเป็นรายวันครับ คือมีการประชุมความปลอดภัยกับบริษัทที่ว่านี้ทุกวัน ตัวผมเองซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยก็ต้องเป็นตัวแทนบริษัทเข้าร่วมประชุมทุกวัน ก่อนเข้าประชุมสัก 2 ชั่วโมง ทุกบริษัทจะต้องส่งใบ Stop work ทุกวัน อย่างน้อยต้องได้ไม่ต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของพนักงาน ของบริษัทนั้นๆ แล้วก็มีการคัดเลือกโดยเอาสุดยอดของแต่ละบริษัทมาประชันกัน วันคุณภาพความคิดด้านความปลอดภัยกันไปเลย บริษัทไหนที่พนักงานเขียนมาได้ดีที่สุดจะถูกโหวดโดย Safety ตัวแทนของแต่ละบริษัทช่วยกันให้คะแนน เช้ามาตอนทำ Safety talk ก็มอบรางวัลให้ โดยทางบริษัทเจ้าของงานจะให้เสื้อยืดสัญลักษณ์บริษัทของเขา ส่วนเราก็มอบรางวัลเล็กน้อย เช่น เงิน 500 ตากา (ประมาณ 250 บาท อันนี้เจ้านายผมก็จ่าย แต่รอบนี้ เจ้านายผมเป็นออสเตรเลีย) พนักงานก็จะออกมาอ่านให้ฟัง วิธีนี้ก็ยังทำกันมาเรื่อยๆ เพราะเมื่อปี 2556-2558 ที่ผมไปร่วมงานรอบที่สอง ก็ยังรักษาระบบนี้ไว้อย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียว
สิ่งที่เป็นการต่อยอดของกิจกรรมนี้ก็คือ การพยากรณ์อุบัติเหตุที่แม่นยำ เพราะการที่พนักงานส่งรายงานเข้ามาเป็นรายวัน วันหนึ่งๆก็มีหลายฉบับ เฉพาะบริษัทผมก็เป็นร้อยแล้ว (พนักงานชาวไทย 60-80 คน ชาวบังกลาเทศอีก 100-120คนออสเตรเลีย3คน)แน่นอนว่าหลายๆเรื่องในจำนวนนั้นต้องมีเรื่องที่ซ้ำกันหรือมี ลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แน่นอนว่า ดังนั้น เมื่อมีรายงาน BBS เรื่องที่คล้ายๆกัน เข้ามาในช่วงเวลาหนึ่งเป็นจำนวนความถี่ค่อนข้างมาก ในที่ประชุม Safety นานาชาติ จะเริ่มยกประเด็นเหล่านี้ขึ้น ก่อนที่จะสรุปโดยให้ทุกบริษัทไปหาวิธีลดความเสี่ยงที่ว่านี้ ก่อนที่จะเกิดเรื่องอุบัติเหตุขึ้น
สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมขึ้นมาก็คือ โครงการแรกที่ผมไปร่วมงานเกือบปี ไม่เกิดอุบัติเหตุเลือดตกยางออกเลยตลอดโครงการ และโครงการที่สองที่ใช้เวลาทำงานเกือบสองปีก็ไม่เกิดเคสเลือดตกยางออกแม้กระทั่งมีดบาดมือ เพราะเมื่อมีการพยากรณ์เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ ที่เหลือก็คือการควบคุมและตัดสิ่งที่เป็นความเสี่ยงออก
ง่ายไหมครับ..วันนี้..คุณเขียนรายงาน BBS แล้วรึยัง.