5ส และ Visual Control

5ส และ Visual Management หลักการพื้นฐานที่ไม่ควรมองข้าม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์

                 ในหนทางสู่ความเป็นเลิศขององค์กรมีเครื่องมือเพื่อการปรับปรุงผลิตผลหรือผลลัพธ์ (Productivity) และคุณภาพ (Quality)เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีรากฐานอยู่ 2 เรื่อง ที่หลายองค์กรมักมองข้ามพลังของเครื่องมือทั้งสองนี้ด้วยความรู้สึกว่าเป็นเพียงเรื่องพื้นๆเท่านั้น คือ 5ส และ Visual Managementแม้ว่าโลกในปัจจุบันที่ว่ากันว่าเป็น ยุค Digital เกิดสังคมเสมือนบนโลกออนไลน์ สถานที่ทำงานกลายเป็น Anywhere-Anytimeแต่โลกกายภาพไม่เคยหายไป ภาคการผลิตยังมีโรงงานและภาคบริการที่ยังต้องมีสถานที่ ดังนั้น “5ส”จึงยังเป็นหลักคิดที่มีความสำคัญ

5ส วิวัฒนาการมาจากแนวคิด Good Housekeeping การทำงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ พื้นที่ทำงานต้องสะอาด อุปกรณ์เครื่องมือเป็นระเบียบ ใช้งานได้สะดวก จากนั้นแนวคิดนี้จึงถูกยกระดับขึ้นมาหลักคิดของ 5ส นำไปใช้ได้กับทุกองค์กร ความหมายของ 5ส มีหนังสือและบทความเขียนถึงมากมาย ผมลองหยิบมาต่อยอดที่น่าสนใจดังนี้ ครับ

  • ส สะสางมีสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานและเชื่อมต่อกับระบบ Lean ด้วยการลดความสูญเสีย
  • ส สะดวก หยิบเก็บง่ายและเพิ่มเติม คือ ประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย
  • ส สะอาด การดูแลรักษาสภาพพื้นที่ให้พร้อมปฏิบัติงาน
  • ส สร้างมาตรฐานคือวงจร PDCA (Plan-Do-Check-Act)
  • ส สร้างนิสัยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรผ่านการกระทำซ้ำๆ

     

เมื่อมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีแล้ว “ข้อมูลข่าวสาร”ที่เหมาะสมในพื้นที่ทำงานคือองค์ประกอบพื้นฐานถัดมา หลักการดังกล่าวคือแนวคิดของ Visual Managementเพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน ทำงานได้ถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพการสื่อสารผ่านการมองเห็น (Visual) ถูกนำมาขยายความในองค์กรได้มากทั้ง “ข้อมูลที่ขาดหายไป”และ “ข้อมูลที่มีอยู่แล้วแต่เข้าใจยาก”มีคำกล่าวในอุดมคติของ Visual Management คือ เข้าใจเนื้อหาหลักด้วยการมองเห็นเพียงครั้งเดียว เช่น การแสดงข้อมูลตัวเลขด้วยกราฟ แผนภูมิกระบวนการ ภาพวาดหรือภาพถ่าย และตัวอย่างของจริง เป็นต้น

 

โดยสรุปแล้ว เราสามารถอธิบาย แนวคิดหลักของ 5ส และ Visual Managementว่าคือการจัดการ “กายภาพ”และ “ข้อมูลข่าวสาร”ในพื้นที่ทำงานเพื่อให้เกิดสภาพการทำงานที่ดีและเกิดแรงจูงครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจากhttps://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645998

การควบคุมด้วยการมองเห็น ( Visual Control)
ความ หมายของ Visual Control
โดยปกติแล้วคนเราจะ รับรู้ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งห้าได้แก่การมองเห็นการได้ยินการดมกลิ่นการ ชิมรสและการสัมผัสโดยผ่านอวัยวะต่างๆเช่นตาหูจมูกลิ้นและผิวหนัง
       ประสาทสัมผัส อวัยวะ
       การมองเห็น ตา
       การได้ยิน หู
       การดมกลิ่น จมูก
       การชิมรส ลิ้น
       การสัมผัส ผิวหนัง
ประสาทสัมผัสที่ใช้มากที่สุดและมักจะใช้พร้อม ๆ กันในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การมองเห็นและการได้ยิน การรับสารโดยการได้ยินอย่างเดียวมีข้อจำกัดต่างๆ มากมาย เช่น ในสถานที่ที่มีเสียงดัง หรือเสียงรบกวนอื่น ๆ อาจเป็นอุปสรรคต่อการได้ยิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพูดคุยกันเฉย ๆ จะไม่มีหลักฐานอะไรหลงเหลือไว้ให้อ้างอิงได้ หากมีการถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นต่อจะผิดเพี้ยนได้ง่าย Visual Control จึงเข้ามามีบทบาทค่อนข้างมากในการสื่อสารผ่านการมองเห็นในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ป้าย สัญลักษณ์ แถบสี เครื่องหมาย รูปภาพ กราฟ ฯลฯ ดังคำกล่าวในสำนวนที่ว่า “ สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น ” หรือ “ ภาพหนึ่งภาพแทนคำบรรยายนับพัน ”

Visual แปลว่า สิ่งที่มองเห็นด้วยภาพ Control แปลว่า การควบคุม ดังนั้น Visual Control จึงหมายถึง
    • เทคนิคที่ใช้ในการสื่อสารผ่านการมองเห็น โดย แสดงให้เห็นผลการปฏิบัติงาน เห็นความผิดปกติ หรือสื่อสารความหมายบางอย่างให้เห็นได้อย่างสะดวก ชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายขึ้น Visual Controlจึงอาจอยู่ในรูปสัญลักษณ์แผ่นป้ายสัญญาณไฟแถบสีรูปภาพกราฟฯลฯ

หากโลกนี้ไม่มี Visual Control
ลองจินตนาการถึงสนามแข่งฟุตบอลในงานแข่งกีฬาสีที่โรงเรียนแห่งหนึ่งที่
     • กองเชียร์ทั้งสองฝ่ายแต่งกายสีเหมือนกัน
     • นักฟุตบอลทีมเดียวกันแต่แต่งกายไม่เหมือนกันเลย
     • หรือนักฟุตบอลทั้งสองทีม รวมทั้งกรรมการแต่งกายเหมือนกันหมด
     • ผู้รักษาประตูใส่เสื้อแขนสั้นเหมือนนักเตะ
     • ที่เสื้อนักฟุตบอลแต่ละคนไม่มีหมายเลขประจำตัว
     • เส้นขอบสนาม เส้นแบ่งฝ่าย และเส้นเขตประตู ไม่ชัดเจน
     • ในสนามไม่มีสกอร์บอร์ดบอกจำนวนประตูที่แต่ละฝ่ายทำได้
     • ไม่มีนาฬิกาแสดงเวลาให้นักฟุตบอลและคนดูทราบเวลาที่ผ่านไปแล้ว
     • กรรมการไม่ชูใบแดง ใบเหลืองให้เห็นเวลาลงโทษ (แค่ใช้วิธีพูดแจ้งให้นักเตะทราบ หรือตะโกนบอกคนดู)
        หรือ ลองจินตนาการถึงการเดินทางบนท้องถนนที่
     • สัญญาณไฟจราจรเสีย
     • ไม่มีเส้นแบ่งช่องทางจราจร
     • ไม่มีป้ายบอกทาง
     • ป้ายบอกทางขึ้นทางด่วนใช้สีเดียวกับป้ายบอกทางปกติ
     • รถโดยสารประจำทางไม่มีหมายเลขสายรถ
     • รถแท็กซี่พ่นสีเหมือนรถยนต์ส่วนบุคคลปกติ และไม่มีป้ายไฟแท็กซี่
     • รถแท็กซี่ไม่มีป้ายไฟที่ใช้แสดงว่ารถว่างหรือมีผู้โดยสาร
     • รถยนต์แต่ละคันไม่มีเลขทะเบียนรถ
     • รถแต่ละคันไม่เปิดไฟเลี้ยวเวลาเลี้ยว
     • ไฟเบรครถยนต์เสีย เวลาเหยียบเบรคแล้วไม่มีไฟเบรคขึ้น
     • เวลารถจอดหรือเสียอยู่ข้างถนน ไม่เปิดไฟกระพริบ
Visual Control เป็นเทคนิคการสื่อสารผ่านการมองเห็นที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา และเห็นกันอยู่ในชีวิตประจำวันทุก ๆ วันอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นเทคนิคง่าย ๆ แต่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสาร เราจึงสามารถมองหา Visual Control ได้ในเกือบทุกสถานที่ เช่น ตามท้องถนน ในโรงเรียน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ตลาด สวนสนุก พิพิธภัณฑ์ สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในบริษัทหรือโรงงานต่าง ๆ สถานที่ราชการต่าง ๆ ฯลฯ เพียงแต่เราอาจไม่ได้สังเกต หรือไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควรในการนำมาขยายผลและประยุกต์ใช้เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่มีโอกาสผิดพลาดและส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ หรือความเสียหายมาก เทคนิค Visual Control จึงเป็นเทคนิคพื้นฐานในการเพิ่ม Productivity ที่สามารถช่วยช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
การประยุกต์ใช้ Visual Control
ใน การเลือกและนำเทคนิค Visual Control มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือในสถานที่ทำงาน อาจเริ่มจากการใช้เทคนิคง่าย เช่น เทคนิคการตั้งคำถาม 5 W 1 H เพื่อหาเหตุและผลในการประยุกต์ใช้เทคนิค Visual Control นั้น ๆ เช่น
5 W 1 H ตัวอย่างคำถาม
     Why หรือ ทำไม • ทำไมถึงต้องนำ Visual Control มาใช้
     • ทำไมจึงเกิดความผิดพลาดหรือปัญหาต่าง ๆ ขึ้น
     • ทำไมถึงต้องเลือก Visual Control แบบนั้นมาใช้
     • ฯลฯ
     How หรือ อย่างไร • จะนำ Visual Control เข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร
     • ความผิดพลาดต่าง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร
     • จะสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจใน Visual Control นั้น ๆ ได้อย่างไร
     • ฯลฯ
     What หรือ อะไร • สื่อหรือเทคนิค Visual Control อะไรที่ควรนำมาใช้
     • อะไรบ้างที่จะเป็นอุปสรรคหรือข้อจำกัดในการใช้ Visual Control
     • ฯลฯ
     When หรือ เมื่อไร • ต้องการใช้ Visual Control ในการสื่อสารผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเมื่อไร
     • ความผิดพลาดต่าง ๆ มักเกิดขึ้นเมื่อไร
     • จะนำ Visual Control เข้ามาใช้เมื่อไร
     • ฯลฯ
     Where หรือ ที่ไหน • กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการใช้ Visual Control อยู่ที่ไหน
     • จะติดตั้ง Visual Control ที่บริเวณไหนจึงจะเห็นได้ง่ายและชัดที่สุด
     • ความผิดพลาดต่าง ๆ มักเกิดขึ้นที่บริเวณใด
     • ฯลฯ
     Who หรือ ใคร • ใครเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการใช้ Visual Control สื่อสารให้ทราบ=
     • ใครเป็นผู้ที่มักทำให้เกิดความผิดพลาด
     • ใครเป็นผู้ที่ควรนำ Visual Control ไปใช้
     • ฯลฯ
ตัวอย่างเช่น การนำ Visual Control และเทคนิคการตั้งคำถาม 5 W 1 H มาประยุกต์ใช้ของบริษัทนำเที่ยวแห่งหนึ่งเพื่อแก้ปัญหานักท่องเที่ยวพลัดหลง จากกลุ่ม และหลงจากมัคคุเทศก์ในระหว่างการนำเที่ยว

5 W 1 H คำถาม คำตอบ
        Why ทำไมนักท่องเที่ยวถึงมักพลัดหลง ในสถานที่ท่องเที่ยวมีนักท่องเที่ยวหลายกลุ่ม และมีเสียงดังทำให้เรียกกันไม่ได้ยิน นักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มไม่มีสัญลักษณ์เฉพาะกลุ่ม
        Who ใครบ้างที่พลัดหลง และใครบ้างต้องตามหา นักท่องเที่ยวทุกคนมีโอกาสพลัดหลงจากกลุ่ม เมื่อนักท่องเที่ยวหลงจากกลุ่ม มัคคุเทศก์อาจตามหาไม่พบเนื่องจากจำนักท่องเที่ยวในกลุ่มของตนได้ไม่หมด
         How ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้นักท่องเที่ยวพลัดหลง ต้องมีสัญลักษณ์เฉพาะกลุ่มที่ทำให้นักท่องเที่ยวเห็นกลุ่มและมัคคุเทศของ ตนได้ง่ายแม้ว่าจะอยู่ไกล มีคนมากยืนบังกัน หรือไม่ได้ยินเสียงตะโกนเรียก
         What จะใช้ Visual Control อะไรเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ใช้สีหรือสัญลักษณ์เฉพาะกลุ่มของตนที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นนัก ท่องเที่ยวในกลุ่มของตน เช่น ให้นักท่องเที่ยวใส่หมวกและติดเข็มกลัดของบริษัท และให้มัคคุเทศก็ถือธงของบริษัท
         Where จะติด Visual Control ที่ไหนจึงจะเห็นได้ชัด นักท่องเที่ยวทุกคนจะต้องติดเข็มกลัดที่หน้าอกเสื้อด้านซ้ายเหมือนกัน เพื่อให้มองหาได้ง่าย และธงสีของบริษัทจะต้องติดที่ปลายไม้และชูขึ้นสูง ๆ ตลอดเพื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นได้ชัดแม้ว่าอยู่ไกล เมื่อนักท่องเที่ยวหายจากกลุ่มก็ต้องพยายามมองสูง ๆ เพื่อหาธงของบริษัท
         When เมื่อไรที่ควรใช้ Visual Control ทุกครั้งก่อนลงจากรถจะต้องให้นักท่องเที่ยวใส่หมวกและติดเข็มกลัดทุกคน และมัคคุเทศก์จะต้องชูธงสีขึ้นสูงตลอดเวลาในขณะนำเที่ยว


ประเภทของ Visual Control
การแบ่งประเภทของ Visual Control สามารถแบ่งได้หลายลักษณะ เช่น แบ่งตามประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ เป็นกลุ่ม
       • Visual Control เพื่อความปลอดภัย เช่น สัญลักษณ์ความปลอดภัยแบบต่าง ๆ
       • Visual Control เพื่อปรับปรุงคุณภาพ เช่น ตัวอย่างลักษณะงานดี งานเสีย
       • Visual Control เพื่อการบริหารสินค้าคงคลัง เช่น ป้ายบอกประเภทสินค้าต่าง ๆ
       • Visual Control เพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักร เช่น ขีดบอกระดับสูงสุด ต่ำสุดของน้ำมันเครื่อง
       • Visual Control เพื่อการส่งเสริมการขาย เช่น ป้ายโฆษณาสินค้า
       • Visual Control เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงาน เช่น กราฟแสดงผลการปฏิบัติงานของ แต่ละแผนกฯลฯ
แต่ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างสื่อ Visual Control ตามลักษณะการสื่อสารของตัว Visualสื่อ Visual Control ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Control เช่น

      สี สีเสื้อกีฬาสี สีประจำโรงเรียน สีธนบัตรหรือเหรียญ สีบางสีมักถูกใช้ในการสื่อความหมายที่ค่อนข้างยอมรับเป็นสากล จึงต้องควรศึกษาและระวังในการเลือกใช้เช่น
สีเขียว มักใช้หมายถึง ความปลอดภัย หรือความเป็นธรรมชาติ ไม่เป็นพิษหรือไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
      สีเหลือง มักหมายถึง ให้ระวังเพราะอาจเกิดความผิดพลาดหรืออันตรายได้
ป้ายไฟ สัญญาณไฟจราจร ป้ายไฟรถแท็กซี่ แถบสะท้อนแสงให้เห็นเวลากลางคืน ป้ายไฟบอกสถานะการทำงานของเครื่องจักร ไซเรนรถตำรวจหรือรถพยาบาล ฯลฯ การเลือกใช้สีป้ายไฟควรพิจารณาถึงความหมายของสีประกอบด้วย เช่น สีของสัญญาณไฟจราจร

      สัญลักษณ์ หรือหรือเครื่องหมาย เครื่องหมายจราจร ทางม้าลาย เครื่องหมายความปลอดภัย เครื่องหมายลูกเสือ เครื่องหมายบอกยศของทหาร ตำรวจ เครื่องหมายการค้าหรือโลโก้ของบริษัทต่าง ๆ รวมทั้งรอยขีด รอยบากต่าง ๆ เช่น การทำรอยบากที่โต๊ะที่ระยะ 1 เมตรของพ่อค้าผ้า แล้ววัดความยาวของผ้าเทียบกับรอยบากนี้เมื่อลูกค้ามาซื้อผ้า (ที่ขายเป็นเมตร) ช่วยให้ไม่ต้องใช้ไม้เมตร
ภาพถ่าย หรือภาพวาด ภาพถ่ายตัวอย่างนักเรียนที่แต่งกายถูกระเบียบ ภาพถ่ายตัวอย่างอาหารในเมนูอาหาร หรือในกรณีของการรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุมักใช้ภาพถ่ายความเสียหายหรือการ บาดเจ็บจริงเพื่อกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกในการป้องกันอุบัติเหตุจากการเห็น ภาพถ่ายจริง

      ชิ้นงานตัวอย่างจริง หรือแบบจำลอง ตัวอย่างเงื่อนแบบต่าง ๆ ในวิชาลูกเสือ ตัวอย่างเครื่องหมายลูกเสือที่โรงเรียนอนุญาตให้ใช้ แบบจำลองอาคารต่าง ๆ ภายในโรงเรียน หุ่นจำลองแสดงอวัยะต่าง ๆ ในตัวคน โครงกระดูกจำลอง ตัวอย่างเหรียญหรือธนบัตรปลอม

     แบบแปลน แผนผัง(อาคาร , Drawing ) ผังแสดงอาณาบริเวณบริเวณโรงเรียน แผนที่ในการเดินทาง ผังโครงสร้างองค์กร Drawing แสดงส่วนประกอบของเครื่องจักร
     กราฟ แผนภูมิ กราฟเส้นแสดงยอดขายของร้านค้าในเดือนต่าง ๆ กราฟแท่งแสดงจำนวนนักเรียนระดับชั้นต่าง ๆ กราฟวงกลมแสดงอัตราส่วนระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิง
      ตาราง ตารางแสดงประเภทและจำนวนเหรียญรางวัลที่ได้ในการแข่งกีฬาที่แต่ละสีได้ ตารางบอกคะแนนในสนามแข่งบาสเก็ตบอล
ข้อความต่าง ๆ ป้ายชื่อโรงเรียน ป้ายคำขวัญวันเด็ก ป้ายคำขวัญประจำโรงเรียน พระบรมราโชวาทที่สำคัญ ป้ายชื่อแผนกในโรงพยาบาล ป้ายบอกทางริมถนน ป้ายรณรงค์ส่งเสริมต่าง ๆ
       ตัวเลข หมายเลขรถประจำทาง หมายเลขชานชาลารถไฟ หมายเลขประจำตัวที่เสื้อนักกีฬา นาฬิกาดิจิตอล สกอร์บอร์ดในสนามกีฬา
         เครื่องแบบ เครื่องแบบนักเรียน ลูกเสือ เนตรนารี ตำรวจ ทหาร พยาบาล ธงชาติหรือ ธงประจำหน่วยงานต่าง ๆ
อื่น ๆ ประภาคารบนเกาะกลางทะเลหรือริมชายฝั่ง
       ตัวอย่างสื่อ Visual Control ตามลักษณะการสื่อสารของตัว Visual Control ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีการประยุกต์ใช้ Visual Control จริงในการสื่อสารอื่น ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วนในทุกธุรกิจและทุกกิจกรรม นอกจากนี้ตัวอย่างข้างต้นยังเป็นเพียงการแบ่งประเภทตามลักษณะการสื่อสาร เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการประยุกต์ใช้ Visual Control ให้มากขึ้นเท่านั้น ในการประยุกต์ใช้ Visual Control ในชีวิตประจำวันจริง ๆ อาจใช้สื่อ Visual Control หลาย ๆ รูปแบบผสมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการสื่อสารมากที่สุด เช่น
        • การใช้แผนภูมิหรือกราฟในการแสดงผล จะต้องคำนึงถึงสีที่จะใช้เพื่อให้สังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจนที่สุด หรืออาจใช้รูปภาพ เช่น รูปวาดนักเรียนชายและหญิงแทนจำนวนนักเรียนชาย หญิง ในโรงเรียนแทนการใช้กราฟแท่ง เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ดู
        • ป้ายคำขวัญรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุ อาจมีรูปอุบัติเหตุ กราฟสถิติอุบัติเหตุ และติดไฟกะพริบ เพื่อดึงดูดความสนใจโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
        • เสื้อผู้รักษาประตูทีมฟุตบอลที่มีลักษณะและสีต่างจากผู้เล่นทั่วไป เช่น ใช้เสื้อแขนยาว และมักใช้หมายเลข 1 เพื่อให้คนดู กรรมการ และผู้เล่นด้วยกันเองมองเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณข้อมูลดีดีครับ ที่มาข้อมูล

https://www.thaidisplay.com/content-30.html

Visitors: 569,621