แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ

1. การระบุสถานที่อับอากาศ
สถานที่อับอากาศ มีลักษณะคือ
     1.1 เป็นสถานที่ใหญ่พอที่คนจะเข้าไปปฏิบัติงานภายในได้
     1.2 อยู่ในสภาพจำกัดไม่ให้มีการเข้าออกได้โดยสะดวก ภายในมีความเสี่ยงต่อการ
          บาดเจ็บหรือเสียชีวิตเนื่องมาจากสสารที่เป็นพิษ หรือ สภาวะที่เป็นอันตราย
     1.3 เนื่องจากสภาพการเข้าออกที่ไม่สะดวกทำให้การกู้ภัยหรือช่วยชีวิต เป็นไปได้โดยยากลำบาก
     1.4 ไม่ได้รับการออกแบบให้เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติงาน Routine


2. อันตรายในสถานที่อับอากาศ
ในสถานที่อับอากาศมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายดังต่อไปนี้
     2.1 การขาดออกซิเจน
     2.2 ก๊าซพิษ, Fume หรือ ไอระเหย ที่เป็นพิษ
      2.3 การท่วมของของเหลว หรือ มีวัสดุไหลทะลักเข้ามาในสถานที่นั้นอย่างทันทีทันใด
     2.4 ไฟไหม้และการระเบิด
     2.5 ฝุ่น
     2.6 ความร้อน หรือ ความเย็น


3. การควบคุมความเสี่ยงในการเข้าทำงานในสถานที่อับอากาศ
ในการลดความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายสามารถดำเนินการได้ดังต ่อไปนี้
   3.1 หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่อับอากาศ เช่น จัดให้มีวิธีการทำงานโดยที่ไม่ต้องส่งคนเข้าไปข้างใน เช่น
        (1) งานขจัดสิ่งอุดตันภายในไซโลโดยใช้อุปกรณ์ที่บังคับโดย Remote control
        (2) การเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับงานตรวจสอบ การเข้าสุ่มตัวอย่าง หรือ การทำความสะอาดด้านใน
        (3) การเลือกใช้กล้องที่บังคับด้วย Remote control สำหรับงานตรวจสอบภายในถังขนาดใหญ่
   3.2 กรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเข้าไปปฏิบัติงานภายในได้ ต้องมีระบบการทำ
       (2) ดำเนินการโดยผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมที่เหมาะสม และ มีความรู้
            ความสามารถในการเข้าทำงานในสถานที่อับอากาศได้อย่างปลอดภัย
       (3) มีการตัดการทำงานของเครื่องจักร, กระแสไฟฟ้า, การป้อนวัสดุ (Isolation)
       (4) มีการทำความสะอาดก่อนเข้าดำเนินการ
       (5) มีการตรวจสอบและดำเนินการให้ช่องทางเข้ามีขนาดที่เหมาะสม
       (6) มีการระบายอากาศที่เหมาะสม
       (7) มีการตรวจสอบวัดสภาพบรรยากาศในที่อับอากาศ (ปริมาณออกซิเจน,
            สารพิษ)
       (8) มีการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับประเภทของงานและมีแสงสว่างเพียงพอ
       (9) มีการใช้เครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสม
                     มีผู้ควบคุมงาน
                    ป้ายเตือนอันตราย
                     และห้ามเข้า
4 มีการเตรียมการสำหรับเหตุฉุกเฉินให้พร้อมก่อนเริ่มการเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
    4.1 ตรวจสอบและให้มีการเตรียมพร้อมตรวจสอบดูว่าการแจ้งเหตุฉุกเฉิน
    4.2 มีเครื่องมือกู้ภัยและช่วยชีวิตที่พร้อมใช้งานได้ทันสถานะการณ์ และทีมมีขีดความสามารถตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้าทำงานในที่อับอากาศครั้งนั้น ๆ ได้
    4.3 มีทีมกู้ภัยช่วยชีวิตที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ทันสถานะการณ์
    4.4 พร้อมสำหรับดำเนินการตามขั้นตอนสำหรับเหตุไฟไหม้
    4.5 มีความพร้อมสำหรับการยกเลิกการปฏิบัติเมื่อจำเป็น  


5. โปรแกรมการจัดการเพื่อความปลอดภัยในการเข้าทำงานในสถานที่อับอากาศ
     1. มีการชี้บ่งสถานที่ที่ถือเป็นที่อับอากาศ
     2. มีการป้องกันการเข้าโดยไปโดยพลการ
     3. มีระบบการอนุญาตให้เข้าไปปฏิบัติงาน
     4. มีการวางแผนการเข้าไปปฏิบัติงานในแต่ละครั้ง
     5. จัดให้มีการระบายอากาศ
     6. มีป้ายเตือนอันตราย
     7. ชี้บ่งผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ
     8. จัดให้มีอุปกรณ์ที่จำเป็น
     9. มีขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับการตรวจวัดบรรยากาศในสถานที่อับอากาศ
    10.มีแผนกู้ภัยฉุกเฉินสำหรับผู้ประสบภัยในสถานที่อับอากาศ
         ตรวจวัดบรรยากาศ
        ใช้เครื่องช่วยหายใจ
        แผนปฏิบัติงานเชื่อมไฟฟ้าในที่อับอากาศ
        ป้ายเตือนอันตราย
        การกู้ภัย
        การนำส่งแพทย์
6. การฝึกอบรมตามกฏหมาย
ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตร
การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับบุคลคากรที่ปฏิบัติหน้าที่
เกี่ยวกับงานในสถานที่อับอากาศ

 

อ่านต่อคลิ๊กไฟล์ด้านล่างนะครับ

Visitors: 569,584