5ส ที่มองไม่เห็น

สวัสดีครับ

          ผมขอนำบทความมาเผยแพร่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านนะครับ 

5ส ที่มองไม่เห็น

       องค์กรส่วนใหญ่ทำ 5ส กับสิ่งที่มองเห็น (Visible) หรือจับจับต้องได้ในเชิงกายภาพ  แต่ 5ส มีความหมายกว้างกว่านั้นคือ การทำ5ส กับสิ่งที่มองไม่เห็น(Invisible) ได้แก่ระบบงาน วิธีการทำงาน แนวความคิด กฎเกณฑ์และหลักปฏิบัติ (สมชาย พิทยาอุดฤกษ์) 2547 พิจารณาตู้เอกสารของหน่วยงาน สิ่งที่เห็นอาจเป็นแฟ้มเอกสารที่จัดวางเป็นระเบียบ แยกเป็นหมวกหมู่แต่ละแฟ้มมีดัชนีบ่งชี้ทำให้หาเอกสารได้ง่าย และตู้มีความสะอาด แต่สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา คือ เอกสารมีความซ้ำซ้อนและมีมากเกินความจำเป็นหรือไม่ และสามารถนำเอกสารไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่

     หากเปรียบ 5ส คือ ภูเขาน้ำแข็ง สิ่งที่มองเห็นเป็นเพียงส่วนน้อย แต่สิ่งมองไม่เห็นใต้ภูเขาน้ำแข็งนั้นยังมีมากกว่าสิ่งที่มองเห็นอีกมาก  คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่มองเห้น แต่มักจะไม่ไตรตรองว่า สิ่งที่มองไม่เห็นนั้นเป็นปัญหา  นอกจากนั้น ยังยอมรับปัญหาที่มองไม่เห็นเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานประจำวันอีกด้วย  ตัวอย่างเช่น การประชุมที่ไม่ประสิทธิภาพ การขาดวินัยของบุคลากร การผลิตของเสีย ระบบงานที่ซ้ำซ้อน หรือการพึ่งพาให้หน่วยงานที่อยู่ถัดไปเป็นผู้ตรวจสอบงานแทนแผนกของตน สิ่งเหล่านี้อาจอยู่คู่กับองค์กรมายาวนาน แต่คนภายในองค์กรกลับมองไม่เห็น ไม่รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหา (อนุวรรตน์ ศิลาเรืองอำไพฒ2546)

Bloggang.com : นายสมมุติ - ๑ รูป ๑ ธรรม ตอน ภูเขาน้ำแข็ง

   คนภายนอกหน่วยงานอาจมองไม่เห็น แต่หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานนั้นน่าจะพอมองเห็นได้ 5ส ที่มองไม่เห็น เป็นเรื่องที่ควรปรับปรุงและพัฒนาด้วยตัวเองไม่ใช่เห็นแล้วเพิกเฉย แต่ก่อนที่จะจัดการกับ 5ส ที่มองไม่เห็น จำเป็นต้องทราบก่อนว่า งานนั้นมีรูปร่าง หน้าตาอย่างไร หัวใจในการทำ 5ส ที่มองไม่เห็น คือ จะต้องทำให้งานนั้น  “เห็น” ขึ้นมาด้วยการเขียนแผนผังการไหลของงาน แล้วจึงจัดระเบียบให้งานมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็วและลดความสิ้นเปลืองต่อไป

      องค์กรอาจเริ่มต้นจาก 5สที่มองเห็น เนื่องจากทำได้ง่ายและเห็นผลเป็นรูปธรรม แต่บางองค์กรอาจให้ความสำคัญกับ 5ส  ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็นไปพร้อมกัน  โดยการระบุ 5ส ที่มองเห็นและที่มองไม่เห็นให้ชัดเจน กำหนดเป้าหมายและแผนงาน จัดทำคู่มือและตรวจประเมินพื้นที่ให้ครอบคลุม 5ส ทั้ง 2 ประเภท

ที่มา: บริษัท ไทยแอโรว์ โปรดักส์ จำกัด (2547)

จากหนังสือ 5ส  หลักการและวิธีปฏิบัติ (อ.อดิศักดิ์  ธีรานุพัฒนา)

 

Visitors: 569,565