การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันให้อย่างยั่งยืน

                               การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันให้อย่างยั่งยืน

                                                                                                                             อ.สวินทร์ พงษ์เก่า

                                                                                                                           นักวิชาการความปลอดภัยจิตอาสา

                                                                                                                            (sawin_p8@yahoo.com

 

                               การเปลี่ยนแปลง   ตลอดช่วงชีวิติของ มนุษย์ เริ่มต้น ในวัยเด็ก  คุณพ่อ คุณแม่ ของเรา เป็นต้นแบบและ  เป็นผู้กำหนด ทิศทางการเปลี่ยนแปลง   ต่อมาเมื่อเราเข้าสู่วัยเรียน ครู อาจารย์ ได้เป็นสอน เป็นผู้ชี้ และเป็นผู้แนะนำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง    เมื่อเราเติบโต เป็นผู้ใหญ่เข้าสู่วัยทำงาน  สังคม องค์กร  เป็นผู้กำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลง

                        คำถาม ที่ต้องหาคำตอบ คือ  ทำไม เราจึงต้องเปลี่ยนแปลง เพราะโดยทั่วไป  มนุษย์จะมีแนวโน้มที่ จะ  “  การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ( Resistance to change)     บริบท  สังคมยุคปัจจุบัน คนที่ปรับตัวและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง  ได้ดีและเร็ว ที่สุด จะเป็นคนที่อยู่รอดในปัจจุบัน   

             ปัจจัยที่มีอิธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง ขององค์กรในปัจจุบัน  ที่ทำให้ เราต้องเสริมสร้างให้ทุกองค์กร เกิดวัฒนธรรมเชิงป้องกัน อย่างเจริงจัง    เพราะรูปแบบของ ปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลต่อ ความปลอดภัย สุขภาพอนามัยและความผาสุก ( Safety Health Well being) ที่มีลักษณะที่ซับซ้อน มากขึ้น เช่น กรณีศึกษา  Covid 19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง และเป็นวงกว้าง   มากกว่า อุบัติเหตุร้ายแรงที่เคยเกิดขึ้น ในโลกนี้ ไม่ว่า จะเป็น อุบัติเหตุสารเคมีอันตรายรั่วไหล  อุบัติเหตุอัคคภัย ในโรงงาน  อุบัติเหตุระเบิดของโรงงาน ผลกระทบก็ยังอยู่ในวงจำกัด 

                     

              

             ปัจจัยที่ทำให้ให้องค์กรต้องสร้างวัฒนธรรมเชิงป้องกัน 

  1. ผู้ปฎิบัติงานทุกคนในองค์กร เป็น สิ่งที่มีค่าและหาทดแทนไม่ได้โดย มองเป็น ทุนมนุษย์  ที่มิได้มองทุนเป็นแต่เพียงตัวเงินอย่างเดียว    ทุนมนุษย์  เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันองค์กรสามารถก้าวไปถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างศักยภาพให้องค์กรแข็งแกร่ง

  2. ปัจจัยด้านสังคม  โดย ได้เปลี่ยน เข้าสู่  สังคมดิจิทัล (Digital Society)   รูปแบบของ ปัจจัยเสี่ยงด้าน ความปลอดภัย สุขภาพอนามัยและความผาสุก ( Safety Health Wellbeing)   ของผู้ปฎิบัติงานเปลี่ยนไป จาก การที่ผู้ปฎิบัติงาน ต้องสัมผัสอันตราย ที่ทำให้เกิดการ ชน กระแทก ตัด หนีบ ดึงเกี่ยว โดยตรง  ปรับเปลี่ยน มาเป็น ความเสี่ยงที่เกิดจาก พฤติกรรมการ กิน อยู่ หลับนอน มากขึ้น  

  3. สังคมสูงวัย (Aging Society)         เมื่อสังคมมีแนวโน้มที่จะมีประประชากรสูงอายุ มากขึ้น จึงจำเป็นที่ จะต้องพัฒนาศักยภาพ ให้แรงงาน สูงอายุ สามารถทำงาน ได้ โดยมีการขยายอายุการออกไป การเสริมสร้างให้ ประ ชากรสูงอายุให้มีความแข็งแรง ทั้งทางร่างกาย และจิตใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อรักษาและธำรงค์ไว้ ให้ มีศักยภาพสูงสุด สอดคล้องกับ วัย ที่มีการเปลี่ยนแปลง

  4.  ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ที่มีการเปลี่ยนแปลง     ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)  ,เทคโนโลยีไร้สาย (Wireless Technology)     จะถูกนำมาใช้ในการทำงานร่วมกับมนุษย์ มากขึ้น      

  5. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม จะเป็นสิ่ง ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ   การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Climate Change)   ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อการกำหนดยุทธศาสตร์ ของทุกประเทศทั่วโลก และ  ทุกภาคการผลิต ต้องให้ความสำคัญ   ไม่ว่าจะเป็น Product และ Service  ต้อง ไม่ส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม

          จาก  ปัจจัย ที่ 6  ประการที่ ได้กล่าว มาข้างต้น เราและองค์กร ของเรา คงไม่อาจต้านการเปลี่ยนแปลง ได้อีกต่อไป เราและองค์กร จะต้อง วาง แผน ในการรองรับการเปลี่ยนแปลง ( Change) โดย ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งแนวคิดของผู้บริหาร  แนวคิดของ บุคคลากรทุกระดับ วิธีการบริหารจัดการ  และ สร้าง บรรยากาศภายในองค์กร ให้มีแนวคิดเชิงป้องกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ของการสร้างวัฒนธรรมเชิงป้องกัน ( Preventive Culture) สู่ความยั่งยืน

 

 

 

 

Visitors: 569,782