งาน จป

สวัสดีครับ ..

       ผมคัดลอกมาจากสมาชิกหมายเลข 2016500 จากเวป  pantip.com

- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ วิชาชีพ มีหน้าที่
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
หน้าที่ของ จป.วิชาชีพต้องมีความรอบรู้ในเรื่องของของกฎหมาย „ โดยจัดทำทะเบียนของกฏหมายที่เกี่ยวข้อง และทำแบบประเมินว่ามีอะไร บ้างที่ยังสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับกฎหมาย นำส่วนที่ยังไม่สอดคล้องกับกฏหมาย ไปทำเป็นแผนงาน หรือโครงการ เพื่อจัดให้ถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด

      สำหรับเบื้องต้น เรื่องกฏหมายฯ สามารถศึกษาได้จาก  เว็บต่างๆดังนี้
             1. ห้องกฏหมายความปลอดภัยฯ http://www.jorpor.com/forum/index.php?board=4.0
             2. หน้าระบบดาวน์โหลดกฏหมาย  http://law.jorpor.com/
            3. หน้ากฏหมายของเว็บต่างๆ
                   3.1) สำันักความปลอดภัยแรงงาน  http://www.oshthai.org/index.php?option=com_linkcontent&sectionid=6&Itemid=40
                   3.2) Thailaw   http://www.thaihrlaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=145280
                   3.3) NPC   http://www.npc-se.co.th/law/law1.asp?type_id=6
                   3.4) SiamSafety http://www.siamsafety.com/index.php?page=law/beforelaw#newlaw


(๒) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย  รวมทั้งกําหนดมาตรการป้องกันหรือขั้นตอนการทํางานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
การจัดทำ JSA คือการนำงานที่ทำอยู่ นั้นมาทำการวิเคราะห์ อันตรายที่จะเกิดขึ้นกับพนักงาน 
             ขั้นตอนการจัดทำ คือ 
           1.    สำรวจลักษณะการปฏิบัติงานของพนักงาน
           2.    จัดหมวดหมู่ของงานที่มีลักษณะคล้ายกันเข้าด้วยกัน
           3.    นำมาวิเคราะห์อันตรายที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานนั้นๆ
(๓) ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทํางาน
           ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง
         •    ทำการชี้บ่งอันตรายจากสิ่งที่เป็นความเสี่ยง
         •    ประเมินความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
         •    จัดลำดับความเสี่ยง
         •    จัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง
         •    บังคับใช้มาตรการตามแผนบริหาร
         •    ติดตามมาตรการป้องกัน
   *** การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับหน้าที่ข้อนี้ สามารถติดตามได้ในห้อง Risk Assessment การชี้บ่งและประเมินความเสี่ยงตามลิ้งค์ http://www.jorpor.com/forum/index.php?board=17.0


(๔) วิเคราะห์แผนงานโครงการ  รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง  ๆ  และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทํางานต่อนายจ้าง
การปฏิบัติตามข้อนี้ จป.วิชาชีพ ต้องผลักดัน แนะนําให้ลูกจ้าง หรือฝ่ายต่าง ๆเสนอแนะให้ลูกจ้าง มีส่วนร่วมกับโครงการความปลอดภัย เช่น การเสนอผ่าน คปอ. หรือข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ ความเห็นเกี่ยวกับโครงการด้านความปลอดภัย ที่ลูกจ้างเสนอ 
จป.วิชาชีพ จะต้องจัดทำแบบเสนอแนะความเห็น แบบบันทึกข้อร้องเรียน ซึ่งหากมีข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียน จป.วิชาชีพ ต้องตรวจสอบว่า สิ่งที่ลูกจ้างเสนอแนะหรือข้อร้องเรียนนั้นมีความเหมาะสม ต่อการพัฒนางานด้าน ความปลอดภัยหรือไม่ แล้วนำเสนอแนะให้นายจ้างทราบ
นอกจากนี้ จป.วิชาชีพ ต้องจัดทำแผนงาน หรือโครงการเพื่อนำเสนอด้วย


(๕) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงานโครงการหรือมาตรการความปลอดภัยในการทํางาน
จป.วิชาชีพต้องจัดทํา แบบรายงานความก้าวหน้าของโครงการ หรือ แผนงานด้านความปลอดภัย อาจเป็นรายงาน จป.ว ก็ได้


(๖) แนะนําให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ  ๓ (ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)
การปฏิบัติตามข้อนี้ จป.วิชาชีพ ต้องจัดทำคู่มือความปลอดภัย โดยที่ คู่มือความปลอดภัยตามกฏหมายคือ JSA 
„ จป.วิชาชีพ ต้องจัดให้มีการอบรม แนะนําลูกจ้าง และทบทวนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง


(๗) แนะนํา  ฝึกสอน  อบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทํางาน
„ ในการปฏิบัติตามข้อนี้ คือการฝึกอบรมลูกจ้างด้านความปลอดภัย หรือการปฐมนิเทศน์พนักงานใหม่ ฝึกทบทวนด้านความปลอดภัย โดยให้ จป.วิชาชีพเก็บสำนาแบบลงชื่อการเข้าอบรม และเขียนหลักสูตรการฝึกอบรมพนักงาน 


(๘) ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทํางาน  หรือดําเนินการร่วมกับบุคคลหรือ
หน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรองหรือตรวจสอบเอกสาร หลักฐานรายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทํางานภายในสถานประกอบกิจการ
การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน ต้องทําปีละ 1 ครั้ง ในเดือน มีนาคม ถึง เดือน เมษายน   


(๙) เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานที่เหมาะสม กับสถานประกอบกิจการ  และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
ใช้แบบรายงานความก้าวหน้าของโครงการ 


(๑๐) ตรวจสอบหาสาเหตุ  และวิเคราะห์การประสบอันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุ เดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางาน  และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกัน การเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
การสอบสวนอุบัติเหตุเป็นการชี้บ่งถึงสาเหตุ และลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ โดยพิจารณาจากรายละเอียดข้อมูลที่ได้ จากการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุและจากพยานที่เห็นเหตุการณ์แล้วนํามาวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทําให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น


ขั้นตอนปฏิบัติในการสอบสวนอุบัติเหตุ
ขั้นตอนปฏิบัติ ในการสอบสวนอุบัติเหตุ ขึ้นอยู่กับลักษณะ และสภาพการเกิดอุบัติเหตุโดยทั่วไปมีขั้นตอนดังนี้
1. กําหนดขอบเขตในการสอบสวนอุบัติเหตุ
2. เลือกทีมงานสอบสวนอุบัติเหตุ และมอบหมายงานให้สมาชิกในทีม (ควรเป็นลายลักษณ์อักษร)
3. ทําความเข้าใจในเบื้องต้น ระหว่างสมาชิกในทีมในเรื่องเกี่ยวกับรายละเอียดของการเกิดอุบัติเหตุ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุ ผู้ได้รับบาดเจ็บและ/ หรือเสียชีวิตรวมทั้งประมาณการความเสียหายที่เกิดขึ้น การแบ่งขั้นตอนปฏิบัติงานการจัดทําแผนผังบริเวณ ที่เกิดเหตุ(พื้นที่บริเวณที่เกิดเหตุและพื้นที่โดยรวมขององค์กร) สภาพแวดล้อมบริเวณที่เกิดเหตุการสอบพยานที่เห็นเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะนําไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น
4. ตรวจสอบบริเวณที่เกิดเหตุ เพื่อรวบรวมรายละเอียดที่สําคัญ และจําเป็นในการวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
5. การตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุกั้นแยกพื้นที่บริเวณที่เกิดเหตุ ไม่ควรแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ ในบริเวณที่เกิดเหตุ วิเคราะห์หาตําแหน่งจุดที่เกิดเหตุให้ได้ โดยอาจพิจารณาจากจุดที่เกิดความเสียหายมากที่สุดหรือจากแนววิถีการระเบิดในกรณี เกิดอุบัติเหตุการระเบิดจัดทําแผนที่เกิดเหตุ สเก็ตซ์ภาพและถ่ายภาพในส่วนที่จําเป็น พร้อมทั้งระบุระยะห่างของพยานวัตถุ และราย ละเอียดต่างๆ ในภาพอย่างถูกต้อง ชัดเจน
6. สัมภาษณ์ผู้ประสบเหตุ และพยาน รวมทั้งผู้อยู่ในเหตุการณ์ก่อนเกิดอุบัติเหตุ และผู้เกี่ยวข้องที่มาถึงสถานที่เกิดเหตุก่อน หน้าที่ทีมงานจะไปถึง บันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์อย่างถูกต้อง ใช้การบันทึกเทปด้วยหากสามารถทําได้
7. แนวทางการพิจารณาในการสอบสวนอุบัติเหตุควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
•    มีอะไรที่ผิดปกติก่อนเกิดอุบัติเหตุ 
•    สิ่งผิดปกติเกิดขึ้นที่ไหน
•    สังเกตเห็นสิ่งผิดปกติเมื่อไร
•    สิ่งผิดปกติเกิดขึ้นได้อย่างไร
8. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ในขั้นตอนที่ 7 (ทําซํ้าในขั้นตอนก่อนหน้านี้ ถ้าจําเป็นหรือข้อมูลไม่เพียงพอ)
9. จากการวิเคราะห์ข้อมูลให้พิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ทําไม่จึงเกิดอุบัติเหตุ ลําดับเหตุการณ์ และสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุที่น่าจะเป็นไปได้ (ทั้ง Direct Cause ,Indirect Cause และ Basic Cause)
10. ตรวจสอบแต่ละลําดับเหตุการณ์ เปรียบเทียบกับข้อมูลในขั้นตอนที่ 7
11. พิจารณาเลือกลําดับเหตุการณ์ และสาเหตุที่มีความน่าจะเป็นในการทําให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
12. สรุปการสอบสวนอุบัติเหตุ
13. จัดทํารายงานสรุป รวมถึงข้อเสนอแนะในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว และเผยแพร่รายงาน

(๑๑) รวบรวมสถิติ  วิเคราะห์ข้อมูล  จัดทํารายงาน  และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบ อันตราย  การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้าง

(๑๒) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่น ตามที่นายจ้างมอบหมาย


ข้อนี้ต้องนำสถิติจากการเกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์มาทำการวิเคราะห์ แนวโน้มของการเกิดอุบัติเหตุ หากอุบัติเหตุเป็นศูนย์แล้ว ให้วิเคราะห์แน้วโน้มของอุบัติการณ์ เพราะการเกิดอุบัติการณ์ เป็นตัวบ่มให้เกิดอุบัติเหตุในอนาคต   
ทุกอย่างที่ จป.วิชาชีพทำ จะอยู่ใน แบบ จป.๓   รายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง

 

สมาชิกหมายเลข 854216 

จปว. จะทำงานได้ดีแค่ใหน ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริหารด้วย (มีผลโดยตรง) ผู้บริหารให้ความสำคัญมาก งาน Safety ก็จะมีประสิทธิภาพมากเช่นกัน
จปว. ต้องสู้กับทัศนคติของผู้บริหารและต้องหาวิธีการใดๆ ก็ตาม เพื่อมาเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ไม่ไดีของผู้บริหาร (ยากกว่าการทำงานกับตำแหน่งอื่นๆ ในบริษัทอีกน่ะครับ) ซึ่งนั่นคืองานอันดับต้นๆ ที่ต้องทำ มากกว่าการลงหน้างานซะอีก เพราะถ้าผู้บริหารไม่สนับสนุน การนำปัญหาที่พบระหว่างการลงหน้า มาเสนอเพื่อให้เกิดการแก้ไขหรือปรับปรุง ก็จะไร้ผลทุกกรณี
หมายเหตุ : นี่คืออุปสรรคในการทำงานของ จปว. และเป็นอันดับต้นๆ ที่ จปว.หลายๆ คนต้องเจอ (และบางคนก็ต้องยอมรับชะตากรรม จึงเป็นอย่างที่หลายๆ ความคิดเห็นในข้างต้น กล่าวมา)

 

สรุป ขั้นตอนที่นายจ้างต้องปฏิบัติหลังจากที่ จป.วิชาชีพ ลาออก
อ่านกฎหมายฉบับเต็มได้ที่
ประกาศกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การแจ้งการขึ้นทะเบียน การพ้นจากตำแหน่ง หรือพ้นจากหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย

ป.วิชาชีพ อาชีพที่ต้องทำงานในวันหยุด และหยุดหลังจากคนอื่นกลับมาแล้ว
ไม่ว่าเทศกาลไหนๆ คนส่วนใหญ่ล้วนออกเดินทางในวันหยุดยาวเพื่อ "กลับบ้าน" หรือ "เดินทางท่องเที่ยว" ซึ่งล้วนอบอวลไปด้วยความสุข และความสนุกสนาน แต่ก็มีอีกหลายอาชีพที่ไม่สามารถหยุดได้ เนื่องจากมีหน้าที่ความรับผิดชอบในช่วงเทศกาล หนึ่งในอาชีพเหล่านั้น คือ "จป.วิชาชีพ" อาชีพที่ต้องอยู่เพื่อดูแลความปลอดภัยให้แก่พนักงาน และผู้รับเหมาที่มาทำงานในวันหยุด รวมทั้งต้องตรวจความปลอดภัยภายในอาคารสถานที่ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยด้วย
ถามว่า จป. อยากหยุดไหม..?
คำตอบ ก็อยากหยุดเหมือนกัน แต่สายอาชีพนี้ จป.ทุกคน รู้ตั้งแต่เลือกเรียนแล้วว่าเป็นสายอาชีพที่ "ต้องเสียสละ" หลายคนเป็นคนต่างจังหวัดก็อยากกลับบ้านไปหาครอบครัว แต่หน้าที่ก็คือหน้าที่ ทุกคนมีหน้าที่ของตัวเอง ขอเพียงแค่ครอบครัว และคนที่เรารักเข้าใจอาชีพนี้ก็เพียงพอ
ในทุกเทศกาล จป. หวังว่าทุกคนจะเดินทางไป และกลับโดยสวัสดิภาพ ส่วนการดูแลความปลอดภัยภายในโรงงาน ขอให้เป็นหน้าที่ของ จป. และทีมงานที่มาทำงานในวันหยุดเอง ขอให้ทุกคนโชคดีครับ
แหล่งที่มาของข้อมูลดีดีอาจารย์ม่วง ที่ปรึกษาอบรม จป.
Visitors: 610,212