ปรึกษาเรื่อง ตำแหน่งงาน จป. วิชาชีพ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

วินัย ดวงใจ <winaibangpoo@gmail.com>

29 ก.ย. 2019 22:48

 

 

ถึง Bonny

 สวัสดีครับ

            ผมขอตอบ แชร์ความรู้ให้ทราบนะครับ หากสงสัยโทรมาปรึกษาได้นะครับ ยินดีครับ  0855101555  ผมวินัย ดวงใจ  

             

1. บริษัทจำเป็นต้องมีตำแหน่ง จป. วิชาชีพ ในที่ทำงานไหมครับ
ตอบ ดูที่จำนวนพนักงานในบริษัทเป็นหลักครับ

ตาม กม. สถานประกอบกิจการใดที่มีพนักงานเกิน 100 คนขึ้นไป จะต้องมี จป.ว. อย่างน้อย 1 คน         แต่ถ้า เกิน 200 ต้องมีหน่วยงานความปลอดภัย หากบริษัทฯไหนไม่มี จป.ระดับเทคนิค  เทคนิคขั้นสูง และ วิชาชีพ อยู่ในระบบ ไม่ว่าด้วยเหตุผลยังหาคนไม่ได้ หากมีการตรวจพบจะต้องถูกปรับเงิ
  ค่าปรับมันจะแพงกว่าเงินเดือนน้อง จป. ที่ต้องจ่ายทั้งเดือน (ต้องจ่ายอยู่แล้ว) หรือ แพงกว่าส่วนต่างที่ท่านคิดว่าจ้างน้องเขา
จป. ย่อมาจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานครับ บางท่านอาจจะสับสน คิดว่าเป็น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย สำหรับ จป. ( เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ) นั้น เป็นตำแหน่งงานในสถานประกอบการซึ่ง กฎหมายบังคับให้ต้องมี ซึ่งรายละเอียดของกฎหมายที่กำหนดไว้ล่าสุด ให้อ่านตามนี้เลยครับ
 
–> กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. ๒๕๔๙ จากกฎกระทรวงดังกล่าวจะเห็นได้ว่า มี จป.อยู่หลายระดับ ครับ แต่ที่ทำหน้าที่หลักๆเต็มเวลา ในด้านความปลอดภัย ก็คือ จป.วิชาชีพนั่นเอง ซึ่ง ถ้าดูจากกฎกระทรวงดังกล่าว
กล่าวถึง จป.วิชาชีพไว้ดังนี้ครับ ข้อ ๑๖ ให้นายจ้างในสถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ (๑) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่สองคนขึ้นไปและสถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ (๒) ถึง (๕) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป แต่งตั้งลูกจ้างเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๑๗ ประจำสถานประกอบกิจการอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะด้านความปลอดภัยการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ หรือภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป แล้วแต่กรณี..
และต้องมีคณะกรรมการความปลอดภัยด้วยนะครับ
คปอ.หมายถึง คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีตัวแทนจากผู้บริหาร และตัวแทนจากลูกจ้าง และมี จป.วิชาชีพเป็นเลขานุการ ตามที่กฏหมายกำหนด มีหน้าที่ตามที่กฏหมายกำหนด (อันนี้ต้องไปดูเองนะครับ กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549) ส่วนหน่วยงานความปลอดภัย เป็นหน่วยงานหน่วยงานหนึ่งที่ขึ้นตรงกับผู้บริหารสูงสุด (กฏหมายกำหนดว่าถ้ามีพนักงานไม่ถึง 200 คนไม่จำเป็นต้องมีก็ได้) มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามนโยบายของบริษัท เช่นงานด้านดูแลความปลอดภัย งานด้านควบคุมป้องกันการเกิดเพลิง ฯลฯ
https://www.samutprakarnsafety.com/17150161/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%AD
เข้าไปอ่านก็ได้ครับ ผมโพสไว้ในเวปไซด์



2. เราสามารถส่งพนักงานที่ไม่ได้จบสาขาโดยตรง  (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือ อนามัยสิ่งแวดล้อม) ส่งอบรมให้เป็น จป. วิชาชีพได้ไหมครับ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
ตอบ    ตอนนี้ส่งพนักงานอบรม จป วิชาชีพ ได้เฉพาะคนที่อบรม แล้่วเป็น  จป เทคนิคขั้นสูงที่ผ่านงานมา 5 ปี เท่านั้น นอกนั้นต้องเรียน จบปริญญาตรี สาขาวิทยาศาตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย

จป.วิชาชีพ มี 2 หลักสูตรคือ
       1)  รับ ม.6 (วิทย์-คณิต) หลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ขอนแก่น บูรพา วลัยลักษณ์ ทักษิณ สุรนารี ธรรมศาสตร์ อุบลราชธานี นเรศวร แม่ฟ้าหลวง  ถ้า ม.ราชภัฏจะใช้ชื่อสาขาวิทยาศาสตร์ความปลอดภัย
     2)  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย ม.เอเชียอาคเนย์ ขณะนี้เป็นแห่งเดียวที่ได้วุฒิวิศวะ (sau.ac.th/safety)
                    -จบ ม.6 / ปวช. หลักสูตร 4 ปี (139หน่วยกิต)
                     -จบ ปวส.สาขาช่าง คอมฯธุรกิจ สารสนเทศ หลักสูตร 3 ปี (109 หน่วยกิต)
จป.ยุคปัจจุบัน

             ปัจจุบันมีการออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 มีผลทำให้ประกาศ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ฉบับปี 2540 ถูกยกเลิก (ตามมาตรา 166 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541) โดยมีการเน้นด้านการจัดองค์กรด้านความปลอดภัยให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยมีการกำหนดในเรื่อง จป. คณะกรรมการความปลอดภัยฯ และหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย รวมถึงแนวทางการดำเนินงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ โดยเฉพาะจป.นั้น ได้มีการแบ่งเป็นระดับต่างๆ และมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

    1) จป.ระดับหัวหน้างาน หมายถึง ลูกจ้างระดับหัวหน้างานที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.หัวหน้างาน)

    2) จป.ระดับบริหาร หมายถึง ลูกจ้างระดับบริหาร ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.บริหาร)

    3) จป.ระดับเทคนิค หมายถึง ผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

        3.1 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า

        3.2 เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.เทคนิค)

        3.3 เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540

    4) จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง หมายถึง ผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

        4.1 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า

        4.2 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง อนุปริญญา หรือเทียบเท่า และผ่านการอบรมและทดสอบในหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง ไม่น้อยกว่า 180 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.เทคนิคขั้นสูง )

        4.3 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่าและได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคหรือระดับพื้นฐานมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และผ่านการอบรมและทดสอบในหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง ไม่น้อยกว่า 180 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.เทคนิคขั้นสูง )

    5) จป.ระดับวิชาชีพ หมายถึง ผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

        5.1 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า

        5.2 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และผ่านการอบรมและทดสอบในหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 42 ชั่วโมง ชั่วโมง (หลักสูตร จป.วิชาชีพ 42 ชั่วโมง) ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2554

        5.3 เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 และผ่านการอบรมเพิ่มและทดสอบ ในหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 42 ชั่วโมง ชั่วโมง (หลักสูตร จป.วิชาชีพ 42 ชั่วโมง) ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2554
3. บริษัทต้องทำเรื่องการขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

 

3. บริษัทต้องทำเรื่องการขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
ตอบ มี โทรมาคุยนะครับ รายละเอียดมีหลายอย่าง
4. หน้าที่หลักของ ตำแหน่ง  จป. วิชาชีพ  ต้องทำอะไรบ้างในที่ทำงาน
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

1. ตรวจสอบ และเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
2. วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกัน หรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
3. ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน
4. วิเคราะห์แผนงานโครงการ รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
5. ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
6. แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3
7. แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความ ไม่ปลอดภัยในการทำงาน
8. ตรวจวัด และประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรอง หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในสถานประกอบกิจการ
9. เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
10. ตรวจสอบสาเหตุ และวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้
11. รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง
12. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

 

Visitors: 569,571