ความไม่รู้

โดย: วินัย ดวงใจ [IP: 61.91.85.xxx]
เมื่อ: 2015-03-21 09:02:25
ความไม่รู้

สวัสดีครับ

ผมได้อ่านบทความของ ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ซึ่งท่านเขียนไว้ได้ดีมาก ขออนุญาตินำมาเผยแพร่ต่อให้เกิดประโยชน์สูงสดให้แก่ผู้อ่านได้มีความรู้ความเข้าใจ ในคำว่า ความไม่รู้





“ความไม่รู้” มากมายที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นตามที่เราได้ เห็นได้ฟังมาตลอดเรามีพนักงานจำนวนเป็นหมื่นเป็นแสนที่ทำงาน ในโรงงาน และในสถานประกอบการทั่วไป (โดยเฉพาะในกิจการ SMEs หรือธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็ก) โดยที่ไม่รู้ เลยว่ามีอันตรายอะไรแอบแฝงอยู่บ้างในโรงงานหรือสถานที่ทำงาน อยู่นั้น

หลายต่อหลายคน ไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า วัตถุหรือสารเคมีที่เป็น วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอยู่นั้น เป็นวัตถุอันตรายหรือเป็นสารพิษที่ต้อง ห้าม การทำงานจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษหรือต้องมีวิธีการปฏิบัติ งานเป็นพิเศษ หลายต่อหลายคนก็ไม่รู้ว่าวิธีการทำงานอย่างปลอดภัยต้อง ทำอย่างไรบ้าง ไม่รู้ว่าต้องทำอะไรก่อนหลังจึงจะไม่อันตราย ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอะไรบ้างในขณะทำงาน (เช่น สวมหมวก ใส่แว่นตา ใส่ถุงมือ คาดเข็มขัดนิรภัย ใส่รองเท้า หัวเหล็ก เป็นต้น)

เรื่องนี้คงไม่ใช่เฉพาะพนักงานที่ปฏิบัติงานหรือทำงานอยู่หน้า งานที่อันตรายเท่านั้น ที่มีโอกาสบาดเจ็บพิการได้ แต่รวมถึงทุกผู้คน ที่อยู่ในโรงงานหรือสถานประกอบการนั้น รวมตลอดถึงผู้อยู่อาศัยใกล้ เคียงด้วยก็ได้ เช่น กรณีหม้อไอน้ำ (Boiler) ในโรงงานหรือโรงแรม ระเบิด เจ้าหน้าที่ที่นั่งทำงานอยู่ในห้องแอร์ของสำนักงานหรือแขก ที่พักบนชั้นต่างๆ ของโรงแรมอาจถึงตายคาที่ได้ด้วย (ถ้าแรงระเบิด ไปถึงหรือไฟลุกไหม้ไปถึง) อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง มักจะสร้างความเสียหายทาง ทรัพย์สินหรือเศรษฐกิจ และมักจะทำให้มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือพิการ ด้วยเสมอ

"การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts) จะเกิดจาก “ผู้ปฏัติงาน” หรือ “ผู้เกี่ยวข้อง” ทำงานอย่างไม่ปลอดภัย เช่น ทำงานโดย

ไม่รู้ว่าอันตราย ทำงานแบบเสี่ยงๆ ทำงานแบบประมาทหรือขาดสติ

ขับรถเร็วเกินควร ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่ใส่หมวกแข็งในบริเวณสถานี

ก่อสร้าง เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Conditions) จะเกิด

จากสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายที่อยู่รอบตัวพนักงานผู้ปฏิบัติงาน

รวมถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในโรงงานหรือภายในสถานประกอบการ

ด้วย เช่น เครื่องจักรไม่ปลอดภัย (มีส่วนที่หมุนหรือเคลื่อนไหวเปิดโล่ง)

แสงสว่างไม่เพียงพอ เสียงดังเกินไป ร้อนอบอ้าว ฝุ่นละอองหรือควัน

พิษฟุ้งกระจายพื้นทางเดินลื่น สะสมวัตถุดิบหรือสารเคมีอันตรายมาก

เกินควร เป็นต้น"

ถึงวันนี้สาเหตุสำคัญทั้งสองประการดังกล่าวข้างต้น ยังเป็น จริงเสมอเพราะยังคงเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุร้ายแรงต่างๆ ใน โลกใบนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเทคโนโลยีการผลิตก้าวหน้ามาก ขึ้น สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจะมีอีกหลายสาเหตุ และมีความ ซับซ้อนมากขึ้นทุกที ดังนั้น มาตรการป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิดขึ้น (มาตรการเชิง รุก) จึงเป็นวิธีการที่สำคัญยิ่งของการป้องกันอุบัติเหตุ และลดความ สูญเสียต่างๆ ทางด้านชีวิต และทรัพย์สิน

แต่เรามักจะคุ้นเคยกับ “การแก้ไขปรับปรุง” หลังจากการเกิด อุบัติเหตุมากกว่า และมักจะทำกันแบบ “ไฟไหม้ฟาง” ด้วยซ้ำไป คือ ทำกันแบบตื่นเต้น และดูจริงจังยิ่งนักหลังเกิดอุบัติเหตุใหม่ๆ และแล้ว ก็ค่อยๆ เลือนหายไปๆ จนสงบนิ่งเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้มีความปลอดภัย ก็เป็นมาตรการป้องกันอุบัติเหตุที่ได้ผลวิธีหนึ่ง เช่น ปิดครอบส่วนที่ อันตรายของเครื่องจักร เพิ่มแสงสว่างให้เพียงพอ และเหมาะสมกับ ลักษณะงาน ติดตั้งระบบระบายอากาศ ปรับปรุงการวางผังโรงงาน แยกเก็บวัตถุอันตรายอย่างปลอดภัย ปัญหาก็คือ เราจะทำอย่างไรให้ “ความไม่รู้” เป็น “ความรู้” ให้มากที่สุด ครับผม ! ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี “ความไม่รู้” มากมายที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นตามที่เราได้ เห็นได้ฟังมาตลอดเรามีพนักงานจำนวนเป็นหมื่นเป็นแสนที่ทำงาน ในโรงงาน และในสถานประกอบการทั่วไป (โดยเฉพาะในกิจการ SMEs หรือธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็ก) โดยที่ไม่รู้ เลยว่ามีอันตรายอะไรแอบแฝงอยู่บ้างในโรงงานหรือสถานที่ทำงาน อยู่นั้น หลายต่อหลายคน ไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า วัตถุหรือสารเคมีที่เป็น วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอยู่นั้น เป็นวัตถุอันตรายหรือเป็นสารพิษที่ต้อง ห้าม การทำงานจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษหรือต้องมีวิธีการปฏิบัติ งานเป็นพิเศษ หลายต่อหลายคนก็ไม่รู้ว่าวิธีการทำงานอย่างปลอดภัยต้อง ทำอย่างไรบ้าง ไม่รู้ว่าต้องทำอะไรก่อนหลังจึงจะไม่อันตราย ผู้ปฏิบัติ- งานจะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอะไรบ้างในขณะทำงาน (เช่น สวมหมวก ใส่แว่นตา ใส่ถุงมือ คาดเข็มขัดนิรภัย ใส่รองเท้า หัวเหล็ก เป็นต้น) เรื่องนี้คงไม่ใช่เฉพาะพนักงานที่ปฏิบัติงานหรือทำงานอยู่หน้า งานที่อันตรายเท่านั้น ที่มีโอกาสบาดเจ็บพิการได้ แต่รวมถึงทุกผู้คน ที่อยู่ในโรงงานหรือสถานประกอบการนั้น รวมตลอดถึงผู้อยู่อาศัยใกล้ เคียงด้วยก็ได้ เช่น กรณีหม้อไอน้ำ (Boiler) ในโรงงานหรือโรงแรม ระเบิด เจ้าหน้าที่ที่นั่งทำงานอยู่ในห้องแอร์ของสำนักงานหรือแขก ที่พักบนชั้นต่างๆ ของโรงแรมอาจถึงตายคาที่ได้ด้วย (ถ้าแรงระเบิด ไปถึงหรือไฟลุกไหม้ไปถึง) อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง มักจะสร้างความเสียหายทาง ทรัพย์สินหรือเศรษฐกิจ และมักจะทำให้มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือพิการ ด้วยเสมอ จึงพอจะสรุปได้ว่า อุบัติเหตุอันตรายจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ พิการหรือทรัพย์สินเสียหายนั้น เกิดจาก “ความไม่รู้” ได้มากมาย เหลือเกิน เรื่องนี้มีนักวิชาการอุบัติเหตุชาวอเมริกันชื่อ ไฮน์ริช (Heinrich) กล่าวไว้เมื่อ 50 ปีที่แล้ว “อุบัติเหตุต่างๆ จะเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุ สำคัญ 2 ประการ คือ การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts) และ สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Conditions)” การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts) จะเกิดจาก “ผู้ปฏิบัติ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 569,117