ความปลอดภัยในการทำงานกับนั่งร้านและค้ำยัน

ความปลอดภัยในการทำงานกับนั่งร้านและค้ำยัน
ตามกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. 2564 ดังนี้
1. สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE)
• มี PPE และดูแลให้พนักงานสวมใส่ PPE ตลอดระยะเวลาที่ทำงาน
2. ข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงาน
• จัดทำข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานกับนั่งร้านหรือค้ำยัน
• อบรมหรือชี้แจงพนักงานก่อนเริ่มทำงาน
• ควบคุมดูแลพนักงานปฏิบัติตามข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด
• มีเอกสารข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานไว้เป็นหลักฐาน
3. การกำหนดเขตอันตราย
• จัดทำรั้วหรือกั้นเขตด้วยวัสดุที่เหมาะสมและมีป้าย “เขตอันตราย” แสดงให้เห็นชัดเจน
• เวลากลางคืนต้องจัดให้มีสัญญาณไฟสีส้มตลอดเวลา
• ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในเขตอันตราย
4. ป้ายสัญลักษณ์เตือนอันตรายและป้ายบังคับ
• ติดหรือตั้งป้ายสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายป้ายบังคับที่เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่น ห้ามเข้าเขตอันตราย ระวังวัสดุตกหล่น ให้สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หรือข้อความอื่นที่เข้าใจง่ายและเห็นได้อย่างชัดเจน
5. รายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งาน
• ปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนด
• กรณีไม่มีรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งาน ให้วิศวกรเป็นผู้จัดทำ
• มีเอกสารรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานเป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่นที่พนักงานสามารถศึกษาและปฏิบัติได้
6. การคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้าน
• จัดให้มีการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
7. ห้ามลูกจ้างทำงานบนนั่งร้านในกรณีดังนี้
• นั่งร้านที่มีพื้นลื่น
• นั่งร้านที่มีส่วนหนึ่งส่วนใดชำรุดหรืออยู่ในสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
• นั่งร้านที่อยู่ภายนอกอาคาร ขณะที่มีพายุลมแรง ฝนตก หรือฟ้าคะนอง เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือหรือบรรเทาเหตุของพนักงาน
8. การทำงานบนนั่งร้านหลายชั้นพร้อมกัน
• มีมาตรการป้องกันวัสดุร่วงหล่นที่เหมาะสมกับสภาพงานป้องกันอันตรายต่อผู้ทำงานด้านล่าง
9. การตรวจสอบนั่งร้าน
• มีการตรวจสอบนั่งร้านทุกครั้งก่อนการใช้งาน
• จัดทำรายงานผลการตรวจสอบและต้องมีเอกสารไว้เป็นหลักฐาน
10. การสร้าง ประกอบ หรือติดตั้งค้ำยัน
• ค้ำยันที่ทำด้วยเหล็กต้องรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของน้ำหนักบรรทุกใช้งาน กรณีค้ำยันไม่ใช่เหล็กต้องรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 4 เท่า ของน้ำหนักบรรทุกใช้งาน และมีเอกสารแสดงกำลังวัสดุไว้เป็นหลักฐาน
• ไม้ที่ใช้ทำค้ำยันต้องไม่ผุเปื่อยหรือชำรุดจนขาดความแข็งแรง ทนทาน และต้องมีหน่วยแรงดัดประลัย (ultimate bending stress) ไม่น้อยกว่า 300 กิโลกรัม ต่อตารางเซนติเมตร และมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 4
• เหล็กที่ใช้ทำค้ำยันต้องเป็นเหล็กที่มีจุดคราก (yield point) ไม่น้อยกว่า 2,500 กิโลกรัม ต่อตารางเซนติเมตร และมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 2
• ข้อต่อและจุดยึดต่าง ๆ ของค้ำยันต้องมั่นคงแข็งแรง
• กรณีที่มีที่รองรับค้ำยัน ต้องรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของน้ำหนักบรรทุกใช้งาน
• ค้ำยันต้องยึดโยงหรือตรึงกับพื้นดินหรือส่วนของสิ่งก่อสร้างให้มั่นคงแข็งแรง
11. การตรวจสอบส่วนประกอบของค้ำยัน
• มีการตรวจสอบส่วนประกอบของค้ำยันและที่รองรับค้ำยันทุกครั้งก่อนการใช้งานและระหว่างใช้งาน
• หากพบว่าไม่มั่นคงแข็งแรงและไม่ปลอดภัย ให้ซ่อมแซมหรือปรับปรุงก่อนใช้งาน
12. การควบคุมดูแลผู้ไม่เกี่ยวข้อง
• กรณีใช้ค้ำยันรองรับการเทคอนกรีตอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือรองรับสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน ต้องควบคุมดูแลผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปอยู่ในหรือใต้บริเวณนั้น เว้นแต่กรณีการทำงานที่มีความจำเป็นและเฉพาะผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
การปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานกับนั่งร้าน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน
ขอบคุณข้อมูลดีดี
ที่มา จากเพจ
Visitors: 615,176