แผนรองรับเหตุฉุกเฉินสารเคมีรั่วไหล

แผนรองรับเหตุฉุกเฉินสารเคมีรั่วไหล

การป้องกันสารเคมีหกรั่วไหล
การฝึกอบรมการปฏิบัติตาม แผนฉุกเฉิน

หัวหน้าภาควิชา/หน่วย

มีหน้าที่จัดฝึกอบรมให้พนักงาน ทุกคนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระเบียบการปฏิบัติงาน วิธีการปฏิบัติงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในกรณีที่มีการ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดของระเบียบการปฏิบัติงาน/เอกสารสนับสนุน ซึ่งเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมรับภาวะฉุกเฉิน ตลอดจนแผนการป้องกันและระงับภาวะฉุกเฉิน  ต้องแจ้งรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานทุกคนรับทราบ

การดำเนินการป้องกันสาร เคมีรั่วไหลภาควิชา/หน่วย ที่มีการปฏิบัติงานกับสารเคมีจะต้องปฏิบัติตามระเบียบการปฏิบัติงาน เรื่อง การควบคุมการปฏิบัติงานกับสารเคมี

สำหรับพนักงานผู้ ปฏิบัติงานกับสารเคมีจะต้องปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง เพื่อมิให้เกิดการหกรั่วออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก  โดยปฏิบัติตาม Work Instruction และ/หรือ Material Safety Data Sheet ; MSDS ที่เกี่ยวข้อง

การจัดเตรียม/ตรวจสอบ อุปกรณ์สำหรับภาวะฉุกเฉิน
ภาควิชา/หน่วย ที่มีสารเคมีจะต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับภาวะฉุกเฉิน เตรียมพร้อมไว้ตลอดเวลาดังนี้

วัสดุดูดซับ เช่น ทราย ขี้เลื่อย ผ้า หรือ  วัสดุอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับหรือป้องกันการแพร่กระจายของสารเคมีและน้ำมัน
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ที่เหมาะสม  เช่น ถุงมือยาง ผ้าปิดปาก หน้ากากรอง
   อากาศ หรือ อุปกรณ์อื่นตามความเหมาะสม

ภาชนะสำหรับใส่ของเสียที่ปนเปื้อน สารเคมี
การป้องกันภาวะ ฉุกเฉินการรั่วไหลของสารเคมีที่อยู่ภาวะก๊าซ นอกจากจัดเตรียมอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว  ภาควิชา/หน่วยที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีการตรวจสอบสภาพถังบรรจุ วาล์ว และลิ้นนิรภัย เป็นประจำทุกเดือน ตามวิธีการปฏิบัติงาน เรื่อง การปฏิบัติงานกับก๊าซ หรือถังอัดความดัน


การดำเนินการตอบโต้เหตุการณ์ สารเคมีรั่วไหล
1.กรณีสารเคมีรั่วไหลใน ปริมาณเล็กน้อย
ในกรณีเกิดเหตุสารเคมีที่เป็น อันตรายหกรั่วไหลในปริมาณไม่มากนัก ให้ผู้ประสบเหตุเข้าทำการแก้ไขโดยทันที
นำทราย ขี้เลื่อยหรือวัสดุอื่น ๆ ที่ทางหน่วยงานที่มีการใช้สารเคมีจัดเตรียมไว้ ให้มาโรยรอบบริเวณที่มีสารเคมีหกรั่วไหล เพื่อกันไม่ให้สารเคมีหกรั่วไหลไปมากกว่านี้
แจ้งให้หัวหัวหน้าภาควิชา/หน่วย และพนักงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ที่มีสารเคมีรั่วไหลรับทราบ ทันที เพื่อช่วยกันป้องกันระงับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ใช้เศษผ้าหรือวัสดุดูดซับสาร เคมี/น้ำมันในการทำความสะอาดในบริเวณที่มีสารเคมี/น้ำมันหกรั่วไหล
รวบรวมวัสดุทั้งหมดที่ใช้ในการ แก้ไขระงับเหตุสารเคมีหกรั่วไหล นำไปทิ้งในภาชนะที่จัดเตรียมไว้สำหรับรวบรวมขยะอันตราย (ตามระเบียบปฏิบัติงานการจัดการของเสีย)
ทำความสะอาดบริเวณที่เกิดสารเคมี หกรั่วไหลให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม 
หัวหน้าภาควิชา/หน่วยและบุคลากร ผู้รับผิดชอบพื้นที่ที่มีการหกรั่วไหลทำการประชุมหามาตรการป้องกัน เพื่อมิให้เกิดขึ้นซ้ำ
 

2.กรณีสารเคมีหกรั่วไหลใน ปริมาณมาก
ผู้ประสบเหตุพบสารเคมีหกรั่วไหล ปริมาณมากให้รับแจ้งหัวหน้าภาควิชา/หน่วย หรือพนักงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทันที เพื่อเข้าแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉิน
กั้นพื้นที่ที่สารเคมีหกรั่วไหล จำนวนมาก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายในวงกว้างมากขึ้น และสะดวกในการแก้ไขระงับเหตุ
การเข้าปฏิบัติการเกี่ยวกับสาร เคมีผู้ทำการระงับเหตุควรอยู่ทางด้านเหนือลม เพื่อหลีกเลี่ยงไอระเหยของสารเคมีรวมทั้งมีอุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น หน้ากากกันสารเคมีชนิดนั้น ๆ เพื่อความปลอดภัย
ในกรณีที่เป็นภาวะการรั่วไหลของ ก๊าซ ให้ประเมินสถานการณ์ของก๊าซ ปริมาณและชนิดของก๊าซที่รั่วไหล ว่าติดไฟหรือไม่  หากเป็นก๊าซติดไฟ ให้ใช้น้ำฉีดคลุมโครงสร้างของภาชนะ หรือท่อที่มีความดันเพื่อลดอุณหภูมิ
การระงับเหตุการรั่วไหลของสารเคมี ดำเนินการตามแผนป้องกันและตอบโต้สารเคมีหกรั่วไหล
 
 
3.การปฏิบัติงานภายหลังการเกิด เหตุฉุกเฉิน
เมื่อสามารถระงับภาวะฉุกเฉินได้ แล้ว ให้หน่วย ERT  ประกาศยุติแผนการอพยพและให้พนักงานผู้อพยพเข้าสู่ภาวะการทำงานปกติ และประสานงานกับหน่วยงาน Facility หรือ Maintenance เพื่อทำการฟื้นฟูและปรับปรุง สถานที่เกิดเหตุให้กลับสู่สภาพปกติ
หัวหน้าภาควิชา/หน่วย ส่วนต่าง ๆ สำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภาวะฉุกเฉิน พร้อมทั้งร่วมกับทีม ERT และ Facility ในการฟื้นฟูสภาพที่เกิดเหตุ
การฟื้นฟูพื้นที่เกิดเหตุ
ทีม ERT ที่เข้าฟื้นฟูพื้นที่เกิดเหตุ ต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามความเหมาะสม
ทีม ERT ทำการกั้นแยกบริเวณที่เกิดเหตุออกให้เป็นสัดส่วน พร้อมทั้งติดตั้งสัญลักษณ์เตือน
     อันตราย

ทีม ERT ทำความสะอาด  โดยก่อนทำความสะอาดจะต้องคัดแยกของเสียต่าง ๆ และกำจัดหรือบำบัดตามระเบียบปฏิบัติงานการจัดการของเสีย
ดำเนินการรวบรวมน้ำที่เกิดจากการ ระงับภาวะฉุกเฉิน โดยการหาวัสดุมาปิดกั้นทางออกของรางระบายน้ำ เพื่อป้องกันมิให้น้ำเสียอันเกิดจากการระงับเหตุไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง แล้วสูบเพื่อรวบรวมนำไปบำบัดหรือกำจัดต่อไป 
      หมายเหตุ      กรณีหากไม่สามารถป้องกันน้ำเสียจากการดับเพลิงไหลออกนอกคณะได้ ทีม

ประสานงานต้องติดต่อกับ ทางผู้ควบคุมบ่อพักน้ำมิให้สูบน้ำจากบ่อพักปล่อยออกสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ ภายนอก จนกว่าจะแน่ใจว่าน้ำทิ้ง ผ่านเกณฑ์มาตรหรือถ้าไม่สามารถทำได้ต้องนำน้ำเสียผ่านเข้าสู่บำบัดที่เหมาะ สมก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก

หัวหน้าภาควิชา/หน่วย เขียนรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำเสนอให้ผู้จัดการโรงงานรับทราบ พร้อมทั้งนำเข้าที่ประชุมของคณะกรรมการความปลอดภัยและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม เพื่อประเมินการปรับปรุงและแก้ไขแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและเอกสารที่เกี่ยว ข้องต่อไป
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น จริง หัวหน้าภาควิชา/หน่วย คณะกรรมการความปลอดภัยและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่ประเมินว่า ผลการปฏิบัติงาน มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพียงใด และนำข้อมูลที่ได้มาทบ ทวน ปรับปรุงแก้ไขแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อไปหลังเกิดเหตุ จริง
 

เอกสารอ้างอิง

คู่มือระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข....)

ระเบียบปฏิบัติงาน เรื่อง การระบุและประเมินลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม(เอกสารหมายเลข....)

ระเบียบปฏิบัติงาน เรื่อง การควบคุมการปฏิบัติงานกับสารเคมีและก๊าซ(เอกสารหมายเลข....)

ระเบียบปฏิบัติงาน เรื่อง การติดต่อสื่อสาร(เอกสารหมายเลข....)

ระเบียบปฏิบัติงาน เรื่อง การฝึกอบรม(เอกสารหมายเลข....)

วิธีการปฏิบัติงาน เรื่อง การปฏิบัติงานกับก๊าซ หรือถังอัดความดัน(เอกสารหมายเลข....)

วิธีการปฏิบัติงาน เรื่อง การปฏิบัติงานกับการหลรั่วของสารเคมี(เอกสารหมายเลข....)

Material Safety Data Sheet ; MSDS(เอกสารหมายเลข....)

รายชื่อบุคคล/หน่วยงานที่ต้อง ติดต่อในกรณีฉุกเฉิน(เอกสารหมายเลข....)

แผนการอบรมและการฝึกซ้อมเหตุการณ์ฉุกเฉิน กรณีสารเคมีรั่วไหล

1.   พนักงานแผนกวิศวกรรม เบิกสารเคมี ( ทินเนอร์ :Thinner ) จากแผนกคลังสินค้า โดยนำใส่พาเลตและใช้แฮนด์ลิฟท์เป็นเครื่องทุ่นแรงในการขนย้ายสารเคมี เพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน
2.   พนักงานขับรถฟอร์คลิฟท์โดยเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้ สารเคมี ( ทินเนอร์ :Thinner ) หกรั่วไหลจำนวน 1 แกลลอน บริเวณข้างโรงงาน แผนกคลังสินค้า
3.   พนักงานลงจากรถฟอร์คลิฟท์ และมาแจ้งหัวหน้างาน, จป.วิชาชีพ และผู้จัดการแผนก เพื่อเตรียมพร้อมการเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน กรณีสารเคมีรั่วไหล
4.   หัวหน้าชุดปฏิบัติการควบคุมเหตุฉุกเฉินกรณีสารเคมีรั่วไหล สั่งให้หน่วยเตรียมและดูแลรักษาอุปกรณ์ในการจัดเก็บสารเคมีและหน่วยการจัดการกับสารเคมีที่หกรั่วไหลให้รีบลงพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินโดยเร็ว
5.   หน่วยการจัดการกับสารเคมีที่หกรั่วไหลรีบสอบถามพนักงานที่ขับรถฟอร์คลิฟท์เกี่ยวกับชื่อของสารเคมีที่หกรั่วไหลและรีบไปเอาข้อมูลสารเคมีที่หกรั่วไหลและป้ายชี้บ่ง (ทินเนอร์: Thinner) ที่แผนกคลังสินค้า เพื่อมาดูรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีอันตรายและการป้องกันการรั่วไหลต่อสาธารณะชนและการสวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลในการจัดเก็บสารเคมีหกรั่วไหล
6.   หน่วยการจัดการกับสารเคมีที่หกรั่วไหล สวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลดังนี้ Chemical Protection Cloth, ผ้าปิดจมูก, รองเท้า Safety, ถุงมือหนัง และถังดับเพลิง และหน่วยเตรียมและดูแลรักษาอุปกรณ์ในการจัดเก็บสารเคมี เตรียมอุปกรณ์ในการจัดเก็บสารเคมีรั่วไหล ดังนี้ ขี้เลื่อย, พลั่ว, ไม้กวาด และภาชนะที่ใส่สารเคมีรั่วไหล(ต้องเป็นภาชนะที่ป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมี) เพื่อเตรียมพร้อมลงพื้นที่ฉุกเฉิน
7.   หน่วยการจัดการกับสารเคมีที่หกรั่วไหลใช้แผ่นขาว – แดงกั้น เพื่อเป็นเขตอันตราย
8.   หน่วยการจัดการกับสารเคมีที่หกรั่วไหลใช้ขี้เลื่อยกลบสารเคมีที่หกรั่วไหล เพื่อให้ขี้เลื่อยดูดซับสารเคมีที่หกรั่วไหล และใช้พลั่วตักขี้เลื่อยที่ดูดซับสารเคมีใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด ป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีอันตราย
9.   นำภาชนะที่ใส่ขี้เลื่อยดูดซับสารเคมีไปทิ้งในห้องขยะอันตราย เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีอันตราย
10.   หน่วยการจัดการกับสารเคมีที่หกรั่วไหลทำความสะอาดร่างกายและหน่วยเตรียมและดูแลรักษาอุปกรณ์ในการจัดเก็บสารเคมีทำความสะอาดอุปกรณ์ฉุกเฉิน
11.   หัวหน้างานและ จป. วิชาชีพ ทำการสอบสวนอุบัติการณ์ที่ผิดปกติและพร้อมรายงาน
12.   เสร็จสิ้นการซ้อมแผนเหตุการณ์ฉุกเฉิน กรณีสารเคมีรั่วไหล[/font]

แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินกับสารเคมี

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นภายในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายอาจมีผลกระทบ
ต่อผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม ประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง และการสูญเสียทรัพย์สิน เช่น
การเกิดเพลิงไหม้สารเคมี สารเคมีเหล่านี้อาจเป็นพิษก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนแก่ผู้อาศัยในบริเวณ
ใกล้เคียง

ในขณะเดียวกันน้ำที่ใช้ดับเพลิงแล้ว อาจไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้เกิดปัญหามลภาวะ
ต่อแหล่งน้ำได้อีกด้วย แต่ถ้าหากมีการป้องกัน ตรวจสอบ และมีการเตรียมการที่ดีในการ
รับสถานการณ์เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน จะสามารถระงับหรือลดขนาดของการสูญเสียชีวิตและ
ทรัพย์สินได้

วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินก็เพื่อที่จะควบคุมหรือกำจัด
เหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น และกำหนดขั้นตอนในการระงับอุบัติภัย รวมถึงการลดผลกระทบอันเนื่องมาจาก
เหตุฉุกเฉินที่มีต่อสุขภาพ ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อชุมชนและขบวนการผลิต ในการ
จัดทำแผนฉุกเฉินจะยึดตามภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งได้แก่ การเกิดอัคคีภัยและการหกรั่วไหลของสารเคมี

แผนปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุไฟไหม้จากข้อมูลของการสำรวจเบื้องต้นทั้งหมดจะนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาทางปฏิบัติให้เหมาะสมกับแต่ละสถานที่ เพราะในรายละเอียดสถานที่แต่ละอาจมีวิธีปฏิบัติไม่เหมือนกันทุกแห่ง

แต่แนวปฏิบัติโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกัน เช่น

1. เมื่อมีผู้พบเห็นเหตุการณ์ ต้องดำเนินการดังนี้
- ผู้พบเห็นใช้สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือวิธีการใดที่รวดเร็วชัดเจน เพื่อให้
ผู้อยู่ในอาคารทราบและแจ้งพนักงานดับเพลิง
- พยายามใช้เครื่องดับเพลิงขนาดเล็กหรืออุปกรณ์อื่นเท่าที่มี เพื่อดับเพลิงทันที

2. บุคคลในสถานที่เกิดเหตุ
- พนักงานผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดับเพลิง ต้องรีบออกจากสถานที่ทำงานของตนโดยเร็ว ตามแผนผังการหนีไฟของโรงงานและไปรวมกัน ณ จุดรวมพล เพื่อตรวจนับจำนวนพนักงาน
- ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายทำการตรวจนับจำนวนพนักงาน เพื่อตรวจสอบว่ายังมีพนักงานติดอยู่ภายในหรือไม่เพื่อดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
- ให้พนักงานรักษาความปลอดภัย ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่
หน่วยดับเพลิงจากภายนอกที่มาทำการช่วยเหลือในการดับเพลิง เช่น ชี้นำไปยังสถานที่เกิดเหตุ หรือนำไปยังสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงของโรงงาน
- ให้พนักงานที่ได้รับมอบหมายในการปฐมพยาบาลคอยช่วยเหลือในการ
ปฐมพยาบาลหรือส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บไปยังสถานพยาบาลได้อย่างปลอดภัย
- ให้พนักงานรักษาความปลอดภัย คอยดูแลไม่ให้บุคคลภายนอก ซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุเพลิงไหม้เข้ามาภายในบริเวณเพลิงไหม้
ภายหลังเกิดเหตุให้หัวหน้าหน่วยงานของแผนกที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ทำการสำรวจ
ความเสียหายและรายงานต่อผู้บริหาร

3. การอพยพ
กรณีที่เกิดอุบัติภัยร้ายแรง เช่น เพลิงไหม้โกดัง ถังเก็บเคมีภัณฑ์ระเบิด หรือมี
ไอเคมีไวไฟจำนวนมาก หัวหน้าควรออกคำสั่งให้พนักงานทุกคนออกจากพื้นที่บริเวณโรงงาน
อย่างระมัดระวัง โดยปฏิบัติตามแผนอพยพ
ในระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือผู้ประสานงานเหตุฉุกเฉินจะรวบรวมและประเมินข้อมูลข่าวสาร จัดเตรียมเอกสารแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ ขอความเห็นชอบในเรื่องของข่าว และออกแถลงการณ์แจ้งให้พนักงาน สาธารณชน และสื่อมวลชนทราบ
ส่วนผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะเป็นผู้แถลงข่าวแก่สื่อมวลชน

แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินเพราะกลุ่มสารเคมี

แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินเฉพาะกลุ่มของสารเคมีต่อไปนี้ เป็นการจำแนกสารเคมีที่มี
คุณสมบัติคล้ายคลึงกันไว้ในหมวดเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการควบคุม การจัดเก็บ การระงับ
อุบัติภัย กรณีเกิดอัคคีภัยหรือการหก รั่วไหลของสารอันตราย รวมถึงการปฐมพยาบาลพนักงานจากการได้รับสารดังกล่าว ซึ่งโดยทั่วไปตามหลักการเก็บกักสารเคมีที่ดีนั้น ควรจะต้องมีการแยกเก็บสารเคมีที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ในที่นี้จะได้จำแนกกลุ่มของสารเคมีออกเป็น 52 กลุ่ม เช่น ก๊าซไวไฟสูง ก๊าซพิษ ของเหลวไวไฟสูง ของแข็งไวไฟ สารที่ติดไฟได้เอง ฯลฯ
แนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้นี้ เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติสำหรับสารกลุ่มนั้นๆ สำหรับ
รายละเอียดของสารแต่ละชนิด จำเป็นที่จะต้องศึกษาจากข้อมูลความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี MSDS เพิ่มเติม
ในการปฏิบัติเมื่อเกิดการหกรั่วไหลของสารเคมีควรนำปัจจัยเหล่านี้มาพิจารณาร่วมด้วย เช่น

- ชนิดหรือประเภทของสารอันตราย
- ขนาดหรือปริมาณเมื่อเกิดการรั่วไหล
- ลักษณะการรั่วไหล เป็นการรั่วไหลจากภาชนะบรรจุประเภทใด เช่น ถังเก็บขนาดใหญ่ หีบห่อ ท่อส่ง ฯลฯ
- ความเป็นพิษของสารอันตราย สถานประกอบการมีข้อมูลเกี่ยวกับสารอันตรายหรือไม่

ซึ่งการระงับเหตุฉุกเฉินโดยไม่ทราบข้อมูล อาจก่อให้เกิดอันตรายที่รุนแรงยิ่งขึ้นดังนั้น ผู้ประสบเหตุกรณีหกหรือรั่วไหลของสารเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติงานในอาคารเก็บสารเคมี จำเป็นต้องทราบและปฏิบัติตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้


1. สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่พนักงานพบสารเคมีหกหรือรั่วไหล ได้กลิ่นสารเคมี หรือพบกลุ่มไอจากสารอันตราย พนักงานดังกล่าวจะต้อง :-
- กดสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน
- จะต้องแจ้งให้ศูนย์ควบคุมเหตุฉุกเฉิน หรือผู้ควบคุมเหตุฉุกเฉินทราบทันที
- ถ้าไม่ทราบวิธีควบคุม หรือแก้ไขเหตุฉุกเฉิน จะต้องรีบออกไปให้พ้นจากอาคารเก็บสารเคมี
- ถ้าพนักงานดังกล่าวเคยผ่านการฝึกซ้อมควบคุมเหตุฉุกเฉินมาก่อน จะต้องดำเนินการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และปฏิบัติตามแนวทางในการปฏิบัติสำหรับสารนั้นๆ


2. กำหนดเขตพื้นที่ที่ปลอดภัย กำหนดเขตอันตราย โดยแยกกั้นบริเวณที่มีการหกหรือรั่วไหลทันที ส่วนระยะที่แยกกั้นนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของสารอันตราย โดยทั่วไปกำหนดให้มีการแยกกั้นบริเวณที่มีการหกหรือรั่วไหล อย่างน้อย 25-52 เมตร โดยรอบ และทำการอพยพบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยซึ่งได้จัดเตรียมไว้


3. ให้ปฏิบัติต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นด้วยความระมัดระวัง ห้ามเข้าปฏิบัติการ ในกรณีที่ยังไม่ทราบข้อมูลใดๆ เป็นอันขาด ให้เข้าไปยังจุดเกิดเหตุทางเหนือลม เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสไอระเหยของสารนั้น ให้ระลึกอยู่เสมอว่าไอระเหยหรือก๊าซต่างๆ ไม่มีกลิ่น สี และหนักกว่าอากาศ อาจสะสมอยู่พื้นล่างของบริเวณนั้น


4. พิสูจน์ทราบวัตถุอันตราย โดยพิจารณาว่า สารอันตรายที่หกและรั่วไหลนั้นเป็นสารชนิดใด ซึ่งอาจดูได้จากทะเบียนการเก็บกักสารเคมีในอาคาร ตำแหน่งที่มีการหกรั่วไหล รวมถึงประเภทของภาชนะที่ใช้บรรจุสารนั้นๆ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับสารนั้นให้ดูจากข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)


5. ประเมินความรุนแรงของเหตุฉุกเฉิน ผู้รับผิดชอบ เช่น ผู้ควบคุมเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย คณะกรรมการ
ความปลอดภัย รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะต้องประเมินสถานการณ์ของเหตุฉุกเฉินทันทีว่ามี
ความรุนแรงเพียงใด เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเหตุฉุกเฉินได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จะต้องตัดสินใจ
ขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินความรุนแรงของ
เหตุฉุกเฉิน ได้แก่
- สารดังกล่าวติดไฟ หรือมีสิ่งที่ก่อให้เกิดการติดไฟในบริเวณนั้นหรือไม่
- ปริมาณการหกรั่วไหลของสารนั้น
- อุปกรณ์ในการควบคุมการหก หรือรั่วไหล มีเพียงพอหรือไม่
- อุปกรณ์ในการผจญเพลิง
- อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล มีเพียงพอสำหรับทีมปฏิบัติการที่เข้าไปยังบริเวณที่เกิดเหตุหรือไม่
- สารที่หก หรือรั่วไหลเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรืออาจเกิดระเบิดได้หรือไม่
- มีอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาล ที่จะช่วยเหลือผู้ได้รับอันตรายจากสารอันตรายหรือไม่


6. การเข้าดำเนินการระงับเหตุฉุกเฉิน ภายหลังจากที่ได้อพยพพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวรที่หก รั่วไหลแล้ว ทีมปฏิบัติการควบคุมเหตุฉุกเฉิน อาจจำเป็นต้องเข้าไประงับเหตุฉุกเฉินที่แหล่งกำเนิด
เช่นอุดรอยรั่ว ดูดซับสารที่หก ปิดคลุมสารอันตราย ฯลฯ ประเด็นที่ต้องพิจารณาสำหรับ
ทีมปฏิบัติการควบคุมเหตุฉุกเฉิน ได้แก่
- มีการฝึกซ้อมระงับเหตุฉุกเฉินกรณีหก หรือรั่วไหลเป็นประจำหรือไม่
- พนักงานสามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องหรือไม่
- จะต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง เช่น ต้องยืนอยู่เหนือลม พยายามไม่อยู่ใน
ที่ที่ต่ำ เพราะสารอันตรายบางชนิดหนักกว่าอากาศและจะสะสมอยู่ในปริมาณมาก
- ควรระบายอากาศก่อนเข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณที่หก รั่วไหล
- ปฏิบัติตามข้อมูลเคมีภัณฑ์ สำหรับสารอันตรายชนิดนั้นๆ อย่างเคร่งครัดในการควบคุมการหก รั่วไหล


7. การดำเนินการภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน
- สวบสวนถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติภัยดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันต่อไป
- สำรวจความเสียหาย ทั้งที่เกิดต่อบุคคล ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม
- ประเมินประสิทธิภาพของมาตรการป้องกัน และควบคุมเหตุฉุกเฉินที่ใช้อยู่
- ประเมินประสิทธิภาพของทีมปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อปรับปรุงแผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพ

 

 

ขั้นตอนการปฏิบัติกักเก็บสารเคมีรั่วไหล (Spill Containment Procedure)


 1. อุด–ปิด–ปะ–มัด รอยรั่ว

ใช้ผ้ากันเคมี, เทปปิดผิวรั่ว หรือวัสดุอุดเฉพาะ
ป้องกันไม่ให้สารเคมีไหลออกเพิ่มเติม
“หยุดต้นเหตุของการรั่วก่อนเป็นอันดับแรก”


2. ใช้ภาชนะรองรับการรั่วไหล ถัง PE, ถังเหล็ก หรือถาดรองที่ทนเคมีได้

รองรับของเหลวที่ยังคงไหลอยู่ให้ครบ
“เก็บให้ครบก่อนกระจายตัว”


3. วางสารดูดซับโดยรอบ

ใช้สารดูดซับเคมี (Chemical Absorbent) เช่

ผงซับ, แผ่นซับ, บูมกั้น   วางล้อมรอบพื้นที่รั่วเพื่อลดการกระจาย


4. ตักเก็บ/เคลื่อนย้ายสารดูดซับ

ใช้เครื่องมือเฉพาะในการเก็บสารดูดซับ
เก็บลงภาชนะสำหรับของเสียอันตราย (Hazardous Waste Bin)
“ห้ามทิ้งปนกับขยะทั่วไปเด็ดขาด”


5. หากจำเป็น…ให้ทำการสลายตัวทางเคมี

ฉพาะกรณีที่มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ควบคุมได้
ต้องดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรม


6. ขนย้ายสารเคมีที่เหลือไปยังที่ปลอดภัย

เคลื่อนย้ายกลับเข้า พื้นที่กักเก็บสารเคมี ที่กำหนด
 หลีกเลี่ยงการขนย้ายผ่านพื้นที่สาธารณะ
 รายงานเหตุการณ์ตามระบบ SHE / EHS ภายในองค์กร

เป้าหมายหลักในการจำกัดการรั่วไหลของสารเคมี


1. ระงับการรั่วไหล หรือให้รั่วไหลน้อยที่สุด

หยุดต้นเหตุทันที เช่น ปิดวาล์ว, อุดรอยรั่ว

ช้อุปกรณ์ควบคุม เช่น เทปเคมี, แผ่นซีล


2. ป้องกันไม่ให้ “HOT ZONE” ขยายออก

วางบูมกันสารเคมี, ใช้แผงล้อมพื้นที่

ควบคุมไม่ให้สารแพร่กระจายไปยังพื้นที่สะอาด


3. ทำให้อันตรายลดลง (Mitigate Hazard)

ใช้พัดลมระบายอากาศ ลดไอระเหย

ผสมหรือเจือจางเพื่อจำกัดความรุนแรง (เฉพาะสารที่ปลอดภัยต่อการทำเช่นนั้น)


4. ป้องกันการรั่วไหลลงดินและแหล่งน้ำ

ใช้ถาดรอง, แผ่นกันซึม, บ่อเก็บ

ห้ามปล่อยให้สารไหลเข้า ท่อระบายน้ำ หรือ ดินชั้นบน


5. ดำเนินการให้เร็วที่สุดและปลอดภัย

เวลาคือทุกอย่าง! ต้องเตรียมความพร้อมเสมอ

ผู้ปฏิบัติต้องมี PPE ครบชุด และได้รับการอบรมมาก่อน


สรุป: เป้าหมายของการจำกัดการรั่วไหล

เป้าหมายหลักผลลัพธ์ที่ต้องการ
หยุดรั่ว/ลดการรั่ว ลดปริมาณสาร
จำกัดพื้นที่รั่ว ควบคุมการแพร่กระจาย
ลดอันตราย คุ้มครองชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ป้องกันผลกระทบ ไม่ให้ลงดิน/น้ำ
ทำให้เร็ว–ปลอดภัย มีแผน–มีคนพร้อม–มีอุปกรณ์
Visitors: 623,607