ถามตอบ

แนวทางการควบคุมระดับการสัมผัสเสียงของลูกจ้าง
กรณีศึกษานี้ นำมาจากเรื่องโรงงานขนาดเล็กผู้ผลิตอิฐบล็อก ขอความช่วยเหลือจาก OSHA ในโครงการ On-Site Consultation Program เมื่อเดือนมีนาคม 2021 นี้เอง
ทีม OSHA วัดเสียงและคำนวณ TWA 8 ชม.ได้ = 98.4 dBA และจากผลการเฝ้าระวังการได้ยิน พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงการได้ยินของลูกจ้าง (ซึ่งทาง OSHA เรียกเป็น Standard Threshold Shift (STS)) จึงแสดงให้เห็นว่าการสวมใส่อุปกรณ์ปกป้องการได้ยิน ซึ่งในกรณีนี้นายจ้างจัดแบบให้ใส่ทั้งที่อุดหู (มีค่า NRR = 33) และที่ครอบหู (NRR = 30) (หมายเหตุ: ใส่ทั้งสองอย่างพร้อมกันเลย (double hearing protection)) เอาไม่อยู่
จึงปรึกษากัน ตัดสินใจทำการควบคุมเสียงด้วยวิธีการทางวิศวกรรม ทำแผ่นกั้นเสียงขึ้นมา ระหว่างตัวเครื่องจักรกับลูกจ้าง เป็นแผ่น plexiglass หนา 3/8 นิ้ว พร้อมแผ่นโฟม acoustical foam หนา 3 นิ้ว แผ่นดังกล่าวจะเบาและยกเคลื่อนย้ายสะดวก เอื้อต่อการทำงานของลูกจ้างในการทำงาน (ดูภาพประกอบ)
ปรากฎว่าการสัมผัสลดลง เป็น TWA = 92 dBA ซึ่งยังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
เอาละ ทีนี้สมมติว่ากรณีนี้เป็นของเมืองไทย พวกเราจะทำไงต่อครับ
***** ลองคิดดูก่อนอ่านต่อไป *****
1. ตามกฎหมายไทย หาก TWA 8 ชม. เกิน 85 dBA ต้องลดระดับลงด้วยมาตรการทางวิศวกรรมหรือมาตรการการบริหารจัดการ
2. กรณีนี้ได้ทำมาตรการวิศวกรรมแล้ว แต่ก็ยังเกิน ไอเดียต่อไปก็คือลองไปใช้มาตรการบริหารจัดการ
3. มาตรการบริหารจัดการก็คือการใช้วิธีการ Rotation ใช้สูตรหากิน คำนวณ Dose หากออกมาน้อยกว่า 100% แปลว่า ok เราควบคุมการสัมผัสเสียงได้ตามกฎหมาย
แต่หากผลตามมายัง > 100% แปลว่าเราต้องทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินครับ
4. และเพื่อคุ้มครองการได้ยิน เราก็ต้องเลือกหาที่อุดหู หรือที่ครอบหูที่เหมาะสม
> ถามว่าอุปกรณ์ดังกล่าว ควรมีค่า NRR อย่างน้อยเท่าใดครับ
***** ลองคิดดูก่อนอ่านต่อไป *****
5. จากกรณีข้างต้น ท่านจะเสนอซื้ออุปกรณ์ในข้อใด มาให้ลูกจ้างใช้งาน
1) ที่อุดหูทำด้วยโฟม มีค่า NRR = 30
2) ที่อุดหูทำด้วยโฟม มีค่า NRR = 50
3) ที่ครอบหู มีค่า NRR = 20
4) เลือกข้อ 1 และ 3
5) เลือกได้ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
***** ลองคิดก่อนดูเฉลยนะครับ *****
6. เฉลย ตอบข้อ 5) ครับ
หมายเหตุ: ท่านใดตอบผิด หรือหากมีคนต้องการให้อธิบายวิธีทำ > 10 คนขึ้นไป จะได้เฉลยวิธีทำให้ครับ
Visitors: 569,251