Tool Box Talk กับ Morning Talk

Tool Box Talk กับ Morning Talk
เหมือน หรือ ต่างกันอย่างไร รู้ไว้จะได้เอาไปใช้ให้ถูก


ทำต่อเนื่อง ทำถูกวิธี --> ช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้จริง
.
 หลายคนยังเข้าใจว่าการพูดคุยกันตอนเช้าก่อนเริ่มงาน ที่เรียกว่า Tool Box Talk หรือบางที่เรียก Morning talk ทำเพื่อเช็คชื่อเป็นหลักฐานว่ามาทำงานทัน ไม่ตื่นสาย จะได้จ่ายเงินได้ถูก ไม่ต้องหักตัง
.
 และบางคน ก็พูดฝ่ายเดียว โดยที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ฟัง หรือ คนงานได้พูด ได้ตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็น ความเข้าใจของตนเองในงาน หรือ ความเสี่ยงที่พวกเขากำลังจะเผชิญ
.
 แล้วใครล่ะ ควรจะเป็นคนพูด? จะให้โปรเจกต์ หรือ ไซต์เอนฯ หรือ จป. พูดดี? และ... ต้องพูดอะไร?
.
Tool Box Talk (ทูลบ๊อกซ์ทอล์ค) มักจะพูดเรื่องงานที่จะทำในวันนั้น ขั้นตอนการทำงาน หน้าที่รับผิดชอบ ใครทำอะไร อันตราย และความเสี่ยง รวมถึงสิ่งที่ต้องทำ และห้ามทำ (Do & Don't) ใช้เวลา 5-10 นาทีก็เพียงพอ
.
ส่วน Morning talk (มอร์นิ่งทอล์ค) มักจะพูดเรื่องแจ้งข่าวสาร บทเรียนจากอุบัติเหตุ หรือ ความปลอดภัยทั่วๆไป ที่จบลงด้วย แง่คิด บทเรียน หรือการกระตุ้นจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน
.
Tool Box Talk พูดโดยหัวหน้างาน หรือ โฟร์แมน และถ้าให้ดี ควรแบ่งกลุ่มย่อย แล้วคุยตามลักษณะงาน
.
Morning Talk พูดโดยใครก็ได้ สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันพูด และควรแจ้งล่วงหน้า เพื่อให้ผู้พูดเตรียมตัว และหาเรื่องมาพูดให้ทุกคนฟังที่หน้าแถว และมักพูดต่อหน้าคนกลุ่มใหญ่ๆ พร้อมๆกัน
.
 วิธีการที่ผมใช้ คือ...
1. เริ่มต้นด้วยการทำ Morning Talk คนแรกที่พูด คือ คนที่ตำแหน่งใหญ่สุด จะเป็น โปรเจกต์เมเนเจอร์ หรือ คอนสตรัคชั่นเมเนเจอร์ ก็ได้
(คนที่ไม่ได้พูดก็ควรจะมายืนเข้าแถว ด้านหน้าคนงานเช่นกัน ไม่ใช่นั่งจิบกาแฟ อยู่ในตู้คอนเทนเนอร์)
.จากนั้นอาจแทรกด้วยการออกกำลังกาย ยืดเส้นสาย (จะมีหรือไม่ก็ได้) หรือ ตรวจ PPE และการแต่งกาย ตรวจความพร้อม หรือกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ วัฒนธรรมของไซต์งานนั้น หรือ ข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง ตรงนี้ ให้ จป. เข้ามาพูด มาจัดกิจกรรมได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดี
.
2. จากนั้น จึงแยกกลุ่มย่อยทำ Tool Box Talk นำโดย โฟร์แมน หรือ หัวหน้างานของทีมงานนั้นๆ ถ้ามี JHA หรือ Method statement ที่ระบุขั้นตอนการทำงานเฉพาะด้าน ก็ใช้ช่วงเวลานี้ เอามาคุยกับทีมงาน
.ความสำเร็จของการพูด คือ ไม่ใช่แค่พูดฝ่ายเดียว แต่ต้องพยายาม โน้มน้าว ให้คนงานพูดบ้าง จะตอบคำถาม แสดงความเห็น หรืออธิบายความเข้าใจของงานที่ได้รับมอบหมาย และความเสี่ยงที่ตนเผชิญก็แล้วแต่
.
ปล. สาเหตุที่เรียกว่า Tool Box Talk เนื่องจากในสมัยก่อน โฟร์แมนตัวเล็ก เวลาพูดหน้าแถวคนงานที่นั่งอยู่ด้านหลังจะมองไม่เห็นผู้พูด จึงต้องให้โฟร์แมนขึ้นไปยืนพูดบนกล่องเครื่องมือ จึงเป็นที่มาของคำที่เรียกติดปากกันว่า "Tool Box Talk"
.
***ถ้าบทความนี้ดี มีประโยชน์ ฝากกดไลค์ & แชร์ ✔ ให้เพื่อนๆของท่านได้อ่านครับ
#เพราะเราเชื่อว่าอุบัติเหตุไม่ใช่ผลของเคราะห์กรรม หรือโชคชะตาที่อยู่เหนือการควบคุม
. ข้อมูลดีดีจาก
#เซฟตี้360องศา #Safety360 #ToolBoxTalk #ทูลบอกซ์ทอล์ค #SafetyTalk #MorningTalk 
ดูน้อยลง
 
 
Visitors: 570,436