แนวทางในการป้องกันอุบัติเหตุ

แนวทางในการป้องกันอุบัติเหตุ

       การคิดหาแนวทางป้องกันอาจมีหลากหลายวิธี บ่อยครั้งที่แนวทางป้องกันอาจไม่ครอบคลุมทั้งหมด มีตกหล่นไปบ้าง ทําให้การป้องกันไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควรดังนั้น จึงต้องมีหลักในการช่วยหาแนวทางให้ครอบคลุมได้ทั้งหมด เพื่อจะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุที่ซ้ำรอยขึ้นมาอีกด้วยหลัก 3E กับ ตําแหน่งการป้องกัน

        1) หลัก 3E ได้แก่ Engineering, Education และ Enforcement

            (1) Engineering คือการใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์มาจัดการ เช่น การออกแบบเครื่องจักรให้มีการใช้งานที่ปลอดภัย การติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายการวางผัง โรงงานและออกแบบสภาพแวดล้อมในการทํางาน 

            (2) Education คือการให้การศึกษา หรือฝึกอบรมคนงาน ตลอดจนผู้ที่ เกี่ยวข้องในการทํางาน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุการฝ้กใช้เครื่องมือหรือ วิธีการทํางานที่ปลอดภัย

            (3) Enforcement คือการออกมาตรการควบคุมบังคับให้คนงานปฏิบัติ ตามหากฝ่าฝึนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษเพื่อให้เกิดความสํานึกและหลีกเลี่ยงการกระทําที่ไม่ถูกต้องการใช้หลัก 3E นี้จะต้องดําเนินการให้ E ทั้ง 3 ไปพร้อมกัน จึงจะทําให้ การป้องกันอุบัติเหตุมีประสิทธิภาพสูงสุดถ้ามีการดําเนินการเฉพาะ E ตัวใดตัวหนึ่งก็จะเกิดปีญหาขึ้น เช่น เครื่องจักรที่ออกแบบมาดีมีเครื่องป้องกันอันตราย (Machine Guarding) ติดตั้งไว้คนงานอาจเห็นว่าเกะกะไม้จําเป็นจึงถอดออกเพราะขาดการฝึกอบรม หรือชี้แนะให้เห็นอันตรายที่เกิดขึ้น หากถอดเครื่องป้องกันอันตรายออก หรือว่ามีการอบรมมาอย่างดีแล้วแต่ขาดการออกกฎข้อบังคับ คนงานอาจเห็นว่าการดนั้นเกะกะ ทําให้ทํางานไม่สะดวกจึงถอดทิ้งเสีย เพราะตเองการทํางานให้เร็วขึ้นทั้ง ๆ ที่รู้ว่าอันตรายแต่ก็ยอมเสี่ยงเพราะเข้าใจว่าจะสามารถเพิ่มผลผลิตได้ในทํานองเดียวกันแม้จะมีข้อบังคับแล้วหากคนงานไม้ได้รับการแนะวิธีการทํางานที่ถูกต้องปลอดภัยคนงานก็อาจจะปฏิบัติงานอย่างผิดวิธีเนื่องจากความไม่รู้เป็นเหตุหรือการทํางานที่ผิดพลาดไม่ถูกขั้นตอนเป็นผลทําให้ระบบป้องกันนั้นเสียหายไม่ทํางาน

          2) หลักของ 5 ส. สู่ความปลอดภัย เป็นนการนํา ระบบ 5 ส. มาช่วยสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยในการทํางาน ระบบ 5 ส. มีกิจกรรมที่ต้องทํา 5 ประเภท ประกอบด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัยโดยมีรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมดังนี้                

              สะสาง คือการแยกชัดระหว่างของที่จําเป็นกับของไม่จําเป็น และกําจัดของ ที่ไม้จําเป็นทิ้งไป

              สะดวก คือการจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบอยู่เสมอเพื่อง่ายต่อการนําไปใช้และการเก็บคืน ที่เดิม ดังคํากล่าวที่ว่า หายก็รูปอยู้ก็เห็น ดูแล้วเป็นระเบียบ 

               สะอาด คือการทําความสะอาด สถานที่อุปกรณ์สิ่งของเครื่องจักรให้สะอาดน่าดูอยู่เป็นนิจ

               สุขลักษณะ คือสภาพที่สะอาดถูกลักษณะโดยการรักษาและปฏิบัติ 3 ส. แรกให้คงเดิมหรือ ดีขึ้นเสมอ

              สร้างนิสัย คือการปฏิบัติตามระเบียบวินัยที่กําหนดขึ้นมาจนติดเป็นนิสัย5 ส. เป็นระบบพื้นฐานในการบริหารงานความปลอดภัยในการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ

          โดยถ้าแบ่ง ปัจจัยการผลิตออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ้มสิ่งมีชีวิต (คน) และกลุ่มสิ่งไม่มีชีวิต (วัสดุและเครื่องจักร) จะเห็นได้ว่าเมื่อปัจจัยการผลิตทั้งสองกลุ่มได้รับการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง จะส่งผลให้การผลิตเปนไป อย่างมีประสิทธิภาพความปลอดภัยในการทํางานเป็นเรื่องที่ครอบคลุมกว้างกว้าง

            หลักของ 5ส  เพราะเกี่ยวข้อง กับการกําจัดสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น ความรกรุงรังไม่เป็นนระเบียบของการจัดเก็บวัสดุสิ่งของ เครื่องจักรไม่มีอุปกรณฺป้องกันอันตรายส่วนที่เคลื่อนไหว ระบบไฟฟ้าชํารุดบกพร่อง แสงสว่างไม่เพียงพอ เป็นต้น และการกําจัดการกระทําที่ไม่ปลอดภัย เช่น ทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง ประมาท ปฏิบัติงานโดยขาดความรู้ ความชํานาญ ละเลยกฎระเบียบ เป็นต้น

            ดังนั้นความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ทํางาน ในส่วนของ การสร้างเสริมความปลอดภัยในการทํางาน จึงต้องจัดเก็บวัสดุสิ่งของอย่างเป็นระเบียบ ในส่วนนี้จึงตรงกับ 3 ส. คือ สะสาง สะดวก สะอาด ส่วนการขจัดการกระทําที่ไม่ปลอดภัยนั้น ต้องเริ่มจากการพัฒนาจิตสํานึก และสะสมทัศนคติที่ถูกต้องให้กิดขึ้นในตัวของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ทํางานอย่างปลอดภัย นิสัยรักความ สะอาดและมีระเบียบวินัยจะแสดงถึงการเป็นผูู้มีจิตสํานึกและทัศนคติที่ดีต่อความปลอดภัย เช่นเดียวกับการ ทํา 3 ส. แรกอย่างต่อเนื่องดังรูปภาพอ้างอิง : http://thaisafetyengineer.blogspot.com/2014/04/blog-post_4782.html



Visitors: 569,321