หลักสูตร Hiyari Hatto & KYT

หลักสูตรการรายงานเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ และการฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย

 (HIYARI HATTO ACTIVITY& KYT )

หลักการและเหตุผล

      สถานประกอบการได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมความปลอดภัย โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการให้พนักงานทุกคนปฏิบัติงานด้วยความเรียบร้อย ปลอดภัย ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันและกลับถึงบ้านในแต่ละวันอย่างปลอดภัย โดยไม่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุแต่อย่างใด

      ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของฝ่ายบริหาร กิจกรรม Hiyari Hatto เกิดขึ้น ซึ่ง “ฮิยาริ” เป็นภาษาญี่ปุ่นมีคำเดิมว่า “ฮัตโตะ-ฮิยาริ-ฮ้อตโตะ (Hatto-Hiyari-Hotto)” หมายถึง การแสดงออกของความรู้สึกของความตกใจและแสดงอาการนั้นออกมาเป็นคำพูดในลักษณะอุทานเวลาเห็นเหตุการณ์ หรือประสบกับเหตุการณ์ที่เกือบเป็นอุบัติเหตุเกิดขึ้น ซึ่งตรงกับคำอุทานในภาษาไทยว่า “อุ๊ย! เกือบไปแล้ว…มั้ยล่ะ” แต่เนื่องจากคำว่า “ฮัตโตะ-ฮิยาริ-ฮ้อตโตะ” มีความยาวเกินไปจึงละคำว่า “ฮ้อตโตะ” เป็น “ฮิยาริ-ฮัตโตะ (Hiyari-Hatto)” มีความหมายตรงกับภาษาไทยว่า “อุ๊ย! เกือบไปแล้ว”    

      KYT ( Kiken Yochi Training ) เป็นวิธีการของญี่ปุ่น ที่นิยมและยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ลดเรื่องอุบัติเหตุเป็นอย่างมากแล้ว ยังสามารถเพิ่มผลผลิตในการผลิต และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย เป็นกิจกรรมที่ฝึกการค้นหาอันตรายและคาดการณ์อันตรายภายใต้แนวความคิดที่ว่า ช่วยกันทำอย่างรวดเร็วและถูกต้อง โดยเฉพาะการชี้นิ้ว และพูดย้ำ มีการฝึกอบรมทางด้านความรู้ และเทคนิค ความไวของประสาทสัมผัส ด้านอันตราย รวมไปถึงการมีสมาธิ และความกระตือ รือร้น สร้างความสามัคคี ความพร้อมเป็นหนึ่ง

     กิจกรรมที่ปฏิบัติร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน การส่งเสริมผู้สอน หรือวิทยากรภายในองค์กรด้านความปลอดภัยการหยั่งรู้อันตราย KYT จึงเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมวิธีการ ในการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยและการหยั่งรู้อันตราย  อันเป็นเป้าหมายของทุกองค์กรคือ การยกอุบัติเหตุเป็นศูนย์หรือ Zero Acciden

         2 กิจกรรมนี้ จึงได้ถูกสร้างขึ้น เพื่อสร้างเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ในการร่วมกันค้นหาอันตราย ชี้จุดเสี่ยง แล้วมาช่วยกันระดมสมองคิดหาแนวทางการป้องกันและแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดเหตุ หรืออุบัติเหตุขึ้น ด้วยความร่วมมือกันคิดและทำจริงของพนักงาน เพื่อเป้าหมาย ลดอุบัติเหตุ เป็นศูนย์

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการทำ  “กิจกรรม Hiyari Hatto ”
  2. เพื่อให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมแจ้งปัญหาที่เคยประสบและอาจเกิดอันตรายต่อสมาชิกของพนักงาน
  3. เพื่อให้สถานที่ทำงานมีความปลอดภัยและจุดไหนที่เสี่ยงต้องได้รับการปรับปรุง
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมค้นหาอันตรายต่างๆ ที่อาจมีอยู่หรือแฝงอยู่ในงาน และหาวิธีการควบคุมป้องกันด้วยตนเอง นำไปเดือนสติก่อนปฏิบัติงาน ด้วย KYT
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจการสร้างจิตสำ
  6. นึกด้านความปลอดภัยในการท างาน

   หัวข้อการฝึกอบรม
      1.  ทำไมต้องมีความปลอดภัย
      2.  ความหมายของศัพท์ที่ควรรู้
            2.1 INCIDENT อุบัติการณ์
            2.2 NEAR MISS เหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดอุบัติเหตุ

            2.3ACCIDENT อุบัติเหตุ
        3. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุ

        4. กิจกรรม Hiyari Hatto
               4.1 วัตถุประสงค์และประโยชน์ของกิจกรรม Hiyari Hatto 

4.2    ขั้นตอนและวิธีการ กิจกรรม Hiyari Hatto 

     4.3 การติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม

               Workshop : ภาคปฏิบัติ แบ่งกลุ่ม ทำกิจกรรม Hiyari Hatto 

          5. KYT การฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย

                5.1   ประวัติ ความเป็นมา ของความสำคัญของ KYT

                5.2  ค้นหาจุดอันตราย จากภาพที่ซ่อนเร้น พร้อมสาเหตุ

                 5.3 ประเภทของ KYT  ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน

                     -  KYT 4 ยก ( 4 Rounds KYT)

                     -  KYT  จุดเดียว ( One Point KYT )         

                     -  KYT ปากเปล่า ( Oral KYT )        

                  5.4  ขั้นตอนการ KYT 4 ยก 

                        ยก 1 ค้นหาอันตรายและสาเหตุ

                        ยก 2 เลือกอันตรายที่สำคัญ 1-2 ข้อ

                        ยก 3 หามาตรการป้องกันแก้ไข

                        ยก 4 เลือกมาตรการป้องกันแก้ไขที่ดีที่สุด 1-2 ข้อ

                           สรุปเป็นข้อความสั้น ๆ ที่จำได้ง่าย อุบัติเหตุเป็นศูนย์ มือชี้ ปากย้ำ เตือนสติก่อนปฏิบัติงาน

                           Workshop : การฝึกภาคปฏิบัติ แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม  KYT 4 ขั้นตอน ฝึก 2 รอบ  KYT

                            ปากเปล่า ฝึก 1 รอบ

                     5.4 สรุปการฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย ที่นำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรและใช้ในชีวิตประจำวัน             

รูปแบบการอบรม 

          บรรยาย 50 % Workshop  50  %

กลุ่มเป้าหมาย

          พนักงาน หัวหน้างาน และผู้บริหาร

ระยะเวลาการอบรม

       จำนวน 1 วัน  ( 6 ชั่วโมง )

จำนวนผู้เข้าอบรม

       30-45  คน/รุ่น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้ารับการอบรมสร้างสัญชาตญานความปลอดภัย คาดการณ์อันตรายล่วงหน้า เตือนสติก่อนปฏิบัติงาน
  2. ผู้เข้าอบรมรู้และค้นหาอันตรายในแผนก หามาตรการปรับปรุงแก้ไข สร้างวินัย สร้างสามัคคี การทำงานเป็นทีมและลดอุบัติเหตุ
  3.  ผู้เข้าอบรมรู้และเข้าใจการนำกิจกรรมทั้ง 2 กิจกรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  
Visitors: 554,517