-
-
ความรู้ดีดีจากประสบการณ์ จป
-
คำศัพท์ทางความปลอดภัย
-
กฏหมาย จป ฉบับใหม่
-
ภาพเกี่ยวกับSafety
-
ภาพเสี่ยงอันตรายและปลอดภัย
-
ภาพกราฟฟิตเกี่ยวกับ SAFETY
-
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย Unsafe Act
-
สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
-
ภาพโปรเตอร์
-
ความปลอดภัยในวัด
-
ภาพกระทำไม่ปลอดภัย สภาพการณ์ไม่ปลอดภัย Near Miss ,Accident
-
ภาพบันไดที่ปลอดภัย
-
ภาพโปรเตอร์ความปลอดภัยในที่อับอากาศ
-
ภาพสื่อกฏหมาย พรบ.
-
ภาพความปลอดภัยในWarehouse
-
หญิงตั้งครรภ์
-
ภาพความปลอดภัยเครื่องจักร
-
ปรับเปลี่ยนให้ปลอดภัย
-
ดับเพลิง
-
ภาพจุดเสี่ยงอันตรายในสถานประกอบการ
-
ภาพเสี่ยงอันตราย ปรับให้ปลอดภัย
-
-
5ส
-
ความเป็นมาของ 5ส และบทความ
-
คลิปสื่อการอบรมกิจกรรม 5 ส
-
5 ส ในโรงงาน ส สะสาง
-
5 ส ในโรงงาน สะดวก
-
5 ส ในโรงงาน ส สะอาด
-
5ส ในโรงงาน สร้างมาตรฐาน
-
5 ส ในโรงงาน ส สร้างนิสัย
-
ประโยชน์ของการทำกิจกกรม 5 ส
-
5ส และ Visual Control
-
โปรเตอร์ 5 ส
-
การตรวจและประเมินผล
-
ภาพเปรียบเที่ยบก่อนทำและหลังทำ
-
ตัวอย่างบริษัทที่ทำ 5 ส เปรียบเสมีอนเราไปดูงานจริง
-
บอร์ดทำกิจกรรม 5 ส
-
ป้ายประชาสัมพันธุ์ในโรงงาน
-
5ส เพื่อตัวเอง
-
เครื่องมือและเทคนิคการส่งเสริมความปลอดภัย
-
5ส องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต QCDSMPEE หรือ Big Q
-
ถังขยะ
-
ทีมคณะกรรมการ 5ส
-
ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการทำ 5ส ให้ประสบความสำเร็จ
-
1 วันกับ 5ส
-
Big Cleaning Day
-
5ส ที่มองไม่เห็น
-
คู่มือ 5ส
-
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำกิจกรรม 5ส
-
สีที่ใช้ในโรงงาน
-
Thailand 5S Award 2022
-
-
5ส โรงพยาบาล
-
5ส เพื่อความปลอดภัย
-
Safety Mind การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย
-
ปรับเปลี่ยนให้ปลอดภัย
-
JSA เทคนิควิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
-
KYT การหยั่งรู้ระวังอันตราย
-
ฮิยาริ Hiyari hatto
-
การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง
-
สาระสำคัญของการประเมินความเสี่ยงอันตรายของสวัสดิการจังหวัดชลบุรี
-
ผู้ชำนาญการฯกับสรุปสาระการประเมินความเสี่ยง
-
การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง
-
การวิเคราะห์เพื่อควบคุมความสูญเสีย
-
การป้องกันอุบัติเหตุ 3 E
-
วิธีปลูกฝังความปลอดภัยให้พนักงาน
-
7 เทคนิควิธี การชี้บ่งอันตรายใช้สำหรับการประเมินความเสี่ยง
-
-
ฺฺBBS ปลูกฝังพฤติกรรมปลอดภัย
-
ไฟล์ข้อมูลการสังเกตุพฤติกรรม
-
การพูด
-
ทำไม ต้อง BBS
-
BBS : (Behavior-based safety) การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย
-
SOT : Safety Observation Tour
-
ผมเชื่อพฤติกรรมเปลี่ยนได้
-
Safety with Krisana
-
การ์ด..การพยากรณ์ความปลอดภัย และยุทธวิธีสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร
-
ทฤษฎี ABC
-
ประสบการณ์ในการทำ BBS
-
การพัฒนาความปลอดภัยต้องควบคุมพฤติกรรม
-
ปิรามิดความปลอดภัย
-
BBS:what if พูดให้คิด ดีกว่าบอกให้เขาทำ
-
ภาพจุดเสี่ยงอันตรายในโรงงานสำหรับฝึก BBS
-
BBS ตัวอย่างที่ SP GROUP
-
วัฒนธรรมความปลอดภัย แต่ละบริษัท
-
การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย
-
-
SOT : Safety observation Tour
-
หยุด เรียก รอ
-
HORENSO
-
มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน
-
Safety Talk ก่อนทำงาน
-
Safety Talk
-
Safety Talk Show
-
โรคจากการทำงาน
-
การยศาสตร์
-
การสอบสวนอุบัติเหตุ
-
ทักษะหัวหน้างาน บทบาทหน้าที่
-
ภาวะผู้นํา (Leadership)
-
การขับขี่ปลอดภัย (Defensive Driving)
-
ขับขี่ปลอดภัยเชิงป้องอุบัติเหตุ
-
น้ำหนักบรรทุกของรถขนส่ง
-
สาเหตุที่ลูกค้าร้องเรียน
-
คลิปอุบัติเหตุเกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัย
-
คลิปเตือนภัยสำหรับรถจักรยานยนต์
-
ขับขี่ปลอดภัยรถขนส่งสารเคมีอันตราย
-
แนะนำวิธีรับมือเหตุฉุกเฉินบนรถบัสเบื้องต้นครับ
-
มาตรการป้องกันและระงับเหตุไฟไหม้รถบัสรับส่งนักเรียน
-
มารยาทของพนักงานขับรถบรรทุก
-
อุบัติเหตุบนถนน ภัยจากการเดินทาง แนะนำผู้ขับขี่ปลอดภัย
-
-
Kaizen&Ssfety
-
แผ่นดินไหว
-
................................
-
การยศาสตร์เพื่อความปลอดภัย
-
ความปลอดภัยด้านเครื่องจักร
-
ความปลอดภัยสารเคมีอันตราย
-
การควบคุมและความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย
-
คู่มือเกี่่ยวกับสารเคมีและสารอันตราย
-
อันตรายจากสารเคมีเข้าตา
-
SDS มาจากคำเต็มว่า Safety Data Sheet
-
โรงงานที่ต้องจัดให้มีบุคคลากรเฉพาะ(บฉ)
-
การเก็บสารเคมีให้ถูกต้อง
-
ไฟล์อบรมสารเคมีอันตราย
-
โปรเตอร์สารเคมีอันตราย
-
แผนรองรับเหตุฉุกเฉินสารเคมีรั่วไหล
-
PPE
-
ประเมินสุขภาลูกจ้างกรณีการใช้สารเคมี
-
เกร็ดความรู้จาก สสปท
-
กฏหมายเคมี
-
การรายงานสารเคมีอันตราย
-
-
ความปลอดภัยสารไวไฟ
-
ความปลอดภัยด้านไฟฟ้า
-
ความปลอดภัยด้านไฟฟ้า
-
การรับรองความรู้ความสามารถช่างไฟฟ้าภายในอาคาร
-
กฏหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยไฟฟ้า
-
โปรเตอร์เกี่ยวกับไฟฟ้า
-
กฏหมายเกี่ยวกับไฟฟ้า
-
การ์ตูนความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้าในงานก่อสร้าง
-
คลิปความปลอดภัยด้านไฟฟ้า
-
โปรเตอร์เกี่ยวกับไฟฟ้า
-
คลิปอุบัติเหตุจากไฟฟ้า
-
จ้าของบ้านต้องรู้ไว้ สมอ.ออกกฎใหม่
-
คู่มือแบบตรวจสอบพร้อมคาอธิบาย (Checklist) มาตรการการป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
-
ไฟล์ความรู้ความปลอดภัยไฟฟ้าโหลดได้
-
หลักการป้องกันและควบคุมอันตราย จากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
-
-
ความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย
-
การป้องกันเหตุอัคคีภัย
-
แนวการจัดทํา แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย
-
โปรเตอร์รณรงค์การป้องกันอัคคีภัย
-
สตง.ตรวจพบโรงภาพยนตร์ทั้งหมดใน กทม.มีระบบป้องกันอัคคีภัยไม่ได้มาตรฐาน
-
ป้องกันเพลิงไห้มและไฟป่า
-
ความปลอดภัยอัคคีภัย2
-
คลิปวีดีโอความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย
-
ถังดับเพลิง
-
การซ้อมแผนดับเพลิง-หนีไฟ
-
Checklist ดับเพลิงในสถานประกอบการ
-
เส้นทางหนีไฟ หนทางความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม
-
-
ความปลอดภัย สภาพแวดล้อม
-
ความปลอดภัยงานเชื่อมไฟฟ้า
-
ความปลอดภัยเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บ
-
ความปลอดภัยรถบรรทุกขนส่ง
-
ความปลอดภัยยานพาหนะ
-
ทางร่วมทางแยกอันตรายที่ต้องระวัง
-
กฎการขับรถอย่างปลอดภัย
-
ถุงลมเสริมความปลอดภัย เข็มขัดนิรภัย ท่านั่งขับรถ ความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม
-
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่
-
การเตรียมตัวก่อนทำการขับรถ
-
ความปลอดภัยรถตู้
-
จุดชาร์ตแบตเตอรี่ของรถโฟร์คลิฟท์ในตัวอาคาร มีวิธีการอย่างไร
-
วิธีเอาตัวรอด....เมื่อยางรถระเบิด เวลาขับรถ
-
จ่อคลอดกม.คุมเข้มรถบรรทุกถังแอลพีจี
-
ไฟล์อบรม และแบบทดสอบรถยกฟลอคลิท์
-
สาระน่ารู้! สิ่งที่ร้านยางไม่เคยบอก และเจ้าของรถควรรู้ การใส่ยางที่ถูกต้อง
-
เรื่องยางรถยนต์
-
กฏหมายจราจรใหม่ 2565
-
-
ความปลอดภัยรถยก
-
ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
-
ไฟล์การทำงานบนที่สูง1
-
คู่มือความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง
-
อันตรายจากนั่งร้าน
-
คู่มือ
-
คู่มือความปลอดภัยการเชื่อมภาษาพม่า
-
ข้อมูลการบริหารจัดการในภาพรวม
-
การวิเคระห์ความเสี่ยงในการก่อสร้างอาคารสูง
-
10 ขั้นตอน #ตรวจความปลอดภัยให้ได้งาน 10 Steps for a Successful Safety Site Visit
-
บันไดทำงานบนที่สูง
-
คลิปความปลอดภัยงานก่อสร้าง
-
ไฟล์ อบรมงานก่อสร้าง
-
wi การทำงานนั่งร้าน
-
Check list ทำงานบนที่สูง
-
Check list งานก่อสร้าง
-
-
ความปลอดภัยทำงานบนที่สูง
-
ความปลอดภัยที่อับอากาศ
-
ไฟล์ข้อมูลที่อับอากาศ
-
คู่มือการตรวจสุุขภาพที่อับอากาศ โดย สมาคมโรคจากการประกอบอาชี
-
15 สิ่งที่ทำงานในที่อบอากาศให้ปลอดภัย
-
มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในสถานที่อับอากาศ ตามกฏหมายความปลอดภัยในการทำงาน
-
WI งานที่อับอากาศ
-
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ
-
โปรเตอร์ที่อับอากาศ
-
ตัวอย่างหนังสือแต่งตั้ง ผู้อนุญาตทำงานที่อับอากาศ
-
-
ความปลอดภัยด้านหินเจียร
-
ความปลอดภัยการยกสิ่งของ
-
ความปลอดภัยด้านเครน
-
ความปลอดภัยงานเชื่อม
-
ความปลอดภัยในโรงเรียน
-
โครงการ โรงเรียนปลอดภัย
-
อุปกรณ์ส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
-
คลิปความปลอดภัยเกี่ยวกับเด็ก
-
อุบัติเหตุในโรงเรียน
-
อันตรายจากรถตู้รับส่งเด็กนักเรียน
-
การบรรยายด้านความปลอดภัย
-
กิจกรรมให้น้องๆที่โรงเรียน
-
โครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ร่วมกับ โรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ)
-
อันตรายจากที่บ้าน
-
คลิปวีดีโอความปลอดภัยในโรงเรียน
-
-
ความปลอดภัยด้านรังสี
-
Lock Out Tag Out
-
บทความ Safety
-
ความปลอดภัยในการทำงาน
-
ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ.
-
กฏหมาย พรบ.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
-
................................
-
อุบัติเหตุจากการทำงาน
-
อุบัติเหตุจากการทำงานและตัวอย่างแนวทางการป้องกันแก้ไข
-
อุบัติเหตุในการทำงาน
-
อุบัติเหตุตกจากที่สูง
-
อุบัติเหตุการระเบิด
-
อุบัติเหตที่เกิดจากสิ่งของ อุปกรณ์
-
อุบัติเหตุจากเครื่องจักร
-
อุบัติเหตุจากเครื่องมือ
-
อุบัติเหตุงานก่อสร้าง
-
อุบัติเหตุโรงงานไฟไหม้
-
อุบัตฺเหตุจากไฟฟ้า
-
อุบัตฺเหตุจากรถยกโฟลคลิฟท์
-
อุบัติเหตุในการทำงานส่วนอื่นๆ
-
อุบัติเหตุจากโทรศัพท์
-
อุบัติเหตุที่อับอากาศ
-
อุบัติเหตุจากแก๊ส สารเคมีไวไฟ
-
อุบัติเหตุไม่ปิดเครื่องจักรก่อนแก้ไขงาน
-
อุขัติเหตุจากงานเช่ื่อม
-
อุบัติเหตุเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
-
ถอดบทเรียนอุบัติเหตุ
-
3E และมาตรกรป้องกัน
-
-
อุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน
-
อันตรายจากการใช้โทรศัพท์
-
Clip Safety & Accident
-
คลิปด้านการบริหารความปลอดภัย
-
คลิปการกระทำไม่ปลอดภัย
-
Clipเกี่ยวกับรถยก forklift
-
คลิปเกี่ยวกับการจราจร
-
คลิปเกี่ยวกับโทรศัพท์
-
คลิปเกี่ยวกับเครื่องจักร
-
คลิปเกี่ยวกับการทำงานทั่วไป
-
คลิปเกี่ยวกับไฟฟ้า
-
คลิปอบรมพนักงานใหม่
-
คลิปความปลอดภัยผู้มาเยี่ยมเยือน
-
คลิปLean Behavior Based Safety
-
คลิปเกี่ยวกับPPE อุปกรณ์คุ้มครองส่วนบุคคล
-
คลิปความปลอดดภัย Warehouse
-
คลิปอันตรายบันไดเลื่อน
-
คลิปความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้บันไดทำงานบนทีี่สูง
-
-
................................
-
ประตูความปลอดภัย Safety Gate
-
บอร์ดความปลอดภัย
-
Safety Week
-
Safety Plan
-
สื่อความปลอดภัยภาษาต่างประเทศ
-
คู่มือความปลอดภัยในการทำงานภาษาพม่า
-
ความปลอดภัยด้านไฟฟ้าภาษาพม่า
-
การป้องกันอัคคีภัย ภาษาพม่า
-
การใช้บันไดถูกวิธี ภาษาพม่า
-
กิจกรรมรณรงค์ 5 ส. (ภาษา ไทย กัมพูชา และเมียนมาร์)
-
ความปลอดภัยเครื่องจักร ภาษาพม่า
-
โปรเตอร์ความปลอดภัยภาษาต่างประเทศ
-
งานก่อสร้าง (6ภาษา)
-
คลิปเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว
-
ป้ายเตือนภายในโรงงาน ภาษาต่างด้าว
-
ป้ายงานก่อสร้าง ภาษาต่างด้าว
-
ข้อปฏิบัติการดับเพลิงและอพยพหนีไฟภาษาลาว กัมพูชาและพม่า
-
-
คู่มือความปลอดภัย
-
คู่มือความปลอดภัยของบริษัท
-
คู่มือความปลอดภัยนานาชาติ
-
คู่มือ รปภ
-
ทางหนีไฟ
-
SOP เอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure, SOP)
-
คู่มือและกฎระเบียบการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามที่กฎหมายกำหนด
-
คู่มือความปลอดภัยของผู้รับเหมา
-
คู่มือความปลอดภัยในการขับรถยกโฟคคลิฟท์
-
คู่มือความปลอดภัยในที่อับอากาศ
-
คู่มือความปลอดภัย 2554
-
คู่มือความปลอดดภัย สสปท
-
คู่มือความปลอดภัยในการทำงานโรงงานอาหาร
-
คู่มือควบคุมดูแลสุขอนามัยในโรงงานอุตสาหกรรม
-
แจกไฟล์หนังสือด้านความปลอดภัย
-
-
สิ่งแวดล้อม
-
PPE
-
ซ้อมแผนฉุกเฉิน
-
กิจกรรมดีตามบริษัทฯ
-
Safety กับหน่วยงานราชาการ
-
คปอ
-
ผู้รับเหมา
-
สำหรับน้อง จป ใหม่
-
ฝึกงานเราเรียนรู้ในเรื่องอะไร
-
รายงาน จปว
-
งาน จป
-
จป. คืออะไร
-
จป.วิชาชีพ จบใหม่ เข้าทำงานครั้งแรกต้องทำอะไรก่อน
-
ซ้อมแผนอพยพหนีไฟ
-
อบรมความปลอดภัย
-
หัวหน้างานและลูกน้อง
-
ตรวจความปลอดภัยและตรวจสภาพแวดล้อม
-
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายของเครื่องจักร
-
สิ่งแวดล้อม
-
ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
-
สุขภาพร่างกาย
-
สวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
-
กิจกรรมเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกของลูกจ้าง
-
เทคนิคPresentงานให้ปังเเละมั่นใจ
-
แบบฟอร์มที่ควรนำเอาไปใช้
-
หลักสูตรที่กฏหมายบังคับในการอบรม
-
แบบแต่งตั้ง คปอ. (ใหม่)
-
โครงการโรงงานสีขาว
-
บทความกำลังใจน้อง จป
-
The Mind Map กฏหมาย จป
-
เอกสารที่ต้องส่งราชการ
-
จ่ายเงินค่าอุบัติเหตุในการทำงาน
-
แบบสปร.5
-
-
เพลงความปลอดภัย
-
คลิปไว้เสริมตอนอบรม
-
การสอนงาน
-
ตลกขำขัน คลายเคลีย
-
เรื่องอื่นที่น่าสนใจ
-
สาระน่ารู้ด้านสุขภาพ
-
วิธีสู่ความสำเร็จ
-
-
สมัครรับข่าวสาร
-
-
-
-
-
-
-
-
-
การเลือกและการตรวจสอบสภาพถังดับเพลิง
การเลือกและการตรวจสอบสภาพถังดับเพลิง
ไฟไหม้ นับว่าเป็นภัยใกล้ตัวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งกับบ้านเราเองและบ้านข้างเคียง การเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์จริงจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ อย่างไรก็ตามถังดับเพลิงมักเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามไม่ยอมซื้อติดบ้านไว้ เพราะคิดว่าสิ้นเปลือง แถมคงไม่ค่อยได้ใช้ แต่ที่จริงแล้วการมีถังดับเพลิงไว้ที่บ้านก็ช่วยให้เราอุ่นใจในการใช้ชีวิตขึ้นเยอะ แม้ไฟไหม้บ้านจะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ จนหลายคนเผลอละเลยที่จะตรวจสอบถังดับเพลิงให้ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ เมื่อต้องใช้งานจริง ถังดับเพลิงกลับฉีดไม่ออกขึ้นมาซะดื้อๆ ก็คงจะเป็นอะไรที่พลาดเอามากๆ นะครับ
Baania มีความรู้ที่เป็นประโยชน์มาฝากกันกับ "การเลือกและการตรวจสอบสภาพถังดับเพลิง" ต่อไปจะได้รู้จักใช้และสามารถตรวจสอบสภาพของถังดับเพลิงเองได้ สิ่งสำคัญที่สุดในการใช้งานจริงจะต้องมีสติและสามารถดับเพลิงได้เร็วและถูกต้องตามหลักการ ลองใช้เวลาอ่านกันสักหน่อยเพื่อความปลอดภัยของท่านและครอบครัวนะครับ
ประเภทของเพลิง
ก่อนอื่นเลยเราก็ต้องมารู้จักกับประเภทของไฟไหม้กันก่อน เพราะมีผลต่อการเลือกชนิดของถังดับเพลิง โดยถ้าเป็นไฟไหม้ในบ้าน มักเกิดจากการไหม้ของสิ่งของทั่วไปอย่างกระดาษ ไม้ ผ้า รวมทั้งไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้นก็ควรเลือกถังดับเพลิงที่ดับการไหม้ของเหล่านั้นได้ หรือถ้าใครที่หยิบถังดับเพลิงไปใช้ ก็ควรดูที่ฉลากข้างถังดับเพลิงด้วยว่า สามารถดับเพลิงประเภทใดได้บ้าง หากหยิบหยิบผิด จะใช้ดับไม่ได้ รวมถึงอาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้เองด้วย โดยลักษณะของเพลิงมีดังนี้
- Class A (Ordinary Combustibles) เป็นเพลิงที่เกิดขึ้นจากวัสดุติดไฟปกติ เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ยาง และ พลาสติก
- Class B (Flammable Liquids) เป็นเพลิงที่เกิดขึ้นจากของเหลวติดไฟ เช่น น้ำมัน จารบี น้ำมันผสมสี
- Class C (Electrical Equipment) เป็นเพลิงที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร
- Class D (Combustible Metals) เป็นเพลิงที่เกิดขึ้นจากโลหะที่ติดไฟได้ เช่น แม๊กนีเซียม ซินโครเมี่ยม โซเดี่ยม ลิเซี่ยม และ โปแตสเซียม
- Class K (Combustible Cooking) เป็นเพลิงที่เกิดจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้งานการทำอาหารที่มีการใช้ไขมันจากพืชหรือสัตว
ประเภทของถังดับเพลิง
การเลือกถังดับเพลิง มีรายละเอียดค่อนข้างมาก เพราะถังดับเพลิงเองก็มีหลายชนิดด้วยกัน แล้วแต่ละชนิดก็ดับเพลิงได้คนละอย่างกัน แต่ที่นิยมใช้กันก็คงเป็นถังดับเพลิงแบบผงเคมีแห้งครับ เพราะหาซื้อได้ง่ายและราคาถูก ซึ่งเป็นถังสีแดงที่เราพบเห็นได้ในบ้านทั่วไป สามารถใช้ดับเพลิงได้หลายประเภท แต่สำหรับบ้านที่มีการทำอาหารที่ใช้ไฟอยู่บ่อยครั้ง ควรเลือกถังดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงประเภท K ได้ด้วย โดยถังดับเพลิงจะสามารถแบ่งประเภทได้ตามสิ่งที่ใช้บรรจุอยู่ในถังดังนี้
- ผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Powder) เป็นถังดับเพลิงที่ใช้ผงโซเดียมไบคาร์บอเนตหรือผงโพแทสเซียมไบคาร์บอเนต และมีสารกันชื้นผสมอยู่ด้วย ข้อดีคือใช้ได้ทั่วไป ราคาถูก ข้อเสียคือใช้แล้วสารจะฟุ้งกระจาย ทำให้สกปรก ใช้แล้วต้องส่งบรรจุใหม่ สามารถใช้ดับเพลิงประเภท A,B,C
- ฮาโลตรอน (Halotron) เป็นถังดับเพลิงที่ใช้สารเหลวระเหย ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัย สะอาด ไม่ทิ้งคราบสกปรกหลังใช้ มีอายุการใช้งานนาน เหมาะกับการรักษาทรัพย์สินในห้องคอมพิวเตอร์ สามารถใช้ดับเพลิงประเภท A,B,C
- เคมีสูตรน้ำ (Water Chemical) เป็นถังดับเพลิงที่ใช้น้ำยาที่เรียกว่า ABFFC สามารถใช้ดับเพลิงได้ทุกประเภท หรือตั้งแต่ A,B,C,D,K ทำให้มีราคาสูง เหมาะในการวางไว้ใกล้ครัว
- คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นถังดับเพลิงที่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ไปลดก๊าซออกซิเจนลงเพื่อให้ไฟดับ ใช้แล้วไม่เหลือกากหรือคราบสกปรกไว้ แต่ไม่เหมาะกับการใช้ในที่ลมแรง โดยควรอพยพคนก่อนใช้ เนื่องจากคนจะหายใจไม่ออกเพราะขาดออกซิเจน ใช้ดับเพลิงประเภท B, C
- โฟม (FOAM) เป็นถังดับเพลิงที่ใช้น้ำผสมโฟมเข้มข้น โดยโฟมจะปกคลุมบริเวณผิวหน้าของเชื้อเพลง ช่วยลดปริมาณออกซิเจนและทำให้เพลิงไม่ลุกลาม สามารถใช้ดับเพลิงประเภท A, B อนึ่งห้ามนำไปดับเพลิงประเภท C เพราะมีน้ำเป็นส่วนผสม ซึ่งเป็นสื่อนำไฟฟ้า อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน เหมาะกับห้องที่มีการเก็บเชื้อเพลิงประเภททินเนอร์ น้ำมัน ยางมะตอย
- น้ำสะสมแรงดัน (Water Pressure) เป็นถังดับเพลิงที่ใช้น้ำเป็นตัวดับเพลิง ใช้ดับเพลิงประเภท A อนึ่งห้ามนำไปดับเพลิงประเภท C เพราะมีน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้า อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน เหมาะนำไปวางไว้ในห้องที่มีเชื้อเพลงประเภทกระดาษ โรงงานเสื้อผ้า
นอกจากการเลือกชนิดของถังดับเพลิงแล้ว ยังมีเรื่องการเลือกขนาดของถัง ซึ่งจะมีขนาดให้เลือกตั้งแต่ขนาด 5 ปอนด์, 10 ปอนด์, 15 ปอนด์ และ 20 ปอนด์ โดยให้ดูว่า สมาชิกในบ้านสามารถยกและใช้งานไหวหรือไม่ เช่น ถ้าเลือกถังใหญ่เกินไป ผู้หญิงอาจจะยกได้ลำบาก ที่สำคัญควรเลือกยี่ห้อที่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย (มอก.) ด้วยนะครับ
การติดตั้งเครื่องดับเพลิง
การเลือกติดตั้งเครื่องดับเพลิงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ควรเลือกจุดติดตั้งที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก ไม่กีดขวางทางเดินหรือทางออก สามารถวิ่งไปหยิบได้โดยที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง และไม่วางของเกะกะใกล้กับถังดับเพลิง เช่น บริเวณใกล้กับประตูหรือทางเข้าออก บริเวณที่พักบันได บริเวณใกล้กับครัว เป็นต้น
ส่วนการติดตั้งถังดับเพลิง สามารถแขวนไว้กับผนัง โดยใช้หูแขวนรูปตัว T ให้ปลายหงายขึ้น แล้วยึดพุกสกรูกับหูแขวนเข้ากับผนัง ความสูงประมาณ 1 เมตรจากพื้น แล้วแขวนถังดับเพลิงลงบนตัวแขวน เช็กดูว่าถังไม่เอียงและมีความแข็งแรงดี
นอกจากนี้ควรมีป้ายที่บอกรายละเอียดของถังดับเพลิงไว้เหนือถังที่ความสูงประมาณ 1.2-1.5 เมตร ซึ่งเป็นระดับสายตาของผู้ใช้ และควรมีป้ายที่แสดงจุดติดตั้งถังดับเพลิงไว้ที่ความสูง 2.0-2.2 เมตร เพื่อให้มองเห็นจุดติดตั้งถังดับเพลิงได้จากระยะไกล ทั้งนี้ควรวางในจุดที่คนภายนอกสามารถมองเห็นได้ง่ายไม่ควรเอาไปวางซ่อนไว้หลังบ้าน เผื่อกรณีที่ไฟไหม้บ้านและคนภายนอกต้องการเข้ามาช่วย
กรณีที่ไม่สามารถยึดถังดับเพลิงกับผนังได้ ควรวางเครื่องดับเพลิงบนฐานตั้งเครื่องพร้อมป้ายสัญลักษณ์ ไม่ควรวางไว้กับพื้นโดยตรง เพราะอาจจะทำให้ถังดับเพลิงเสียหายจากความชื้นจากพื้น หรืออาจมีการเกิดการเคลื่อนย้ายถังแล้วไม่นำกลับมาวางที่เดิม
การตรวจสอบถังดับเพลิง (ชนิดมีเกจวัดแรงดัน)
การตรวจสอบถังดับเพลิงควรทำเป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้ถังดับเพลิงมีความพร้อมในการใช้งานอยู่เสมอ โดยมีแนวทางการตรวจสอบถังดับเพลิงดังนี้
- ตรวจสายฉีดว่ามีการแตกหรือชำรุด พร้อมตรวจดูว่ามีการอุดตันของสายฉีดหรือไม่
- ตรวจสอบสลักล็อคคันโยกว่ายังมีซีลอยู่หรือไม่หรือไม่ และมีการบิดเบี้ยวหรือไม่
- ตรวจสอบสภาพภายนอกถังว่าเกิดสนิม ตัวถังบุบหรือมีรอยซึมของสารเคมีหรือไม่
- ถ้าเป็นถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ให้ยกถังขึ้นและคว่ำลง 2-3 ครั้ง เพื่อไม่ให้ผงเคมีที่อยู่ด้านในแข็งตัว
- ถ้าเป็นถังดับเพลิงชนิด CO2 ให้ตรวจสอบโดยการชั่งน้ำหนัก หากมีน้ำหนักลดลงมากกว่า 10% ให้ส่งกลับไปตรวจสอบ
- ตรวจสอบเกจวัดแรงดัน ถ้าเข็มอยู่ในพื้นที่สีเขียวบริเวณกึ่งกลางแสดงว่าพร้อมใช้งาน หากเข็มชี้ไปทางด้านซ้ายมือ แสดงว่าใช้งานไม่ได้
- ตรวจสอบบริเวณที่วางถังดับเพลิงต้องไม่มีอะไรกีดขวาง เข้าถึงง่าย และสังเกตเห็นได้ง่าย
- ถ้าถังดับเพลิงไม่ได้ใช้งานนาน 4-5 ปี ควรส่งถังดับเพลิงไปทดสอบกับบริษัทผู้ผลิตหรือส่งให้กับร้านที่ซื้อเป็นผู้ตรวจสอบ
- ถ้าไฟไหม้ หรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ให้ส่งไปตรวจสอบและบรรจุใหม่
- ตรวจสอบอายุการใช้งานของถังดับเพลิงซึ่งจะมีระบุไว้ข้างถัง ถ้าใกล้หมดอายุต้องเปลี่ยน
ก็คิดว่าน่าจะเป็นความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่อยากให้หลายคนได้อ่านไว้นะครับ เวลาเกิดเหตุที่คาดไม่ถึงขึ้นมาจะได้รับมือได้ทัน ที่สำคัญอย่าลืมอ่านฉลากบนถังดับเพลิงก่อนการใช้งานด้วยนะครับ จะได้ใช้งานให้ถูกวิธีและดับเพลิงได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความเป็นห่วงจากพวกเราชาว Baania นะครับ
ที่มาของข้อมูล
https://www.baania.com