Q C D S M E E สังคมไทยคุณคิดว่าควรเริ่มด้วยอะไรก่อน...???

Q C D S M E E สังคมไทยคุณคิดว่าควรเริ่มด้วยอะไรก่อน...???



    เดิมทีตั้งใจไว้ว่าจะเขียนแต่เรื่องไร้สาระเท่านั้น หมายถึงออกแนวชวนหัวบ้าง เล่นคำพ้องเสียงบ้าง ประมาณนั้น เพราะเพื่อนๆที่ทำงานบอกว่าผมเป็นคนไร้สาระมากๆ ซึ่งผมก็(กลั้นใจ)พูดออกไปว่า "ผม..จะถือว่าเป็นคำชม"...5555++  แต่มาเจอ Google+AdSense เข้า ก็คิดว่าน่าจะมีช่องทางหารายได้จากอินเทอร์เน็ตมั่ง เพราะผมก็ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ความหวังก็วูบ เมื่อ Google ส่งเมล์มาบอกว่า บัญชีของผมถูกปิดไปแล้ว ฉะนั้น ก็ช่างหัวมัน เขียนเอามันก็ได้วะ......


      ตามหัวเรื่องที่ตั้งไว้ครับ "Q C D S M E E สังคมไทยคุณคิดว่าควรเริ่มด้วยอะไรก่อน...???"  ภาษาประกิตทั้งหมดนั่นคือ  *แนวคิดการเพิ่มผลผลิตครับ มีองค์ประกอบทั้ง 7 คือ


1.Q-Quality คุณภาพ คือการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ,

2. C-Cost คือการลดต้นทุนโดยที่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพของสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐาน ,

3. D-Delivery การส่ง มอบสินค้าหรือบริการที่ถูกต้อง ถูกเวลาและถูกสถานที่.. Q-C-D ทำเพื่อสร้างความพึงพอใจให้ลูก ค้า..

4. S-Safety คือการดูแลสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย สร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้ พนักงาน ,

5. M-Morale การสร้างขวัญ-กำลังใจในการทำงาน ซึ่งจะทำให้พนักงานทำงานอย่างเต็มที่ มีความสุข.. S และ M ทำเพื่อสร้างความพึงพอใจให้พนักงาน..

6. E-Environment หมายถึงการ ดำเนินธุรกิจโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงชุมชน

ส่วน7. E-Ethics คือการดำเนินธุรกิจ โดยไม่เอาเปรียบทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง.. ซึ่ง E สองตัวหลังนี้ทำเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับชุมชนและ สังคม… 

หากองค์การใดยึดองค์ประกอบได้ครบถ้วน ก็หมายถึงได้ให้ความสำคัญและสร้างความพึง พอใจให้กับลูกค้า พนักงาน และสังคม ที่สุดก็จะทำให้องค์การเพิ่มผลผลิตได้สูงขึ้นและเกิดการ พัฒนาอย่างยั่งยืน       

บทความนี้ ขอบอกว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัวครับ ของลูกจ้างหรือพนักงานปฎิบัติการของผม ที่เป็นคนบ้านนอก ลูกทุ่ง ตรงไปตรงมา ปากตรงกับใจ ที่อยากจะแสดงมุมมองของ Salary man ต่อแนวคิดของการเพิ่มผลผลิต คือด้วยสภาพและวัฒนธรรมของสังคมไทยจะมีคำสองคำที่คุ้นหูมากคือ "ระบอบศักดินา" กับ "ระบบอุปถัมภ์" ไม่ขอล'รายละเอียดของทั้ง 2 คำนะครับ (สามารถสอบถามอาจารย์กูเกิ้ลได้ทั่วไป)


      จากประสบการณ์(ใช้ประสบการณ์อีกแล้วสิเรา...) ก่อให้เกิดความคิด(ส่วนตัวของผม)ว่า หลักการเพิ่มผลผลิตคือ Q C D S M E E นั้น ต้องเริ่มที่ M Moral  = ขวัญ-กำลังใจของพนักงานก่อนครับ โดยความคิด(ส่วนตัวของผม)นี้ จะไปอิงกับคำว่า "เราคือคนไทย" "ระบบอุปถัมภ์" "ระบอบศักดินา" ขอให้ท่านผู้อ่านลองหลับตานึกภาพดูว่าสิ่งที่ผมเอ่ยถึงมันจะเกี่ยวข้องกัน ได้อย่างไร..???


     ถ้าจะพูดถึงการทำสงคราม สิ่งสำคัญลำดับต้นๆ นอกเหนือจากอาวุธยุทโธปกรณ์แล้ว ต้องถือว่าขวัญ-กำลังใจของทหารเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ แม้จะมีอาวุธยุทโธปกรณ์ชั้นเลิศ แผนยุทธศาสตร์ชั้นเยี่ยม แต่ทหารไม่มีความกระตือรือล้น ไม่มีกระจิตกระใจที่จะทำตามแผน ใช้อาวุธตรงตามคำสั่ง มันก็เท่านั้นจริงๆ แพ้ตั้งแต่ยังไม่กางมุ้งครับทั่น..  มาต่อกันเรื่องของ Salary man กันต่อดีกว่าครับ


     ทำไม..??? ผมจึงมีความคิดว่าต้องเริ่มที่ M-Moral ขวัญ-กำลังใจก่อน ก็อย่างที่เกริ่นไว้เกี่ยวกับเรื่องทหารและสงครามนั้นแหละครับ แม้คุณจะมีแผนงานที่ดูอลังการงานสร้างขนาดใหนก็ตาม มันก็ยังป็นเพียงความฝัน(planning = แผน-นิ่ง) ไม่มีวันสำเร็จ เพราะยังไม่มีคนลงมือทำ แม้จะอาศัยอำนาจตามสายบังคับบัญชาสั่ง(ให้ทำ)งานก็ตาม มันก็จะฝืดเหมือนจักรที่ไม่ได้หยอดน้ำมันครับ แผนที่คุณวางไว้อาจจะสำเร็จแต่ก็จะล่าช้ากว่ากำหนดมาก แล้ว 3 คำที่ผมเอ่ยถึงก่อนหน้านี้ คือ "เราคือคนไทย" "ระบบอุปถัมภ์" "ระบอบศักดินา" นั้นเกี่ยวข้องกับ M-Moral ขวัญ-กำลังใจ อย่างไรขอเริ่มที่


  **  "ระบอบศักดินา"  เป็นระบอบการปกครองในอดีต ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Feudalism (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) แม้ปัจจุบันก็ยังพอมีเหลืออยู่บ้างพอเป็นน้ำจิ้ม แต่ในที่นี้ผมหมายถึงลำดับชั้นของสายการบังคับบัญชานะครับ(ผังองค์กร = Organization)


  ***  "ระบบอุปถัมภ์"  คือ โดยกว้างๆ กล่าวได้ว่าระบบนี้เป็นระบบความสัมพันธ์ที่บุคคลสองฝ่ายที่มีสถานภาพทางสังคมไม่เท่าเทียมกัน แต่อยู่ด้วยกันได้เพราะมีลักษณะต่างตอบแทนกันและกัน มีผลประโยชน์ร่วมกัน และมีความเป็นเพื่อนระหว่างกันอยู่   "เราคือคนไทย" ใช่ครับเราคือคนไทย มีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง เมื่อเอาความหมายของทั้งสามคำมาผสานกัน เพื่อบ่งชี้ถึงจุดประสงค์ของบทความของผม ก็จะได้ดังนี้ “เราเป็นคนไทยที่ยึดถือเรื่องบุญคุณ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเท่าที่จะพอช่วยได้ ก็ช่วยกันไป เหมือนการลงแขกเกี่ยวข้าว คือต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน แต่ก็ยังคงยึดถือสถานะ(ศักดินา)ทางด้านสังคมร่วมไปด้วย” ดังนั้นเมื่อหันกลับมามอง M-Moral ขวัญ-กำลังใจ ก็จะสื่อได้ว่า การซื้อใจพนักงาน หรือ การสร้างขวัญ-กำลังใจลูกน้อง เป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ในการขับเคลื่อนแผนงานที่หัวหน้า(ผู้บริหาร/ผู้จัดทำแผน)วางไว้ ให้เดินไปด้วยความเต็มใจของพนักงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดของแผนงานนั้น  เพราะเราคือคนไทย ที่อิงอยู่กับระบบอุปถัมภ์ และถูกครอบงำด้วยระบอบศักดินา........    

 อนึ่ง การสร้าง M-Moral ขวัญ-กำลังใจให้กับพนักงาน เพื่อให้ได้ใจพนักงานมานั้น ก็ยังมีประเด็นเป็นที่ถกถียงกันมานานครับว่า ในซีกของพนักงานก็จะคิดว่า “อยากให้หัวหน้าให้...??? ลูกน้องมาก่อน เพื่อเป็นการการันตีว่า ทำแล้วได้แน่นอน” ส่วนฝั่งของหน้า ก็คิดและบอกลูกน้อว่าว่า “ให้คุณทำ แสดงศักยภาพการทำงานออกมา ว่าคุณทำได้ แล้วสิ่งที่คุณต้องการ ก็จะได้แน่นอน ผมรับประกัน” ประมาณนั้นครับ     ฉะนั้น ผมจึงอยากเปรียบเทียบง่ายๆ คือมันเหมือนสำนวนไทยที่ว่า “อยากให้เขาไหว้ เราต้องยกมือไหว้เขาก่อน....” ก็แค่คิดและทำให้ได้ว่า คนที่จะยกมือไหว้ก่อนนั้นคือใคร..???----------------------------------------------------------------------------------------* 

ข้อมูลจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เยี่ยมชมได้ที่ : http://202.183.190.2/old/radio_script/script.htm** ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เยี่ยมชมได้ที่ : http://th.wikipedia.org/wiki/ศักดินา*** ข้อมูลจาก NIDA เยี่ยมชมได้ที่ : http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q1/article2005march16p1.htmภาพประกอบจาก : http://greenchonburi.com  และ    http://senghobangkok.com/product.php?id=1340

 

Visitors: 569,119