ทฤษฎี ABC

ทฤษฎี ABC

สวัสดีครับ

     พอดีได้อ่านบทความที่ดี มีประโยชน์ จึงขออนุญาตมาเผนแพร่ต่อเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เขียน : SHE Zone

 อัพเดท: 04 เม.ย. 2011 16.33 น.  บทความนี้มีผู้ชม: 26155 ครั้ง

พฤติกรรมสามารถมองเห็นได้ สังเกตได้ และวัดผลได้

ความปลอดภัย เป็นผลมาจากพฤติกรรมที่ปลอดภัย

 

เรียนรู้พฤติกรรมหรือการแสดงออกของคนผ่านทฤษฎี ABC

          ปัจจุบันในแวดวงความปลอดภัยหันมาให้ความสนใจในเรื่องพฤติกรรมของคนมากขึ้น เพราะมีความเชื่อว่าพฤติกรรมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ประกอบกับจากข้อมูลพบว่า การแสดงพฤติกรรมเสี่ยงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากกว่าสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการที่คนเรามักชอบแสดงพฤติกรรมเสี่ยง ๆ ด้วยเหตุผลง่าย ๆ คิอ

  •  ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น
  •  มีความตระหนักในเรื่องของความเสี่ยงน้อย
  •  พฤติกรรมเสี่ยงที่ปฎิบัติได้รับการส่งเสริม
  •  ไม่ได้ใส่ใจกับพฤติกรรมเสี่ยง

         คนเราอาจแสดงพฤติกรรมที่เสี่ยงซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยไม่ได้รับบาดเจ็บ แต่ในที่สุดแล้วอุบัติเหตุมักจะเกิดขึ้นจากการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย

          ทฤษฎี ABC เป็นทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมของคนเพื่อพิจารณาว่าทำไมคนหรือ บุคคลนั้นจึงแสดงออกเช่นนั้น และเป็นทฤษฎีที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง หรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของพนักงาน ให้เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ หรือพฤติกรรมที่ปลอดภัย เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ Behavior Based Safety (BBS)

          ก่อนที่จะไปสู่รายละเอียดของทฤษฎี อยากขอทำความเข้าใจเพื่อให้เห็นภาพความแตกต่างระหว่างทัศนคติ กับ พฤติกรรม กันก่อน

          ทัศนคติ คือความคิด หรือความเชื่อของบุคคลหรือคน ๆ นั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ภายในเราไม่สามารถมองเห็น สังเกตได้ หรือวัดได้ อย่างไรก็ตามมีความเชื่อว่าทัศนคติสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการเปลี่ยนพฤติกรรม

          พฤติกรรม คือสิ่งที่บุคคลหรือคน ๆ นั้น แสดงออกมา ดังนั้นจึงสามารถมองเห็น สังเกตได้ หรือวัดได้ เช่น ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถ ไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับรถจักรยานยนต์ ขับรถด้วยความเร็ว ไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะปฎิบัติงาน  เป็นต้น

          ทฤษฎี ABC ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ                                                                         

               A          =          Antecedents (สิ่งกระตุ้น หรือ เหตุการณ์ที่เกิดก่อนที่จะแสดงพฤติกรรม)

               B          =          Behaviors (พฤติกรรมหรือการแสดงออก)

               C          =          Consequences (ผลลัพธ์ หรือผลที่ตามมาหลังจากแสดงพฤติกรรมแล้ว)       

 136264_bbs2.JPG

          สิ่งเร้า/สิ่งกระตุ้น  (Antecedents) หมายถึงสิ่งที่ส่งผล หรือทำให้พนักงานแสดงออกโดยทันที่

      • สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้นทำให้เกิดพฤติกรรม ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการแสดงพฤติกรรมออกมา

      •  สิ่งเร้าเป็นตัวสื่อสารข้อมูล

      •  ผลที่ตามมาที่เกิดเกิดในอดัตอาจเป็นสิ่งเร้าในการแสดงพฤติกรรมในอนาคตได้ เช่น พนักงานจำได้ว่าเคยได้รับบาดเจ็บจากการไม่ใช้อุปกรณ์ ในการล๊อค 
      แหล่งพลังงาน

      •  สิ่งเร้าจะอยู่เพียงระยะเวลาสั้น ๆ หาก พนักงานไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดตามมา เช่น  พนักงานถูกอบรมให้รับเก็บหรือทำความสะอาดสิ่งที่หก หรือกีด  ขวางทันที หากมมีใครคอยสังเกตหรือตรวจสอบว่าพนักงานผู้นั้นปฎิบัติตามข้อแนะนำหรือไม่  พนักงานก็จะหยุดการเก็บหรือทำความสะอาดสิ่งที่หก หรือกีดขวางเพราะ การไม่ปฎิบัติตามของพนักงานไม่ส่งผลใด ๆ ตามมา

          ในการส่งเสริมความปลอดภัย เราจะพยายามใช้สิ่งเร้าในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่เราปรารถนาหรือพึงประสงค์ เช่น การใช้ป้ายสัญญลักษณ์ การฝึกอบรม กฎระเบียบและการประชุม เป็นต้น

          พฤติกรรม(Behavior) คือการแสดงออก หรือคือสิ่งที่บุคคลนั้นแสดงออกมา เราสามาถมองเห็นได้ จะไม่รวมถึงทัศนคติ หรือ ความคิด ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็น   ความปลอดภัย เป็นผลมาจากพฤติกรรมที่ปลอดภัย

          ผลที่ตามมา (Consequences) คือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากพฤติกรรม เช่น การได้รางวัล หรือการถูกลงโทษ ผลที่ตามมาที่เคยเกิดในอดีตอาจเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมในอนาคตได้ คนส่วนใหญ่มักไม่ปรารถนาผลที่ตามมาจากการแสดงพฤติกรรมที่เป็นไปในทางลบ อย่างไรก็ตามผลที่ตามมาอาจเป็นไปในทางบวก และผลที่ตามมาในทางบวกเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพอย่างมากต่อการแสดงพฤติกรรมที่ปรารถนา

          ตัวอย่างการใช้ทฤษฎี ABC ในการวิเคราะห์ว่าทำไมคนจึงขับรถเร็ว


136264_bbs.JPG
                            

ในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีอย่างได้ผลนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ว่าเมื่อไหร่เหมาะจะใช้ สิ่งกระตุ้น (A) และเมื่อไหร่เหมาะจะใช้ ผลที่ตามมา (C)

           สิ่งกระตุ้น (A) จะใช้ได้ผลดีในกรณีที่พนักงาน

  •   ไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร
  •   ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร
  •   ประสบปัญหาและอุปสรรคในการปฎิบัติงาน

         ผลที่ตามจากการแสดงพฤติกรรม (C) จะใช้ได้ผลดีในกรณี

  •   รู้แล้วว่าต้องทำอะไร
  •   เลือกที่จะไม่ทำตามพฤติกรรมที่พึงประสงค์
  •   ต้องการรางวัลเพื่อการแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์

          เมื่อเราไม่ได้รับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เรามักจะพยายามที่จะเพิ่มระดับของสิ่งเร้า หรือเพิ่มสิ่งเร้าเพื่อให้ได้มาซึ่งพฤติกรรมที่เราพึงประสงค์  การฝึกอบรมเป็นตัวอย่างที่ดี เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเรามักจะคิดว่าเป็นเพราะขาดการฝึกอบรมดังนั้นเราจึงทำการฝึกอบรม แต่นั้นเป็นวธีการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้องเนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นอาจมีสาเหตุจากเรื่องแรงจูงใจ ดังนั้นการฝึกอบรมในกรณีนี้จึงอาจเป็นเสมือนการทำโทษพนักงาน

           ในการใช้ ทฤษฎี ABC ในการวิเคราะห์อย่างได้ผลนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องประกอบไปด้วยข้อมูลดังนี้

  •   รายละเอียดของปัญหาด้านพฤติกรรมที่เราได้สังเกตและรวบรวมมา เช่น ไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย รวมถึงสิ่งที่พนักงานควรปฎิบัติ เช่น  พนักงานควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตราย เป็นต้น
  •  รายการของสิ่งกระตุ้นที่เป็นไปได้ทั้งหมด (สิ่งที่ทำให้บุคคลนั้นแสดง ออกหรือกระทำเช่นนั้น ) และผลที่ตามมาจากการแสดงออกเช่นั้น
  •  ระบุว่าผลที่ตามมานั้นเป็นไปในทางบวก หรือทางลบ  ทันที่หรือในอนาคต  มีความแน่นอน หรือความไม่แน่นอน
  •  พิจารณาว่าผลที่ตามมาอันไหนที่เป็นการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานปฎิบัติ (ซึ่งมักจะเป็นแรงจูงใจในทางบวก)
  •  ส่งเสริมหรือจูงใจให้พนักงานปฎิบัติหรือแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์
  •  สังเกตและติดตามความคืบหน้า

 

                                พฤติกรรมสามารถมองเห็นได้ สังเกตได้ และวัดผลได้    
                            
                     
ความปลอดภัย เป็นผลมาจากพฤติกรรมที่ปลอดภัย

 

          หากท่านใดสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ทฤษฎี ABC และ BBS สามารถติดต่อผู้เขียนผ่านทาง Email: shezone.tips@gmail.com  ยินดีให้ข้อมูลเพิ่มเติมและตอบข้อสงสัยของทุกท่านค่ะ

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที

ABC  Model  เพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรม ตามแนวทาง BBS

     วิธีการต่างๆที่ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยให้แก่พนักงานให้สูงขึ้น โดยหนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ก็คือ กระบวนการทางด้านจิตวิทยา BBS กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยที่ปัจจุบันหลายบริษัทฯ ในไทย เริ่มให้ความสนใจนำไปใช้

     BBS เป็นกระบวนการที่เน้นลดอุบัติการณ์ต่างๆให้เหลือน้อยที่สุด (Zero Incidents) โดยอาศัยกระบวนการด้านความปลอดภัยที่มีพื้นฐานมาจากความเข้าใจว่าปัจจัยใดบ้างที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ให้แสดงออกมา


      กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัย (Behavior-Based Safety: BBS) จะประสบความสำเร็จได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับรายละเอียดของกระบวนการที่จะต้องสอดคล้องตามแนวนโยบายและขั้นตอนการดำเนินงานขององค์กรนั้นๆ


     โดยกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัย (Behavior-Based Safety: BBS) นี้ จะให้ความสำคัญในเรื่อง "ผลที่เกิดขึ้นตามมา (Consequence)" จากพฤติกรรมนั้นๆ เป็นสำคัญ

     ซึ่ง "ผลที่เกิดขึ้นตามมา (Consequence)" อาจเป็นได้ทั้งเชิงลบ (การบาดเจ็บ เสียชีวิต การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือรุนแรงถึงขั้นไล่ออก) หรือเชิงบวก (การจ่ายเงินโบนัส การได้รับคำชมเชยจากหัวหน้างาน หรือการรายงานความดีความชอบ)

      อย่างไรก็ดี "ผลที่เกิดขึ้นตามมา หรือ Consequence" เหล่านี้จะเกิดขึ้นจากการที่พฤติกรรมถูกสังเกตการณ์จากผู้อื่น ซึ่งแน่นอนว่า เราย่อมจะไม่สามารถที่จะทำการสังเกตการณ์บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้ตลอดเวลาและทุกสถานที่ได้

 


ขอบคุณ : http://mediabase.edbasa.com

      กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัย หรือ BBS นี้ มีพื้นฐานมาจากหลักทฤษฏีด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมนิยม ซึ่งเป็นกระบวนการที่ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา

     ตามหลักพฤติกรรมนิยม กล่าวถึงการเกิดขึ้นของพฤติกรรมว่า พฤติกรรมของบุคคลหนึ่งๆ จะเกิดขึ้นโดยมีพื้นฐานมาจาก "เหตุชักนำ (Antecedent)" เช่น สัญลักษณ์หรือนโยบายด้านความปลอดภัย เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม (Behavior) ให้แสดงออกมา เมื่อแสดงพฤติกรรมออกมาแล้ว จากนั้นก็จะมี "ผลที่เกิดขึ้นตามมา (Consequence)" เช่น การได้รับบาดเจ็บ หรือการได้รับคำชมเชย) และก็จะนำกลับไปสู่การเกิดขึ้นของพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ (เช่น การสวมใส่ หรือไม่สวมใส่ PPE) โดยเราเรียกกระบวนการหรือวงจรนี้ว่า แบบจำลอง A-B-C (ABC Model) ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในองค์กร

 


ขอบคุณ : http://www.learningandteaching.info

 

ในขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์ตามแบบจำลอง ABC นั้น เราจำเป็นต้องทราบว่ามี Antecedent (เหตุชักนำ), Behavior (พฤติกรรม) และ 
Consequence (ผลที่เกิดขึ้นตามมา) อะไรบ้าง 

ตามหลักการแล้ว เมื่อเปรียบเทียบอิทธิพลของ Antecedent และ Consequence ที่มีต่อ Behavior นั้น จะพบว่า Consequence จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่า Antecedent ถึง 4 เท่าตัว (80:20) และ Antecedent ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Consequence ด้วยนั้นก็จะยิ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกมามากที่สุด

 

Visitors: 585,758