โรงงานมีฝุ่นมากจะทำอย่างไรดี

สวัสดีครับ

      พอดีอ่านเจอในสยามเซฟตี้ มีเนื้อหาดีน่าสนใจ เผื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านผมเลย ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อนะครับ

เพิ่งเรียนจบ จป.มาค่ะ เริ่มทำงานที่โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ แต่ รง ฝุ่นจากไม้เยอะมาก ไม่เป็นส่วนงานเลย ฝุ่นกระจายทั่วไปหมด จป.คนเก่าลาออกไปตั้งแต่เดือนมกราคมค่ะ เราเพิ่งเข้ามาทำงานเดือน มิถุนายน ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนเลย พูดคุยกับหลายๆคนมา เขาบอก รง เป็นแบบนี้มานานแล้ว เปลี่ยน จป บ่อยด้วย เราควรทำยังไงดีค่ะ พี่ๆช่วยแนะนำหน่อยค่ะ ไปต่อไม่ถูก แอบร้องไห้ทุกวันเลยค่ะ

โดยคุณ: จป.ขี้แง 


ข้อความที่ 1
ลองดูแบบนี้ดีใหมครับ
1. คุยกับนายจ้างบอกเขาว่า การที่ฝุ่นเยอะแบบนี้ก่อให้เกิดอะไรได้บ้าง
2. ลองพยายามเสนอให้วัดฝุ่นดูว่าขนาดเท่าไหร่ แต่ละขนาดเกินมาตรฐานหรือเปล่า
3. หาหน้ากากที่เหมาะสมมาให้คนงานก่อน

การจัดการทางวิศวกรรมค่อยๆเสนอไปอีกที
ถ้ายังไม่รู้จะทำตรงไหนลองดูเรื่องนโยบายก่อนครับ
ถ้าไม่มีนโยบายให้คุยก่อน เพราะ "นโยบาย=งบ"

ถ้าแนะนำผิดขออภัยด้วยครับ
โดยคุณ: anonymous 



ข้อความที่ 2
แนะนำ เดินสำรวจดูปัญหา ความเสี่ยงอันตรายในโรงงาน + ทำแผนความปลอดภัย ประจำปี และสิ่งที่กฎหมายกำหนด เช่น อบรดับเพลิงและซ้อมอพยพหนีไฟ , จ้างบริษัทที่่มีการตรวจสภพแวดล้อมในการทำงาน แสง เสียง ความร้อน สารเคมี ในโรงงาน ดูี่เกี่ยวข้องกับโรงงานครับ + ดูว่า นโยบาย SHE มีไหม ไม่มีให้ทำเสนอเจ้านายเช็นต์ครับ + กรณีมีฝุ่นเยอะ เอาผลตรจสภาพแวดล้อมมานำเสนอเจ้านาย หากค่าเกินครับ แล้วดูอุปกรณ์ PPE ในแต่ละพื้นที่ จัดให้เหมาะสม สู้ๆๆครับ จป.ขี้แง
โดยคุณ: จป. ตัวน้อย



ข้อความที่ 3
หางานใหม่ครับ ถ้าคิดว่าไปรับสถานการ์หนักๆ ไม่ไหว เกรงจะเสียเวลาน้องนะ ถ้าให้ดีดูองค์กรที่ให้การสนับสนุนหรือองค์กรที่มีมาตรฐานหรือระบบที่ดี ครบ ถ้าเกรดจบมาดีดีหางานง่ายครับ จะได้ไม่ต้องเสียใจและเสียเวลาครับ ไม่ได้โลกสวยนะครับ ตามประสบการณ์เนื่องจากเนื้อหาและรายละเอียดของโรงงานค่อนข้างชัดเจน
โดยคุณ: วิจักษ์ 



ข้อความที่ 4
ในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้จะพบเจอประเด็นหลักๆ ดังนี้
1.ปริมาณฝุ่นในอากาศ
*ถ้าเป็นโรงงาน SME ให้ติดต่อที่ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานพื้นที่ เพื่อใช้เครื่องมือในการตรวจวัด Total dust / Respirable dust
*จากนั้นนำฐานข้อมูลมาพิจารณาว่า มีส่วนใดที่เกินค่ามาตรฐานหรือไม่
-->ใช้ PPE ที่เหมาะสม (หน้ากาก / หมวกคลุมผม / ผ้ากันเปื้อน)
-->ใช้ระบบ vacuum / Hoods เพื่อดูดอากาศเฉพาะจุด (เป็นการลงทุน)
2.ระดับความดังของเสียง อันจะเกิดจากเครื่องไส เครื่องตัด เครื่องกลึงไม้ เครื่อง CNC (ติดต่อหน่วยงานข้างต้นมาตรวจวัดได้) แล้วค่อยมาดูว่า
-->PPE เหมาะสมหรือไม่
-->ทำการกั้นเสียง เฉพาะจุดได้หรือไม่ (ตู้ครอบเสียงประจำเครื่อง)
3.การป้องกันอัคคีภัย โดยลักษณะของโรงงาน เฟอร์นิเจอร์ จะมีปริมาณฝุ่นละเอียดค่อนข้างมาก ที่เกิดจากกระบวนการขัดไม้ เป็นแหล่งสะสมของเชื้อเพลิง และในขณะเดียวกัน ถ้าโรงงานนั้นๆมีระบบ Hoods ดูดฝุ่นเพื่อเก็บไว้ใน Silo จะมีทั้งรูปแบบ cyclone หรือ Airbag ด้านใน เวลาดูดฝุ่นเข้าไปในระบบจะเกิดการสะสมของความร้อน ซึ่งอันตรายมากถ้าเกิดการระเบิดของฝุ่น ที่เกิดจากการสะสมความร้อน ถ้ามีงบประมาณ (อาจใช้การควบคุมความร้อนในรูปแบบ Heat ดักจับความร้อนตามท่อดูดฝุ่น)

ลองพิจารณาดูครับว่าอันใหนสามารถทำได้ก่อน-หลัง ค่อยๆแก้ไขปัญหา
โดยคุณ: จักริน คำบุดดี 



ข้อความที่ 5
เพิ่มเติม คือสารเคมี
กลุ่มสี , Thinner , lacquer , กาว
มักจะมีการกลุ่ม Toluene หรือสารกลุ่ม Formaldehyde ผสมอยู่
ซึ่งค่อนข้างไวไฟ ถ้าเป็น Solvent base
ต้องหามาตรการป้องกันด้วย

ในขณะเดียวกันสิ่งที่จะตามมาคือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม
1.ขยะเศษไม้ (ขายต่อได้)
2.ภาชนะปนเปื้อน (ถังสี ถังทินเนอร์ แล็คเกอร์) ต้องส่งกำจัด หรือหาทาง Return ผู้ผลิต เพื่อลดต้นทุน
3.น้ำเสียที่เกิดจากการพ่นสีผ่านม่านน้ำ (ในกรณีใช้น้ำเป็นตัวดักละอองสี) ต้องส่งกำจัด หรือสร้างระบบบำบัด
4.ละอองสีที่มีโอกาสเล็ดลอดจากระบบ
5.กรณีที่ใช้ Filter (ไม่ได้ใช้ม่านน้ำ) จะต้องกำจัด filter เป็นขยะอันตราย

สู้ๆ ครับ
โดยคุณ: จักริน คำบุดดี 

ข้อความที่ 6
ถ้าพยายามทำทุกอย่าง อย่างที่หลายๆท่านแนะนำมาแล้ว และนำเสนอแล้ว แต่ผู้บริหาร ไม่เห็นด้วย ไม่มีนโยบาย ไม่เอาด้วย
และท่านยังอยากที่จะปรับปรุงและพัฒนากับที่นี่อยู่
ลองแอบๆกระซิบเชิญ จนท.ผู้ตรวจความปลอดภัยของสวัสดิการ แรงงานจังหวัดที่ท่านอยู่ หรือ จนท.ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานฯ เข้าเยี่ยมชมโรงงานสักหน่อย น่าจะมีอะไรดีขึ้นอีกมาก
จนท.เขายินดีครับ
หลับตาพอนึกภาพออกครับกับฝุ่นที่เกิดขึ้น เห็นใจพนักงานเลย
โดยคุณ: Safety AY 

 

 

Visitors: 595,756