บริษัทฯ ทำถูกต้องหรือไม่??

สวัสดีครับ

            พอดีไปอ่านเจอในเวปสยามเซฟตี้  อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่ม ขออนุญาตนำมาแชร์ต่อนะครับ

 

บริษัทฯ ทำถูกต้องหรือไม่??


ตอนนี้ จป.วิชาชีพ ของบริษัทฯ ได้ลาออกไปแล้ว ไปทำงานที่บริษัทอื่น (แต่ จป.ว คนนั้นไม่ได้ทำ จป.วิชาชีพ นะ ทำ Sale)
ปัจจุบัน บริษัทฯ มีพนักงาน 150 คน (ขึ้นไป)
บริษิทฯ ไม่ได้รับ จป.วิชาชีพ เข้ามาแทน จป.ว ที่ลาออกไป
บริษัทฯ คุยกับ จป.ว คนเก่า (ที่ลาออกไป) ให้ยังคงขึ้นทะเบียนกับบริษัทฯ อยู่ ค่อยยื่นเอกสาร จป.ว (ทุก 3 เดือน) ให้กับบริษัทฯ เหมือนเดิม (จะเข้ามาที่บริษัทฯ หรือไม่ก็ได้)


คำถาม
1. บริษัทฯ ทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่?
2. ถ้าบริษัทฯ ทำผิด ปฏิบัติผิด หรือ รับโทษ ยังไง?
3. เอกสาร จป.ว ที่ จป.วิชาชีพ ที่ส่งในนามบริํษัทฯ ยังใช้ได้หรือไม่?
4. สำหรับ จป.ว ท่านนี้ ถ้าบริษัทฯ มีอุบัติเหตุร้ายแรง หรือ โดนแรงงานตรวจสอบ จป.วิชาชีพ มีความผิดหรือไม่? ยังไงบ้าง?
ขอบคุณครับ
โดยคุณ: Safety Technic email: [ 10 May 2013 14:04:32 ]


ข้อความที่ 1
แบบนี้เค้าเรียกว่าใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายให้เกิดประโยชน์บริษัทฯ ก็คงไม่ผิดอะไรหากแต่งตั้งและจป.คนดังกล่าวยังคงขึ้นทะเบียนอยู่กับที่บริษัทฯ และได้ปฏิบัติหน้าที่ครบทั้ง 12 ข้อ แต่จะผิดเจตนารมณ์กฎหมายเท่านั้น...
โดยคุณ: ... email: [ 10 May 2013 15:16:39 ]


ข้อความที่ 2
จปว.ต้องทำงานเต็มเวลา ผิดทุกข้อที่กล่าวมา
โดยคุณ: จปว email: [ 10 May 2013 15:21:38 ]


ข้อความที่ 3
เห็นด้วยกับคุณ จปว ผิดค่ะ
โดยคุณ: 1 email: [ 10 May 2013 15:46:49 ]


ข้อความที่ 4
ระวังให้ดีนะครับ ถ้าโดนตรวจสอบแล้วพบว่ามีการแจ้งออกประกันสังคมจากบริษัทแล้วไปเป็นลูกจ้างของบริษัทอื่นแล้ว ถึงยังมีรายงาน จป.ว. ส่งในชื่อของคนเก่าอยู่ จะโดนหนักทั้งคู่นะครับ เพราะนอกจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย แล้งยังหลีกเลี่ยง และส่งเอกสารเป็นเท็จด้วย หลายกระทงนะครับ
ประกันสังคม แจ้งเท็จไม่ได้นะครับ เพราะถ้าไม่แจ้งเข้าบริษัทใหม่ เงินสมทบก็เข้าระบบคอมพิวเตอร์ไม่ได้
โดยคุณ: นักข่าว email: [ 10 May 2013 22:54:12 ]


ข้อความที่ 5
คนดีตั้งใจทำงานกลับตกงาน แต่มีแค่ชื่อก็ทำงานได้ อย่างนี้เมื่อไหรเมืองไทยเจริญเท่าเทียมนานาชาคิเค้าละ่พ่อคุณ
โดยคุณ: มันแปลกดีนะ email: [ 11 May 2013 09:34:10 ]


ข้อความที่ 6
ผิดแบบเต็มๆ เน้นๆ และ หนักๆด้วยครับ โดนหนักทั้งคู่ และคงต้องย้ำว่าประเด็นนี้ กฎหมายชัดเจน และไม่ได้มีช่องโหว่อะไรให้ทำได้ทั้งนั้นครับ ที่ว่ากฎหมายมีช่องคงต้องกลับไปศึกษากฎหมายให้ดี ที่ต้องบอกอย่างนี้ เพราะเกรงว่าหลายคนจะไปรับจ๊อบแบบนี้มันไม่คุ้มเลยครับ ถ้ากรณีนี้มีปัญหาอะไรขึ้นมา ไม่ใช่แค่กฎหมายแรงงาน หรือ พรบ.ความปลอดภัย ที่จะโดนดำเนินคดี แต่มันสามารถเอาผิดกันได้ถึงขั้น อาญาเลยทีเดียว จป.วิชาชีพ ไม่เหมือนวิชาชีพอื่นเช่นหมอ ที่จะรักษาใครก็ได้ในโลกนี้ หรือทนายที่จะว่าความให้ใครก็ได้ในประเทศนี้ แต่วิชาชีพ จป.นั้นมันเป็นสถานะซ้อนของสถานะภาพลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน เพราะฉะนั้นท่านจะดำเนินงานด้านนี้ได้เฉพาะที่ท่านยังคงสถานะลูกจ้างอยู่เท่านั้น และทำให้ได้เฉพาะสถานประกอบการที่ท่านเป็นลูกจ้างประจำที่เดียวเท่านั้นครับ หากสถานะลูกจ้างท่านหมดไปท่านก็จะไม่ใช่ จป.ว คงเหลือเพียงสถานะผู้ที่เรียนจบ หรือผ่านการอบรมด้านนี้มาเท่านั้น เพราะ จป.วไม่ใช่สถานะลอยๆ การจะเป็น จป.ว ได้ต้องมีสังกัดเท่านั้นครับ
โดยคุณ: SS&S email: [ 13 May 2013 11:07:22 ]


ข้อความที่ 7
ผมไม่ได้เข้าข้างคนทำผิดนะแต่ขอสอบถามตรงๆ เถอะครับกฎหมายข้อไหนบอกว่า จป.ต้องทำงานเต็มเวลา ที่ตอบไปในหัวข้อแรกว่าเค้าใช่ช่องโหว่ทางกฎหมายเพราะเข้าใจเองว่า คำว่าลูกจ้างคือผู้ซึ่งได้รับความยินยอมให้ทำงานหรือทำประโยชน์ให้แก่สปก.ของนายจ้าง แค่นี้เค้าก็เข้าข่ายลูกจ้างแล้ว และโดยปกติ จป.ก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าต้องขึ้นทะเบียนทำงานเท่านั้นถึงจะปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายได้ ส่วนถ้าโดนตรวจสอบว่ามีการแจ้งประกันสังคมอย่างไรหรือไม่นั้นเป็นอีกกรณี ที่แน่ๆ ผมก็ยังไม่เคยเห็นกลุ่มคนที่ทำแบบนี้แล้วถูกทำโทษซักที...ถ้ามีก็ดีนะจะได้เป็นกรณีศึกษา ยังไงท่านที่รู้กฎหมายช่วยอธิบายก็ดีนะครับว่าจากกรณีนี้ตามกฎหมายแล้วผิดข้อไหนเต็มๆ ตอบแบบน้ำๆ เข้าใจอยากครับ...โทษทีนะครับไม่ทราบจริงๆ
โดยคุณ: ... email: [ 13 May 2013 13:01:22 ]


ข้อความที่ 8
โอเคครับ...ในประเด็นของกฎหมายเดี๋ยวจะมาตอบให้กระจ่าง และชัดเจนอีกทีว่าทำแบบนี้แล้วผิดกฎหมายอะไรบ้างครับ แต่ในฐานะเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หลักของความปลอดภัยไว้ก่อนสามารถเอามาใช้ได้ ผมเองก็เคยมีหลายบริษัทฯ มาให้ทำแบบนี้แต่ก็ปฏิเสธไป ลองเทียบดูเหมือนกับการขับรถฝ่าไฟแดงสิครับ ถ้าไม่มีตำรวจ ไม่มี CCTV ก็ไม่มีใครเห็น วันๆ นึงอาจมีคนทำแบบนี้ซักร้อยหรือพันคน แต่ถ้าไม่มีใครเห็น แล้วใครจะรู้ใช่ไม๊ครับ คำถามก็คือท่านจะทำแบบนี้ไปเรื่อยเพื่อรอวันนึงคนมาพบมาเห็นใช่ไม๊ครับ ปลอดภัยไว้ก่อนดีไม๊ครับ.......... ในประเด็นที่ผมอธิบายสถานะของวิชาชีพนั้นถ้ามองว่านั่นมันน้ำๆ ท่านทราบไม๊ว่ามี จป.วไม่น้อยเลยที่ไม่รู้ และไม่เข้าใจ ที่รู้เพราะผมเองอยู่ในหลายเครือข่าย และหลายเครือบริษัทฯ ยังไงเรื่องข้อกฎหมายรอแป๊บนึงครับเดี๋ยวมาตอบให้กระจ่างแน่นอน.....
โดยคุณ: SS&S email: [ 13 May 2013 17:10:49 ]


ข้อความที่ 9
อิอิอิ เริ่มยาว ผมเองก็เคยเป้นจอปอคนนึงที่เคยทำแบบเจ้าของกระทู้ ถามว่าผิดไหม ผิดเต็มใบครับ เพราะ มีกฎหมายระบุชัดเจนนะครับ ว่าจอปอต้องทำงานเต็มเวลา เดี๋ยวคิดว่า คุณSS&S คงจะมาแปะไว้ให้อ่านนะครับ คุณ..... แต่ช่องว่างของประเทศเราคือบุคลากรของรัฐที่จะมาตรวจสอบเรื่องนี้มีน้อยและที่มีก็ไม่พูดถึงคุณภาพดีกว่า เอาเป็นว่าคุณเจ้าของกระทู้ ก็เตือนเจ้าของบริษัทให้รับทราบเรื่องนี้ไว้ครับ เอาเป็นว่าทำแบบนี้ขัดตาทัพได้ แต่ไม่ตลอดไปเท่านั้น หน่ะครับ
โดยคุณ: topi email: [ 14 May 2013 09:58:15 ]


ข้อความที่ 10
ขอบคุณ พี่ๆ ทั้งหลายที่เข้ามาแสดงความเห็นในกระทู้นี้
โดยคุณ: Safety Technic email: [ 14 May 2013 10:26:43 ]


ข้อความที่ 11
นานๆมาที ไม่ค่อยมีเวลาขอรับ
ไหนๆมาแล้วก็ขอจัดหนัก จัดเต็มสักนิดขอรับ
คำถาม
1. บริษัทฯ ทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่?
ตอบ ผิดกฎหมายแน่นอนขอรับ
2. ถ้าบริษัทฯ ทำผิด ปฏิบัติผิด หรือ รับโทษ ยังไง?
ตอบ ก็ต้องไปดูกฎหมายขอรับว่าผิดมาตราไหนบ้าง ถ้าถามว่ากฎหมายฉบับไหนบ้าง เรื่องมันยาวขอรับ ไปดู พรบ.ความปลอดภัยฯ เป้นหลักขอรับ มีมาตราความผิดและบทลงโทษอยุ่ขอรับ
3. เอกสาร จป.ว ที่ จป.วิชาชีพ ที่ส่งในนามบริํษัทฯ ยังใช้ได้หรือไม่?
ตอบ เอกสารจปว. เป็นหน้าที่นายจ้างต้องส่งนะขอรับ ไม่ใช่ จป.ส่ง (กฎกระทรวงฯ 2549 ข้อ 37) เพียงแต่ จปว.มีหน้าที่ทำให้ครบทั้ง 12 ข้อ ถามว่ามันใช้ได้ไหม ก็คงต้องตอบว่า เอาเอกสารเท็จไปส่งเค้ามันจะติดคุกเอานะขอรับ เพราะจปว.ลาออกไปแล้ว ถือว่าสิ้นสุดสภาพการจ้างไม่ได้เป็นลูกจ้างของบริษัทอีกต่อไป ดังนั้นจึงไม่สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ ดูในนิยามได้ขอรับในกฎกระทรวงฯปี 2549 บางบริษัทอาจเลี่ยงบอกว่าไม่ได้จ้างประจำ จ้างเป้นครั้งคราว ถือว่าเป็นลูกจ้างเหมือนกัน อันนี้ก็ต้องไปดูในสัญญาจ้างขอรับ ว่ามีหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องไปดูอีกทีขอรับว่าปฏิบัติครบ 12 ข้อหรือไม่ (สมัยก่อนต้องมีเอกสารยืนยันการปฏิบัติงานเต็มเวลา) สรุป อย่างไงก็ไม่ครบแน่นอนขอรับ ขนาดทำทั้งวันยังไม่ครบเลย
4. สำหรับ จป.ว ท่านนี้ ถ้าบริษัทฯ มีอุบัติเหตุร้ายแรง หรือ โดนแรงงานตรวจสอบ จป.วิชาชีพ มีความผิดหรือไม่? ยังไงบ้าง?
ตอบ ผิดเต็มประตูขอรับ แค่ความผิดตามมาตรา 53, 54 ใน พรบ.ความปลอดภัยฯก็อ่วมแล้วขอรับ
โดยคุณ: ตน หนอ ตน email: [ 14 May 2013 15:23:56 ]


ข้อความที่ 12
ขอบคุณครับ ชัดเจนเลย กระจ่างแจ้ง ทุกข้อคำถาม
โดยคุณ: Safety Technic email: [ 14 May 2013 16:08:22 ]


ข้อความที่ 13
ไว้รอเกิดเรื่อง แล้วท่านจะมาไล่เบี้ยครับ ความก็จะแตกเอง ทีนี้ละกีอโดนแน่นอน ปรับหรือคุกก็ว่ากันไป
โดยคุณ: บุรณาการทุกภาคส่วน email: [ 16 May 2013 11:21:04 ]


ข้อความที่ 14
ขอบอกตามตรงนะครับ ผมยังไม่ได้คำตอบแบบชัดๆ เลย...เห็นหลายท่านบอกผิดเต็มๆ ผมก็งง เต็มยังไงลองอ่านกฎหมายทุกฉบับแล้วใช่ไหม แต่ผมพอจะจับประเด็นได้ว่าดูที่ "จป.ท่านนี้มีสถานะภาพเป็นลูกจ้างอยู่หรือไม่" เพราะจุดนี้จะทำให้ทราบว่า จป.ท่านนี้ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่งั้นมาลองดูนะครับ
1.การทำหน้าที่ จป.ว ต้องแต่งตั้งจากบริษัทฯ และขึ้นทะเบียนถึงจะสมบูรณ์ถ้าอ่านจากด้านบนเค้าก็คงต้องทำแล้วเพราะไม่อย่างนั้นคงจะมาเซ็นต์เอกสารไม่ได้
2.จป.ว ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดอันนี้ไม่ยาก เพราะไม่ได้บอกต้องทำเมื่อไร ขอให้ทำให้ดีก็ใช่ได้
3.หลายท่านจะโยงไปที่การเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ ว่าเค้าไม่ได้ทำงานอยู่จริง ให้ลองเช็คที่ประกันสังคมบ้างไรบ้าง แต่ถ้าเรามาดูกฎหมาย 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องคือ
1.พรบ.แรงงาน 2541 ลูกจ้างคือ ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร
2.พรบ.ความปลอดภัยฯ 2554 ลูกจ้างคือ ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงานและให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับความยินยอมให้ทำงานหรือผลประโยชน์ให้แก่สถานประกอบกิจการของนายจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม
ฉนั้นถ้าสรุปตากฎหมาย 2 ฉบับ จป.ท่านนี้เข้าข่ายการเป็นลูกจ้าง ไม่เกี่ยวอะไรกับประกันสังคม เพราะเป็นกฎหมายคนละฉบับ และอีกกรณีที่ยกกันมามากคือเรื่องการทำหน้าที่เต็มเวลา ซึ่งหลายท่านเข้าใจเองว่าเป็นการทำหน้าที่จป. 8 ชั่วโมง แต่ในความหมายคือ เค้าให้ จป.ทำงานเฉพาะด้านความปลอดภัยเท่านั้นห้ามพ่วงงานอื่นให้ จป. ไม่มีกฎหมายไหนบอกว่าให้ จป.ทำงานกี่ชั่วโมง ฉะนั้นจป.ท่านนี้ก็สามารถที่จะไม่ต้องเข้ามาหน้างานทุกวันก็ได้ อีกอย่างเค้ายังมี จป.หัวหน้างานเป็นผู้ช่วยอีก ที่มาของกฎหมายข้อนี้ก็คือ กฎกระทรวง 2549 ข้อ16 (ย่อ) ให้สถานประกอบกิจการแต่งตั้งลูกจ้างเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 17 ประจำสถานประกอบกิจการอย่างน้อย 1 คน เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะด้านความปลอดภัยฯ นี่แหละครับที่มาของการที่สวัสดิการฯ เค้าให้บริษัทฯ ทำเอกสารบอกว่าให้ จป.ปฏิบัติงานเต็มเวลา (ถ้าใครส่งประกวด สปก.ดีเด่นถึงขอดู) เหตุผลที่ผมเห็นต่างก็มีเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ เป็นการแชร์เพื่อให้ทุกท่านได้ออกความเห็นนำไปสู่การตกผลึกนะครับ ไม่ได้มีเจตนาที่จะไปขัดกับกฎหมายหรือเห็นด้วยกับผู้ที่ทำหน้าที่แบบเทาๆ ดำๆ เลยท่านใดมีความเห็นที่ต่างเชิญได้เลยครับ...
โดยคุณ: ... email: [ 16 May 2013 14:01:29 ]


ข้อความที่ 15
ไครทราบบ้าง ว่าเป็นบริษัทอะไร จะได้ไปแจ้ง กรมแรงงานและสวัสดิการ 5555
โดยคุณ: จป.ตัวจริง email: safety@hotmail.com [ 18 May 2013 17:11:49 ]


ข้อความที่ 16
การที่จะบอกว่าเป็นลูกจ้างหรือไม่ ไม่ใช่แค่ดูจากการที่คนคนนั้นยินยอมให้ทำงานหรือผลประโยชน์ให้แก่สถานประกอบกิจการของนายจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม เท่านั้นนะคะ ต้องดูจากว่าสิ้นเดือนแล้วใครเป็นผู้จ่ายเงินเดือนให้เค้า (แบบถูกต้อง มีสลิป มีสัญญาจ้าง) ถ้าแค่ยินยอมทำงานให้ ตย.เช่น การที่เราให้เพื่อนช่วยแปลกฎหมายให้ หรืออัพเดทกฎหมายให้ทุกเดือน ก็ไม่ได้แปลว่าเพื่อนเป็นลูกจ้างของบริษัทเรา แต่แค่ช่วยงานเฉยๆ ดังนั้น กรณีที่สอบถามมาคิดว่าบริษัททำไม่ถูกต้องค่ะ
โดยคุณ: จป.หวาน email: [ 19 May 2013 19:40:47 ]


ข้อความที่ 17
สอบถามหัวหน้ามาแล้วนะคะ ว่าจป.วต้องทำงานเต็มเวลาค่ะ ตามที่คุณ... ชี้แจงว่ากฎหมายข้อไหนที่ระบุว่าจป.ต้องทำงานเต็มเวลา หวานขอชี้แจงค่ะว่ากฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 หมวด 1 ข้อ 16 มีระบุไว้ค่ะ ขอย่อๆนะคะว่า "นายจ้างต้องแต่งตั้งลูกจ้างเป็นจป.ว. ซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 17 ประจำสถานประกอบกิจการอย่างน้อย 1 คน เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะด้านความปลอดภัย" ซึ่งคำว่าประจำก็บอกอยู่แล้วว่าไม่ใช่เข้ามาบริษัทก็ได้ ไม่เข้ามาก็ได้ค่ะ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยค่ะ
โดยคุณ: จป.หวาน email: [ 20 May 2013 11:26:19 ]

Visitors: 569,750