Source : http://sppsconstruction.com
ปัญหาโลกแตก ที่ต้องเจอกันเป็นประจำทุกวันก็คือ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้รับเหมา เช่น แขนขาด ขาขาด ตกจากที่สูง อยู่ในที่อับอากาศขาดอากาศหายใจ อัคคีภัย และไม่ใส่ PPE
สาเหตุของปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากการที่เราไม่ได้นำผู้รับเหมาเข้าสู่ระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานที่บริษัทได้กำหนดไว้ หรือบางแห่งแย่กว่านั้นคือไม่มีเลย หรือมีแต่ไม่นำมาใช้อย่างจริงๆจังๆ
สำหรับบทความนี้ จะอธิบายในรูปแบบสั้นๆง่ายโดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนในการจัดการความปลอดภัยในการทำงานให้กับผู้รับเหมา
Source :www.123rf.com
Step 1
ค้นหาก่อนว่าผู้รับเหมาที่จะเข้ามาทำงาน จะเข้ามาทำกิจกรรมอะไรบ้าง ที่อาจจะได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วย พิการ สาหัส อันเนื่องมาจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย และสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงโรคติดต่อต่างๆด้วย
Step 2
ลองดูสิว่า ประวัติการทำงานย้อนหลัง สถิติการได้รับบาดเจ็บและอุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้นของบริษัทของผู้รับเหมา เป็นอย่างไร มีแนวโน้มของการได้รับบาดเจ็บเป็นอย่างไรบ้าง มีโอกาสที่จะบาดเจ็บเล็กน้อย สาหัส หรือจะมาตายในบริษัทของเราเป็นไปได้มั้ย
Step 3
ลองมองตัวเองสิว่าตอนนี้ ระบบความปลอดภัยอะไรบ้างที่เรามี และที่เขาจำต้องปฏิบัติตาม เช่น การประเมินความเสี่ยง การประเมินอันตราย การทำงานบนที่สูง การใช้นั่งร้านอย่างปลอดภัย การทำเซฟตี้ทอล์ค (safety talk) การใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน เราใช้แบบนี้ปฏิบัติแบบนี้ เขาก็จำเป็นต้องใช้ต้องปฏิบัติเหมือนเราทั้งหมดหรือไม่
Step 4
ต้องแน่ใจว่า ผู้รับเหมาทุกคนได้เข้าสู่ระบบการอบรมที่ถูกต้อง (Safety Training program) และครอบคลุมในงานที่เขาทำ เช่น ความปลอดภัยการทำงานบนที่สูง การทำงานในที่อับอากาศ การทำงานในพื้นที่ก่อสร้าง และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ต้องแน่ใจว่า ผู้รับเหมาทุกคนได้เข้าสู่ระบบการอบรมที่ถูกต้อง (Safety Training program) และครอบคลุมในงานที่เขาทำ เช่น ความปลอดภัยการทำงานบนที่สูง การทำงานในที่อับอากาศ การทำงานในพื้นที่ก่อสร้าง และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
Step 5
มอบหมายหน้าที่ให้แก่ผู้รับผิดชอบ สำรวจ ประมิน และแก้ไขให้ถูกต้องทันที เมื่อพบการกระทำหรือ สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย อย่าอยู่เฉยๆ เพราะการนิ่งเฉย คือ การยอมรับ และ ครั้งหน้าถ้าเขายังไม่เจ็บ ยังไม่ตาย เราก็จะเจอเขาทำงาน ด้วยความที่ไม่ปลอดภัยเหมือนเดิม
มอบหมายหน้าที่ให้แก่ผู้รับผิดชอบ สำรวจ ประมิน และแก้ไขให้ถูกต้องทันที เมื่อพบการกระทำหรือ สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย อย่าอยู่เฉยๆ เพราะการนิ่งเฉย คือ การยอมรับ และ ครั้งหน้าถ้าเขายังไม่เจ็บ ยังไม่ตาย เราก็จะเจอเขาทำงาน ด้วยความที่ไม่ปลอดภัยเหมือนเดิม
วารสาร ส.อ.ป.
Tip
ยิ่งเราเอาใจใส่เขามากเท่าไร ความสัมพันธ์ที่ดีก็จะยิ่งเกิดมากขึ้น เมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดีเกิดขึ้น ความเป็นผู้นำของเราก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ตอนนี้ล่ะนำอย่างไร เขาก็จะให้ความร่วมมือ
Warning
อย่าได้สมมติ หรือเออ ออ หรือ มโนไปว่า ผู้รับเหมาเข้าใจเรื่องของความปลอดภัยทุกเรื่อง จงทำการอบรมและพูดถึงเรื่องความปลอดภัยบ่อยๆ ตามเซฟตี้โปรแกรมที่เรามี
จนมั่นใจว่าเขาเข้าใจและเห็นความสำคัญของความปลอดภัยที่ต้องทำ ไม่ได้เข้าใจว่าต้องทำเพราะกฎหมายสั่งให้ทำ
จนมั่นใจว่าเขาเข้าใจและเห็นความสำคัญของความปลอดภัยที่ต้องทำ ไม่ได้เข้าใจว่าต้องทำเพราะกฎหมายสั่งให้ทำ
Ref : ภาพประกอบ http://www.cthammer.com
ติดต่อ
สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)
Occupational Health and Safety at work Association (OHSWA)
402/1 อาคาร 2 ชั้น 6 ภาควิชาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนราชวิถี
แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 026444067 โทรสาร 026444068
เวปไซต์ http://www.ohswa.or.th/