สีและลูกศรตามท่อ

การใช้สีและการตีเส้น 
เส้นแบ่งพื้นที่ทางเดิน บริเวณทำงาน พื้นที่ทั่วไป ทางเข้าออก ใช้เส้นสีเหลือง หนา 5 – 10 ซม. 
การแสดงทิศทาง ใช้ลูกศรสีเหลือง 
เส้นบริเวณวางงานระหว่างกระบวนการผลิต ใช้สีขาว หนา 5 ซม. 
เส้นบริเวณของเสีย ใช้สีแดง หนา 5 ซม. 
เส้นเหลืองสลับดำ หรือเส้นเหลือง สำหรับการกระตุ้นเตือนว่าอาจจะเกิดอันตราย อุปกรณ์สำหรับการขนถ่าย บริเวณที่อาจลื่น หกล้ม กระแทก 
บริเวณติดตั้งเครื่องดับเพลิง อุปกรณ์การป้องกันไฟ ภาชนะบรรจุของเหลวไวไฟ เครื่องกีดขวางการก่อสร้าง 
ส่วนของเครื่องจักร ที่ใช้หยุดการทำงานของเครื่องในกรณีฉุกเฉิน ใช้สีแดง 
บริเวณที่ปลอดภัย เครื่องมือปฐมพยาบาล ใช้สีเขียว 
ส่วนของเครื่องจักรที่เป็นอันตราย เช่น มีคม หมุนได้ เคลื่อนที่ได้ ใช้สีส้ม 
สีดำสลับขาว การจราจร ขอบถนน 
ภาชนะอุปกรณ์ บริเวณที่เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี ใช้สีม่วง 
ท่อต่าง ๆ มีป้ายชื่อ และทาสีท่อ หรือ คาดสี ซึ่งแต่ละสีมีความหมายดังนี้ 
สีเขียว หมายถึง ท่อน้ำสะอาด 
สีดำ หมายถึง ท่อน้ำทิ้ง 
สีเงิน หมายถึง ท่อไอน้ำ 
สีแสด หมายถึง ท่อสายไฟ 
สีเหลือง หมายถึง ท่อแก๊ส 
สีน้ำตาล หมายถึง ท่อน้ำมัน 
สีม่วง หมายถึง ท่อกรดหรือด่าง 

(ท่อน้ำมัน ท่อกรด ท่อด่าง ถ้าต้องการแสดงชนิดของน้ำมัน กรด ด่าง ที่ละเอียดขึ้น ให้ใช้สีเฉพาะตามมาตรฐานสี) 

การใช้สีที่กล่าวมานี้เป็นหลักทั่วไป ซึ่งลักษณะงานบางประเภท หรือสถานที่บางที่จะมีมาตรฐานสีสากลกำกับบังคับ ให้นำ 
มาตรฐานสีบังคับนั้นมาใช้ได้เลย 
(ที่มา : คู่มือการดำเนินกิจกรรม 5 ส โดย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ )
ลองเอาไปใช้ดูนะ ลอกมาอีกที

 

ที่มาของข้อมูล 

คัดแปลงจาก ANSI/ASTM A13.1 (2015)

หนังสื่อ 5ส :หลักการและวิธีปฏิบิติ

อาจารย์อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา

Visitors: 569,078