เหยียบกระเบื้องหลังคาพลาด ตกลงมาเสียชีวิตทันที บางปู สป

ตกจากที่สูงเสียชีวิต

ซ่อมหลังคา เหยียบกระเบื้องหลังคาพลาด ตกลงมาเสียชีวิต

31/1/58 เมื่อเวลา 15.00 น.ศูนย์วิทยุพระนครมูลนิธิร่วมกตัญญู ได้รับเเจ้งจากอาสาฯจุดบางปู ตรวจสอบคนตกจากที่สูง ภายใน ซอยพาราทรัพย์ ที่เกิดเหตุ บ.ประณีตศิลป์ จำกัด ม.6 เทศบาลบางปู จากการตรวจสอบพบผู้เสียชีวิตเป็นชาย 1 ราย ทำงานรับเหมาซ่อมหลังคา บริษัทดังกล่าว เเล้วเกิดเหยียบกระเบื้องหลังคาพลาด ตกลงมาเสียชีวิตทันที ความสูงจากหลังคาสู่พื้นประมาณ 15 เมตร ทราบชื่อนาย สมชาย เจริญบุญเลิศประภา อายุ 25 ปี ที่อยู่ตามบัตรประชาชน 102/3 ม.9 ต.ปากแพรก อ.เมืองกาญจนบุรี นคร 53 ดำเนินการผู้เสียชีวิตส่งชันสูตรที่สถาบันนิติเวช เขตท้องที่รับผิดชอบของ สภ.บางปูสมุทรปราการ

 มาตรการการป้องกันอุบัติเหตุ

 

 

การกระทำที่ถูกต้องปลอดภัย 

 

Working at Heights
ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนที่สูง
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง

http://www.sangtakieng.com/WorkingatHeights1.html

 

http://www.jorpor.com/D/Safe%20Guideline%20for%20working%20at%20heights.pdf 

มาตรา ๑๖ ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรม

ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดําเนินการ

ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานได้อย่างปลอดภัย

ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทํางาน หรือเปลี่ยนแปลง

เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย

ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทํางาน

การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่

อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา ๑๗ ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับ

ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน รวมทั้งข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่

ของนายจ้างและลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกําหนดในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการ

มาตรา ๑๘ ในกรณีที่สถานที่ใดมีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง ให้นายจ้างทุกราย

ของสถานประกอบกิจการในสถานที่นั้น มีหน้าที่ร่วมกันดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย

และสภาพแวดล้อมในการทํางานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

ลูกจ้างซึ่งทํางานในสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง รวมทั้งลูกจ้างซึ่งทํางานในสถานประกอบ

กิจการอื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้าง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย

และสภาพแวดล้อมในการทํางานซึ่งใช้ในสถานประกอบกิจการนั้นด้วย

มาตรา ๑๙ ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใด

ที่นํามาใช้ในสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้างมีอํานาจดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย

และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้น

ตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘

การดําเนินการตามวรรคหนึ่งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในอาคาร สถานที่ เครื่องมือ

เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดซึ่งให้เช่า หรือผู้ให้เช่าในอันที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนใดๆ

ตลอดจนการบอกเลิกสัญญาเช่า

มาตรา ๒๐ ให้ผู้บริหารหรือหัวหน้างานมีหน้าที่สนับสนุนและร่วมมือกับนายจ้างและบุคลากรอื่น

เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา ๘ มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๒

มาตรา ๒๑ ลูกจ้างมีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนด

ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย

โดยคํานึงถึงสภาพของงานและพื้นที่ที่รับผิดชอบ

ในกรณีที่ลูกจ้างทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชํารุดเสียหาย และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง

ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร และให้เจ้าหน้าที่

ความปลอดภัยในการทํางาน หัวหน้างาน หรือผู้บรหาร ิ แจ้งเป็นหนังสือต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า

ในกรณีที่หัวหน้างานทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชํารุดเสียหายซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตราย

ต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ต้องดําเนินการป้องกันอันตรายนั้นภายในขอบเขต

ที่รับผิดชอบหรือที่ได้รับมอบหมายทันทีที่ทราบ กรณีไม่อาจดําเนินการได้ ให้แจ้งผู้บริหารหรือนายจ้าง

ดําเนินการแก้ไขโดยไม่ชักช้าหน้า ๑๑

เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ มกราคม ๒๕๕๔

มาตรา ๒๒ ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

ที่ได้มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกําหนด

ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและดูแลรักษาอุปกรณ์

ตามวรรคหนึ่งให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทํางาน

ในกรณีที่ลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดการทํางานนั้นจนกว่า

ลูกจ้างจะสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว

มาตรา ๒๓ ให้ผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

มีหน้าที่ดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของลูกจ้าง

เช่นเดียวกับนายจ้าง

ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วง และมีผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไป ให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไป

ตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นที่มีลูกจ้างทํางานในสถานประกอบกิจการเดียวกัน มีหน้าที่ร่วมกันในการ

จัดสถานที่ทํางานให้มีสภาพการทํางานที่ปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ถูกสุขลักษณะ

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างทุกคน วาม …

Visitors: 569,744