การประเมินความเสี่ยง

สวัสดีครับ 

       ผมอ่านหลายเวปไซด์ แล้วนำมารวบรวมไว้ เพื่อจะได้ให้เพื่อนสมาขิก และผู้อ่านสามารถอ่านได้อย่างเต็มที่ประหยัดเวลาในการค้นคว้าหาอ่าน เมื่ออ่านแล้วช่วยลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกให้ผมด้วยนะ และ โพสแสดงความคิดเห็นด้วย จะขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

      คนเราอยู่ในความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา อันตรายในการทำงานก็มีมากมาย ทั้งอุบัติเหตุ และโรคจากการทำงาน เราจะสื่อสารอย่างไรดีละ ที่จะให้เพื่อนพนักงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตราย จากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ส่วนสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยปัจจุบันนี้ เหลือน้อยมาก ไม่ถึง 4 เปอร์เซ็นต์แล้ว สถานที่ประกอบปฏิบัติตามข้อกำหนดของระบบมาตรฐานต่างๆ ISO 9000,OHSAS 18001 และถูกกฏหมายบังคับใช้ พรบ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
      การแสดงความห่วงใย เอาใจใส่ สอบถาม ข้อมูล เฝ้าสังเกตุการทำงาน พูดให้เขาได้คิด อธิบายเหตุผล ถึงผลกระทบของอุบัติเหตุ ที่จะเกิดขึ้น ใครละที่ต้องได้รับผลกระทบ เดือดร้อน ไม่ใช่แค่ตัวเรา พ่อแม่ ครอบครัว เราจะอยู่อย่างไร ชีวิตครอบครัว หลาย ๆครอบครัว ประสบปัญหา ล้มเหลว บ้านแตก สาแหร่ขาด มาก็มากต่อมากแล้ว บาดเจ็บ พิการ  รายได้ก็หดหาย ใครละจะกล้าให้ทำงานโอที พิการ เกิดปมด้อย โอทีไม่ต้องพูดถึง ไม่มีโอกาสได้ทำแน่ รายได้ที่เคยรับ พอที่ใช้ หรือเก็บ ก็หมด เพราะพฤติกรรมเสี่ยงของเรา ไม่มีจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน แค่อารมณ์เพียงชั่วหวูบ วินาทีเดียว เท่านั้น ชีวิตเปลี่ยน  เปลี่ยนไปในทางลบ  เรามาสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยกันดีกว่า เพื่อตัวเอง เพื่อนร่วมงาน คนที่คุณรัก ครอบครัว รวมถึงสถานประกอบการด้วย ....ความปลอดภัย เริ่มที่ตัวคุณ

       ชีวิตนี้ ผมมีโอกาสช่วยเหลือเพื่อน ๆ ได้ ผมก็ดีใจแล้ว พูดเพื่อให้คิด คิดก่อนทำ เห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ผลกระทบที่จะตามมา ผลลัพธ์ของการสูญเสียมากมาย ชีวิตเปลี่ยน ไม่ใช่ในทางที่ดีขึ้น แต่ในการตรงกันข้าม จากประสบการณ์ที่เห็น และได้อ่านมา ผมมั่นใจว่า จะถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ แชร์ประสบการณ์ ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ จะ่ช่วยทำให้ชีวิต คุณเปลี่ยนได้.... ขอโอกาสผมสักครั้ง สนใจก็ติดต่อได้ หรืออ่านในเวปไซด์ที่ผมดูแลอยู่ได้ครับ .... :-\ :-\ :-\ :-\


winai.d@fujiace.com หรือ winaibangpoo@gmail.com

สนใจติดต่อ อบรม Inhouse ได้ครับเรื่อง จิตสำนึกความปลอดภัยกิจกรรม KYT , JSA BBS ,กิจกรรม 5ส และการประเมินความเสี่ยง

      การทำงานอย่างปลอดภัยจึงเป็นยอดปรารถนาของเราทุกคน ทั้งในระดับที่รู้ตัวและระดับที่อยู่ลึกในจิตใต้สำนึก ซึ่งเรื่องของความปลอดภัยในชีวิตนี้จึงสอดคล้องกับ “ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์” (Hierarchy of Needs) หรือ “ทฤษฎีการจูงใจ” ของอับราฮัมมาสโลว์ (Abraham Maslow) ในลำดับขั้นที่ 2 เรื่อง “ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย” ด้วย

      เรื่อง “ความปลอดภัยในการทำงาน” จึงควรเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเคียงบ่าเคียงไหล่เช่นเดียวกับ “ความ มั่นคงในการทำงาน” เพื่อทำให้เราทุกคนมี “ชีวิตที่ดีขึ้น” หรือมี “คุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น” นั่นเอง

        ถึงแม้หน่วยงานหรือองค์กรจะมีมาตรการป้องกันอุบัติเหตุที่ดีเพียงใด แต่ถ้าพนักงานขาดแรงจูงใจ แรงบันดาลใจในการทำงาน ขาดจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยหรือพฤติกรรมทางด้านความปลอดภัยแล้ว ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกิดอุบัติเหตุขึ้น เพราะบางครั้งหลายองค์กรยังเน้นที่การบริหารจัดการ และมาตรการป้องกันต่าง ๆ โดยที่ไม่ได้หันมาสนใจในการปลุกจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานกันอย่างจริง ๆ จัง ๆ

เราจะทำอย่างไร ?

    ให้พนักงานมีแรงจูงใจ แรงบันดาลใจในการทำงาน ทำให้เกิดจิตสำนึก และพฤติกรรมในการทำงานอย่างความปลอดภัย โดยไม่ต้องมีสิ่งใดมาบังคับ อุบัติเหตุจากการทำงานย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นมาจากใจ เรามาสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยกันครับ มีหลากหลายวิธี ที่ให้เรานำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสถานประกอบการของท่าน

ตัวอย่าง ที่ผมคัดลอกมา บทความแสดง การแสดงความรัก ความห่วงใย เปิดโอกาส ให้พนักงานมีส่วนร่วม อย่าเอาแต่สั่ง แล้วก็สั่งก็ทำเฉพาะต่อหน้าเรา ลับหลัง ก็เป็นเหมือนเดิม การใช้คำพูดต้องชักจูงใจ อธิบายเหตุ ผล ชี้ให้เห็นผลกระทบในอนาคต ระยะยาว ชีวิตหลายครอบครัวประสบความล้มเหลว ก็แล้วมากมาย จากความพิการ ซึ่งมันเป็นปมด้อยของผู้ประสบอุบัติเหตุ แค่คำ เช่น ไอ้ด้วน ไอ้บอด มันกินลึกเข้าไปในหัวใจ เจ็บ แป๊บ ๆๆ คู่ชีวิตทนไม่ได้กับสภาพ ก็ต้องเลิกรากันไป ครอบครัวแตกแยก ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมอีก พูดไปก็ยาวนะ มาดูตัวอย่าง พฤติกรรมของหัวหน้างานกันดีกว่า

     ซึ่งวิเคราะห์ดูแล้วผมว่า หัวหน้างานมีส่วนสำคัญที่สุด เพราะใกล้ชิดกับพนักงานในการทำงาน ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดูแลและควบคุมการผลิตรวมทั้งการปฏิบัติงาน อาทิเช่น ดูแลตรวจเช็คสภาพวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรความพร้อมก่อนปฏิบัติงาน การสื่อสาร การสอนงาน สั่งงาน ต้องชัดเจน ทวนคำสั่ง ซักถามความเข้าใจ ให้ปฏิบัติให้ดู เพื่อความแน่ใจว่า เข้าใจหรือไม่ การเฝ้าสังเกตุดูพฤติกรรมของพนักงาน พร้อม ให้คำชี้แนะ ช่วยเหลือ ที่คิดว่าไม่เหมาะสมหรือไม่ปลอดภัย พร้อมรับและให้คำปรึกษา เห็นได้หลาย ๆ เครสที่เกิดอุบัติ จากสาเหตุ สถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย แล้วทำให้การกระทำที่ไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา 

  ไม่รู้คุณคิดเหมือนผมหรือเปล่า เขานะแหละ หัวหน้างาน คือ บุคคลสำคัญที่สุดครับ

จิตสำนึกความปลอดภัย

บทความโดย อาจารย์ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย

เรื่องของเรื่องมันเป็นแบบนี้…
ผู้ปฏิบัติงาน

“อุบัติเหตุมันไม่เกิดขึ้นกับฉันตอนนี้หรอก, ฉันก็ทำแบบนี้มาตั้งนานแล้ว ก็ไม่เห็นจะเคยได้รับบาดเจ็บอะไรเลย, คุณรู้มั้ยว่าที่คุณสั่งให้ผมทำโน้น ทำนี่ เกี่ยวกับความปลอดภัยมันทำให้ผลผลิตของผมล่าช้า, ทำไมไม่เห็นมีใครบอกผมเลย, คุณไม่ได้ทำงานเหมือนผมคุณจะไปรู้อะไร”

หัวหน้างาน

“นี่คุณจะต้องให้ผมบอกตั้งกี่ครั้งถึงจะยอมสวมใส่หน้ากากซะที, อย่าให้ผมเห็นคุณทำแบบนี้อีกทีนะ, อ่านหนังสือไม่ออกหรือไง ว่าต้องสวมหมวกนิรภัยในที่นี้, ไปเอาคู่มือความปลอดภัยมาต้มกินซะจะได้ไม่ต้องให้ผมคอยมาบอก, คุณเป็นอะไรมันก็ไม่เกี่ยวกับผม อย่างมากผมก็ช่วยงานให้คุณแค่ 500 บาท, คุณต้องทำตามแบบนี้นะอย่าให้ผมต้องเดินมาเห็นอีกนะ, คุณอยากทำอะไรก็เรื่องของคุณแต่อย่าให้เรื่องเดือดร้อนถึงผมก็แล้วกัน”

        คำพุดเหล่านี้ผมเชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยิน หรือเคยใช้บ้างในที่ทำงาน พวกเราคิดว่าคำพูดอย่างนี้กำลังบอกอะไรเราเกี่ยวกับการบริหารความปลอดภัยในองค์กรของเรา… แน่นอนครับ คำพูดเหล่านี้มันมีความหมายไปทางด้านลบ (Negative responses) และ บ่งบอกได้ถึงทัศนคติ และจิตสำนึกด้านความปลอดภัยของคนในองค์กรว่า โดยมีการแสดงผลออกมาทางพฤติกรรมความปลอดภัย

       ทำให้ผมนึกถึงคำสอนของ อ.วรภัทร์ ภู่เจริญ เคยบอกว่า “ต้องให้ความรัก ก่อนให้ความรู้” ผมก็เลยเอามาเปรียบเทียบจากประสบการณ์ในการทำงานจริง คำตอบก็เป็นอย่างที่อาจารย์บอก “องค์กรใดก็ตามถ้าผู้บริหารได้แสดงความห่วงใย ใส่ใจ ความปลอดภัย ออกมจากใจจริง พนักงานจะสามารถสัมผัสได้ และจะร่วมแรงร่วมใจกันทำพฤติกรรมด้านความปลอดภัย ด้วยจิตสำนึกที่ดี”
    การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยนั้นในหลายๆ องค์กร ก็มีความพยายามหาวิธีการต่างๆนำมาใช้ เช่น การสร้างมาตรฐานต่างๆ, อบรมความปลอดภัย, ตรวจสอบความปลอดภัย, สนทนาความปลอดภัย (safety talk), จัดบอร์ด, การสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัย และอื่นๆ ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ หลายครั้งที่เราลืมนึกไปว่า เราออกคำสั่งมากไปหรือเปล่า, พนักงานเบื่อหรือไม่ที่ต้องปฏิบัติตาม, เราจัดหนักไปหรือเปล่า, พนักงานทราบหรือไม่ว่าทำไมเขาต้องปฏิบัติ, พนักงานอยากที่จะเสนอแนะอะไรบ้างหรือไม่, อะไรเป็นสาเหตุพื้นฐานของพฤติกรรมเสี่ยง และในตอนเราไม่ได้ตรวจสอบพนักงานยังคงมีพฤติกรรมปลอดภัยเหมือนที่เราเห็นหรือไม่
      “การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย” จากวิธีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี แต่ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผู้บริหาร และหัวหน้างาน ควรที่จะเพิ่มเติมโดยการ “แสดงความรัก ความห่วงใย เข้าใจ ออกมาจากใจด้วยการกระทำที่ชัดเจน, ฟังให้มาก, พูดให้เขาคิดแต่ไม่สั่งให้เขาทำ, เสนอแนะให้เขายอมรับ และรับฟังที่เขาเสนอ, ชมเชยเมื่อมีโอกาส ไม่ต่อว่าถ้าต่อหน้าคนอื่น, เครียดไปไม่บรรเจิด สนุกเถิดจะเกิดผล”

       การสร้างจิดสำนึกด้านความปลอดภัยต้องใช้เวลา การทำอย่างสม่ำเสมอ ถูกต้อง และได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร จะช่วยให้งานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยประสบความสำเร็จได้ อย่ารีบร้อน หรือผลักดันมากเกินไป พนักงานจำเป็นต้องใช้เวลาการปรับเปลี่ยน และซึมซับการสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย เพื่อให้กลายเป็นนิสัย และพฤติกรรมความปลอดภัยติดตัวตลอดไป

"แล้วถ้าในทางกลับกันลูกจ้างให้ความสนใจ
ผู้บริหารละเลยละว้าาารู้ทั้งรู้"
อิอิอิ

         จากความรู้ทั่วไปที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานสาเหตุหลักๆ นั้นมีอยู่ 3 สาเหตุ คือ
ซึ่งถ้าพิจารณาแล้วสาเหตุในการเกิดอุบัติเหตุหลัก หรือเป็นสาเหตุที่มากที่สุดนั่นคือ เกิดจากการกระทำของบุคคล ถึง 88 % ถ้านึกถึงในโรงงานอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งสถานประกอบการส่วนใหญ่แล้ว จะเรียกสาเหตุนี้ว่าเป็นการกระทำของพนักงาน หรือ Unsafe Act ได้แก่การกระทำอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น การแต่งกายไม่เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน การไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล การทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักร ขณะเครื่องจักรหรือเครื่องมือนั้นกำลังทำงาน การทำการยกหรือเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยท่าทางหรือวิธีการที่ไม่ปลอดภัย ฯลฯ
       จิตสำนึกเป็นสิ่งที่ไม่ได้สร้างหรือปลูกฝังกันได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพราะชีวิตคนเรากว่าจะเติบโตก็จะถูกหล่อหลอมด้วยบุคลิกภาพกันมาเป็นเวลานาน การจะสร้างจิตสำนึกให้แก่คน จึงต้องเริ่มกันนับจากเป็นทารก การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา เช่น การสอนให้รู้วิธีการใช้ไฟฟ้าที่ถูกวิธี แจ้งให้ทราบถึงอันตรายของไฟฟ้า ทำให้เค้าตระหนักถึงอันตรายที่มีอยู่ เมื่อเขาตระหนักถึงอันตรายที่แฝงแล้ว จะทำให้เกรงที่จะตัดสินใจกระทำ หากมีการหล่อหลอมให้ตระหนักรู้ถึงอันตรายหรือวิธีการปฏิบัติที่ปลอดภัย จนเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรม และมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย แล้ว เราทุกคนก็จะมีส่วนช่วยในการลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้โดยส่วนรวมด้วย
ความผิดพลาดของเครื่องจักร (Mechanical Failure) = 10 %
เกิดจากคน (Human cause) = 88 %
ดวงชะตา (Act of God) = 2 %


            ดังนั้นในปัจจุบัน สถานประกอบการหลายๆ ที่จึงนิยมนำเทคนิคสร้างจิตสำนึก เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาปรับใช้ในสถานประกอบการกันมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด และพฤติกรรมของพนักงานที่จะนำไปซึ่งการกระทำที่ไม่ปลอดภัย และอุบัติเหตุร้ายแรงตามมา ในฉบับแรกนี้เราจะมาทำความรู้จัก และทำความเข้าใจเทคนิควิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยกันก่อน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัย คือการนำหลักการของการวิเคราะห์ พฤติกรรมมาทำให้ผลงานด้านความปลอดภัย พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการ ชี้บ่งพฤติกรรมเสี่ยงแล้วกำจัด
          - ต้องเริ่มดำเนินการโดยการทำให้พนักงานทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่รับผิดชอบดูแลพนักงาน หัวหน้างาน หรือพนักงานเอง ทราบก่อนว่า สิ่งใดที่พวกเค้าทำถือเป็นการกระทำที่ไม่ปลอดภัย อาจะมีการกำหนดผู้ที่รับผิดชอบให้ชัดเจน หรือการรายงานอย่างชัดเจน ว่าเมื่อมีการพบเจอการกระทำใดๆ ที่ต้องมีการรายงาน โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัย ควรมีกระบวนการดำเนินการดังนี้
          - ร่วมกันค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง โดยผู้ที่รับผิดชอบ หรือทุกคนภายในส่วนงาน
          - ทำการรวบรวมและจัดทำเป็นทะเบียนพฤติกรรมเสี่ยงภายในองค์กร เพื่อให้รู้ว่าในแต่ละแผนกภายในองค์กรนั้นมีพฤติกรรมเสี่ยงที่แตกต่างกันอย่างไร
          - จัดเรียงลำดับ คัดเลือก แล้วตั้งเป้าหมายในการกำจัดพฤติกรรมเสี่ยงทีละพฤติกรรมเสี่ยง
          - ดำเนินการในการกำจัดพฤติกรรมเสี่ยง
          - ติดตามผลการดำเนินการเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยง
          - ประเมินผลเปรียบทียบกับก่อนเริ่มกำจัดพฤติกรรมเสี่ยง
          - สรุปผลที่ได้จากการดำเนินงาน
         - สื่อสารให้พนักงานทราบและเข้าใจพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และพฤติกรรมไหนที่พึงให้ปฏิบัติ
ส่วนรายละเอียดในการนำเทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัย ในแต่ละ
หัวข้อจะกล่าวไว้อย่างไรนั้นจะขอพูดถึงในเดือนต่อไป อย่าลืมติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้

         จากข่าวการเสียชีวิตของนักร้องวัยรุ่นคนหนึ่งเมื่ออเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา จากการเข้าร่วมเล่นเกมส์โชว์รายการหนึ่งแล้วเกิดอุบัติเหตุถังเบียร์หล่นใส่ศีรษะ จนเสียชีวิต นำมาซึ่งความสูญเสียอนาคตของชาติและความโศกเศร้ามาสู่ครอบครัวของเขา แม้จะมีการพยายามตามดำเนินคดีกับคนขับรถเครนแล้วข่าวก็ค่อยๆเงียบหมายไป เหมือนกับการสูญเสียอีกหลายๆครั้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ที่สังคมไทยไม่ได้นำเอาความผิดพลาดเหล่านั้นมาเป็นบทเรียนเพื่อกระตุ้นการสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในใจของคนไทยและสังคมไทย

          จิตสำนึกความปลอดภัย(Safety Mind) ในสังคมไทยมีการพูดถึงกันน้อยมาก เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นก็ได้แต่ลงโทษคนที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดแล้วก็จบกัน โดยที่ไม่ได้วิเคราะห์เหตุการณ์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อจะได้แก้ไขป้องกัน การจับคนผิดมาลงโทษจึงเป็นแค่ปลายเหตุเท่านั้น เหตุการณ์สูญเสียที่เป็นข่าวนั้นเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นของเหตุการณ์ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในสังคมไทย หากอยากทราบอุบัติการณ์ที่แท้จริงอาจต้องไปนั่งสังเกตการณ์ในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลต่างๆอาจจะได้รับทราบความจริงอันน่าตกใจเกี่ยวกับความสูญเสียที่ไม่ได้ป้องกัน อันเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Behavior) ของคนไทยและนำมาซึ่งความสูญเสียมากมาย

         พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยเกิดจากการขาดจิตสำนึกความปลอดภัยของคนไทย มีให้เห็นกันมากมายในทุกวงการ ทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นบนถนนหนทางที่พบว่าพฤติกรรมอันเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากมายเช่นขับรถฝ่าไฟแดง ขับรถย้อนศร ไม่สวมหมวกกันน็อค(มีหมวกกันน็อคตาเอาวางไว้ในตระกร้าหน้ารถ ถ้ามีตำรวจจึงจะใส่) ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ขับรถซิ่ง หรือในการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ที่ปล่อยเดินไปทั่วเต็มถนนหนทางจนเกิดอุบัติเหตุรถ การใช้ของมีคมอย่างไม่ระวัง ไม่มีเครื่องป้องกัน การใช้ยากำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ระวังทั้งตัวผู้ใช้ ผลผลิตที่นำมาขาย การปล่อยให้สารเคมีไหลลงสู่แหล่งน้ำกินน้ำใช้ หรือในโรงเรียนที่มีข่าวการเสียชีวิตของนักเรียนจากของเด็กเล่น หรือในโรงพยาบาลที่มีไฟฟ้าช๊อตเด็กที่มากับผู้ป่วยจากการใช้เครื่องทำน้ำเย็น หรือการบาดเจ็บ/เจ็บป่วยในโรงงานต่างๆแต่ไม่ได้รับการแก้ไขเพราะเวลามาตรวจรักษาไม่ได้ระบุว่าเจ็บจากการทำงานทำให้บันทึกจำนวนการเกิดบาดเจ็บจากการทำงานน้อยลง การแก้ไขป้องกันจึงไม่ได้ตระหนักทำให้กองทุนทดแทนที่มีจำนวนมากไม่ได้ใช้ประโยชน์ทดแทนต่อลูกจ้างจริง เงินจึงเหลือจำนวนมาก หรือในงานแสดงรื่นเริงต่างๆที่มั้งคนเมาเหล้าทะเลาะยิงฟันกัน พลุ ประทัด ของเด็กเล่นที่เสี่ยงอันตราย รวมทั้งเกมส์โชว์ที่นำเสนอทางทีวีหลายรายการก็มีความเสี่ยงแฝงอยู่แต่เผอิญยังโชคดีไม่เกิดอันตรายขึ้น

         เพื่อลดการบาดเจ็บ การสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น คนไทยทุกคนจึงต้องหันมาใส่ใจกับการมีพฤติกรรมที่ปลอดภัยโดยการสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยขึ้น ทั้งนี้สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคล แต่เป็นจิตสาธารณะหรือสำนึกส่วนรวม(Public mind) ที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของทุกคนหรือประโยชน์ของสาธารณะ (Public Interest) ซึ่งสังคมไทยเป็นสังคมที่ขาดหรือมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมน้อย ทำให้เรามองประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม หลายเรื่องถือเป็นธุระไม่ใช่ แม้จะมีการรวมกลุ่มกันเพื่อประโยชน์บางอย่างก็เป็นประโยชน์ของกลุ่มตนมากกว่าประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ตามหลักประชาธิปไตยแบบไทยๆที่รวมกลุ่มกันเพื่อต่อรองผลประโยชน์ทั้งในพรรคการเมืองและในกลุ่มบุคคลต่างๆที่มีผลประโยชน์ของกลุ่มตนเป็นตัวตั้ง

        หากเราไม่ร่วมกันทำให้เรื่องจิตสำนึกความปลอดภัยและจิตสำนึกส่วนรวมให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ให้กลายเป็นเรื่องระดับชาติที่ต้องทำทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชนทุกคน การสูญเสียในสิ่งที่ไม่ควรสูญเสียก็จะยังคงเกิดขึ้นซ้ำซากพร้อมกับกระแสที่ฮือฮาชั่วครั้งชั่วคราวแต่ก็ไม่ได้เกิดระบบการป้องกันอย่างแท้จริง ผลประโยชน์โดยรวมของประเทศชาติก็จะสูญเสียไปด้วย

 เขียนเพื่อให้เกิดไอเดีย

       แต่ก่อนก็ไม่เข้าใจนะ ว่า เครื่องจักร ทำไมเปรียบเสมือนสัตว์ร้าย จนได้อ่านข่าว จระเข้ที่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ กัดคนโชว์กิจกรรม ก็เลย เกิดไอเดีย ที่เราจะไปถ่ายทอดให้กับเพื่อนพนักงานได้
    เออ เฮ้ย พนักงาน มันสนใจ ตื่นอกตื่นใจ จริงๆ กับเหตุการณ์ จระเข้ งับ บริเวณใบหูและใบหน้าผู้โชว์ เย็บไป ประมาณ 23 เจ็บ เพราะเราไม่เอาใจใส่ดูแลจระเข้มัน พอจะแสดงก็ไปลากมันมาเล่น ไม่ค่อยให้อาหารการกินมัน
ผิดกับพวกปลาโลมา มันเชื่อง มันฟัง เพราะมันได้รับการดูแลเอาใจใส่ เล่นดีก็ให้ปลาทาน มันก็เชื่่อฟัง เพราะได้รางวัลปลอบใจมัน  เครื่องจักรเหมือนกัน ถ้าเรามั่นดูแลเอาใจใส่ ตรวจเช็ค ทำความสะอาด บำรุงรักษา มี ใบตารางตรวจเช็ค ก็จะพบข้อบ่กพร่องชำรุดเสียหาย เราก็แก้ไขให้ดี มีความปลอดภัย แต่ถ้าไม่ดูแลเอาใจใส่ มันก็พร้อมทำร้ายเรา จนเกิดอุบัติ้เหตุได้ทันที่ จึงเปรียบเสมือน สัตว์ร้าย ด้วยปานละเช่นนี้เอย...


    เหตุการณ์แบบนี้ ถ้าเป็นข่าวปัจจุบัน ข่าวดัง ข่าวแรง เราก็ควรนำมาเป็นเครสตัวอย่างในการอบรมได้เลยครับ ขอให้เรา ทันข่าว ทันเหตุการณ์ ใครๆ ก็สนใจฟัง ยิ่งข่าวที่ใก้ลตัว มีผลกระทบกับคนที่เขารัก ยิ่งสนใจเป็นพิเศษ เช่น ลืมเด็กในรถ  พาลูกไปว่ายน้ำ เผลอแป๊บเดียว ลูกจมน้ำเสียชีวิต เด็กตกรู  เด็กศรีษะติดช่องบันไดเลื่อน ผู้หญิงถอดรองเท้า พอเหยียบไม่อยู่ติดกับเบรค  ข่าวพวกนี้ เราเอามาเป็นสื่อ ประชาสัมพันนธ์ในด้านความปลอดภัย เป็นอุธาหรณ์เตือนใจ ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา

 

 

 

Visitors: 585,762