การควบคุมและความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย

9 ประเภทของสารเคมีอันตราย

9 ประเภทของสารเคมีอันตราย

 

 
สารเคมี คือ ธาตุหรือสารประกอบที่รวมกันด้วยพันธะทางเคมีซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สังเคราะห์ขึ้น โดยองค์ประกอบที่เล็กที่สุดของสสารก็คือสารเคมี
 

 
สารเคมีอันตราย หมายถึง ธาตุ หรือสาร ประกอบ ที่มีคุณสมบัติเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งผลกระทบอย่างฉับพลันหรือเรื้อรัง มักรวมถึงสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (carcinogen) สารพิษ สารพิษที่ก่อให้เกิดผลต่อระบบสืบพันธุ์ (reproductive toxins) สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง (irritants)  สารที่ส่งผลต่อระบบเลือด ระบบประสาท และทำให้ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เป็นต้น
 

 

ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ได้ ให้ความหมายของ สารเคมีอันตราย ว่าหมายถึง สาร สารประกอบ สารผสม ซึ่งอยู่ในรูปของของแข็ง ของเหลวและแก๊ส ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง



 

สารเคมีอันตราย สามารถจำแนกได้ 9 ประเภท ดังนี้
 
ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด
ประเภทที่ 2 ก๊าซ
ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ
ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ
ประเภทที่ 5 วัตถุออกซิไดส์และออร์แกนิกเปอร์ออกไซค์
ประเภทที่ 6 วัตถุมีพิษและวัตถุติดเชื้อ
ประเภทที่ 7 วัตถุกัมมันตรังสี
ประเภทที่ 8 วัตถุกัดกร่อน
ประเภทที่ 9 วัตถุอื่นๆ ที่เป็นอันตราย



การจัดหมวดหมู่ของสารเคมีอันตราย

ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด Explosives

ของแข็งหรือของเหลว หรือสารผสมที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวมันเอง ทำให้เกิดแก๊สที่มีความดัน และความร้อนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายแก่บริเวณโดยรอบได้ ซึ่งรวมถึงสารที่ใช้ทำดอกไม้เพลิงและสิ่งของที่ระเบิดได้ด้วย แบ่งเป็น 6 กลุ่มย่อย ได้แก่

1.1 สารหรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรงทันทีทันใดทั้งหมด (Mass Explosive) เช่น เชื้อปะทุ ลูกระเบิด เป็นต้น

1.2 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใด ทั้งหมด เช่น กระสุนปืน ทุ่นระเบิด ชนวนปะทุ เป็นต้น

1.3 สารหรือสิ่งของที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และอาจมีอันตรายบ้าง จากการระเบิด หรือการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด เช่น กระสุนเพลิง เป็นต้น

1.4 สารหรือสิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัด หากเกิดการปะทุหรือปะทุในระหว่างการขนส่ง จะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจุ เช่น พลุอากาศ เป็นต้น

1.5 สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่หากมีการระเบิดจะมีอันตรายจากการระเบิดทั้งหมด

1.6 สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมากและไม่ระเบิดทันทีทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการระเบิดอยู่ในวงจำกัด เฉพาะในตัวสิ่งของนั้นๆ ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการปะทุหรือแผ่กระจาย


ประเภทที่ 2 ก๊าซ Gases

สารที่อุณหภูมิ 50°C มีความดันไอมากกว่า 300 kP หรือมีสภาพเป็นแก๊สอย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 20°C และมีความดัน 101.3 kP ได้แก่ แก๊สอัด แก๊สพิษ แก๊สในสภาพของเหลว แก๊สในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ และรวมถึงแก๊สที่ละลายในสารละลายภายใต้ความดัน เมื่อเกิดการรั่ว ไหลสามารถก่อให้เกิดอันตรายจากการลุกติดไฟและ/หรือเป็นพิษและแทนที่ออกซิเจนในอากาศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้

2.1 แก๊สไวไฟ (Flammable Gases) หมายถึง แก๊สที่อุณหภูมิ 20°C  และมีความดัน 101.3 kP สามารถติดไฟได้เมื่อผสมกับ อากาศ 13% หรือต่ำกว่าโดยปริมาตร หรือมีช่วงกว้างที่สามารถติดไฟได้ 12% ขึ้นไป เมื่อผสมกับอากาศโดยไม่คำนึงถึง ความเข้มข้นต่ำสุดของการผสม โดยปกติแก๊สไวไฟ หนักกว่าอากาศ ตัวอย่างของแก๊สกลุ่มนี้ เช่น อะเซทิลีน ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจี เป็นต้น

2.2 แก๊สไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (Non-flammable Non-toxic Gases) หมายถึง แก๊สที่มีความดันไม่น้อยกว่า 280 กิโลปาสคาล ที่อุณหภูมิ 20°C หรืออยู่ ในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่เป็นก๊าซหนักกว่าอากาศ ไม่ติดไฟและ ไม่เป็นพิษหรือแทนที่ออกซิเจนในอากาศและทำให้เกิด สภาวะขาดแคลน ออกซิเจนได้ ตัวอย่างของแก๊สกลุ่มนี้ เช่น ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน เป็นต้น

2.3 แก๊สพิษ (Poison Gases) หมายถึง แก๊สที่มีคุณสมบัติเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือถึงแก่ชีวิตได้จาก การหายใจ โดยส่วนใหญ่หนักกว่าอากาศ มีกลิ่นระคายเคือง ตัวอย่างของแก๊สในกลุ่มนี้ เช่น คลอรีน เมทิลโบรไมด์ เป็นต้น



ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ Flammable Liquids

ของเหลวหรือของเหลวผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash Point) ไม่เกิน 60.5°C  จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด หรือไม่เกิน 65.6°C จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด ไอของเหลวไวไฟพร้อมลุกติดไฟเมื่อมีแหล่งประกายไฟ เช่น แอซีโตน น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ เป็นต้น


ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ Flammable solid

สารที่ลุกไหใ้ได้เองและสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วให้แก๊สไวไฟ

4.1 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) หมายถึง ของแข็งที่สามารถติดไฟได้ง่ายจากการได้รับความร้อน จากประกายไฟ/เปลวไฟ หรือเกิดการลุกไหม้ได้จากการเสียดสี เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไนโตรเซลลูโลส เป็นต้น หรือเป็นสารที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนที่รุนแรง เช่น เกลือไดอะโซเนียม หรือเป็นสารระเบิดที่ถูกลดความไวต่อการเกิดระเบิด เช่น แอมโมเนียมพิเครต (เปียก) ไดไนโตรฟีนอล (เปียก) เป็นต้น

4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous Combustion) หมายถึง สารที่มีแนวโน้มจะเกิดความร้อนขึ้นได้เองในสภาวะการขนส่งตามปกติ หรือเกิดความร้อนสูงขึ้นได้เมื่อ สัมผัสกับอากาศและ มีแนวโน้มจะลุกไหม้ได้

4.3 สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact with Water Emit Flammable Gases) หมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้ว มีแนวโน้มที่จะเกิดการติดไฟได้เองหรือทำให้เกิด แก๊สไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตราย

ประเภทที่ 5 วัตถุออกซิไดส์และออร์แกนิกเปอร์ออกไซด์ Oxidizing and Organic peroxide

5.1 สารออกซิไดส์ (Oxidizing) หมายถึง ของแข็ง ของเหลวที่ตัวของสารเองไม่ติดไฟ แต่ให้ออกซิเจนซึ่งช่วยให้วัตถุอื่นเกิดการลุกไหม้และอาจจะก่อให้เกิดไฟ เมื่อสัมผัสกับสารที่ลุกไหม้และ เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง เช่น แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ โซเดียมเปอร์ออกไซด์ โซเดียมคลอเรต เป็นต้น

5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่มีโครงสร้าง ออกซิเจนสองอะตอม -O-O- และช่วยในการเผาสารที่ลุกไหม้ หรือทำปฏิกิริยากับสารอื่นแล้วก่อให้เกิดอันตรายได้ หรือเมื่อได้รับความร้อนหรือลุกไหม้แล้วภาชนะบรรจุสารนี้อาจระเบิดได้ เช่น แอซีโตนเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น

 

ประเภทที่ 6 วัตถุมีพิษและวัตถุติดเชื้อ Toxic

6.1 สารพิษ (Toxic Substances) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่สามารถทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ รุนแรงต่อสุขภาพของคน หากกลืน สูดดมหรือหายใจรับสารนี้เข้าไป หรือเมื่อสารนี้ได้รับความร้อนหรือลุกไหม้จะ ปล่อยแก๊สพิษ เช่น โซเดียมไซยาไนด์ กลุ่มสารกำจัดแมลงศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น

6.2 สารติดเชื้อ (Infectious Substances) หมายถึง สารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนหรือสารที่มีตัวอย่าง การตรวจสอบของพยาธิ สภาพปนเปื้อนที่เป็นสาเหตุของ การเกิดโรคในสัตว์และคน เช่น แบคทีเรียเพาะเชื้อ เป็นต้น

ประเภทที่ 7 วัตถุกัมมันตรังสี Radioactivity
วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม เช่น โมนาไซด์ ยูเรเนียม โคบอลต์-60 เป็นต้น


ประเภทที่ 8 วัตถุกัดกร่อน Corrosion
ของแข็งหรือของเหลวซึ่งโดย ปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหาย ต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรงหรือ ทำลายสินค้า/ยานพาหนะที่ทำการขนส่ง เมื่อเกิดการรั่วไหลของสารไอระเหยของ สารประเภทนี้ บางชนิดก่อให้เกิดการ ระคายเคืองต่อจมูกและตา เช่น HCl, H2SO4, NaOH เป็นต้น


ประเภทที่ 9 วัตถุอื่นๆ ที่เป็นอันตราย Miscellaneous Dangerous Substances and Articles
สารหรือสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสารอันตรายซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึง 8 เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต เป็นต้น และให้รวมถึงสารที่ต้องควบคุมให้มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100°C ในสภาพของเหลวหรือมีอุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 240°C  ในสภาพของแข็งในระหว่างการขนส่ง

ในปัจจุบัน องค์การสหประชาชาติได้จัดระบบสากลเพื่อจำแนกความเป็นอันตราย และการติดฉลากสารเคมีเพื่อให้เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก ซึ่งระบบนี้เรียกว่า ระบบ GHS (Globally Harmonized System for Classification and Labelling of Chemicals)

 

องค์ประกอบของความพิษที่เกิดจากสารเคมีขึ้นอยู่กับ
 
      • ความไวรับของแต่ละบุคคล
      • อายุ
      • ภาวะโภชนาการ
      • ระยะเวลาของการเกี่ยวข้องสัมผัส
      • ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เช่น การสัมผัสกับความร้อนจะเสริมให้เกิดอันตรายมากยิ่งขึ้น
 
ซึ่งความอันตรายของสารเคมีสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
 
      1. ความอันตรายทางกายภาพ เช่น การระเบิด การติดไฟ เป็นต้น
      2. ความอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การระคายเคือง แสบ คัน ก่อโรคต่างๆ เป็นต้น
      3. ความอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ทำลายระบบนิเวศน์ สะสมในสิ่งมีชีวิต เป็นต้น
 
 
ในส่วนของความเป็นพิษของสารเคมี แบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
 
      • สารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง คัน แสบ ร้อน พุพอง เช่น กรด ต่างๆ ก๊าซคลอรีน แอมโมเนีย ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
      • สารที่ทำให้หมดสติได้ สารเคมีนี้ไปแทนที่ออกซิเจน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ไซยาไนด์
      • สารเสพติด เป็นสารที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาท เช่น สารที่ระเหยได้ง่าย ได้แก่ แอลกอฮอล์ เบนซินอะซิโตน อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม ทำให้ปวดศีรษะ เวียน มึนงง
      • สารที่เป็นอันตรายต่อระบบการสร้างโลหิต เช่น ตะกั่วจะไปกดไขกระดูก ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติเกิดโลหิตจาง
      • สารที่เป็นอันตรายต่อกระดูก ทำให้กระดูกเสียรูปร่าง หรือทำให้กระดูกเปราะ เช่น ฟอสฟอรัส แคลเซียม
      • สารที่ทำอันตรายต่อระบบการหายใจ เช่น ปอด ทำให้เกิดเยื่อพังผืด ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับออกซิเจนได ความจุอากาศในปอดจะน้อยลงทำให้หอบง่าย เช่น ฝุ่นทราย ฝุ่นถ่านหิน
      • สารก่อกลายพันธ์ ทำอันตรายต่อโครโมโซม ซึ่งความผิดปกติจะปรากฏให้เห็นในลูกหรือหลาน เช่น สารกัมมันตภาพรังสี สารฆ่าแมลง โลหะบางชนิด ยาบางชนิด
      • สารก่อมะเร็ง ทำให้สร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ มากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดเนื้องอกชนิดที่ไม่จำเป็น เช่น สารกัมมันตภาพรังสี สารหนู แอสแบสตอสนิเกิ้ล เวนิลคลอไรด์ เบนซิน
      • สารเคมีที่ทำให้ทารกเกิดความพิการ คลอดออกมามีอวัยวะไม่ครบ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ แขนด้วน ขาด้วน ตัวอย่างของสารในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยาธาลิโดไมด์ สารตัวทำละลายบางชนิด ยาปราบศัตรูพืชบางชนิด

 

ลักษณะความเป็นพิษของสารเคมี
 
แบบเฉียบพลัน : เป็นการสัมผัสที่เกิดขึ้นครั้งเดียวในระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น เช่น หนึ่งนาทีถึงสองสามวัน อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ เกิดผลผื่นคันระคายเคือง ผิวหนังไหม้ อักเสบ ขาดอากาศ หน้ามืด วิงเวียน

แบบเรื้อรัง : เป็นการสัมผัสสารที่ระดับค่อนข้างต่ำในระยะเวลานานตั้งแต่เป็นเดือนถึงเป็นปี อาการที่เกิดขึ้นได้แก่ การเกิดความพิการในทารก (Teratogenic) การเกิดความผิดปกติทางสายพันธ์ในตัวอ่อน หรือการผ่าเหล่า (Uutagenic) การผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น การเปลี่ยนแปลงของ DNA การเกิดมะเร็ง (Carcinogenic)



สามารถติดต่อพวกเราได้ที่

Tel : 064 296 6593

Line : https://lin.ee/M7mVBAf

Shopee : https://shopee.co.th/eos_scientific

e-Mail :eosscientificsshop.e@gmail.com



ขอบคุณที่มา :

https://www.skilltech.co.th/2019/08/07/chemical_danger/
https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=5556
https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/1758
https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=5915

สวัสดีครับ
ผมขออนุญาต นำความรู้จากที่ได้อ่านพบจาก NPC มาแชร์เผยแพร่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การควบคุม และป้องกันอันตรายจากสารเคมี
จากความพยายามในการพัฒนาประเทศของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายรวมทั้งประเทศไทยให้ทัดเทียมประเทศอุตสาหกรรม ทำให้มีการผลิตและนำเข้าสารเคมีสำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าต่างๆ ทางอุตสาหกรรม ทั้งเพื่อการใช้ภายในประเทศและเพื่อการส่งออก ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพสำหรับผู้ทำงานเกี่ยวข้อง เช่น การเกิดโรคพิษตะกั่วในคนงานหลอมตะกั่ว การเกิดโรคซิลิโคลิสในคนงานขัดพ่นด้วยทราย และโรคจากพิษสารทำละลายต่างๆที่มีการใช้อย่างแพ่รหลาย ในอุตสาหกรรมต่างๆเป็นต้น


ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากสารเคมีนับวันจะเพิ่มมากขึ้น การสัมผัสเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง สถานประกอบกิจการจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมี

 

ในการควบคุม และป้องกันอันตรายจากสารเคมี สถานประกอบกิจการต่างๆ จะมีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปขึ้นกับปัจจัย เช่น ขนาดองค์กร การจัดโครงสร้างการจัดการ และความรู้เป็นต้น แต่โดยหลักการใหญ่ๆ แล้วจะพิจารณาใน 3 ส่วนคือ


1. แหล่งกำเนิดสารเคมีอันตราย
2. ทางผ่านของสารเคมีอันตราย
3. ผู้รับสัมผัสจากสารเคมีอันตราย

 

โดยการควบคุม และป้องกันที่ดีที่สุด คือ การควบคุมและป้องกันจากแหล่งกำเนิด เนื่องจากเป็นการจัดการปัญหาที่ต้นเหตุ ในหลักการต่างๆ จะประกอบด้วยวิธีต่างๆ มากมายอาจสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้

สำหรับแนวทางการจัดการนั้น ได้มีการเสนอวิธีการควบคุมและป้องกันอันตรายจากสารเคมี ในลักษณะของกระบวนการประกอบด้วย ขั้นตอนต่างๆดังนี้


1. การตระหนัก และการประเมินถึงอันตรายจากสารเคมี
เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญมาก ผู้ดำเนินการควบคุมและป้องกันอันตรายจากสารเคมี จะต้อง ความรู้หลายๆส่วน เช่น รู้ว่าสารเคมีนั้นคืออะไร ชื่อสามัญและชื่อทางเคมี ความเข้มข้น คุณสมบัติทางแคมี และทางกายภาพ มีกระบวนการทำงานและใช้สารเคมีในขั้นตอนใด กระบวนการผลิตปิดมิดชิดหรือไม่ ผู้ทำงานมีโอกาสสัมผัสกับสารพิษหรือไม่ มีการควบคุมสารพิษทางด้านวิศวกรรมอย่างไร และของเสียจากกระบวนการผลิตกำจัดอย่างไร เป็นต้น สรุปได้ว่าจะต้องมีความรู้ใน 3 ส่วน คือ


1. ตัวสารเคมีที่เป็นต้นเหตุ
2. ตัวผู้รับสัมผัส หรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องโดยตรง
3. กระบวนการผลิต ซึ่งมีการใช้สารเคมีนั้นๆ

 

ความรู้ต่างๆ อาจได้มาจากการสอบถามฝ่ายผลิต ผู้จัดการโรงงาน นักวิชาการค้นคว้าจากเอกสารทางวิชาการ ข้อมูลที่ได้นำมาใช้พิจารณาประกอบกับการประเมินอันตรายจากสารเคมี โดยมีวิธีการประเมิน 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย


ขั้นตอนที่1 วิธีการเดินสำรวจ (walk through survey) อาจมีการใช้เครื่องมืออย่างง่ายที่สามารถอ่านค่าโดยตรงร่วมด้วย ข้อมูลจากขั้นตอนนี้ จะนำมาใช้ในการวางแผนการเก็บตัวอย่าง


ขั้นตอนที่2 การสำรวจอย่างละเอียด มีการเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์หาชนิด และปริมาณเปรียบเทียบกับมาตรฐาน ผลจากการประเมิน ทำให้ทราบว่าลักษณะงานนั้นๆเป็นอย่างไร มีสารเคมีปนเปื้อนในอากาศหรือไม่ ผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเพียงใด และจะแก้ไขอย่างไร


2. การจัดลำดับความเป็นอันตรายของสารเคมี
ผลจากการประเมินจะนำมาใช้ในการจัดลำดับความสำคัญของอันตราย เพื่อพิจารณาว่าปัญหาใดมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่จะต้องดำเนินการแก้ไข ในการจัดลำดับความสำคัญอาจพิจารณาถึงปัจจัย ในเรื่องความรุนแรงของอันตราย และความเป็นไปได้ของการแก้ไข


3. การเตรียมข้อมูล เพื่อการตัดสินใจสั่งการของผู้บริหาร
เมื่อได้ลำดับความสำคัญแล้ว จึงนำเสนอผู้บริหาร หรือผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจสั่งการ โดยจัดทำเป็นรายงานสรุป แสดงถึงปัญหาที่พบ สถานที่ที่พบปัญหา ขนาดปัญหาเมื่อเทียบกับมาตรฐาน ลำดับความสำคัญของปัญหาแนวทางแก้ไข ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแก้ไขปัญหา และผู้รับผิดชอบ เป็นต้น

4. การดำเนินมาตรการในการควบคุมและป้องกัน
เมื่อผู้บริหารอนุมัติให้ดำเนินการแล้ว จึงดำเนินการแก้ไข โดยการควบคุมปัญหา และป้องกันมิให้เกิดปัญหาในอนาคต ในการควบคุมและป้องกันอันตรายจากสารเคมี เราไม่อาจเลือกใช้วิธีการใดๆ เพียงวิธีเดียว จำเป็นต้องนำวิธีการต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


5. การประเมินผลการควบคุม และป้องกัน
เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยดำเนินการประเมินตามตัวชี้วัดในระดับผลลัพธ์ หรือวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือแผนงานที่กำหนดไว้ เช่น กำหนดว่าจะลดความเข้มข้นของสารพิษในอากาศให้ต่ำกว่ามาตรฐาน ผลจากการดำเนินการแก้ไขแล้ว ความเข้มข้นของสารพิษอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐานหรือไม่เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถประเมินผลโครงการตามตัวชี้วัด ในระดับผลผลิต เพื่อดูประสิทธิภาพของโครงการ หรือแผนงาน เช่น การใช้งบประมาณ เวลา และทรัพยากรอื่นๆ เป็นต้น การควบคุม และป้องกันอันตรายจากสารเคมีนั้น นอกจากจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มากมาย ทั้งสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต และตัวผู้รับสัมผัสแล้ว ยังต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น วิศวกร นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม แพทย์และพยาบาล ตลอดถึงความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมือของคนงานที่รับสัมผัสสารเคมี
ดังนั้น การคิดพิจารณาอย่างเป็นระบบด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และไม่ประมาท จะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จในการควบคุม และป้องกันอันตรายจากสารเคมีในสถานประกอบกิจการได้


*** เอกสารอ้างอิง
• เอกสารการสอนชุดวิชา สุขศาสตร์อุตสาหกรรมพื้นฐาน หน่วยที่13 “การควบคุมและป้องกันอันตรายจากสารเคมี” สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
• ฝ่ายวิชาการ ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานพื้นที่1 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ

ที่มา : she.cpportal.net 24พ.ย.2553

สัญลักษณ์แสดงอันตราย (Hazard pictogram)

ระบบสัญลักษณ์แสดงอันตราย  (Hazard pictogram) ที่รู้จักและนิยมใช้มีหลายระบบ เช่น ระบบ UN, ระบบ NFPA, ระบบ EEC และ ระบบ GHS

hazard pictogram by Woravith

ระบบ EEC

ตามข้อกำหนดของประชาคมยุโรป ที่ 67/548/EEC สัญลักษณ์แสดงอันตราย (hazard pictogram) จะแบ่งออกตามประเภทของอันตราย โดยใช้รูปภาพสีดำเป็นสัญลักษณ์แสดงอันตรายบนพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีส้ม และมีอักษรย่อกำกับที่มุมขวา

EEC-Hazard Pictogram

 

สัญลักษณ์ ข้อควรระวัง
วัตถุระเบิดได้ (E: Explosive) สารเคมีที่เกิดปฏิกิริยาแล้วให้ความร้อนและแก๊สอย่างรวดเร็ว หรือ เมื่อได้รับความร้อนในสภาวะจำกัดจะเกิดการระเบิด หรือ เผาไหม้อย่างรุนแรง
หลีกเลี่ยงการกระแทกเสียดสี แหล่งกำเนิดประกายไฟ และความร้อน
วัตถุไวไฟสูงมาก (F+: Extremely Flammable) ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 0°Cและจุดเดือดไม่เกิน 35°C แก๊ส และแก๊สผสมซึ่งไวไฟในอากาศที่อุณหภูมิและความดันปกติ ควรเก็บให้ห่างจากแหล่งที่มีเปลวไฟ, ประกายไฟ และความร้อน
วัตถุไวไฟมาก (F: Highly Flammable) ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 0°Cและจุดเดือดไม่เกิน 35°C แก๊ส และแก๊สผสมซึ่งไวไฟในอากาศที่อุณหภูมิและความดันปกติ ควรเก็บให้ห่างจากแหล่งที่มีเปลวไฟ, ประกายไฟ และความร้อน
สารออกซิไดส์ (O: Oxidizing) สารเคมีซึ่งโดยปกติไม่ลุกไหม้เอง แต่เมื่อสัมผัสกับสารซึ่งลุกไหม้ได้สามารถให้ออกซิเจน แล้วเร่งการลุกไหม้ได้ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่ไวไฟ ระวังอันตรายจากการจุดติดไฟ เมื่อเกิดไฟไหม้สารนี้จะเร่งไฟไหม้มากขึ้น และทำให้การดับไฟยากขึ้น
สารพิษ (T+/T: Toxic) การสูดดม กลืนกิน หรือดูดซึมผ่านผิวหนังแม้เพียงปริมาณเล็กน้อยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรืออาจถึงตายได้ ในกรณีที่ได้รับสารเข้าไปในปริมาณมากหรือสะสมต่อเนื่องเป็นเวลานานจะปรากฏอาการรุนแรง และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างถาวร โดยเฉพาะผลการก่อมะเร็ง การทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ และก่อการกลายพันธุ์ ควรหลีกเลี่ยงการการสัมผัสกับร่างกายทุกรูปแบบ ถ้ารู้สึกไม่สบายให้ปรึกษาแพทย์ทันที ระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับสารก่อมะเร็ง สารที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือสารก่อการกลายพันธุ์ เมื่อจำเป็นต้องใช้ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะของแต่ละสาร
สารอันตราย (Xn : Harmful) การสูดดม การกลืนกิน หรือซึมผ่านผิวหนังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง อาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพ ถ้าใช้อย่างไม่เหมาะสม โดยเฉพาะสารซึ่งน่าสงสัยว่าจะเป็นสารก่อมะเร็ง สารก่อการกลายพันธุ์ และสารที่มีพิษต่อระบบสืบพันธุ์ การสูดดมอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับร่างกายทุกรูปแบบ ให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ สำหรับสารก่อมะเร็ง สารก่อการกลายพันธุ์ สารที่มีพิษต่อระบบสืบพันธุ์
สารกัดกร่อน (C : Corrosive) สารซึ่งโดยปฏิกิริยาเคมีจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตและกัดกร่อนอุปกรณ์ปฏิบัติการ ป้องกันไม่ให้สารกัดกร่อนเข้าตา สัมผัสผิวหนังและเสื้อผ้าเป็นพิเศษ รวมทั้งอย่าสูดดมไอของสารกลุ่มนี้ ในกรณีอุบัติเหตุหรือเมื่อรู้สึกไม่สบาย ให้ปรึกษาแพทย์ทันที
สารระคายเคือง (Xi : Corrosive) แม้จะไม่ได้มีคุณสมบัติกัดกร่อน หากผิวหนังหรือเยื่อเมือกสัมผัสสารนี้ ซ้ำๆ กันหรือเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดอาการบวม หากสัมผัสกับผิวหนังอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดวงตา ผิวหนัง และการสูดดมไอของสาร
สารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (N : Dangerous for the environment) การปล่อยสู่สภาพแวดล้อม จะทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมทันที อย่าปล่อยสู่ระบบสุขาภิบาล ดิน หรือสิ่งแวดล้อม ให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของการกำจัดพิเศษเฉพาะแต่ละสาร

 

รหัสความเสี่ยง (Risk phase)

รหัสที่ใช้บ่งบอกลักษณะของความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดจากสารเคมี ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 59 แบบ โดยใช้อักษร R นำหน้า ตามด้วยตัวเลข 1 ถึง 59

  • รหัสเดี่ยว เช่น R20 เป็นสารที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดม
  • รหัสแบบผสม เช่น R 20/21 เป็นสารอันตรายที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดมและสัมผัสทางผิวหนัง
    R20/21/22  สารที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดมสัมผัสทางผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไปเป็นต้น  <More Detial>

รหัสความปลอดภัย (Safety phase)

รหัสที่แสดงคำแนะนำด้านความปลอดภัยจากสารเคมีต่าง ๆ ปัจจุบันมีอยู่ 60 แบบ โดยใช้อักษร S นำหน้าตามด้วยตัวเลข 1- 60

  • รหัสเดี่ยว เช่น S1 เป็นสารที่ต้องเก็บให้มิดชิด
  • แสดงรหัสผสม เช่น S1/2 เป็นสารที่ต้องเก็บให้มิดชิดและห่างจากเด็ก
    S3/9/14 เป็นสารที่ต้องเก็บไว้ในที่เย็น มีการระบายอากาศที่ดีและเก็บห่างจาก… (สารที่อยู่ใกล้กันไม่ได้ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตจะเป็นผู้ระบุไว้) <More Detial>

ระบบ UN

United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods จำแนกสารที่เป็นอันตรายและเป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิตได้ หรือก่อให้เกิดความเสียหาย ออกเป็น 9 ประเภท (UN-Class) ตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย

UN-Hazard Pictogram

 

ประเภท 1 : ระเบิดได้
Class 1 : Explosives
ของแข็งหรือของเหลว หรือสารผสมที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวมันเอง ทำให้เกิดแก๊สที่มีความดัน และความร้อนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายแก่บริเวณโดยรอบได้ ซึ่งรวมถึงสารที่ใช้ทำดอกไม้เพลิงและสิ่งของที่ระเบิดได้ด้วย แบ่งเป็น 6 กลุ่มย่อย ได้แก่

 

1.1 สารหรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรงทันทีทันใดทั้งหมด (Mass Explosive) เช่น เชื้อปะทุ ลูกระเบิด เป็นต้น
1.2 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใด ทั้งหมด เช่น กระสุนปืน ทุ่นระเบิด ชนวนปะทุ เป็นต้น
1.3 สารหรือสิ่งของที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และอาจมีอันตรายบ้าง จากการระเบิด หรือการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด เช่น กระสุนเพลิง เป็นต้น
1.4 สารหรือสิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัด หากเกิดการปะทุหรือปะทุในระหว่างการขนส่ง จะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจุ เช่น พลุอากาศ เป็นต้น
1.5 สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่หากมีการระเบิดจะมีอันตรายจากการระเบิดทั้งหมด
1.6 สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมากและไม่ระเบิดทันทีทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการระเบิดอยู่ในวงจำกัด เฉพาะในตัวสิ่งของนั้นๆ ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการปะทุหรือแผ่กระจาย
ประเภทที่ 2 : แก๊ส
Class 2 : Gases
สารที่อุณหภูมิ 50°C มีความดันไอมากกว่า 300 kP หรือมีสภาพเป็นแก๊สอย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 20°C และมีความดัน 101.3 kP ได้แก่ แก๊สอัด แก๊สพิษ แก๊สในสภาพของเหลว แก๊สในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ และรวมถึงแก๊สที่ละลายในสารละลายภายใต้ความดัน เมื่อเกิดการรั่ว ไหลสามารถก่อให้เกิดอันตรายจากการลุกติดไฟและ/หรือเป็นพิษและแทนที่ออกซิเจนในอากาศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้

2.1 แก๊สไวไฟ (Flammable Gases) หมายถึง แก๊สที่อุณหภูมิ 20°C  และมีความดัน 101.3 kP สามารถติดไฟได้เมื่อผสมกับ อากาศ 13% หรือต่ำกว่าโดยปริมาตร หรือมีช่วงกว้างที่สามารถติดไฟได้ 12% ขึ้นไป เมื่อผสมกับอากาศโดยไม่คำนึงถึง ความเข้มข้นต่ำสุดของการผสม โดยปกติแก๊สไวไฟ หนักกว่าอากาศ ตัวอย่างของแก๊สกลุ่มนี้ เช่น อะเซทิลีน ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจี เป็นต้น
2.2 แก๊สไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (Non-flammable Non-toxic Gases) หมายถึง แก๊สที่มีความดันไม่น้อยกว่า 280 กิโลปาสคาล ที่อุณหภูมิ 20°C หรืออยู่ ในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่เป็นก๊าซหนักกว่าอากาศ ไม่ติดไฟและ ไม่เป็นพิษหรือแทนที่ออกซิเจนในอากาศและทำให้เกิด สภาวะขาดแคลน ออกซิเจนได้ ตัวอย่างของแก๊สกลุ่มนี้ เช่น ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน เป็นต้น
2.3 แก๊สพิษ (Poison Gases) หมายถึง แก๊สที่มีคุณสมบัติเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือถึงแก่ชีวิตได้จาก การหายใจ โดยส่วนใหญ่หนักกว่าอากาศ มีกลิ่นระคายเคือง ตัวอย่างของแก๊สในกลุ่มนี้ เช่น คลอรีน เมทิลโบรไมด์ เป็นต้น

ประเภทที่ 3 : ของเหลวไวไฟ
Class 3 : Flammable Liquids
ของเหลวหรือของเหลวผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash Point) ไม่เกิน 60.5°C  จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด หรือไม่เกิน 65.6°C จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด ไอของเหลวไวไฟพร้อมลุกติดไฟเมื่อมีแหล่งประกายไฟ เช่น แอซีโตน น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ เป็นต้น
ประเภทที่ 4 : ของแข็งไวไฟ
Class 4 : Flammable solid
สารที่ลุกไหใ้ได้เองและสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วให้แก๊สไวไฟ
4.1 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) หมายถึง ของแข็งที่สามารถติดไฟได้ง่ายจากการได้รับความร้อน จากประกายไฟ/เปลวไฟ หรือเกิดการลุกไหม้ได้จากการเสียดสี เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไนโตรเซลลูโลส เป็นต้น หรือเป็นสารที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนที่รุนแรง เช่น เกลือไดอะโซเนียม หรือเป็นสารระเบิดที่ถูกลดความไวต่อการเกิดระเบิด เช่น แอมโมเนียมพิเครต (เปียก) ไดไนโตรฟีนอล (เปียก) เป็นต้น
4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous Combustion) หมายถึง สารที่มีแนวโน้มจะเกิดความร้อนขึ้นได้เองในสภาวะการขนส่งตามปกติ หรือเกิดความร้อนสูงขึ้นได้เมื่อ สัมผัสกับอากาศและ มีแนวโน้มจะลุกไหม้ได้
4.3 สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact with Water Emit Flammable Gases) หมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้ว มีแนวโน้มที่จะเกิดการติดไฟได้เองหรือทำให้เกิด แก๊สไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตราย
ประเภทที่ 5 :สารออกซิไดซ์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์
Class 5 : Oxidizing and Organic peroxide
5.1 สารออกซิไดส์ (Oxidizing) หมายถึง ของแข็ง ของเหลวที่ตัวของสารเองไม่ติดไฟ แต่ให้ออกซิเจนซึ่งช่วยให้วัตถุอื่นเกิดการลุกไหม้และอาจจะก่อให้เกิดไฟ เมื่อสัมผัสกับสารที่ลุกไหม้และ เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง เช่น แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ โซเดียมเปอร์ออกไซด์ โซเดียมคลอเรต เป็นต้น
5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่มีโครงสร้าง ออกซิเจนสองอะตอม -O-O- และช่วยในการเผาสารที่ลุกไหม้ หรือทำปฏิกิริยากับสารอื่นแล้วก่อให้เกิดอันตรายได้ หรือเมื่อได้รับความร้อนหรือลุกไหม้แล้วภาชนะบรรจุสารนี้อาจระเบิดได้ เช่น แอซีโตนเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น

ประเภทที่ 6 : สารพิษและสารติดเชื้อ
Class 6 : Toxic 

 

 6.1 สารพิษ (Toxic Substances) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่สามารถทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ รุนแรงต่อสุขภาพของคน หากกลืน สูดดมหรือหายใจรับสารนี้เข้าไป หรือเมื่อสารนี้ได้รับความร้อนหรือลุกไหม้จะ ปล่อยแก๊สพิษ เช่น โซเดียมไซยาไนด์ กลุ่มสารกำจัดแมลงศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น
6.2 สารติดเชื้อ (Infectious Substances) หมายถึง สารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนหรือสารที่มีตัวอย่าง การตรวจสอบของพยาธิ สภาพปนเปื้อนที่เป็นสาเหตุของ การเกิดโรคในสัตว์และคน เช่น แบคทีเรียเพาะเชื้อ เป็นต้น

ประเภทที่ 7 : วัสดุกัมมันตรังสี
Class 7 : Radioactivity

วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม เช่น โมนาไซด์ ยูเรเนียม โคบอลต์-60 เป็นต้น
ประเภทที่ 8 : สารกัดกร่อน
Class 8 : Corrosion
ของแข็งหรือของเหลวซึ่งโดย ปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหาย ต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรงหรือ ทำลายสินค้า/ยานพาหนะที่ทำการขนส่ง เมื่อเกิดการรั่วไหลของสารไอระเหยของ สารประเภทนี้ บางชนิดก่อให้เกิดการ ระคายเคืองต่อจมูกและตา เช่น HCl, H2SO4, NaOH เป็นต้น

ประเภทที่ 9 : วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด
Class 9 : Miscellaneous Dangerous Substances and Articles

สารหรือสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสารอันตรายซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึง 8 เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต เป็นต้น และให้รวมถึงสารที่ต้องควบคุมให้มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100°C ในสภาพของเหลวหรือมีอุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 240°C  ในสภาพของแข็งในระหว่างการขนส่

 

ระบบ NFPA

The National Fire Protection Association ของสหรัฐอเมริกา กำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตราย (hazard pictogram) เป็นรูปเพชร (Diamond-shape) เพื่อใช้ในการป้องกันและตอบโต้เหตุเพลิงไหม้ สัญลักษณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้นทแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อย ขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ 4 สี ได้แก่
  •  สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ (Flammability)
  •  สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health)
  •  สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกิริยาของสาร (Reactivity)
  •  สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลข 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย

NFPA-Hazard Pictogram

 

ระดับ พื้นที่สีแดง พื้นที่สีน้ำเงิน พื้นที่สีเหลือง พื้นที่สีขาว
  อันตรายจากไฟ (Flammability) อันตรายต่อสุขภาพ (Health) ความไวต่อปฏิกริยา (Reactivity) แสดงข้อควรระวังพิเศษ (Special notice)
4 สารไวไฟมาก ได้แก่ สารที่ระเหยเป็นไอได้รวดเร็วที่อุณหภูมิห้องที่ความดันบรรยากาศ เมื่อกระจายตัวผสมกับอากาศแล้วติดไฟได้ หรือของเหลวที่มีจุดวาบไฟ (Flash point) ต่ำกว่า 22.8oC จุดเดือดน้อยกว่า 37.8oC รวมทั้งสารที่ติดไฟได้เอง เมื่อสัมผัสกับอากาศ สารที่ได้รับเพียงเล็กน้อยจะทำให้ตายได้ หรือเป็นอันตรายรุนแรงได้รวมทั้งสารที่จะเป็นอันตรายอย่างมาก ถ้าใช้งานโดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกัน สารที่สามารถย่อยสลายตัวหรือระเบิดได้ด้วยตัวเองที่อุณหภูมิห้องและความดันปกติ รวมถึงสารที่ไวต่อความร้อน และแรงสั่นสะเทือน สารบางชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวที่ควรสนใจเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ คุณสมบัติของสารเหล่านี้จะแสดงด้วยอักษรย่อ หรือสัญลักษณ์ ดังนี้
OXY: เป็นสารออกซิไดส์ (สารเหล่านี้เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีจะให้ออกซิเจน หรืออิเล็กตรอน)
ACID : กรด
ALK : เบส
W: เป็นสารที่ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ
3 ของเหลวหรือของแข็งที่ติดไฟได้ในอากาศ ที่อุณหภูมิปกติ ได้แก่ สารที่มีจุดวาบไฟน้อยกว่า 22.8oC และมีจุดเดือดมากกว่า 37.8oC สารที่เมื่อสูดดมในเวลาสั้น ๆ หรือสัมผัสผิวหนัง ประมาณเล็กน้อยจะเป็นอันตรายร้ายแรงชั่วคราว หรือมีผลตกค้างได้ สารที่สลายหรือเกิดระเบิดได้ เมื่อได้รับความร้อนหรือแรงสันสะเทือนที่สูงพอ รวมถึงที่เกิดระเบิดได้เมื่อถูกน้ำ
2 สารที่ต้องใช้ความร้อนปานกลางก่อนจะติดไฟในอากาศ ถ้ามีปริมาณมากพออาจก่อให้เกิดบรรยากาศที่เป็นพิษได้ ได้แก่ของเหลวที่มีจุดวาบไฟ สูงกว่า 37.8oC แต่ไม่เกิน 93.4oC สารที่เมื่อได้รับในปริมาณที่มากพอจะทำให้เกิดทุพพลภาพชั่วคราว หรือถาวรได้ รวมถึงสารที่ต้องใช้เครื่องป้องกันอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ สารที่จะเกิดปฏิกิริยารุนแรงในอุณหภูมิและความดันปกติ รวมถึงสารที่เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ
1 สารประเภทที่ต้องให้ความร้อนสูงก่อนจะติดไฟและเผาไหม้ในอากาศได้ ได้แก่สารที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 93.4oC สารที่เมื่อได้รับในระยะเวลาสั้น ๆ จะเกิดการระคายเคืองได้ สารประเภทนี้ จะมีความคงตัวในสภาวะปกติ แต่ไม่มีความคงตัวเมื่ออุณหภูมิหรือความดันเพิ่ม รวมถึงสารที่สลายตัวเมื่อถูกอากาศ แสงสว่าง หรือความชื้น
0 วัตถุที่ไม่ติดไฟในอากาศ แม้ว่าจะให้ความร้อนสูงถึง 815.5oC นานถึง 5 นาที สารประเภทนี้ ไม่เป็นอันตราย นอกจากเวลาติดไฟ สารประเภทนี้มีความคงตัวสูง แม้ว่าจะได้รับความร้อนก็ตาม รวมถึงสารที่ไม่ทำปฏิกริยากับน้ำ

 

ระบบ GHS

ระบบ GHS (Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals)  คือระบบสากลการจัดกลุ่มความเป็นอันตรายและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก พัฒนาขึ้นโดยองคNการสหประชาชาติเพื่อให้ทั่วโลกมีการจัดกลุ่มความเป็นอันตรายของสารเคมีที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคํานึงถึงความเป็นอันตรายทางด้านกายภาพ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม พร้อมกําหนดมาตรฐานการสื่อสารความเป็นอันตรายในรูปของฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยในการทํางานกับสารเคมี รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย (hazard pictogram) มี 9 รูป

GHS-Hazard Pictogram

 

สัญลักษณ์  
GHS01 : Explosive
วัตถุระเบิด สารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตนเอง
สารเคมีที่เกิดปฏิกิริยาได้เอง (ชนิด A และ B) สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (ชนิด A  และ B)
GHS02 : Flammable
สารไวไฟ, สารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตนเอง, สารที่ลุกติดไฟได้เอง, สารที่เกิดความร้อนได้เอง
สารไวไฟ สารเคมีที่เกิดปฏิกิริยาได้เอง (ชนิด B, C และ D, E และ F) สารที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ  สารเคมีที่เกิดความร้อนได้เอง สารเคมีที่สัมผัสน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ
GHS03 : Oxidizing
สารออกซิไดส์, สารเปอร์ออกไซด์
สารออกซิไดส์ สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (ชนิด B, C และ D, E และ F)
GHS04 : Compressed Gas
ก๊าซบรรจุภายใต้ความดัน
 
GHS05 : Corrosive
สารกัดกร่อน, มีพิษต่อดวงตาและผิวหนัง
 
GHS06 : Toxic
สารที่มีพิษเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต
ความเป็นพิษเฉียบพลัน (รุนแรง)
GHS07 : Harmful
สารที่มีพิษเฉียบพลัน เป็นอันตราย ทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง มีผลต่อทางเดินหายใจ
สารระคายเคือง สารทำให้ไวต่ออาการแพ้ของระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง  ความเป็นพิษเฉียบพลัน (อันตราย)  ความเป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศโอโซน
GHS08 : Health Hazard
สารที่เป็นพิษต่อสุขภาพ, สารก่อมะเร็ง, เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์
สารก่อมะเร็ง สารทำให้ไวต่ออาการแพ้ของระบบทางเดินหายใจ สารที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ สารที่เป็นพิษต่อระบบเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง สารก่อกลายพันธุ์
GHS09 : Environmental Hazard
สารที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ

 

มาทำความรู้จักกับระบบ GHS กันเถอะ [บทความจาก อย.]

SiteOrigin Theme
Visitors: 590,901