บริษัท สึบาคิโมโตะ ออโต้โมทีฟ (ไทยแลนด์) จำกัด

สวัสดีครับ

        ต้องขอขอบคุณ คุณสุนีรัตน์ HRคนสวยและผู้บริหาร บริษัท สึบาคิโมโตะ ออโต้โมทีฟ (ไทยแลนด์) จำกัด นิคมอุตสาหกรรมอมตะ เพส 4 ชลบุรี ที่ให้โอกาสไปเผยแพร่กิจกรรม KYT การหยั่งรู้ระวังอันตราย …เมื่อ เดือน กันยายน 2557 ที่ผ่านมา

           การหยั่งรู้ระวังอันตราย    KYT เป็นเครื่องมือหรือเทคนิคในการวิเคราะห์ที่คิดค้นมาจากประเทศญี่ปุ่น และจัดได้ว่าเป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ความปลอดภัยสำหรับสถานประกอบการในประเทศไทย โดยคำว่า เควายที เป็นตัวย่อมาจากภาษาญี่ปุ่นซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้

             K (Kiken) หมายถึง อันตราย

              Y (Yoshi) หมายถึง การวิเคราะห์

              T (Trainning) หมายถึง การอบรม

 ซึ่งโดยภาพรวมแล้วการวิเคราะห์ความปลอดภัยแบบเควายทีจึงหมายถึง วิธีในการวิเคราะห์หรือคาดการณ์อันตรายที่สามารถจะเกิดขึ้นได้ในงานที่พนักงานต้องปฏิบัติและหาทางในการควบคุมอันตรายนั้นๆโดยมีวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้แก่พนักงาน

 รู้จักกับ KYT

รูปแบบของ KYT แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบดังนี้คือ เควายที 4 ขั้นตอน, เควายทีจุดเดียว และเควายทีปากเปล่า

 เควายที 4 ขั้นตอน (Round-KYT; 4R-KYT)

 รูปแบบของเควายทีแบบนี้จะเป็นการวิเคราะห์ความปลอดภัยทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ

 1R คือ เป็นการสำรวจหรือหาอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในการทำงานหนึ่งๆ

 2R คือ วิเคราะห์และจัดลำดับอันตรายแต่ละอย่างที่จะเกิดขึ้น

 3R คือ ควบคุมแก้ไขอันตรายที่จะเกิดขั้นนั้น หรือตั้งมาตรการขึ้นมาเพื่อควบคุมอันตรายนั้นๆ

 4R คือ เลือกมาตรการที่จะนำไปใช้จริงจากการวิเคราะห์ในขั้นที่ 3

 โดยทั่วไปเควายทีแบบนี้จะเหมาะกับการนำไปใช้ในงานที่มีความอันตรายสูง หรือเป็นงานที่มีความซับซ้อนและมีผู้ปฏิบัติงานหลายคน ซึ่งจะใช้เวลาในการวิเคราะห์ประมาณ 20 นาทีโดยใช้แบบฟอร์มเควายที 4 ขั้นตอนเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

 เควายทีจุดเดียว (One point-KYT)

 เควายทีจุดเดียวจะมีรูปแบบคล้ายกับเควายที 4 ขั้นตอน แต่จะลดวิธีการในแต่ละขั้นตอนจากเดิมให้เหลือครึ่งนึง ซึ่งการวิเคราะห์รูปแบบนี้จะเหมาะกับการนำไปใช้ในงานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน หรือมีอันตรายไม่มากนัก โดยใช้ระยะเวลาในการวิเคราะห์ประมาณ 10 นาที

 เควายทีปากเปล่า (Oral-KYT)

 การวิเคราะห์รูปแบบนี้จะมีขั้นตอนเหมือนกับวิธีทั้งสองรูปแบบข้างต้น แต่ต่างกันตรงที่จะไม่มีแบบฟอร์มในการวิเคราะห์ โดยผู้วิเคราะห์จะต้องพิจารณาจากลักษณะงานที่ทำหรือจินตนาการสภาพในการทำงานได้ว่ามีอันตรายใดบ้างที่อยู่ในงานที่ตนเองทำแล้วจึงคิดวิธีที่จะควบคุมอันตรายนั้นไม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 5 นาที โดยเควายทีรูปแบบนี้จะเหมาะกับงานที่มีอันตรายน้อย หรือมีความรุนแรงต่ำ

ประโยชน์ของเทคนิค KYT

 นอกจากลดอุบัติเหตุอันจะเกิดขึ้นจากการทำงานแล้ว เควายทียังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยแก่ตัวผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานพิจารณาถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นก่อนลงมือทำงานและสร้างนิสัยในการตรวจดูความเรียบร้อยและความพร้อมของเครื่องมือก่อนปฏิบัติงานและสามารถควบคุมอันตรายที่จะเกิดต่อตนเองได้ อันจะนำไปสู่การกระตุ้นเตือนสติผู้ปฏิบัติงานให้ทำงานด้วยความระมัดระวัง ซึ่งจะทำให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียลดลงได้

 เนื่องจากสาเหตุหลักๆของการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน คือ การกระทำที่ไม่ปลอดภัยอันเกิดมาจากตัวพนักงานเอง ดังนั้นการปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่การคำนึงถึงความปลอดภัยในสถานประกอบการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในการทำงานทุกอย่างควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรกอย่างคำกล่าวที่ว่า (safety First) อันจะเป็นการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น

  

    

    

    

    

   

Visitors: 569,255