แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่
Driving Safety
1. แนวคิด ( Safety Driving Concept)
การใช้งานรถบรรทุก รถตัก รถงา รถจักรกลหนักในงานเหมืองหรืองานขนส่งวัสดุอันตราย
ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากการเฉี่ยวชนหรือเกิดจากข้อเท้าพลิกเนื่องจากการขึ้นลงของผู้ขับขี่
อุบัติเหตุจากการเฉี่ยวชนของยานพาหนะหรือรถจักรกลหนักสร้า งความเสียหายอย่างมาก
ดังนั้นการรายงานและการวิเคราะห์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนก็จะสามารถลดความสูญเสีย
เหล่านี้ได้ นอกจากนี้การลดการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถสามารถทำได้จากการปรับปรุงการ
ฝึกอบรมผู้ขับขี่, การสร ้างความตระหนักถึงอันตรายให้เกิดขึ้นกับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับ
ยานพาหนะหรือจักรกลหนักเหล่านี้ รวมไปถึงการกำหนดเส้นทางการขับขี่และการข้ามของผู้ที่
สัญจรตามถนน นอกจากนี้การทดแทนด้วยยานพาหนะหรือรถจักรกลหนักรุ่นใหม่ๆ ซึ่งมัก
ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงทัศนวิสัยในการขับขี่มาแล้วจะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงได้

 

คุณสมบัติของผู้ขับขี่ที่ดี (The Good Driver)
คุณสมบัติที่ผู้ขับขี่ที่ดีต้องมี มีดังนี้
(1) ความเอาใจใส่ (Attention) : หมายถึงการขับขี่อย่างมีสติ รับรู้
สภาพการณ์ระหว่างขับขี่อย่างตื่นตัวอยู่เสมอ ว่ามีอะไรเกิดขึ้น ทั้งตนเอง
ผู้ขับขี่คนอื่น ๆ และ ผู้คนที่อยู่ในเส้นทาง
ความสำนึกรับผิดชอบ (Accoutability) : อย่าลืมว่าสิ่งที่ตามมาจากผล
ของการตัดสินใจขณะขับขี่เป็นสำนึกในความรับผิดชอบที่คุณต้องใส่ใจ
ดังนั้นการตัดสินใจที่ถูกต้องและทันเวลาขึ้นอยู่กับการควบคุมมือของคุณ
(2) สงบสติอารมณ์ (Keep calm) : ต้องใจเย็นและมีสติแม้ได้รับสิ่งยั่วยุ
อารมณ์และไม่ควรเก็บอารมณ์นั้นไปขณะที่ขับขี่
ข้อควรระวัง (Caution) : การตระหนักถึงความรู้สึกรักและหวงแหนชีวิต
ทั้งตนเองและคนอื่น ๆ นำมาซึ่งความระมัดระวังในการขับขี่ การให้ทางกับ
คนเดินถนน และ รถที่จอดเสียอยู่ข้างทาง
(3) ปฏิบัติตามป้ายจราจร (Obey road signs) : ต้องรับรู้และปฏิบัติตาม
ป้ายจราจรเสมอแม้จะไม่มียานพาหนะคันอื่น ๆ อยู่ในบริเวณใกล้ๆ
ต้องใช้งานและบำรุงรักษายานพาหนะอย่างถูกต้อง: การขัดข้อง
ต่าง ๆ ของกลไกการทำงานมักทำให้เสียเงินเและเวลา การบาดเจ็บที่
เกิดขึ้นในหลายกรณีมักเนื่องมาจากความขัดข้องของยา นพาหนะ บางครั้ง
ก็นำไปสู่การเสียชีวิต
2. การขับถอยหลังอย่างปลอดภัย (Safe reversing)
รถทุกประเภทที่ใช้งานในบริเวณเหมือง โรงงานหรือใช้บรรทุกขนส่งต้อง
มีการกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยของรถโดยเฉพาะระบบการถอยหลัง
(Reversing vehicles) โดยหลักการรถทุกคันเวลาถอยหลังจะต้องมีสัญญาณแสดง
การถอยหลัง ไม่ว่าจะเป็นระบบสัญญาณเสียง (Audible reverse warning system)
ซึ่งโดยปกติจะใช้เสียงสัญญาณ ปี๊ป ปี๊ป หรือระบบสัญญาณแสง (Visual reverse
Warning system) ซึ่งใช้แสงสีขาวแสดง
นอกจากนี้ในบางลักษณะงานอาจมีความจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ความ
ปลอดภัยเพิ่มเติมในกรณีที่ต้องการความปลอดภัยขณะที่ถอยหลัง เช่น กระจกส่อง
ด้านหลัง หรือ กล้องใช้ส่องด้านหลัง ซึ่งความจำเป็นต้องขึ้นกับการประเมินความเสี่ยงของการใช้
งานรถในแต่ละประเภทหรือสภาพพื้นที่ การดูและระบบสัญญาณถอยหลังควรมีการดูและ
บำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอและผู้ขับขี่ต้องตรวจสอบสภาพให้มีความพร้อมก่อนใช้งาน โดยเฉพาะ
เสียงสัญญาณควรตรวจสอบระดับเสียงว่ายังดังชัดเจนตามที่กำหนดไว้


3. การขับขี่ด้วยความระมัดระวังอยู่เสมอ (Always drive defensively)
ผู้ขับขี่บางคนคิดว่าการมีความรู้ความเข้าใจอย่างดีในการควบคุมบังคับยานพาหนะหรือรถ
จักรกลหนักก็เพียงพอที่จะเป็นผู้ขับขี่ที่ดี แต่ความจริงแล้วแค่นั้นยังไม่เพียงพอ ผู้ที่จะเป็นผู้ขับขี่ที่
ปลอดภัยจะต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ มีทัศนคติที่ดีในทุกๆเรื่องขณะที่ขับขี่ เช่นความผิดปกติ
ที่อาจขึ้นกับตนเอง, สภาพถนน, สภาพอากาศ, คนเดินถนน และผู้ขับขี่ยานพาหนะคันอื่น ๆ

4. การขับขี่เชิงป้องกัน (Defensive Driving)
กิจกรรมหลักที่สำคัญได้แก่การเสริมสร้างให้เกิดการขับขี่ในเชิงการป้องกันอุบัติเหตุ การ
บาดเจ็บหลายกรณีเกิดจากการคาดไม่ถึงว่าเหตุการจะเกิดขึ้น ซึ่งการเรียนรู้การขับขี่เชิงป้องกันจะ
ช่วยให้สามารถคาดคะเนถึงสถานะการณ์ของความผิดพลาดของผู้อื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ กฏของการ
ขับขี่เชิงป้องกัน ได้แก่


4.1 ตื่นตัวอยู่เสมอเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้ตื่นตกใจอย่างกระทันหัน
4.2 สายตาต้องจ้องมองทั้งในเส้นทางการขับขี่และริมทาง
4.3 ใช้กระจกมองสิ่งต่าง ๆ โดยรอบ
4.4 ลดความเร็วลงเมื่อทัศนวิสัยจำกัด
4.5 รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากยานพาหนะคันหน้าเสมอ
4.6 ใช้กฏ 3 – 4 วินาที ( 3-4 second rule) : เว้นระยะห่างจากรถคันหน้า
3 วินาทีในสภาวะปกติ และ 4 วินาทีเมื่อมีรถวิ่งสวนทาง
4.7 ขณะขับขี่ต้องควบคุมยานพาหนะอย่างเต็มความสามารถ
4.8 เมื่อจะหยุดหรือเลี้ยวต้องแสดงให้ผู้ขับขี่คันอื่นทราบล่วงหน้า
4.9 ต้องแสดงทิศทางที่เราจะไปให้คันอื่น ๆ ทราบตลอดเวลา
4.10 แม้ว่าเราจะขับอยู่ในช่องทาง ก็ต้องดูรถคันอื่นด้วย
4.11 อย่านึกว่าคันอื่น ๆ จะขับขี่อยู่ในช่องทางของตนเองเสมอไป
4.12 อย่ายั่วยุผู้ขับขี่คนอื่น ๆ โกรธ, ไม่ขับขี่ในลักษณะของการกลั่นแกล้งหรือแก้แค้น
4.13 คาดคะเนถึงปฏิกิริยาของคนเดินถนนและเตรียมป้องกันล่วงหน้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
บริเวณใกล้โรงเรียนหรือโรงพยาบาล

Visitors: 585,760