รถยกขนฝ้ายทับคนงานสาวเสียชีวิต

สาวโรงงานทอฝ้ายดวงกุด รถโฟล์คลิฟท์ทับดับสยอง


สาวโรงงานทอฝ้ายดวงกุด รถโฟล์คลิฟท์ทับดับสยอง

หนุ่มขับรถโฟล์คลิฟท์ยกกระสอบฝ้ายสูง 3 ชั้น มองไม่เห็นสาวใหญ่พนักงานเดินมา ชนล้มแล้วเหยียบหัวซ้ำดับอนาถ ขณะที่ตำรวจคุมตัวสอบละเอียดพร้อมดำเนินคดี

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 7 พ.ย. ร.ต.อ.ดํารงค์ เเสงเงิน รองสว.(สอบสวน) สภ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับแจ้งมีเหตุรถโฟล์คลิฟท์ทับคนเสียชีวิต ภายในบริษัททอฝ้ายแห่งหนึ่งใน ต.พุทเลา อ.บางปะหัน จึงรุดไปตรวจสอบพร้อมด้วยหน่วยกู้ภัยอยุธยา ที่เกิดเหตุพบรถโฟล์คลิฟท์สีเหลือง ด้านหน้าบรรทุกฝ้ายสูง 3 ชั้น ใกล้กันพบศพน.ส.วันดี บัวขำ อายุ 53 ปี พนักงานบริษัทดังกล่าว นอนเสียชีวิตท้ายรถ สภาพศพศีรษะเปิดมันสมองไหลออกมา แขนขาหัก

จากการสอบสวนนายขจร เกิดพร อายุ 34ปี คนขับโฟล์คลิฟท์ ทราบว่า ก่อนเกิดเหตุขณะที่กำลังขับรถโฟล์คลิฟท์ยกกระสอบฝ้ายจำนวนมากออกจากโกดัง เพื่อนำเข้าไปที่โรงผลิต ระหว่างทางมองไม่เห็นว่าผู้ตายได้เดินออกมาจากโกดังเนื่องจากบรรทุกฝ้ายมาด้วยความสูงจึงทำให้มองไม่เห็น ก่อนชนน.ส.วันดี อย่างแรงจนล้มลงแล้วถูกรถทับซ้ำอีกจนเสียชีวิต ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงควบคุมตัวนายขจรไปสอบสวนอย่างละเอียดและดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป.

 


ที่มา :.dailynews.co.th

 

กรมสวัสดิการและคุ้มค รองแรงงาน รวบรวมหลักฐานเตรียมดำเนินคดีกับนายจ้างสถานประกอบกิจการปั่นด้าย จังหวัดอยุธยา เหตุรถโฟล์คลิฟชนลูกจ้างเสียชีวิต ชี้นายจ้างมีความผิดตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน
            นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงกรณีลูกจ้างที่เสียชีวิตจากเหตุรถโฟล์คลิฟต์เฉี่ยวชนในสถานประกอบกิจการ จ.อยุธยาว่า ผู้เสียชีวิตเป็นลูกจ้างของโรงงานซึ่งประกอบกิจการปั่นด้าย และมีการใช้รถโฟล์คลิฟหรือรถยกสำหรับยกก้อนฝ้าย จากการตรวจสอบพบว่า นายจ้างมีความผิดฐาน ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน โดยไม่ได้จัดให้มีการตรวจสอบสภาพรถยกทุกครั้งก่อนการใช้งาน ไม่มีสัญญาณเสียงหรือแสงไฟเตือนภัยในขณะทำงาน ไม่มีการกำหนดเส้นทางและตีช่องทางเดินของรถยก ไม่ได้ติดตั้งกระจกนูนหรือวัสดุอื่นที่คล้ายกันไว้ในบริเวณทางแยกหรือทางโค้งที่มองไม่เห็น ไม่มีคู่มือ การใช้ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษารถยก และไม่ได้จัดให้ลูกจ้างที่เปลี่ยนงานได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ การฝ่าฝืนดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งขณะที่อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเตรียมดำเนินคดี กับนายจ้างต่อไป
           "กสร. ได้กำชับให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทั่วประเทศ เข้มงวดในการตรวจสอบและกำกับดูแลให้นายจ้าง สถานประกอบกิจการที่มีการใช้งานรถโฟล์คลิฟต์ในการเคลื่อนย้ายวัสดุต้องปฏิบัติ ตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2542 อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุลูกจ้างได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอีก และมิให้นายจ้างต้องถูกดำเนินคดี หากสถานประกอบกิจการใดมีข้อสงสัยเรื่องมาตรฐานและข้อกำหนดทางกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน
สามารถสอบถามได้ที่กองความปลอดภัยแรงงาน โทร.0 2448 8338 ทุกวันในเวลาราชการ หรือที่ www.oshthai.org" อธิบดีกสร. กล่าว

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 7 พ.ย. ร.ต.อ.ดํารงค์ เเสงเงิน รองสว.(สอบสวน) สภ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับแจ้งมีเหตุรถโฟล์คลิฟท์ทับคนเสียชีวิต ภายในบริษัททอฝ้ายแห่งหนึ่งใน ต.พุทเลา อ.บางปะหัน จึงรุดไปตรวจสอบพร้อมด้วยหน่วยกู้ภัยอยุธยา ที่เกิดเหตุพบรถโฟล์คลิฟท์สีเหลือง ด้านหน้าบรรทุกฝ้ายสูง 3 ชั้น ใกล้กันพบศพน.ส.วันดี บัวขำ อายุ 53 ปี พนักงานบริษัทดังกล่าว นอนเสียชีวิตท้ายรถ สภาพศพศีรษะเปิดมันสมองไหลออกมา แขนขาหัก

จากการสอบสวนนายขจร เกิดพร อายุ 34ปี คนขับโฟล์คลิฟท์ ทราบว่า ก่อนเกิดเหตุขณะที่กำลังขับรถโฟล์คลิฟท์ยกกระสอบฝ้ายจำนวนมากออกจากโกดัง เพื่อนำเข้าไปที่โรงผลิต ระหว่างทางมองไม่เห็นว่าผู้ตายได้เดินออกมาจากโกดังเนื่องจากบรรทุกฝ้ายมาด้วยความสูงจึงทำให้มองไม่เห็น ก่อนชนน.ส.วันดี อย่างแรงจนล้มลงแล้วถูกรถทับซ้ำอีกจนเสียชีวิต ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงควบคุมตัวนายขจรไปสอบบสวนอย่างละเอียดและดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป.

 

หลักการใช้งานรถยกอย่างปลอดภัย

กฎกระทรวงภายใต้ พรบ.ความปลอดภัยฯ พ.ศ. ๒๕๕๔

 

 

มาตรการความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับ “รถยก”

ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย

และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๕๒

ข้อ ๓๑ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับรถยก นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) จัดให้มีโครงหลังคาที่มั่นคงแข็งแรง สามารถป้องกันอันตรายจากวัสดุตกหล่นได้

(๒) จัดทำป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกให้ตรงกับความสามารถในการยกสิ่งของได้โดยปลอดภัยติดไว้ที่รถยกเพื่อให้ลูกจ้างเห็นได้ชัดเจน

(๓) ตรวจสอบรถยกให้มีสภาพใช้งานได้อย่างปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้งและเก็บผลการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้

(๔) จัดให้มีสัญญาณเสียงหรือแสงไฟเตือนภัยในขณะทำงานตามความเหมาะสมของการใช้งาน

ข้อ ๓๒ ห้ามนายจ้างทำการดัดแปลงหรือกระทำการใดที่มีผลทำให้ความปลอดภัยในการทำงานของรถยกลดลง

ข้อ ๓๓ นายจ้างต้องกำหนดเส้นทางและตีเส้นช่องทางเดินรถยกในอาคารหรือบริเวณที่มีการใช้รถยกเป็นประจำ

ข้อ ๓๔ นายจ้างต้องติดตั้งกระจกนูนหรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายกันไว้ที่บริเวณทางแยกหรือทางโค้งที่มองไม่เห็นเส้นทางข้างหน้า

ข้อ ๓๕ นายจ้างต้องจัดให้พื้นเส้นทางเดินรถยกมีความมั่นคงแข็งแรงและสามารถรองรับน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกของรถยกได้อย่างปลอดภัย

ข้อ ๓๖ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนดทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก

ข้อ ๓๗ นายจ้างต้องควบคุมดูแลมิให้ลูกจ้างนำรถยกไปใช้ปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าใกล้กว่าระยะห่างที่ปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานของการไฟฟ้าในท้องถิ่นนั้น กรณีที่ไม่มีมาตรฐานดังกล่าว ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ข้อ ๓๘ นายจ้างต้องควบคุมดูแลมิให้บุคคลอื่นโดยสารไปกับรถยก

ข้อ ๓๙ นายจ้างต้องจัดให้มีคู่มือการใช้ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษารถยกให้ลูกจ้างได้ศึกษาและปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

 ขอบคุณอาจารย์แพร ผู้ให้แสนใจดี

 

Visitors: 568,699