โรงงานที่ต้องจัดให้มีบุคคลากรเฉพาะ(บฉ)

#ก่อนที่จะจัดให้มีเรามาทำความรู้จักกับบุคลากรเฉพาะกันก่อนดีกว่า ว่าคืออะไร 
บุคลากรเฉพาะ คือ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยในเรื่องการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่สอบผ่านการทดสอบวัดความรู้

#หลักสูตรความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกําหนด นี้แหละคือบุคลากรเฉพาะ แล้วจำเป็นต้องมีทุกโรงงานไหม ขอตอบว่าไม่จำเป็นครับ แต่โรงงานที่ไหนที่เข้าเกฑณ์ต่อไปนี้ต้องจัดให้มีครับ
- ผู้ผลิต ผู้นําเข้า หรือผู้ส่งออกวัตถุอันตราย ที่มีวัตถุอันตรายชนิดที่ ๑ ชนิดที่ ๒หรือชนิดที่ ๓ ปริมาณรวมตั้งแต่ ๑,๐๐๐ เมตริกตัน /ปี ขึ้นไป (ทุกกิจกรรม ทุกชนิดวัตถุอันตราย)
#ผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายที่มีพื้นที่การเก็บรักษาวัตถุอันตรายตั้งแต่ ๓๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป (คิดจากพื้นที่ทั้งหมดของอาคารเก็บฯ ไม่เฉพาะส่วนที่เก็บวัตถุอันตรายเท่านั้น เว้นแต่มีการกั้นตัดตอน/ห้องเก็บแยกชัดเจน)
- ผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายที่เป็นวัตถุไวไฟหรือวัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ ให้พิจารณา 2 ข้อ คือ
พิจารณาว่าเป็นวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานฯ รับผิดชอบ (ตามประกาศกระทรวงฯ เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556) และมีคุณสมบัติดังกล่าว
#พิจารณาจากลักษณะการเก็บรักษาวัตถุอันตราย
- มีห้องเก็บชัดเจน ไม่รวมการเก็บรักษาในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์
- ไม่จำกัดปริมาณ
- ภาชนะบรรจุขนาดไม่เกิน ๔๕๐ ลิตร
ยกเว้น ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายในภาชนะบรรจุที่เป็นแท็งก์ (Tank) ไซโล (Silo) รวมถึงภาชนะบรรจุก๊าซเหลวเย็นจัด (Portable/Bulk Container Cryogenic liquefied gas or Refrigerated liquefied gas) ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้ครับ
#แล้วทุกคนสามารถเป็นบุคลาเฉพาะได้ไหม ขอตอบว่าคนที่จะเป็นบุคลากรเฉพาะได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้
#สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่หลักสูตรกําหนดให้เรียนวิชาเคมีไม่น้อยกว่า ๘ หน่วยกิต หรือสําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและมีประสบการณ์หน้าที่ประจํารับผิดชอบการเก็บรักษาวัตถุอันตรายรวมกันไม่น้อยกว่า ๓ ปี
- ผ่านการทดสอบวัดความรู้ตามหลักสูตรความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกําหนด โดยได้คะแนนในการทดสอบไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐
คุณสมบัติบอกว่าให้สอบให้ผ่านตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ แล้วสมัครที่ไหน สอบอย่างไร มีสอบตอนไหนบ้าง ถามอะไรเยอะแยะ ขี้เกียจตอบ ดูจากลิงค์นี้ล่ะกัน http://hazexam.diw.go.th/block.pdf
ส่วนแนวข้อสอบดูจากลิงค์นี้ครับ http://hazexam.diw.go.th/knowledge.asp


หลังจากสอบผ่านและได้ขึ้นทะเบียนแล้ว บุคลากรเฉพาะก็ต้องทำหน้าที่ดังนี้ครับ
1. ปฏิบัติงานให้สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายมีความปลอดภัยตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๐ หรือตามหลักเกณฑ์นานาชาติโดยความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
2. จัดทําแผนความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายประจําปีเก็บไว้ ณ สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายสามารถให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายงานได้ตลอดเวลา
3. จัดทําและรับรองรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ตามข้อ ๕.๕ (๕.๕ ต้องรายงานและรับรองรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายปีละ 1 ครั้งทุกสิ้นปีปฎิทิน ตามแบบ บฉ.4 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกําหนด โดยผ่านระบบสัญญาณคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย
4. ทําหน้าที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรณีที่เกิดอุบัติภัยจากสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย
5. หากบุคลากรเฉพาะไม่ประสงค์ทําหน้าที่หรือไม่ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบการวัตถุอันตรายให้รับผิดชอบการเก็บรักษาวัตถุอันตรายต่อไป แล้วแต่กรณีต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ก่อนวันที่จะไม่ดําเนินการดังกล่าว
6. การจดทะเบียนเป็นบุคลากรเฉพาะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมประกาศกําหนด

ขอบคุณ  Zaa Dreampp  ที่นำมาเผยแพร่ครับ

Visitors: 585,758