อุบัติเหตุในโรงเรียน

สวัสดีครับ

      เราในฐานะเป็นคุณพ่อ คุณแม่ หรือเป็นญาติของเด็ก รักและมีความห่วงใยในบุตรหรือหลาน จุดเสี่ยงจุดอันตรายมีมากมายหลายอย่างด้วยกัน ผมก็จะพยายามรวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มาเป็นอุธาหรณ์ ย่้ำเตือนมิอย่างให้เกิดขึ้นกับคนที่เรารัก...

       ข่าวการสูญเสียของลูกหลานเรา สร้างความโคกเศร้า ยากที่จะลืมเลือนได้  เรามาศึกษา เพื่ออย่าให้มันเกิดขึ้นเลย นะครับ

 

ถังดับเพลิง ทำอย่างไร ห่างไกลจากการระเบิด?
.
จากเหตุถังดับเพลิงระเบิดที่โรงเรียนเมื่อช่วงเช้าจนทำให้เด็กนักเรียนเสียชีวิต 1 ศพ ที่ผ่านมานั้น เป็นเหตุการณ์ที่เรามักได้ยินวนๆเวียนๆ อยู่บ่อยๆสำหรับการระเบิดของถังดับเพลิง แต่เราจะทำอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุเหล่านี้เกิดขึ้นกับเรา, ที่ทำงาน, โรงงานของเรา?
.
วันนี้แอดฯจะอธิบายง่ายๆ ให้ทุกท่านเข้าใจ และได้นำไปใช้เพื่อตรวจสอบ ระมัดระวังการใช้ให้มากขึ้น ดังนี้
.
พื้นฐานของถังดับเพลิง
.
1. ถังดับเพลิงนั้นเป็นถังที่ถูกอัดความดัน ทั่วไปคือ ประมาณ 195 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว สำหรับพวกถังเคมีแห้งตามบ้าน ตามโรงงานของเรา
.
2. ถังดับเพลิงประเภทบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ความดันประมาณ 850 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ที่อุณหภูมิ 21 องศา และเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ (หากอุณหภูมิสูงขึ้น ความดันก็จะสูงขึ้น)
.
การใช้งานถังดับเพลิง
.
1. การใช้งานถังดับเพลิงนั้น ไม่ควรนำถังดับเพลิงเข้าใกล้ความร้อนมากเกินไป เพราะถังอาจได้รับความร้อน จนทำให้ความดันภายในถังเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะถังดับเพลิงประเภทบรรจุแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่จะทำให้เกิดการขยายตัว จนอาจทำให้วาล์ววระบายความดันทำงานไม่ทัน และ "เกิดการระเบิดได้"
.
การตรวจสอบถังดับเพลิง
.
1. ผู้ที่มีถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ควรทำการตรวจสอบถังเป็นประจำทุกเดือน เช่น
.
- ดูสภาพถัง ว่ามีการบุบสลาย, รอยแตกที่อุปกรณ์, การเกิดสนิมที่ถัง หรือไม่
.
- การ Exercise ถังดับเพลิงที่บรรจุผงเคมีแห้ง จับยก เเละเทกลับไป-มา เพื่อให้สารในถังได้มีการขยับ ป้องกันการจับกันเป็นก้อนจนฉีดไม่ออก
.
- ตรวจสอบมาตรวัดความดัน ว่าความดันเกินกว่าค่าปลอดภัยหรือไม่
.
2. ผู้ที่มีถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ควรทำการตรวจสอบสภาพถังเป็นประจำทุกเดือน และทำการชั่งน้ำหนักถังทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสอบถังดับเพลิงว่ามีการรั่วไหลของก๊าซออกมาภายนอกถังหรือไม่
.
เกณฑ์คือ ปริมาณสารต้องลดลงไม่เกิน 10% ของปริมาณสารเต็มๆถัง
.
เช่น ถังดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ หนัก 10 ปอนด์ (4.54 กก.) เมื่อชังน้ำหนักถังแล้ว น้ำหนักรวมต้องลดลงไม่เกิน 1 ปอนด์ (0.454 กก.) เท่านั้น
.
3. ถังดับเพลิงจะต้องได้รับการทดสอบการอัดความดัน (Hydrostatic Test) เป็นประจำทุก 5 ปี เพื่อทดสอบความสามารถในการรับความดันภายในถัง ว่ายังสามารถรับความดันได้อยู่หรือไม่ เหตุผลคือ
.
- เมื่อเวลาผ่านไป ถังอาจเกิดการผุกร่อนจากทั้งภายนอก (สามารถสังเกตได้ด้วยตา) และผุกร่อนจากภายใน (ไม่สามารถสังเกตเห็นได้) ซึ่งการผุกร่อนจากภายในนี้เอง ที่อันตรายมาก และอาจทำให้เกิดการระเบิดในซักวันหนึ่งได้ หากผลทดสอบออกมาไม่ผ่านเกณฑ์ ก็ต้องทำการยกเลิกถังนั้นๆ และซื้อถังใหม่ แต่หากผลทดสอบออกมาว่าผ่านเกณฑ์ เราก็สามารถใช้ถังนั้นต่อได้
.
เพิ่มเติม กรณีถังดับเพลิงที่เป็นพวกถังความดันต่ำที่ทำจาก อลูมิเนียม (Aluminum Cylinder)
.
หากถังเหล่านั้นได้รับความร้อนสูง ประมาณ 177 C เช่น อยู่ในบริเวณพื้นที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ หลังจากเพลิงสงบแล้ว จะต้องนำถังเหล่านั้นมาทดสอบอัดความดันน้ำ (Hydrostatic Test) ด้วยเช่นกันนะครับ
.
หากเราทำได้ตามนี้ ก็ถือว่าปลอดภัยจากเหตุระเบิดได้พอสมควรแล้วครับผม
.
ขอแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิตด้วยนะครับ
ที่มา
NFPA 10 Standard for Portable Fire Extinguishers
NFPA 12 Standard on Carbon Dioxide Extinguishing Systems
ความรู้สึกทั้งหมด
8Sasiviriya Engfa, ธนกร ธนูศร และ คนอื่นๆ อีก 6 คน

 

 ขอบคุณข้อมูลดีดี จาก

วิศวกรดับเพลิง

 
Visitors: 586,224