วัฒนธรรมความปลอดภัยใส่ใจสร้างได้

วัฒนธรรมความปลอดภัย ใส่ใจสร้างได้

  เราสามารถป้องกันได้ โดยการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety Culture)  

วัฒนธรรมความปลอดภัย ใส่ใจสร้างได้

                จากอดีตที่ผ่านมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โลกของเรารวมทั้งประเทศไทยได้ประสบกับภัยต่างๆ มากมาย ทั้งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและภัยที่เกิดขึ้นจากตัวมนุษย์ อันล้วนแล้วแต่นำมาซึ่งความเสียหายและการสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน ร่างกาย และจิตใจ ที่ต้องอาศัยเวลาในการฟื้นฟูให้กลับมาเหมือนเดิมอีกครั้ง ภัยที่เกิดขึ้นจากธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งยากที่เราจะหลีกเลี่ยง แต่ภัยที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์นี้ เราสามารถป้องกันได้  โดยการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยนั่นเองวัฒนธรรมความปลอดภัย หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Safety Culture นั้น หมายถึง พฤติกรรมของคนในสังคม ที่แสดงถึงลักษณะและทัศนคติ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ชีวิต และการทำงาน ซึ่งในเวลา หรือวันนี้ เรามีความจำเป็นแล้ว ที่จะต้องช่วยกันสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นให้ได้ นั่นหมายความว่า เราต้องมีความตื่นตัวระวังภัยอยู่เสมอ มีจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัย และการดำรงอยู่ในความไม่ประมาท วัฒนธรรมเหล่านี้สามารถสร้างขึ้นได้โดยเริ่มต้นจากบุคคลในครอบครัว ไปจนถึงชุมชน หมู่บ้าน สถาบันการศึกษา สถาบันทางสังคม สื่อสารมวลชน และภาครัฐ โดยเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันเน้นย้ำเพื่อที่จะได้ไม่ต้องรณรงค์หรือตักเตือนกันทุกครั้งที่มีอุบัติภัยเกิดขึ้น ถ้าเราสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างได้ผล เราก็จะได้รับแต่สิ่งดี ๆ ชีวิตผู้คนจะมีแต่ความสงบ สันติ เจริญรุ่งเรือง ประเทศชาติก็จะเจริญก้าวหน้า ในทางตรงกันข้าม ถ้าการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยล้มเหลว ผลกระทบที่ตามมา ก็ล้วนแล้วแต่ความหายนะ ที่สำคัญคือ จะเกิดการชะงักงันทางเศรษฐกิจ ความระส่ำระสายต่อระบบสังคม โดยเฉพาะสถาบันครอบครัวที่สูญเสียทั้งร่างกายและทรัพย์สินที่ประมาณค่ามิได้ นอกจากนี้ยังสูญเสียทางด้านจิตใจซึ่งยากที่จะเยียวยาในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งส่งผลให้วิถีชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางลบทั้งสิ้น คิด ๆ ไปก็น่าใจหายไม่น้อยแต่อย่างไรก็ตาม อุบัติภัยที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์นี้เราสามารถป้องกันได้ ซึ่งดิฉันในฐานะเยาวชนคนหนึ่ง ที่ชื่นชอบวัฒนธรรมความปลอดภัย ของกระทรวงวัฒนธรรม ขอเสนอแนวทางป้องกัน ดังนี้

   1. ต้องให้การศึกษา คือให้การศึกษาอย่างเข้าถึงผู้เรียนรู้อย่างถูกต้องและแท้จริง นักเรียนควรได้เรียนรู้ถึงการเตรียมพร้อม การป้องกันภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในหลักสูตรการเรียนการสอน รวมทั้งการปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัย นอกจากนี้สื่อมวลชนก็ควรเผยแพร่ข่าวสารให้ประชาชนได้เข้าใจและสามารถเรียนรู้เพื่อเตรียมรับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย  ส่วนผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ที่จะป้องกันความเสี่ยงด้วยเช่นกัน

   2. ต้องออกแบบอาคาร สิ่งก่อสร้าง ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ มาตรฐานความปลอดภัย และตามกฎหมาย เช่น ทางออก ป้ายสัญญาณ ไฟสำรองฉุกเฉิน อุปกรณ์ดับเพลงที่ต้องมีการสำรวจตรวจสอบให้พร้อมใช้งานได้อยู่ตลอดเวลา

   3. อย่าทำลายสิ่งแวดล้อม  อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย

   4. ต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีบทลงโทษที่เด็ดขาด แน่นอน ไม่เลือกปฏิบัติ แบบสองมาตรฐาน

   5. ต้องสร้างจิตสำนึกและจริยธรรมความปลอดภัย ให้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา                บัดนี้ได้เวลาที่เราจะมาร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยกันแล้ว  เพื่อเราจะได้ไม่สูญเสียอย่างไรล่ะครับ  อย่าลืมนะครับ วัฒนธรรมความปลอดภัย ใส่ใจตั้งแต่วันนี้ ดีแน่นอน.

 

ผลงานข้อคิดข้อเขียนเยาวชน นำเสนอเผยแพร่โดย สว่าง ไชยสงค์ 

 

 

Visitors: 569,405