ระดับของการตรวจประเมิน 5ส

ระดับของการตรวจประเมิน 5ส

    การตรวจประเมินเป็นจุดสุดท้ายของการทำ 5ส ทำเพื่อวัดผลสำเร็จและเสนอแนะ เพื่อให้เกิดการปรับปรุง การตรวจประเมินมีมิติของพฤติกรรมศาสตร์อยู่ด้วย การตรวจประเมิน 5ส ไม่เป็นเรื่องการตรวจเพื่อวัดผลการดำเนินงาน 5ส แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังแฝงไว้ด้วยประโยชน์หลายประการ อาทิเป็นการพบปะสร้างสัมพันธ์และเป็นการสื่อสารภายในองค์กร เป็นการสนับสนุนและให้กำลังใจให้พนักงานปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป เป็นการเสนอแนะให้ปรับเปฃี่ยนการปฏิบัติให้เหมาะสมหรือค้นหาวิธีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเป็นการรับทราบปัญหาและอุปสรรคต่างๆแล้วร่วมกันพิจารณาหาวิธีแก้ไขต่อไป (อภิชาติ ยิ้มแสง) 

  เป้าหมายของการตรวจประเมิ คือ การตรวจเพื่อการวัดผลและเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุง กรรมการตรวจ 5ส นอกจากจะไปตรวจเพื่อวัดผล เพื่อให้คะแนนพื้นที่แล้ว ควรให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงด้วย โดยให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงเป็นหลัก ส่วนการวัดผลเป็นเรืองรอง การตรวจ 5ส แตกต่างไปจากการตรวจข้อสอบของอาจารย์ เพราะการวัดโดยอาจารย์เป็นการวัดผลความรู้ ความสามารถของผู้สอบ แต่ไม่ได้ทำไปเพื่อให้ผู้ที่ได้รับการตรวจประประเมินเกิดความรู้ขึ้นในขณะที่การตรวจ 5ส เพื่อวัดผลสำเร็จพร้อมกับการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง การตรวจประเมิน 5ส 

  ระดับของการตรวจประเมิน 5ส มี 4 ระดับดังนี้

      1. การตรวจประเมินตนเอง (Self Audit) เพื่อติดตามและตรวจสอบว่า สมาชิกในพื้นที่ย้งคงทำ 5ส อย่างสม่ำเสมอหรือไม่ มาตรฐานที่ประกาศใช้มีความเหมาะสมใการปฏิบัติหรือไม่ และสิ่งที่สามารถปรับปรุงได้หรือไม่ ปกติหัวหน้าพื้นที่จะตรวจพื้นที่ของตน (ไม่ใช้ให้สมาชิกในกลุ่มตรวจกันเอง) และจะตรวจอย่างเป็นทางการเดือนละ 1 ครั้ง ยิ่งถี่ยิ่งดี แต่คนในองค์กรจะรู้สึกเบื่อ ส่วนบางองค์กรมีตรวจประเมินประจำวัน โดยใช้ใบตรวจสอบรายวัน ( Daily Check sheet) ที่ออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงาน

      2. การตรวจประเมินโดยคณะกรรมการ ( Committee Audit)  คณะกรรมการที่จัดตั้งเป็นผู้ตรวจ โดยใช้มาตรฐานกลางที่ออกโดยคณะกรรมการ 5ส การตรวจประเมินโดยคณะกรรมการเป็นการตรวจที่ช่วยยกระดับ 5ส ให้มากที่สุด ส่วนระดับอื่นเป็นองค์ประกอบเสริม การตรวจประเมินโดยคณะกรรมการ แม้จะเป็นการตรวจเพื่อให้คะแนน แต่ในขณะเดียวกันก็นเป็นการตรวจสอบทัศนคติและมุมมองในการทำ 5ส ในพื้นที่นั้นด้วย เมื่อได้ความรู้เหล่านี้มา ให้ส่งไปที่ทีมวิชาการ หรือผู้บริหารเพื่อหาทางปรับปรุงต่อไป ควรจัดให้มีการตรวจประเมินโดยคณะกรรมการอย่างน้อย  3 เดือนต่อหนึ่่งครั้ง และตรวจพื้นที่ละ 3-5 คน

       3. การตรวจประเมินโดยผู้บริหารระดับสูง  (Top Managerment) เป็นการตรวจ โดยผู้บริหารระดับสูงขององค์กร อย่างน้อยที่สุดเป็นระดับผูู้จัดการ ในการตรวจอาจไม่ต้องมีแบบฟอร์มก็ได้ เป็นการตรวจให้คะแนนในแต่ละพื้นที่ หรืออธิบายว่า โดยคะแนนระดับนี้ เพราะเหตุใด โดยมีเลขานุการเป็นผู้ติดตามจดคำแนะนำ ตรวจปีละครั้ง หรือปีละ 2 ครั้ง (โรงงานผม ผู้บริหารตรวจ ทุกเดือน ให้ถ่ายรูปแล้วส่งให้เจ้าของพื้นที่ปรับปรุงภายใน 7 วัน)

        4. การตรวจประเมินโดยผู้เชียวชาญภายนอก   ( Extemal Audit หรือ Professional Audit)  เป็นการตรวจ 5ส โดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก ตัวอย่างเช่น การตรวจประเมิน 5ส เพื่อสมัครเข้ารับรางวัล 5ส ประเทศไทย จากสมาคมส่งเสริมเทคนโนโลยี (ไทย -ญี่ปุ่น) องค์กรจำเป็นต้องผ่านการตรวจประเมินจากคณะกรรมการภายนอก แต่หากองค์กรทีส่งประกวดไม่มีการตรวจใน 3 ระดับเบื้องต้น คณะกรรมการตรวจประเมินจะไม่สามารถให้คะแนนได้

 

     

     

  

Visitors: 568,604