ฟูจิ เอซ อบรมการอพยพหนีไฟและการจัดตั้งกองอำนวยการโต้ตอบเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ

สวัสดีครับ
 ผม วินัย  ขอนำเสนอตัวอย่าง การซ้อมทีมอำนวยการตอบโต้แผนฉุกเฉิน เผื่อเพื่อนจะมีไอเดีย เพิ่มเติมไว้ใช้ในบริษัทของท่าน 
   ผมวินัย และผจก. สิทธิศักดิ์ ได้จัดอบรมภายในแก่พนักงาน หลักสูตรการอพยพหนีไฟและการจัดตั้งกองอำนวยโต้ตอบเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานได้เข้าใจและทราบถึงหลักการอพยพหนีไฟ ฝึกทักษะการจัดตั้งกองอำนวยการโต้ตอบเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ และซักซ้อมฝึกให้พนักงานรู้และปฏิบัติหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมายในแต่ละตำแหน่ง เมื่อวันที่ 10 พ.ย.53 
ทุกคน ต้องนึกเสมอ ว่า ตนเองมีส่วนสำคัญเสมอ อย่าดูถูกตัวเอง ดั่ง ( หนูยังช่วยราชสีห์ได้ )
เนื้อหา ยกตัวอย่างโรงงานไฟไหม้ การพบเหตุ การดับเพลิง การแจ้งเหตุ การประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย การเข้าสู่แผนฉุกเฉิน การอพยพหนีไฟ การจัดตั้งกองอำนวยการโต้ตอบแผนฉุกเฉิน การแบ่งหน้าที่แต่ละตำแหน่ง ( ผู้อำนวยการ ผู้ประสาน พยาบาล ทีมดับเพลิง ภปร นักข่าว ฯลฯ ) อธิบายเอกสารทีพนักงานแต่ละตำแหน่งต้องทราบ รายงาน บันทึกในเอกสารแต่ละตำแหน่ง แล้วสื่อสารให้กับผู้อำนวยการรับทราบ เน้นที่ทุกคนต้องบันทึกเหตุการณ์ของแต่ละตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย (สอบกลับได้ ) การใช้วิทยุสื่อสาร การช่วยเหลื่อผู้รับบาดเจ็บ การตรวจเช็ครายชื่อพนักงาน 
     ครับนี่เป็นเพียงรายละเอียดเล็ก ๆ ที่พอจะอธิบายได้ ฝึก ฝึก ฝึก แล้วก็ฝึก ฝึกมาก ก็เกิดความสำนาน ดั่งสำนวนว่า จีบสาวต้องมั่นเกี้ยว มีปัญหาอะไร ปรึกษาผม หรือจกผม สิทธิศักดิ์ได้ นะครับ เพราะผมก็โพสต์ในเวปนี้บ่อย อยากให้ทุกคนรู้ ทุกคนทราบ เพื่อตัวคุณเอง และเพื่อนร่วมงาน สักวันหนึ่งคงมีประโยชน์แก่ตัวเรา

เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น เพลิงไหม้  พนักงานพบเห็น ร้องตะโกน บอก ผู้ที่ใกล้บริเวณที่เกิดเหตุ จะช่วยกันดับเพลิง โดยใช้ถังดับเพลิงฉีดระงับเพลิง  แต่ไม่สามารถระงับเหตุการณ์นั้นได้ ให้แจ้งหัวหน้า หรือพนักงานพื้นที่ กดสัญญานเตือนภัย แล้วแจ้งหัวหน้า ผู้จัดการ  แจ้งประชาสัมพันธ์  เข้าแผนฉุกเฉินขั้นแรง ประกาศอพยพพนักงานไปจุดรวมพล ตั้งกองอำนวยการตอบโต้เหตุฉุกเฉินต่อไป โดยแต่ละคนมารวมตัวกันทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับหมาย

เมื่อตั้งกองอำนวยการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน แล้วผู้รับหน้าที่แต่ละตำแหน่งต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย แล้วจดบันทึกรายงานสถานการณ์ให้ผู้อำนวยการ และผู้ประสานงานทราบอย่างต่อเนื่อง 
ตำแหน่งที่สำตัญอีก คือ หัวหน้าทีมดับเพลิง (ผจญเพลิง )ต้องประสานงานกับซ่อมบำรุงเรื่อง ตัดไฟก่อนเข้าทำการดับเพลิง รับรายการจำนวนคนของทีมดับเพลิง อุปกรณ์มีอะไรบ้าง ซึงรับรายงานจากหัวหน้าชุดดับเพลิง ผู้อำนวยจะได้รับและประเมินสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง ลดการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นมาได้

หัวหน้าทีมดับเพลิงรับรายงานสถานการณ์การดับเพลิงจากหัวหน้าชุดดับเพลิง เพื่อนำข้อมูลไปรายงาน ต่อผู้อำนวยการทีม ICS ต่อไป แต่ละหน่วยต้องมีการจดบันทึก เวลา สถานการณ์  เพื่อนำกลับสอบสวน ทวนสอบอีกครั้ง กับเหตุการณ์ เพื่อหาข้อผิดพลาด การเสียหาย เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

การรับฟังข้อมูล ความคิดใหม่ๆ และการรับความรู้ เทคนิคความรู้ใหม่ๆ เรามักได้ยินเขาเรียกกันเสมอว่า อบรม บางกรณีก็เป็น "สัมมนา" และในระยะหนึ่งที่ผ่านมาอันใกล้นี้ มีคำใหม่ที่ถูกใช้เรียกกันมาก ก็คือ คำว่า "การอบรมเชิงปฏิบัติการ" บ้างก็เป็น "ฝึกปฏิบัติการ" คำว่า "อบรมเชิงปฏิบัติการ" หรือ "ฝึกปฏิบัติการ" ชื่อก็บ่งบอกให้รู้อยู่แล้วว่า ต้องมีการฝึก มีการปฏิบัติ มีการทดลองทำ ทดลองปฏิบัติ จึงได้มีคำว่า "ปฏิบัติการ" อยู่ด้วย "ฝึกปฏิบัติการ" มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษที่แสนเก๋ ทันสมัย ก็คือ คำว่า "Workshop" 
หลังจากฝึกปฏิบัติการแล้ว ก็ต้องมีการประชุม สรุปผลการฝึกซ้อม ว่า มีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง เพื่อแก้ไข ปรับปรุง ให้เพื่อนพนักงานปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว เวลา ทุกวินาทีมีค่ามาก ช่วงเวลา ความเป็น ความตาย การสูญเสีย เกิดขึ้นได้การเราประมาท ประเมินสถานการณ์ไม่เป็น ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ต้องย้ำเตื่อนเสมอว่า
ทุกคน มีส่วนสำคัญ

Visitors: 569,703