งาน จป

สวัสดีครับ ..

       ผมคัดลอกมาจากสมาชิกหมายเลข 2016500 จากเวป  pantip.com

- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ วิชาชีพ มีหน้าที่
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
หน้าที่ของ จป.วิชาชีพต้องมีความรอบรู้ในเรื่องของของกฎหมาย „ โดยจัดทำทะเบียนของกฏหมายที่เกี่ยวข้อง และทำแบบประเมินว่ามีอะไร บ้างที่ยังสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับกฎหมาย นำส่วนที่ยังไม่สอดคล้องกับกฏหมาย ไปทำเป็นแผนงาน หรือโครงการ เพื่อจัดให้ถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด

      สำหรับเบื้องต้น เรื่องกฏหมายฯ สามารถศึกษาได้จาก  เว็บต่างๆดังนี้
             1. ห้องกฏหมายความปลอดภัยฯ http://www.jorpor.com/forum/index.php?board=4.0
             2. หน้าระบบดาวน์โหลดกฏหมาย  http://law.jorpor.com/
            3. หน้ากฏหมายของเว็บต่างๆ
                   3.1) สำันักความปลอดภัยแรงงาน  http://www.oshthai.org/index.php?option=com_linkcontent&sectionid=6&Itemid=40
                   3.2) Thailaw   http://www.thaihrlaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=145280
                   3.3) NPC   http://www.npc-se.co.th/law/law1.asp?type_id=6
                   3.4) SiamSafety http://www.siamsafety.com/index.php?page=law/beforelaw#newlaw


(๒) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย  รวมทั้งกําหนดมาตรการป้องกันหรือขั้นตอนการทํางานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
การจัดทำ JSA คือการนำงานที่ทำอยู่ นั้นมาทำการวิเคราะห์ อันตรายที่จะเกิดขึ้นกับพนักงาน 
             ขั้นตอนการจัดทำ คือ 
           1.    สำรวจลักษณะการปฏิบัติงานของพนักงาน
           2.    จัดหมวดหมู่ของงานที่มีลักษณะคล้ายกันเข้าด้วยกัน
           3.    นำมาวิเคราะห์อันตรายที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานนั้นๆ
(๓) ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทํางาน
           ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง
         •    ทำการชี้บ่งอันตรายจากสิ่งที่เป็นความเสี่ยง
         •    ประเมินความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
         •    จัดลำดับความเสี่ยง
         •    จัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง
         •    บังคับใช้มาตรการตามแผนบริหาร
         •    ติดตามมาตรการป้องกัน
   *** การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับหน้าที่ข้อนี้ สามารถติดตามได้ในห้อง Risk Assessment การชี้บ่งและประเมินความเสี่ยงตามลิ้งค์ http://www.jorpor.com/forum/index.php?board=17.0


(๔) วิเคราะห์แผนงานโครงการ  รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง  ๆ  และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทํางานต่อนายจ้าง
การปฏิบัติตามข้อนี้ จป.วิชาชีพ ต้องผลักดัน แนะนําให้ลูกจ้าง หรือฝ่ายต่าง ๆเสนอแนะให้ลูกจ้าง มีส่วนร่วมกับโครงการความปลอดภัย เช่น การเสนอผ่าน คปอ. หรือข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ ความเห็นเกี่ยวกับโครงการด้านความปลอดภัย ที่ลูกจ้างเสนอ 
จป.วิชาชีพ จะต้องจัดทำแบบเสนอแนะความเห็น แบบบันทึกข้อร้องเรียน ซึ่งหากมีข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียน จป.วิชาชีพ ต้องตรวจสอบว่า สิ่งที่ลูกจ้างเสนอแนะหรือข้อร้องเรียนนั้นมีความเหมาะสม ต่อการพัฒนางานด้าน ความปลอดภัยหรือไม่ แล้วนำเสนอแนะให้นายจ้างทราบ
นอกจากนี้ จป.วิชาชีพ ต้องจัดทำแผนงาน หรือโครงการเพื่อนำเสนอด้วย


(๕) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงานโครงการหรือมาตรการความปลอดภัยในการทํางาน
จป.วิชาชีพต้องจัดทํา แบบรายงานความก้าวหน้าของโครงการ หรือ แผนงานด้านความปลอดภัย อาจเป็นรายงาน จป.ว ก็ได้


(๖) แนะนําให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ  ๓ (ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)
การปฏิบัติตามข้อนี้ จป.วิชาชีพ ต้องจัดทำคู่มือความปลอดภัย โดยที่ คู่มือความปลอดภัยตามกฏหมายคือ JSA 
„ จป.วิชาชีพ ต้องจัดให้มีการอบรม แนะนําลูกจ้าง และทบทวนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง


(๗) แนะนํา  ฝึกสอน  อบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทํางาน
„ ในการปฏิบัติตามข้อนี้ คือการฝึกอบรมลูกจ้างด้านความปลอดภัย หรือการปฐมนิเทศน์พนักงานใหม่ ฝึกทบทวนด้านความปลอดภัย โดยให้ จป.วิชาชีพเก็บสำนาแบบลงชื่อการเข้าอบรม และเขียนหลักสูตรการฝึกอบรมพนักงาน 


(๘) ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทํางาน  หรือดําเนินการร่วมกับบุคคลหรือ
หน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรองหรือตรวจสอบเอกสาร หลักฐานรายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทํางานภายในสถานประกอบกิจการ
การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน ต้องทําปีละ 1 ครั้ง ในเดือน มีนาคม ถึง เดือน เมษายน   


(๙) เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานที่เหมาะสม กับสถานประกอบกิจการ  และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
ใช้แบบรายงานความก้าวหน้าของโครงการ 


(๑๐) ตรวจสอบหาสาเหตุ  และวิเคราะห์การประสบอันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุ เดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางาน  และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกัน การเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
การสอบสวนอุบัติเหตุเป็นการชี้บ่งถึงสาเหตุ และลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ โดยพิจารณาจากรายละเอียดข้อมูลที่ได้ จากการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุและจากพยานที่เห็นเหตุการณ์แล้วนํามาวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทําให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น


ขั้นตอนปฏิบัติในการสอบสวนอุบัติเหตุ
ขั้นตอนปฏิบัติ ในการสอบสวนอุบัติเหตุ ขึ้นอยู่กับลักษณะ และสภาพการเกิดอุบัติเหตุโดยทั่วไปมีขั้นตอนดังนี้
1. กําหนดขอบเขตในการสอบสวนอุบัติเหตุ
2. เลือกทีมงานสอบสวนอุบัติเหตุ และมอบหมายงานให้สมาชิกในทีม (ควรเป็นลายลักษณ์อักษร)
3. ทําความเข้าใจในเบื้องต้น ระหว่างสมาชิกในทีมในเรื่องเกี่ยวกับรายละเอียดของการเกิดอุบัติเหตุ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุ ผู้ได้รับบาดเจ็บและ/ หรือเสียชีวิตรวมทั้งประมาณการความเสียหายที่เกิดขึ้น การแบ่งขั้นตอนปฏิบัติงานการจัดทําแผนผังบริเวณ ที่เกิดเหตุ(พื้นที่บริเวณที่เกิดเหตุและพื้นที่โดยรวมขององค์กร) สภาพแวดล้อมบริเวณที่เกิดเหตุการสอบพยานที่เห็นเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะนําไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น
4. ตรวจสอบบริเวณที่เกิดเหตุ เพื่อรวบรวมรายละเอียดที่สําคัญ และจําเป็นในการวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
5. การตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุกั้นแยกพื้นที่บริเวณที่เกิดเหตุ ไม่ควรแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ ในบริเวณที่เกิดเหตุ วิเคราะห์หาตําแหน่งจุดที่เกิดเหตุให้ได้ โดยอาจพิจารณาจากจุดที่เกิดความเสียหายมากที่สุดหรือจากแนววิถีการระเบิดในกรณี เกิดอุบัติเหตุการระเบิดจัดทําแผนที่เกิดเหตุ สเก็ตซ์ภาพและถ่ายภาพในส่วนที่จําเป็น พร้อมทั้งระบุระยะห่างของพยานวัตถุ และราย ละเอียดต่างๆ ในภาพอย่างถูกต้อง ชัดเจน
6. สัมภาษณ์ผู้ประสบเหตุ และพยาน รวมทั้งผู้อยู่ในเหตุการณ์ก่อนเกิดอุบัติเหตุ และผู้เกี่ยวข้องที่มาถึงสถานที่เกิดเหตุก่อน หน้าที่ทีมงานจะไปถึง บันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์อย่างถูกต้อง ใช้การบันทึกเทปด้วยหากสามารถทําได้
7. แนวทางการพิจารณาในการสอบสวนอุบัติเหตุควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
•    มีอะไรที่ผิดปกติก่อนเกิดอุบัติเหตุ 
•    สิ่งผิดปกติเกิดขึ้นที่ไหน
•    สังเกตเห็นสิ่งผิดปกติเมื่อไร
•    สิ่งผิดปกติเกิดขึ้นได้อย่างไร
8. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ในขั้นตอนที่ 7 (ทําซํ้าในขั้นตอนก่อนหน้านี้ ถ้าจําเป็นหรือข้อมูลไม่เพียงพอ)
9. จากการวิเคราะห์ข้อมูลให้พิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ทําไม่จึงเกิดอุบัติเหตุ ลําดับเหตุการณ์ และสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุที่น่าจะเป็นไปได้ (ทั้ง Direct Cause ,Indirect Cause และ Basic Cause)
10. ตรวจสอบแต่ละลําดับเหตุการณ์ เปรียบเทียบกับข้อมูลในขั้นตอนที่ 7
11. พิจารณาเลือกลําดับเหตุการณ์ และสาเหตุที่มีความน่าจะเป็นในการทําให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
12. สรุปการสอบสวนอุบัติเหตุ
13. จัดทํารายงานสรุป รวมถึงข้อเสนอแนะในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว และเผยแพร่รายงาน

(๑๑) รวบรวมสถิติ  วิเคราะห์ข้อมูล  จัดทํารายงาน  และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบ อันตราย  การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้าง

(๑๒) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่น ตามที่นายจ้างมอบหมาย


ข้อนี้ต้องนำสถิติจากการเกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์มาทำการวิเคราะห์ แนวโน้มของการเกิดอุบัติเหตุ หากอุบัติเหตุเป็นศูนย์แล้ว ให้วิเคราะห์แน้วโน้มของอุบัติการณ์ เพราะการเกิดอุบัติการณ์ เป็นตัวบ่มให้เกิดอุบัติเหตุในอนาคต   
ทุกอย่างที่ จป.วิชาชีพทำ จะอยู่ใน แบบ จป.๓   รายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง

 

สมาชิกหมายเลข 854216 

จปว. จะทำงานได้ดีแค่ใหน ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริหารด้วย (มีผลโดยตรง) ผู้บริหารให้ความสำคัญมาก งาน Safety ก็จะมีประสิทธิภาพมากเช่นกัน
จปว. ต้องสู้กับทัศนคติของผู้บริหารและต้องหาวิธีการใดๆ ก็ตาม เพื่อมาเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ไม่ไดีของผู้บริหาร (ยากกว่าการทำงานกับตำแหน่งอื่นๆ ในบริษัทอีกน่ะครับ) ซึ่งนั่นคืองานอันดับต้นๆ ที่ต้องทำ มากกว่าการลงหน้างานซะอีก เพราะถ้าผู้บริหารไม่สนับสนุน การนำปัญหาที่พบระหว่างการลงหน้า มาเสนอเพื่อให้เกิดการแก้ไขหรือปรับปรุง ก็จะไร้ผลทุกกรณี
หมายเหตุ : นี่คืออุปสรรคในการทำงานของ จปว. และเป็นอันดับต้นๆ ที่ จปว.หลายๆ คนต้องเจอ (และบางคนก็ต้องยอมรับชะตากรรม จึงเป็นอย่างที่หลายๆ ความคิดเห็นในข้างต้น กล่าวมา)

 

Visitors: 595,757