อุบัติเหตุลูกจ้างผู้บังคับเครื่องตอกเสาเข็มถูกสลิงตัดแขนขาด

สวัสดีครับ
ผมขออนุญาต นำข้อความ บทความที่วิเคราะห์เครสอุบัติเหตุ ได้ดีมาก จากท่านอาจารย์หญิง ผู้น่ารัก ที่รักเป็นผู้ให้ เสมอๆ ผมติดตามอ่านตลอดในกลุ่มไลน์ ซึ่งท่านอาจารย์ ได้ให้ความรู้ความเข้าใจ การวิเคราะห์ หาสาเหตุ แนวทางการป้องกันแก้ไข เพื่อเป็นไอเดีย เลยนำข้อความนี้มาเผยแพร่ต่อให้ทุกท่านได้รับทราบ ได้เข้าใจมากขึ้น เป็นเครสตัวอย่างซึ่งเราต้องศึกษา และนำไปช่วยพวกเราให้ปลอดภัย เพราะฉันทำได้ ฉันเก่ง ฉันฉลาด ฉันยอด Yes I can. ตบมือให้กับท้าน ...


         อาจารย์ ชิษณุภรณ์ ศปร.เขต 5 

เคสอุบัติเหตุต่างๆ มีการแชร์มากขึ้นเช่นกัน บางเคสแค่ดูภาพ หรือคำบอกเล่า ก็คาดเดาได้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แต่บางเคส มีแต่ผลที่เกิดขึ้น...สมาชิกต่างมีข้อสงสัย ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร...
จึงขอสรุปเคสที่อยู่ในความสนใจนี้ อีกครั้ง เพื่อเป็นกรณีศึกษา

ลูกจ้างผู้บังคับเครื่องตอกเสาเข็ม ถูกสลิงตัดแขนขาด

วันที่ 13 สค. 2558 เวลาประมาณ 16.20 น. ได้เกิดอุบัติเหตุลูกจ้างทำงานตอกเสาเข็ม ถูกลวดสลิงเครื่องตอกเสาเข็มตัดแขนขาด เหตุเกิด ณ โครงการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรสร้างแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ถนนแบริ่งตัดกับลาซาล จังหวัดสมุทรปราการ
ลูกจ้างที่แขนขาดเป็นลูกจ้างชาวลาวชื่อนายXXX อายุประมาณ 26 ทำหน้าที่บังคับเครื่องตอกเสาเข็ม ขณะเกิดเหตุ อยู่ในขั้นตอนบังคับเครื่องฯ ดึงเสาเข็มต้นที่ 2 ให้ตั้งขึ้นเพื่อต่อเชื่อมกับเสาเข็มต้นแรกที่ตอกลงไปแล้ว
ขณะดึงเสาเข็ม ลูกจ้างใช้มือซ้ายจับที่สลิงเพื่อควบคุมให้สลิงเรียงอยู่ในกว้านแล้วถูกสลิงที่เส้นลวดขาดเล็กน้อยเกี่ยวถุงมือทำให้เสียหลักล้มลง และแขนเข้าไปบริเวณจุดหนีบระหว่างกว้านและสลิง จึงถูกสลิงตัดแขนซ้ายขาดตั้งแต่ข้อศอกลงมา
มาตรการป้องกัน
1. จัดให้มีตะแกรงหรือที่ครอบปิดคลุมส่วนที่หมุนได้และส่วนส่งถ่ายกำลังให้มิดชิด
2. จัดให้มีพื้นสำหรับยืนทำงานได้อย่างมั่นคง แข็งแรง
3. จัดให้ผู้บังคับเครื่องตอกเสาเข็ม ได้รับการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
4. จัดให้มีข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องตอกเสาเข็ม ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย จัดให้มีการอบรม และฝึกปฏิบัติจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งวางระบบควบคุม กำกับ ดูแล โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของ จป.ทุกระดับ
5.จัดให้มีผู้ควบคุมงาน ทำหน้าที่ตรวจความปลอดภัยในการทำงานก่อนและขณะปฏิบัติงานทุกขั้นตอน
6.ติดป้ายข้อบังคับการทำงานเครื่องตอกเสาเข็ม/ป้ายสัญลักษณ์เตือนอันตราย และการสวมใส่ PPEไว้ในจุดหรือตำแหน่งที่ผู้บังคับฯ เห็นได้ชัดเจน
     ต้องขอขอบคุณพี่กบ คุณสุรศักดิ์ บรรลือศักดิ์ ศปร. เขต 10 ที่ไปสอบสวนอุบัติเหตุเคสนี้
เคสนี้ ไม่ปรากฏในสื่อหลัก...แต่เป็นที่สนใจว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ในกลุ่มเครือข่ายความปลอดภัย...ชมรม จป. ต่างๆ

    นี่คำกล่าวข้อความของท่านอาจารย์หญิงผู้มีแต่ให้กับวงการ ให้น้อง ๆ จป ได้มีความรู้ ความเข้าใจในเครสอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ป้องกัน มิให้เกิดซ้ำ
                                   ปัญหา คือ โอกาส ปัญหา คือ ความก้าวหน้า.....

  

  

 

Visitors: 568,530