BBS : (Behavior-based safety) การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย

สวัสดีครับ 

   ต้องขอขอบคุณ ท่านอาจารย์    ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย และท่านอาจารย์ วีรพัชน์ เปล่งศรีสกุล  ที่ทำให้รู้และเข้าใจเรื่อง BBS  การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย

    ขอขอบคุณครับ ที่แวะมาหาความรู้เพิ่มเติมกัน อย่าลืมช่วยกันแชร์กันด้วย  การให้ เป็นสิ่งดี เริ่มต้นของการมีมนุษย์สัมพันธ์ 

      ผม นายวินัย ดวงใจ  จากได้รับการอบรม และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ด้านจิตสำนึกความปลอดภัย การตระหนักความปลอดภัย ในการทำงาน ผมพร้อมที่ไปเผยแพร่ความรู้ด้านนี้  ด้วยเนื้อหา ข้อมูล เพื่อให้เพื่อนพนักงาน เข้าใจง่าย ด้วย รูปภาพ คลิปวีดีโอ ประสบการณ์ตรง ก่อให้เกิดการคิดได้ ทำได้ ด้วยตนเองและชี้แนะให้กับเพื่อนร่วมงานได้    

      เน้น  Work shop    ทำโครงการ BBS  วัดผลการดำเนินงาน  BBS กี่เปอร์เซ็นต์ ได้ทุกสัปดาห์ และสัปดาห์ไหนไม่ได้ตามเป้าหมาย เราสามารถทราบว่าพนักงานคนไหนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อที่จะได้พูดคุย แนะนำ อธิบายถึงการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้ ให้ปรับเปลี่ยน ปลูกฝังพฤติกรรมปลอดภัย

      ขอโอกาสผมด้วย สนใจติดต่อมาได้ครับ  วินัย  ดวงใจ  webmaster@welovesafety.com ,winaibangpoo@gmail.com มือถือ 0855101555 กรรมการบริหารสมาคมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จังหวัดสมุทรปราการ และกรรมการบริหารชมรมอุตสาหกรรมบางปู ด้านประชาสัมพันธ์ และดูแลเวปไซด์ ทั้งสอง     

       อยากใช้ผม ก็เลือกผม ขอโอกาสผมสักครั้ง  ข้อมูลเนื้อหาเข้าใจง่าย ปฏิบัติได้จริง เห็นผลได้ชัดเจน พฤติกรรมเปลี่ยน ชีวิตปลอดภัย มีคุณค่า และมั่นคงในชีวิต

โครงการกำจัดพฤติกรรมเสี่ยงBehavior  Based  Safety  (BBS)

1.  บทนำ  (Introduction)          ทำไมใส่อุปกรณ์ไปที่สถานที่ทำงานมากมาย แต่อุบัติเหตุจึงไม่ลด ก็มาดูว่าคงอยู่ที่พฤติกรรมคนการทำโครงการกำจัดพฤติกรรมเสี่ยง  บางแห่งต้องจ้างคนที่ปรึกษามาช่วย วันละเป็นแสนบาท  ถูกๆ  ก็เป็นหมื่นบาท  หากเราสนใจก็มาฟังเล่าสู่กันฟังฟรีๆ 

            การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย  (Safety  Culture)  นั่นสำคัญ ไปเน้นที่คนที่พฤติกรรมคนโดยมีทิศทางที่วัฒนธรรมความปลอดภัย  และไม่มีประณีประนอมหากไม่ปลอดภัย 

             การสร้างวัฒนธรรมนั้นไม่ง่ายต้องใช้เวลานาน  ค่อยๆ  เปลี่ยนไป สร้างได้บ้างสร้างไม่ได้บ้าง  ต้องใช้ความละเอียดอ่อน

 2.  โครงสร้างความปลอดภัย  (Safety  Base  Structure)  

             โครงสร้างปิรามิดจากสถิติอุบัติเหตุมีดังนี้ 

            -  อุบัติเหตุร้ายแรงมีน้อยที่ถึงแก่ชีวิต  (1  ส่วน)

            -  บาดเจ็บรุนแรงขึ้นหยุดงาน  (30  ส่วน) 

             -  บาดเจ็บเล็กน้อยขั้นปฐมพยาบาล  (300  ส่วน) 

             -  เกือบเกิดอุบัติเหตุ  (3,000  ส่วน) 

             -  เกิดสภาพเสี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง  (30,000  ส่วน) 

              การทำการรณรงค์ก็มีการดูที่สภาพเสี่ยง  (Unsafe  Condition)  และพฤติกรรมเสี่ยง  (Unsafe  Act)   มีการรณรงค์เกี่ยวอุบัติเหตุ  (Near  Miss  Champion)  การรณรงค์พฤติกรรมเสี่ยง  (Unsafe  Killer) 

               การลดพฤติกรรมเสี่ยง  อุบัติเหตุก็ไม่เกิด  การแก้ที่สภาพงาน โดยการใส่การ์ดใส่อุปกรณ์ป้องกันเครื่องจักรนั้นแก้ง่าย  แต่การแก้พฤติกรรมนั้นยาก 

              ความปลอดภัย  คือการไม่เกิดอุบัติเหตุจริงหรือเปล่า  คำตอบคืออาจไม่จริง  เพราะความเสี่ยง ยังมีอยู่แต่ยังไม่ครบรอบการเกิด  เพราะการเกิดครบรอบยาวนาน  เช่นเครื่องจักรไม่มีการ์ดครอบเลย แต่ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุเลยนั่นคือ  อาจเป็นเพราะคนน้อย  คนไม่เสี่ยง  แต่สภาพหน้างานยังคงมีความเสี่ยงอยู่

 3.  การกำจัดพฤติกรรมเสี่ยง  (Behavior-Based  Safety)

                BBS  คือกระบวนการในการวิเคราะห์ค้นหาและคัดเลือกพฤติกรรมเสี่ยงแล้วดำเนินการกำจัดออกไป               

BBS  จึงเป็นการแก้ไขที่พื้นฐานของการเกิดอุบัติเหตุ  “พฤติกรรมเสี่ยง”   

           พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สังเกตได้และวัดได้  ความปลอดภัยจากการทำงานเกิดจาก

              -  ตัวคน

             -  สภาพแวดล้อม 

             -  พฤติกรรมคนคนทำงานที่ปลอดภัย 

             -  ความสามารถร่างกายที่เหมาะสม

              -  ประสบการณ์ที่มากกว่า

               -  การฝึกอบรมที่ดีสิ่งแวดล้อม

               -  เครื่องจักรดี 

                -  เครื่องมือดี

               -  กระบวนการทำงานดีพฤติกรรม 

               -  มีพฤติกรรมปลอดภัย

               คนเราทำงานมักมีพื้นฐานพฤติกรรมดั่งเดิม  (สันดาน,สันดานดิบ)  ประมาณ  95%  คนทำงานมาจากหลากหลายที่  การทานอาหารที่หนึ่งแล้วเก็บจาน   เพราะว่ามีกฎกติกาให้ทำก็ทำ  พอมาที่โรงงานไม่เก็บ เพราะไม่มีกติกาบังคับ  ถามเรื่องจิตใจอาจไม่ชอบก็ได้               การสร้างจิตสำนึกที่ดีสร้างยาก  ก็เลยมาเน้นที่สร้างพฤติกรรมคน               พฤติกรรมอยากมีเมียน้อย  จิตอยากมี  แต่มีไม่ได้เพราะเมียมาคุมอยู่  เมียบอกจิตคิดได้แต่อย่ามีเมียน้อยก็แล้วกัน

              พฤติกรรมองค์กรอยากให้คนในโรงงานเข้าโรงงานแล้วต้องใส่หมวกนิรภัยและรองเท้านิรภัย  หากคนส่วนใหญ่ใส่หมวก  ผู้มาใหม่ก็ต้องใส่ตาม  มิเช่นนั้นจะเห็นหัวดำแปลกๆ  คนรอบๆ  ก็จะมองตาม  การขับเคลื่อนพฤติกรรมอาจไม่ต้องพูดแต่อาจใช้คนหมู่มากมาทำ  คนมาใหม่ก็ทำตามโครงสร้างพฤติกรรม 

           -  ต้องมีตัวกระตุ้นสิ่งเร้า  (Antecedent)   อาจเป็นสิ่งของ  คน  เหตุการณ์  สิ่งแวดล้อม

           -  เกิดพฤติกรรม  (Behavior)  เป็นสิ่งที่เราแสดงออกมา 

           -  ผลเกิดต่อเนื่อง  (Consequences)   เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการทำเป็นด้าน + และ –กฎพื้นฐานในเรื่องพฤติกรรม

           -  พฤติกรรมใดที่กระทำแล้วมีผลดีหรือประสบความสำเร็จจะถูกสนับสนุนให้ทำอีกและนำไปสู่การคิดเป็นนิสัย               -  พฤติกรรมใดที่กระทำแล้วมีผลเสีย  ผิดหวังจะมีแนวโน้มไม่อีกอีก

               การทำพฤติกรรมเสี่ยงแล้วทำให้เกิดเร็วดี  ง่าย  ก็จะเกิดพฤติกรรมทำอีกหากไม่เกิดผลร้ายขึ้นมาแต่หากขับรถย้อนศรแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา หลั่งน้ำตามาแล้ว ไม่เห็นโรงศพไม่หลั่งน้ำตา  หากเห็นโลงศพก็หลั่งน้ำตาก็จะเปลี่ยนพฤติกรรม

               -  พฤติกรรมไม่ปลอดภัย 

               -  เกิดความผิดพลาด/เสียหาย

               -  แนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลง

               -  พฤติกรรมที่ปลอดภัย 

               -  เกิดพฤติกรรมที่ทำซ้ำ

            เรื่องบางเรื่องต้องเจอเองสัมผัสเอง  เตารีดร้อนถูกสักครั้งก็จะกลัว  แต่บางอย่างก็เรียนรู้จากคนอื่นที่บาดเจ็บหากเกิดพฤติกรรม  ดังนี้  

                -  พฤติกรรมไม่ปลอดภัย

               -  เกิดผลดี 

               -  ก็จะทำซ้ำของเดิม

               -  พฤติกรรมเสี่ยงยังคงมีอยู่

               -  รอวันเกิดอุบัติเหตุ

               กิจกรรมความปลอดภัยทำไมต้องมากับรางวัลทำแล้วได้รางวัล  ทำดีถูกด่า  ทำเสี่ยงได้ในคำชมว่าเร็วดีก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม               กิจกรรมที่ทำดี คำชมก็จะรักษาพฤติกรรมความปลอดภัยที่ดี               พฤติกรรมก็สามารถสร้างได้ทั้งทาง + และทาง -   

             -  การส่งเสริมทาง + โดยการให้คำชมให้รางวัล 

             -  การใช้วิธีการทาง - โดยการลงโทษ  ตำหนิ  ดุด่า  ต่อว่า 

             พฤติกรรมที่อยากได้ควรใช้ทางบวก +  แต่หลายอย่างก็จำเป็นต้องใช้ทางลบโดยการปรับและลงโทษ  การจับผิด 

4.  ยุทธวิธีในการแก้ไขพฤติกรรม  (Behavior  Modification)

              -  เพิ่มความสะดวกสบายหรือผลประโยชน์ให้กับผู้มีพฤติกรรมที่ปลอดภัย  เช่นระยะทางไกลเบิกของได้ง่าย 

               -  กำจัดสิ่งที่ขัดขวางพฤติกรรมที่ปลอดภัย

               -  เพิ่มความไม่สะดวกสบายหรือลดผลประโยชน์ให้กับผู้มีพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เขาไม่อยากเสี่ยง

           5. หลักการของ  BBS          มุ่งเน้นการสังเกตพฤติกรรมโดยการไปดูที่หน้างานแล้วดูว่าเขาทำงานอย่างไร  (Task  Observation)  โดยเอาคู่มือการทำงานมาดูแล้วไปเทียบกับพฤติกรรมที่หน้างานจริงว่าเตกต่างกันแค่ไหน               มุ่งเน้นกระตุ้นการทำพฤติกรรมเชิงบวก  ไม่ใช่การจับผิดแต่บอกว่าทำถูกอย่างไรบอกให้เขาทราบ 

             หากเขาทำพฤติกรรมเสี่ยงเราก็บอกว่าพฤติกรรมปลอดภัยเป็นอย่างไร

             เราดูคนปลอดภัยกับสถานที่ปลอดภัย               การบาดเจ็บก็คือ  ความผิดพลาดของระบบการจัดการ               กระบวนการ  BBS  คือการวัดผล 

           กลยุทธ์การกำจัดพฤติกรรมเสี่ยง ระบบ ฺBBS   มี 4 กลยุทธ์

           1.  หยุด

           2.  สังเกตุ

           3. ทักทาย

           4. กำชับ

 

            ขั้นตอน  BBS  มีดังนี้ 

             1.  ชี้แจงหลักการ  BBS

              2.  ค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงโดยกลุ่มงานของตัวเอง 

              3.  คัดเลือกพฤติกรรมเสี่ยง

              4.  การสื่อสารพฤติกรรม

               5.  จากเดิมมีกี่  %  

               6. เข้าสังเกตการทำงานแต่ละกลุ่ม 

             7.  รายงานผล 

             8.  เสนอแนะการค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง 

       พบบ่อยๆ  หรือเคยส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุลองนึกถึงอุบัติเหตุเก่าๆ ที่เคยเกิดมีอะไรบ้าง

        พอนึกถึงพฤติกรรมเสี่ยงต้องนึกถึงการกระทำ  เช่นไม่ใส่หมวก  สูบบุหรี่  ไม่ใส่เข็มขัดนิรภัย  ขับรถเร็ว  ไม่ใส่ชุดเคลียร์ฝุ่น  ถอดการ์ดออก  ไม่ใส่หน้ากากกันฝุ่น  ไม่อ่านฉลากเตือน  ใช้เครื่องมือไม่ปลอดภัยเอามาใช้  เมาแล้วขับ  ไม่หยุดเครื่องจักรขณะเคลียร์ฝุ่นไม่แขวนป้ายก่อนเข้าทำงาน  หยอกล้อขณะทำงาน  ลัดขั้นตอนเคยชิน?  (เป็นอาการยังไม่ชัด)  ข้อรถเร็วสูงถอยโดยไม่ให้สัญญาณพฤติกรรมควรจับต้องได้วัดได้  เช่นขับรถเร็วเกิน  30  กม./ชม.  ในเขตโรงงานอยู่บ่อยๆ  ความเสี่ยงแต่ละงานแตกต่างกันการคัดเลือกพฤติกรรม 

       -  พิจารณาจากผลของพฤติกรรมเสี่ยง  (รุนแรง  ถี่บ่อย)

               -  ความยากง่ายในการแก้ไข  (เลือกง่ายก่อนเพื่อสร้างกำลังใจ) 

               -  ความพร้อมที่จะทำ/ความอยากทำ  (สิ่งสนับสนุนต่างๆ) 

               -   สังเกตและวัดได้ 

             พฤติกรรมเสี่ยง  เคยเกิดพบบ่อยๆ  การส่งผลจัดลำดับความสำคัญอย่างไรมีสถานที่ทำงานอุบัติเหตุ  ก่อน-หลัง การสื่อสารพฤติกรรม                ชี้แจงสื่อสารพฤติกรรมความปลอดภัยที่ต้องการให้พนักงานแลคู่ธุรกิจทราบ

                -  การไม่ใส่หมวกขณะทำงานก็เป็นพฤติกรรมใส่หมวกในที่ทำงาน

                -  การคุยกันให้ทราบเป็นหน้าที่ของทุกตนๆ  ที่ต้องช่วยกันเตือนช่วยกันบอกสื่อสารให้ทราบและเข้าใจให้ตรงกันไม่ใช่เข้าใจไปคนละทาง 

               -  สอนให้ผู้จัดการกลุ่มทราบจากที่ประชุมแล้วไม่ไปเล่าต่ออย่างนี้มีปัญหากระบวนการสังเกตพฤติกรรม                1.  วางแผนจะไปสังเกตที่ไหน  เมื่อไป  เรื่องอะไร

               2.  การสังเกต  พฤติกรรมปลอดภัยและเสี่ยง

               3.  การให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงและให้กำลังใจ

               4.  การบันทึกว่าพบอะไรทำไมจึงเกิดขึ้นจะทำอย่างไรพิจารณาสถานการณ์ต่อไป

                  -  พบลูกน้องทำงานดีก็ต้องชม

                  -  พบลูกน้องทำพฤติกรรมเสี่ยงใช้หน้ากากกระดาษมาเชื่อมโลหะก็เข้าไปสอบถามว่ารู้หรือเปล่าว่าจะเกิดอะไรขึ้น  เช่นระวังไฟจะลุกที่กระดาษ

                   -  การไม่ว่าก็แสดงว่ายอมรับและทำต่อดังนั้นหากพบพฤติกรรมไม่ดีหรือเสี่ยงต้องตักเตือน

                   -  หากพฤติกรรมดีแล้ว  เฉยๆ 

                   -  ดังนั้นต้อง  “ช่วยกันชม  ช่วยกันเตือน”  ไม่ต้องแยกหน่วยงานก็จะเกิดพฤติกรรมความปลอดภัยในองค์กรเป็นองค์กรความปลอดภัย 

                 -  อย่าลืม...พฤติกรรมที่คุณทำวันนี้จะมีผลถึงพฤติกรรมของลูกน้องในอนาคต

               -  หากคนพูดไม่ทำแล้วมาสอนคนอื่นย่อมไม่มีใครเชื่อ

               -  ทุกคนจะมองไป  พนักงานปฏิบัติการก็มองหัวหน้างานหัวหน้างานก็มองผู้จัดการผู้จัดการก็จะเกิดการละเลย

               -  การละเลยลูกค้าเก่าแล้วแต่เอาใจลูกค้าใหม่อย่างนี้อาจรักษาลูกค้าเก่าไม่ได้

               -  การชมก็ต้องบอกด้วยว่าเราชมเรื่องอะไร

               -  การชมอย่าลืมจบด้วยความเป็นห่วงใยจะสร้างความประทับใจ

               -  การตักเตือนถามด้วยว่าทำไมจึงทำ  บอกอันตรายที่จะเกิดขึ้นให้ทราบมีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง  (มีติดขัดอะไรหรือเปล่ามีอุปสรรคอะไรบ้าง)  จะให้ช่วยอะไรบ้าง

               -  เมื่อพบพฤติกรรมเสี่ยงพนักงานใหม่ไม่ใช่ปลอกแขน

               -  ปลอกแขนหายเสีย  200  บาท  ก็เลยเก็บไว้ที่บ้านอย่างนี้หรือเปล่า 

               -  แต่เราอาจคิดว่า  เขาอายหรือเชย

               -  การให้ความช่วยเหลือ 

               -  ถามอุปสรรค์

               -  จะช่วยทำอะไรให้บ้าง  เบิกให้เขียนให้ 

               -  หาทางปรับพฤติกรรม 

             -  การตักเตือนทุกครั้งตรวจด้วย  ความเป็นห่วงใย 

             -  ความห่วงใย 

                         -  มารถเก๋งกลับรถตู้  (รถพยาบาล) 

                         -  มาทำงานแล้วครบอาการ  32  ถือว่าโชคดีการให้คำแนะนำ

               -  พูดจาภาษาเดียวกันสื่อสารง่ายๆ 

                -  แสดงความห่วงใยด้วยความรู้สึกมากกว่าคำพูด 

               -  น้ำเสียง  “ห่วงใย  เป็นมิตร”   

              -  พูดถึงเรื่องพฤติกรรมไม่ใช่บุคคล

              -  พูดกับเขาเรื่องความปลอดภัยพร้อมกับงานของเขาเป็นเรื่องเดียวกัน 

             -  มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหา 

             -  จบด้วย  “เป็นห่วงใยคุณนะ”ตัวอย่างเหตุการณ์

               หัวหน้างานเห็นลูกน้องไม่ใส่แว่นตาแล้วก็เข้าไปส่งให้ใส่แว่นตาแล้วก็เดินจากไป  หัวหน้าขาดทักษะอะไรบ้างมีไม่สอบถามสาเหตุ  ไม่อธิบายเหตุอันตราย  ไม่แนะนำจะช่วยอะไรบ้างไหมไม่แสดงความห่วงใยการกำหนดเป้าหมาย 

             -  แต่ละเซลล์ต้องหาฐานข้อมูลในพฤติกรรมที่กำหนด 

             -  ตั้งเป้าหมายเพิ่มพฤติกรรมที่ปลอดภัยนั้นๆ  ภายใน  2  เดือน  (ก่อนแก้ไข-หลังแก้ไข)  เช่นการใส่หมวกนิรภัย  70%  เพิ่มเป็น  100%  ภายใน  60  วัน  นับจากวัน  Kick  Off การสังเกตพฤติกรรมโดยผู้สังเกตแต่ละเซลส์จะส่งตัวแทนมาเป็นกลุ่มผู้สังเกตุ   การซุ่มเฝ้าดูโดยการไปจับถูก  ไม่ใช่  จับผิดแบบฟอร์มการสังเกตุพฤติกรรม               มีหน่วยงานพฤติกรรมที่ดูวันที่สังเกตุ  พื้นที่ที่กำหนดพฤติกรรมปลอดภัย  (นับแต้ม  \\\\)  %พฤติกรรมปลอดภัย  (พฤติกรรมปลอดภัย/(พฤติกรรมปลอดภัย-พฤติกรรมเสี่ยง)  คูณ  100  หลักการคือ  ใครเข้าพื้นที่เราต้องปฎิบัติตามกฎที่เรากำหนด 

              BBS  เน้นวิเคราะห์ว่าสาเหตุที่มีพฤติกรรมเสี่ยงแล้วก็เข้าไปแนะนำ  หาทางช่วยเหลือทำการช่วยเหลือและจบด้วยความห่วงใย               หากมีคนไม่เชื่อฟังก็ต้องวิเคราะห์ว่าทำไม  เช่นไม่เคยชินไม่ทราบทำมานานแล้วไม่เคยลงโทษเขาหาอุปกรณ์ไม่ได้เข้าเขตได้ง่ายคุยกับนายของเขาหรือเปล่านายเขาไม่สนับสนุนหรือเปล่าการดำเนินโครงการ  BBS 

        กำจัดพฤติกรรมเสี่ยง  2  เดือน  ต่อพฤติกรรมเมื่อแก้ไขตามเป้าหมายให้แก้ไขพฤติกรรมต่อไป  การตรวจพฤติกรรมที่  2  ก็จะตรวจพฤติกรรมที่  1  ร่วมด้วยจัดการสลับผู้เฝ้าสังเกตุหลักการ  BBS

          -  จับถูกไม่จับผิดดูว่าพฤติกรรมที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นขนาดไหน

          -  ต้องอำนวยความสะดวกให้การปฎิบัติเป็นไปตามพฤติกรรมที่กำหนดไม่ว่าจะเป็นการเบิกของและอื่นๆ

         -  พฤติกรรมเสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุการบาดเจ็บ 

         -  พฤติกรรมที่ปลอดภัยจะป้องกันอุบัติเหตุ

         -  กระบวนการป้องกันการบาดเจ็บ

 6.  สรุป  BBS  เราพร้อมหรือยังเราต้องเข้าใจ  BBS  แต่ละกลุ่มงานก็ย่อมแตกต่างกันแต่บางงานเช่นงานซ่อมอาจมีหลายอย่างคล้ายๆ  กัน  มาคิดร่วมกันได้ 

               การไปสังเกตุประเมินงานก็จะรู้ข้อมูลพื้นฐานตั้งเป้าหมายแต่ละกลุ่มเซลส์ต้องหาลงวิธีชักชวนจูงใจให้ลูกน้องทำงานให้ละเลิกพฤติกรรมเสี่ยงให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ไปเลย

               อุบัติเหตุเป็นศูนย์แต่ยังเสี่ยงอยู่นั่นไม่ยั่งยืน

               อุบัติเหตุเป็นศูนย์แต่พฤติกรรมเสี่ยงหมดไปจะยั่งยืนกว่าจงพูดกันให้มากขึ้นฟังกันให้มากขึ้นก็จะสื่อสารรับรู้กันและกันจนเกิดพฤติกรรม  ด้วยความเข้าใจอย่าพึ่งตัดสินใจพิพากษาคนอื่นด้วยความเข้าใจของตัวเองจนฟังเขาให้เขาอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไม

เขาจึงเป็นเช่นนั้น  การเปิดใจ

 

สนใจ คลิ๊กเข้าไปดูที่หลักสูตรที่ผมนำเสนอได้ครับ

ผมนำวิชาการที่ได้เรียนรู้ มาปรับ ประยุกต์ใช้ในการทำหลักสูตร จากท่านอาจารย์ทั้งสองที่กล่าวมาด้านบน และพร้อมนำตัวอย่างการทำจริง และเห็นผลมาแล้ว  ต้องขอบคุณเพื่อน จป ที่ให้คำแนะนำมาด้วย ซึ่งอบรมเสร็จแล้ว สามารถติดต่อ ขอคำแนะนำ ปรึกษาได้  เพื่อสร้างพฤติกรรมให้ปลอดภัย..

ย้ำอีกครั้ง อบรมแล้วทำ BBS ในหน่วยงานได้จริง..ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย ทำได้จริง  เหมาะกับ..สำหรับอุตสาหกรรมโรงงานที่มุ่งสู่ความปลอดภัย ...  สร้างเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัย.... แบบยั่งยืน

 

Visitors: 595,756