-
-
ความรู้ดีดีจากประสบการณ์ จป
-
คำศัพท์ทางความปลอดภัย
-
กฏหมาย จป ฉบับใหม่
-
ภาพเกี่ยวกับSafety
-
ภาพเสี่ยงอันตรายและปลอดภัย
-
ภาพกราฟฟิตเกี่ยวกับ SAFETY
-
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย Unsafe Act
-
สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
-
ภาพโปรเตอร์
-
ความปลอดภัยในวัด
-
ภาพกระทำไม่ปลอดภัย สภาพการณ์ไม่ปลอดภัย Near Miss ,Accident
-
ภาพบันไดที่ปลอดภัย
-
ภาพโปรเตอร์ความปลอดภัยในที่อับอากาศ
-
ภาพสื่อกฏหมาย พรบ.
-
ภาพความปลอดภัยในWarehouse
-
หญิงตั้งครรภ์
-
ภาพความปลอดภัยเครื่องจักร
-
ปรับเปลี่ยนให้ปลอดภัย
-
ดับเพลิง
-
ภาพจุดเสี่ยงอันตรายในสถานประกอบการ
-
ภาพเสี่ยงอันตราย ปรับให้ปลอดภัย
-
-
5ส
-
ความเป็นมาของ 5ส และบทความ
-
คลิปสื่อการอบรมกิจกรรม 5 ส
-
5 ส ในโรงงาน ส สะสาง
-
5 ส ในโรงงาน สะดวก
-
5 ส ในโรงงาน ส สะอาด
-
5ส ในโรงงาน สร้างมาตรฐาน
-
5 ส ในโรงงาน ส สร้างนิสัย
-
ประโยชน์ของการทำกิจกกรม 5 ส
-
5ส และ Visual Control
-
โปรเตอร์ 5 ส
-
การตรวจและประเมินผล
-
ภาพเปรียบเที่ยบก่อนทำและหลังทำ
-
ตัวอย่างบริษัทที่ทำ 5 ส เปรียบเสมีอนเราไปดูงานจริง
-
บอร์ดทำกิจกรรม 5 ส
-
ป้ายประชาสัมพันธุ์ในโรงงาน
-
5ส เพื่อตัวเอง
-
เครื่องมือและเทคนิคการส่งเสริมความปลอดภัย
-
5ส องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต QCDSMPEE หรือ Big Q
-
ถังขยะ
-
ทีมคณะกรรมการ 5ส
-
ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการทำ 5ส ให้ประสบความสำเร็จ
-
1 วันกับ 5ส
-
Big Cleaning Day
-
5ส ที่มองไม่เห็น
-
คู่มือ 5ส
-
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำกิจกรรม 5ส
-
สีที่ใช้ในโรงงาน
-
Thailand 5S Award 2022
-
-
5ส โรงพยาบาล
-
5ส เพื่อความปลอดภัย
-
Safety Mind การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย
-
ปรับเปลี่ยนให้ปลอดภัย
-
JSA เทคนิควิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
-
KYT การหยั่งรู้ระวังอันตราย
-
ฮิยาริ Hiyari hatto
-
การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง
-
สาระสำคัญของการประเมินความเสี่ยงอันตรายของสวัสดิการจังหวัดชลบุรี
-
ผู้ชำนาญการฯกับสรุปสาระการประเมินความเสี่ยง
-
การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง
-
การวิเคราะห์เพื่อควบคุมความสูญเสีย
-
การป้องกันอุบัติเหตุ 3 E
-
วิธีปลูกฝังความปลอดภัยให้พนักงาน
-
7 เทคนิควิธี การชี้บ่งอันตรายใช้สำหรับการประเมินความเสี่ยง
-
-
ฺฺBBS ปลูกฝังพฤติกรรมปลอดภัย
-
ไฟล์ข้อมูลการสังเกตุพฤติกรรม
-
การพูด
-
ทำไม ต้อง BBS
-
BBS : (Behavior-based safety) การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย
-
SOT : Safety Observation Tour
-
ผมเชื่อพฤติกรรมเปลี่ยนได้
-
Safety with Krisana
-
การ์ด..การพยากรณ์ความปลอดภัย และยุทธวิธีสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร
-
ทฤษฎี ABC
-
ประสบการณ์ในการทำ BBS
-
การพัฒนาความปลอดภัยต้องควบคุมพฤติกรรม
-
ปิรามิดความปลอดภัย
-
BBS:what if พูดให้คิด ดีกว่าบอกให้เขาทำ
-
ภาพจุดเสี่ยงอันตรายในโรงงานสำหรับฝึก BBS
-
BBS ตัวอย่างที่ SP GROUP
-
วัฒนธรรมความปลอดภัย แต่ละบริษัท
-
การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย
-
-
SOT : Safety observation Tour
-
หยุด เรียก รอ
-
HORENSO
-
มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน
-
Safety Talk ก่อนทำงาน
-
Safety Talk
-
Safety Talk Show
-
โรคจากการทำงาน
-
การยศาสตร์
-
การสอบสวนอุบัติเหตุ
-
ทักษะหัวหน้างาน บทบาทหน้าที่
-
ภาวะผู้นํา (Leadership)
-
การขับขี่ปลอดภัย (Defensive Driving)
-
ขับขี่ปลอดภัยเชิงป้องอุบัติเหตุ
-
น้ำหนักบรรทุกของรถขนส่ง
-
สาเหตุที่ลูกค้าร้องเรียน
-
คลิปอุบัติเหตุเกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัย
-
คลิปเตือนภัยสำหรับรถจักรยานยนต์
-
ขับขี่ปลอดภัยรถขนส่งสารเคมีอันตราย
-
แนะนำวิธีรับมือเหตุฉุกเฉินบนรถบัสเบื้องต้นครับ
-
มาตรการป้องกันและระงับเหตุไฟไหม้รถบัสรับส่งนักเรียน
-
มารยาทของพนักงานขับรถบรรทุก
-
อุบัติเหตุบนถนน ภัยจากการเดินทาง แนะนำผู้ขับขี่ปลอดภัย
-
-
Kaizen&Ssfety
-
แผ่นดินไหว
-
................................
-
การยศาสตร์เพื่อความปลอดภัย
-
ความปลอดภัยด้านเครื่องจักร
-
ความปลอดภัยสารเคมีอันตราย
-
การควบคุมและความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย
-
คู่มือเกี่่ยวกับสารเคมีและสารอันตราย
-
อันตรายจากสารเคมีเข้าตา
-
SDS มาจากคำเต็มว่า Safety Data Sheet
-
โรงงานที่ต้องจัดให้มีบุคคลากรเฉพาะ(บฉ)
-
การเก็บสารเคมีให้ถูกต้อง
-
ไฟล์อบรมสารเคมีอันตราย
-
โปรเตอร์สารเคมีอันตราย
-
แผนรองรับเหตุฉุกเฉินสารเคมีรั่วไหล
-
PPE
-
ประเมินสุขภาลูกจ้างกรณีการใช้สารเคมี
-
เกร็ดความรู้จาก สสปท
-
กฏหมายเคมี
-
การรายงานสารเคมีอันตราย
-
-
ความปลอดภัยสารไวไฟ
-
ความปลอดภัยด้านไฟฟ้า
-
ความปลอดภัยด้านไฟฟ้า
-
การรับรองความรู้ความสามารถช่างไฟฟ้าภายในอาคาร
-
กฏหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยไฟฟ้า
-
โปรเตอร์เกี่ยวกับไฟฟ้า
-
กฏหมายเกี่ยวกับไฟฟ้า
-
การ์ตูนความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้าในงานก่อสร้าง
-
คลิปความปลอดภัยด้านไฟฟ้า
-
โปรเตอร์เกี่ยวกับไฟฟ้า
-
คลิปอุบัติเหตุจากไฟฟ้า
-
จ้าของบ้านต้องรู้ไว้ สมอ.ออกกฎใหม่
-
คู่มือแบบตรวจสอบพร้อมคาอธิบาย (Checklist) มาตรการการป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
-
ไฟล์ความรู้ความปลอดภัยไฟฟ้าโหลดได้
-
หลักการป้องกันและควบคุมอันตราย จากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
-
-
ความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย
-
การป้องกันเหตุอัคคีภัย
-
แนวการจัดทํา แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย
-
โปรเตอร์รณรงค์การป้องกันอัคคีภัย
-
สตง.ตรวจพบโรงภาพยนตร์ทั้งหมดใน กทม.มีระบบป้องกันอัคคีภัยไม่ได้มาตรฐาน
-
ป้องกันเพลิงไห้มและไฟป่า
-
ความปลอดภัยอัคคีภัย2
-
คลิปวีดีโอความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย
-
ถังดับเพลิง
-
การซ้อมแผนดับเพลิง-หนีไฟ
-
Checklist ดับเพลิงในสถานประกอบการ
-
เส้นทางหนีไฟ หนทางความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม
-
-
ความปลอดภัย สภาพแวดล้อม
-
ความปลอดภัยงานเชื่อมไฟฟ้า
-
ความปลอดภัยเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บ
-
ความปลอดภัยรถบรรทุกขนส่ง
-
ความปลอดภัยยานพาหนะ
-
ทางร่วมทางแยกอันตรายที่ต้องระวัง
-
กฎการขับรถอย่างปลอดภัย
-
ถุงลมเสริมความปลอดภัย เข็มขัดนิรภัย ท่านั่งขับรถ ความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม
-
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่
-
การเตรียมตัวก่อนทำการขับรถ
-
ความปลอดภัยรถตู้
-
จุดชาร์ตแบตเตอรี่ของรถโฟร์คลิฟท์ในตัวอาคาร มีวิธีการอย่างไร
-
วิธีเอาตัวรอด....เมื่อยางรถระเบิด เวลาขับรถ
-
จ่อคลอดกม.คุมเข้มรถบรรทุกถังแอลพีจี
-
ไฟล์อบรม และแบบทดสอบรถยกฟลอคลิท์
-
สาระน่ารู้! สิ่งที่ร้านยางไม่เคยบอก และเจ้าของรถควรรู้ การใส่ยางที่ถูกต้อง
-
เรื่องยางรถยนต์
-
กฏหมายจราจรใหม่ 2565
-
-
ความปลอดภัยรถยก
-
ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
-
ไฟล์การทำงานบนที่สูง1
-
คู่มือความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง
-
อันตรายจากนั่งร้าน
-
คู่มือ
-
คู่มือความปลอดภัยการเชื่อมภาษาพม่า
-
ข้อมูลการบริหารจัดการในภาพรวม
-
การวิเคระห์ความเสี่ยงในการก่อสร้างอาคารสูง
-
10 ขั้นตอน #ตรวจความปลอดภัยให้ได้งาน 10 Steps for a Successful Safety Site Visit
-
บันไดทำงานบนที่สูง
-
คลิปความปลอดภัยงานก่อสร้าง
-
ไฟล์ อบรมงานก่อสร้าง
-
wi การทำงานนั่งร้าน
-
Check list ทำงานบนที่สูง
-
Check list งานก่อสร้าง
-
-
ความปลอดภัยทำงานบนที่สูง
-
ความปลอดภัยที่อับอากาศ
-
ไฟล์ข้อมูลที่อับอากาศ
-
คู่มือการตรวจสุุขภาพที่อับอากาศ โดย สมาคมโรคจากการประกอบอาชี
-
15 สิ่งที่ทำงานในที่อบอากาศให้ปลอดภัย
-
มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในสถานที่อับอากาศ ตามกฏหมายความปลอดภัยในการทำงาน
-
WI งานที่อับอากาศ
-
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ
-
โปรเตอร์ที่อับอากาศ
-
ตัวอย่างหนังสือแต่งตั้ง ผู้อนุญาตทำงานที่อับอากาศ
-
-
ความปลอดภัยด้านหินเจียร
-
ความปลอดภัยการยกสิ่งของ
-
ความปลอดภัยด้านเครน
-
ความปลอดภัยงานเชื่อม
-
ความปลอดภัยในโรงเรียน
-
โครงการ โรงเรียนปลอดภัย
-
อุปกรณ์ส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
-
คลิปความปลอดภัยเกี่ยวกับเด็ก
-
อุบัติเหตุในโรงเรียน
-
อันตรายจากรถตู้รับส่งเด็กนักเรียน
-
การบรรยายด้านความปลอดภัย
-
กิจกรรมให้น้องๆที่โรงเรียน
-
โครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ร่วมกับ โรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ)
-
อันตรายจากที่บ้าน
-
คลิปวีดีโอความปลอดภัยในโรงเรียน
-
-
ความปลอดภัยด้านรังสี
-
Lock Out Tag Out
-
บทความ Safety
-
ความปลอดภัยในการทำงาน
-
ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ.
-
กฏหมาย พรบ.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
-
................................
-
อุบัติเหตุจากการทำงาน
-
อุบัติเหตุจากการทำงานและตัวอย่างแนวทางการป้องกันแก้ไข
-
อุบัติเหตุในการทำงาน
-
อุบัติเหตุตกจากที่สูง
-
อุบัติเหตุการระเบิด
-
อุบัติเหตที่เกิดจากสิ่งของ อุปกรณ์
-
อุบัติเหตุจากเครื่องจักร
-
อุบัติเหตุจากเครื่องมือ
-
อุบัติเหตุงานก่อสร้าง
-
อุบัติเหตุโรงงานไฟไหม้
-
อุบัตฺเหตุจากไฟฟ้า
-
อุบัตฺเหตุจากรถยกโฟลคลิฟท์
-
อุบัติเหตุในการทำงานส่วนอื่นๆ
-
อุบัติเหตุจากโทรศัพท์
-
อุบัติเหตุที่อับอากาศ
-
อุบัติเหตุจากแก๊ส สารเคมีไวไฟ
-
อุบัติเหตุไม่ปิดเครื่องจักรก่อนแก้ไขงาน
-
อุขัติเหตุจากงานเช่ื่อม
-
อุบัติเหตุเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
-
ถอดบทเรียนอุบัติเหตุ
-
3E และมาตรกรป้องกัน
-
-
อุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน
-
อันตรายจากการใช้โทรศัพท์
-
Clip Safety & Accident
-
คลิปด้านการบริหารความปลอดภัย
-
คลิปการกระทำไม่ปลอดภัย
-
Clipเกี่ยวกับรถยก forklift
-
คลิปเกี่ยวกับการจราจร
-
คลิปเกี่ยวกับโทรศัพท์
-
คลิปเกี่ยวกับเครื่องจักร
-
คลิปเกี่ยวกับการทำงานทั่วไป
-
คลิปเกี่ยวกับไฟฟ้า
-
คลิปอบรมพนักงานใหม่
-
คลิปความปลอดภัยผู้มาเยี่ยมเยือน
-
คลิปLean Behavior Based Safety
-
คลิปเกี่ยวกับPPE อุปกรณ์คุ้มครองส่วนบุคคล
-
คลิปความปลอดดภัย Warehouse
-
คลิปอันตรายบันไดเลื่อน
-
คลิปความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้บันไดทำงานบนทีี่สูง
-
-
................................
-
ประตูความปลอดภัย Safety Gate
-
บอร์ดความปลอดภัย
-
Safety Week
-
Safety Plan
-
สื่อความปลอดภัยภาษาต่างประเทศ
-
คู่มือความปลอดภัยในการทำงานภาษาพม่า
-
ความปลอดภัยด้านไฟฟ้าภาษาพม่า
-
การป้องกันอัคคีภัย ภาษาพม่า
-
การใช้บันไดถูกวิธี ภาษาพม่า
-
กิจกรรมรณรงค์ 5 ส. (ภาษา ไทย กัมพูชา และเมียนมาร์)
-
ความปลอดภัยเครื่องจักร ภาษาพม่า
-
โปรเตอร์ความปลอดภัยภาษาต่างประเทศ
-
งานก่อสร้าง (6ภาษา)
-
คลิปเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว
-
ป้ายเตือนภายในโรงงาน ภาษาต่างด้าว
-
ป้ายงานก่อสร้าง ภาษาต่างด้าว
-
ข้อปฏิบัติการดับเพลิงและอพยพหนีไฟภาษาลาว กัมพูชาและพม่า
-
-
คู่มือความปลอดภัย
-
คู่มือความปลอดภัยของบริษัท
-
คู่มือความปลอดภัยนานาชาติ
-
คู่มือ รปภ
-
ทางหนีไฟ
-
SOP เอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure, SOP)
-
คู่มือและกฎระเบียบการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าตามที่กฎหมายกำหนด
-
คู่มือความปลอดภัยของผู้รับเหมา
-
คู่มือความปลอดภัยในการขับรถยกโฟคคลิฟท์
-
คู่มือความปลอดภัยในที่อับอากาศ
-
คู่มือความปลอดภัย 2554
-
คู่มือความปลอดดภัย สสปท
-
คู่มือความปลอดภัยในการทำงานโรงงานอาหาร
-
คู่มือควบคุมดูแลสุขอนามัยในโรงงานอุตสาหกรรม
-
แจกไฟล์หนังสือด้านความปลอดภัย
-
-
สิ่งแวดล้อม
-
PPE
-
ซ้อมแผนฉุกเฉิน
-
กิจกรรมดีตามบริษัทฯ
-
Safety กับหน่วยงานราชาการ
-
คปอ
-
ผู้รับเหมา
-
สำหรับน้อง จป ใหม่
-
ฝึกงานเราเรียนรู้ในเรื่องอะไร
-
รายงาน จปว
-
งาน จป
-
จป. คืออะไร
-
จป.วิชาชีพ จบใหม่ เข้าทำงานครั้งแรกต้องทำอะไรก่อน
-
ซ้อมแผนอพยพหนีไฟ
-
อบรมความปลอดภัย
-
หัวหน้างานและลูกน้อง
-
ตรวจความปลอดภัยและตรวจสภาพแวดล้อม
-
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายของเครื่องจักร
-
สิ่งแวดล้อม
-
ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
-
สุขภาพร่างกาย
-
สวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
-
กิจกรรมเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกของลูกจ้าง
-
เทคนิคPresentงานให้ปังเเละมั่นใจ
-
แบบฟอร์มที่ควรนำเอาไปใช้
-
หลักสูตรที่กฏหมายบังคับในการอบรม
-
แบบแต่งตั้ง คปอ. (ใหม่)
-
โครงการโรงงานสีขาว
-
บทความกำลังใจน้อง จป
-
The Mind Map กฏหมาย จป
-
เอกสารที่ต้องส่งราชการ
-
จ่ายเงินค่าอุบัติเหตุในการทำงาน
-
แบบสปร.5
-
-
เพลงความปลอดภัย
-
คลิปไว้เสริมตอนอบรม
-
การสอนงาน
-
ตลกขำขัน คลายเคลีย
-
เรื่องอื่นที่น่าสนใจ
-
สาระน่ารู้ด้านสุขภาพ
-
วิธีสู่ความสำเร็จ
-
-
สมัครรับข่าวสาร
-
-
-
-
-
-
-
-
-
ความเชื่อ แนวคิด และมุมมองของคนรุ่นใหม่ยุคนี้ต่อการทำงาน
โดย:
winai.d
[IP: 61.91.85.xxx]
เมื่อ: 2015-11-25 16:51:48
ผมคิดว่าในการบริหารทรัพยากรบุคคลในยุคปัจจุบันถ้าจะทำให้สำเร็จจริงๆ ก็คงต้องเรียนรู้ว่าคนยุคใหม่นั้นเขาคิดกันอย่างไรบ้าง ทั้งเรื่องของการใช้ชีวิตส่วนตัว และเรื่องของการทำงาน เพราะถ้าองค์กรสามารถเข้าใจแนวคิด และมุมมองของคนรุ่นใหม่มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสามารถนำมาใช้ในการออกแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัทได้มากเท่านั้น
ผมได้อ่านแนวความคิดของคนรุ่นใหม่ต่อชีวิต และการทำงานซึ่งมีคนศึกษาและทำวิจัยไว้ เขาเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Free Radicals ซึ่งแปลเป็นไทยแบบภาษาวิชาการว่า อนุมูลอิสระ ว่ากันจริงๆ ก็คือ เป็นคนที่มีความคิดเป็นของตนเอง มีความเป็นอิสระไม่ค่อยยึดติดกับใคร หรือกับอะไรมากนัก ซึ่งแนวทางการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ๆ ก็มักจะเป็นแนวๆ แบบนี้ ก็เลยเอามาสรุปให้อ่านกันเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ในการเอาไปใช้สำหรับการออกแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรได้
หาและทำงานที่ตนเองรักและชอบ คนรุ่นใหม่ยุคนี้และต่อไปในยุคหน้า จะเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เวลาหางาน หรือทำงาน ก็มักจะหางานและทำงานที่ตนเองรักและชอบ เพราะมีความคิดว่า จะไปทำงานที่ตนเองไม่ได้รักทำไม เพราะมันไม่มีความสุขอย่างแน่นอน ดังนั้นคนรุ่นใหม่ๆ จะไม่มีพฤติกรรมแบบว่า เรียนอะไรมาก็ทำงานแบบที่เรียนมา เด็กบางคนเรียนจบหมอ จบวิศวะ แต่ก็ไม่มีความคิดที่อยากจะทำงานแบบนั้น กลับอยากจะทำงานอย่างอื่นซึ่งเป็นงานที่ตนเองรักและชอบ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำให้ชีวิตของตนเองมีความสุขมากขึ้น ไม่ต้องฝืนที่จะต้องตื่นนอนตอนเช้า ลุกไปทำงานในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ เพราะถ้าเรารักในสิ่งที่เราทำ เราก็จะรู้สึกว่ามันเป็นธรรมชาติ มันเป็นตัวเรา ไม่ต้องฝืนใจทำ
รักอิสระ และเมื่อได้รับอิสระตามที่ตนต้องการ ก็จะสร้างผลงานที่ดีได้ คนรุ่นใหม่เป็นคนที่ชอบและรักอิสระในการใช้ชีวิต และการทำงาน ไม่ชอบการที่มีกรอบมาปิดกั้น ไม่ชอบกฎระเบียบที่ยุบยิบจนเกินไป เวลาทำงานก็ชอบที่จะมีอิสระในการใช้ความคิด และการนำเอาบางอย่างที่เป็นเรื่องส่วนตัวเข้ามาใช้ในการทำงานบ้าง ชอบที่จะทดลอง ทดสอบ และมีส่วนร่วมในการทำงานโครงการต่างๆ ในองค์กร
เชื่อว่าความล้มเหลวเป็นเรื่องปกติ คนรุ่นใหม่ชอบทดลองอะไรใหม่ๆ ดังนั้นการที่เขาทดลองลองอะไรใหม่ ก็ต้องมีสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง ทัศนคติต่อความล้มเหลว หรือการทำงานไม่สำเร็จจึงเป็นเรื่องธรรมดาของคนรุ่นนี้ ความล้มเหลวในบางครั้ง ก็เป็นตัวช่วยให้เขาหาหนทางไปสู่ความสำเร็จได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าคาดหวังความสำเร็จจากเขา ก็ต้องยอมรับความล้มเหลวบ้างเช่นกัน
ไม่เชื่อเรื่องของระบบการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอนเกินไป คนรุ่นใหม่จะไม่มีความอดทนต่อขั้นตอนการทำงานที่ล่าช้า เยอะแยะ เทอะทะ และมักจะมีคำถามและข้อสงสัยต่อระบบงานที่เรียกว่า ระบบงานมาตรฐานขององค์กรว่าจริงๆ แล้วมันเป็นมาตรฐานจริงๆ หรือ และมักจะมองหาวิธีการใหม่ๆ ที่เร็วกว่า ดีกว่า ทำให้ตนเองสบายมากกว่าเดิม มาใช้แทนระบบเดิมๆ ซึ่งตรงจุดนี้เอง ที่อาจจะเห็นขัดแย้งกับคนบางกลุ่มที่มองว่า มาตรฐานก็คือสิ่งที่ดีที่สุด เพราะถ้าไม่ใช่ก็คงไม่เรียกมาตรฐาน แต่คนรุ่นใหม่นี้จะมองว่า ทุกอย่างต้องสามารถทำให้ดีขึ้นได้อีก ดังนั้นมาตรฐานที่ดีที่สุดจึงไม่มี ถึงเวลาก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ ดังนั้นภาพของการทำงานแบบเดิมๆ ขั้นตอนแบบเดิมๆ ในบางองค์กรจึงทำให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ ไม่มีความสุข และไม่ชอบใจ และมักจะพยายามหาทางลัดเพื่อทำให้ได้ผลงานแบบเดิม หรือดีกว่าเดิม แต่ใช้วิธีการแบบใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนเดิม
มองว่าตนเองมีประโยชน์ต่อองค์กร คนรุ่นใหม่มีมุมมองว่า ตนเองเป็นคนที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมาก อยากให้องค์กรมอบหมายงานและใช้งานให้คุ้มค่ากับสิ่งที่เขามีอยู่ ไม่ใช่ปล่อยให้ทำงานไปวันๆ โดยที่ไม่ได้อะไรขึ้นมา หรือถ้ารู้สึกว่า องค์กรนั้นไม่สามารถที่จะใช้งานเขาได้อย่างคุ้มค่าแล้ว เขาก็จะไปให้องค์กรอื่นที่เห็นคุณค่าของเขามากกว่า เพื่อทำงานให้ ดังนั้นคนรุ่นใหม่จึงชอบงานที่ท้าทาย ไม่จำเจ ซ้ำๆ บางคนชอบได้งานที่ต้องคิดเยอะๆ แบบว่าท้าทายมากๆ เพราะเขาจะรู้สึกว่าองค์กรให้ความไว้วางใจกับความสามารถของเขา และเขาจะต้องหาทางทำให้สำเร็จให้ได้ แม้ว่าอาจจะมีความล้มเหลวเกิดขึ้นบ้างก็ตาม
เชื่อเรื่องของการแบ่งปันในสังคมออนไลน์ คนรุ่นใหม่จะมองเรื่องของการแบ่งปันเป็นเรื่องธรรมดา คำว่าแบ่งปันนี้มาจากคำว่า Sharing กล่าวคือ มีอะไร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เห็นอะไร ไม่เห็นอะไร รู้สึกอะไร หรือไม่รู้สึกอะไร ฯลฯ ก็ขอให้ได้ประกาศให้คนอื่นเขารู้ด้วย โดยผ่านสื่อต่างๆ ทางโลกของ social network ดังนั้นบางครั้งเราอาจจะเป็นว่าจู่ๆ คนรุ่นนี้ก็บ่นอะไรที่ไม่ค่อยรู้ว่ามันคือเรื่องอะไรขึ้นไปใน facebook บ้าง ที่แรงๆ เกี่ยวกับองค์กร หรือเจ้านายตัวเองก็มีบ้าง แต่อาจจะไม่มาก เพราะมีระเบียบขององค์กรกำกับอยู่อีกที แต่อย่างไรก็ดี ระเบียบเหล่านี้ ก็ไม่สามารถห้ามคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ได้เลย เพราะเขารักที่จะบอกต่อกันไปเรื่อยๆ รักที่จะแบ่งปันเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของตนเอง และรักที่จะได้รับการตอบสนองในเรื่องราวนั้นๆ จากบุคคลอื่นๆ แม้กระทั่งคนที่เขาไม่เคยรู้จักเป็นการส่วนตัวเลยก็ตาม
เชื่อเรื่องการแข่งขัน และผลของงานมากกว่าเรื่องอื่น คนรุ่นใหม่ไม่สนแล้วว่า ใครจะอายุมากกว่าเขาสักเท่าไหร่ ถ้าไม่เคยทำผลงานอะไรเด่นๆ มาให้เห็น เขาก็จะไม่ค่อยนับถือ สิ่งที่ทำให้คนรุ่นใหม่นับถือได้ก็คือ ผลงานที่โดดเด่น และเป็นแบบอย่างให้เขาได้นั่นเอง ดังนั้นผู้จัดการที่มีแต่อายุเยอะๆ จะมาดูแลคนรุ่นใหม่แบบนี้ ก็คงจะยาก ถ้าผู้จัดการคนนั้นไม่เคยทำผลงานอะไรให้เห็นเด่นชัด อีกทั้งคนรุ่นมองเรื่องการแข่งขันเป็นเรื่องธรรมดามา เพราะการที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้น การแข่งขันกันในการทำงาน หรือทำธุรกิจ จะเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างเกิดผลที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ เขาก็เลยไม่ปฏิเสธว่าชีวิตคือการแข่งขัน และจะต้องใช้การแข่งขันนี้เป็นตัวสร้างผลงานของตนเองให้ดีขึ้น และถ้าองค์กรตอบสนอง และให้รางวัลกับคนกลุ่มนี้โดยเน้นไปที่ผลงานที่แสดงออก ก็จะยิ่งทำให้คนรุ่นใหม่นี้ เกิดความรู้สึกที่ดี และมีพลัง มีแรงจูงใจที่จะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง
อ่านจบแล้วรู้สึกอย่างไรกันบ้างครับ เหมือนหรือต่างกับทัศนคติของตนเองเองสักแค่ไหน ผมว่าสิ่งที่เขียนมาข้างต้นนั้น เกิดขึ้นในบ้านเราแล้ว กับคนรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังทยอยออกจากระบบการศึกษาเข้าสู่ระบบแรงงาน เพราะจะเห็นได้จาก เด็กเลือกงานมากขึ้น ปฏิเสธงานได้อย่างมั่นใจ โดยไม่กลัวว่าตนเองจะไม่มีงานทำ เพราะถ้าได้งานที่ตนเองไม่ได้รัก ก็สู้อย่าทำงานเลยจะดีกว่า เวลาเข้ามาทำงานในองค์กรแล้ว ก็มักจะแสดงตัวตนให้เห็นชัดเจนมาก รักความอิสระ ไม่ชอบกฎระเบียบต่างๆ ที่ทำให้ตนเองใช้ชีวิตไม่สะดวก รักที่จะสร้างผลงานที่ดี แต่ก็ต้องไม่มีมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ที่ตายตัวในการทำงาน ฯลฯ
ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร: Think People Consulting
ผมได้อ่านแนวความคิดของคนรุ่นใหม่ต่อชีวิต และการทำงานซึ่งมีคนศึกษาและทำวิจัยไว้ เขาเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Free Radicals ซึ่งแปลเป็นไทยแบบภาษาวิชาการว่า อนุมูลอิสระ ว่ากันจริงๆ ก็คือ เป็นคนที่มีความคิดเป็นของตนเอง มีความเป็นอิสระไม่ค่อยยึดติดกับใคร หรือกับอะไรมากนัก ซึ่งแนวทางการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ๆ ก็มักจะเป็นแนวๆ แบบนี้ ก็เลยเอามาสรุปให้อ่านกันเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ในการเอาไปใช้สำหรับการออกแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรได้
หาและทำงานที่ตนเองรักและชอบ คนรุ่นใหม่ยุคนี้และต่อไปในยุคหน้า จะเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เวลาหางาน หรือทำงาน ก็มักจะหางานและทำงานที่ตนเองรักและชอบ เพราะมีความคิดว่า จะไปทำงานที่ตนเองไม่ได้รักทำไม เพราะมันไม่มีความสุขอย่างแน่นอน ดังนั้นคนรุ่นใหม่ๆ จะไม่มีพฤติกรรมแบบว่า เรียนอะไรมาก็ทำงานแบบที่เรียนมา เด็กบางคนเรียนจบหมอ จบวิศวะ แต่ก็ไม่มีความคิดที่อยากจะทำงานแบบนั้น กลับอยากจะทำงานอย่างอื่นซึ่งเป็นงานที่ตนเองรักและชอบ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำให้ชีวิตของตนเองมีความสุขมากขึ้น ไม่ต้องฝืนที่จะต้องตื่นนอนตอนเช้า ลุกไปทำงานในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ เพราะถ้าเรารักในสิ่งที่เราทำ เราก็จะรู้สึกว่ามันเป็นธรรมชาติ มันเป็นตัวเรา ไม่ต้องฝืนใจทำ
รักอิสระ และเมื่อได้รับอิสระตามที่ตนต้องการ ก็จะสร้างผลงานที่ดีได้ คนรุ่นใหม่เป็นคนที่ชอบและรักอิสระในการใช้ชีวิต และการทำงาน ไม่ชอบการที่มีกรอบมาปิดกั้น ไม่ชอบกฎระเบียบที่ยุบยิบจนเกินไป เวลาทำงานก็ชอบที่จะมีอิสระในการใช้ความคิด และการนำเอาบางอย่างที่เป็นเรื่องส่วนตัวเข้ามาใช้ในการทำงานบ้าง ชอบที่จะทดลอง ทดสอบ และมีส่วนร่วมในการทำงานโครงการต่างๆ ในองค์กร
เชื่อว่าความล้มเหลวเป็นเรื่องปกติ คนรุ่นใหม่ชอบทดลองอะไรใหม่ๆ ดังนั้นการที่เขาทดลองลองอะไรใหม่ ก็ต้องมีสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง ทัศนคติต่อความล้มเหลว หรือการทำงานไม่สำเร็จจึงเป็นเรื่องธรรมดาของคนรุ่นนี้ ความล้มเหลวในบางครั้ง ก็เป็นตัวช่วยให้เขาหาหนทางไปสู่ความสำเร็จได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าคาดหวังความสำเร็จจากเขา ก็ต้องยอมรับความล้มเหลวบ้างเช่นกัน
ไม่เชื่อเรื่องของระบบการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอนเกินไป คนรุ่นใหม่จะไม่มีความอดทนต่อขั้นตอนการทำงานที่ล่าช้า เยอะแยะ เทอะทะ และมักจะมีคำถามและข้อสงสัยต่อระบบงานที่เรียกว่า ระบบงานมาตรฐานขององค์กรว่าจริงๆ แล้วมันเป็นมาตรฐานจริงๆ หรือ และมักจะมองหาวิธีการใหม่ๆ ที่เร็วกว่า ดีกว่า ทำให้ตนเองสบายมากกว่าเดิม มาใช้แทนระบบเดิมๆ ซึ่งตรงจุดนี้เอง ที่อาจจะเห็นขัดแย้งกับคนบางกลุ่มที่มองว่า มาตรฐานก็คือสิ่งที่ดีที่สุด เพราะถ้าไม่ใช่ก็คงไม่เรียกมาตรฐาน แต่คนรุ่นใหม่นี้จะมองว่า ทุกอย่างต้องสามารถทำให้ดีขึ้นได้อีก ดังนั้นมาตรฐานที่ดีที่สุดจึงไม่มี ถึงเวลาก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ ดังนั้นภาพของการทำงานแบบเดิมๆ ขั้นตอนแบบเดิมๆ ในบางองค์กรจึงทำให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ ไม่มีความสุข และไม่ชอบใจ และมักจะพยายามหาทางลัดเพื่อทำให้ได้ผลงานแบบเดิม หรือดีกว่าเดิม แต่ใช้วิธีการแบบใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนเดิม
มองว่าตนเองมีประโยชน์ต่อองค์กร คนรุ่นใหม่มีมุมมองว่า ตนเองเป็นคนที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมาก อยากให้องค์กรมอบหมายงานและใช้งานให้คุ้มค่ากับสิ่งที่เขามีอยู่ ไม่ใช่ปล่อยให้ทำงานไปวันๆ โดยที่ไม่ได้อะไรขึ้นมา หรือถ้ารู้สึกว่า องค์กรนั้นไม่สามารถที่จะใช้งานเขาได้อย่างคุ้มค่าแล้ว เขาก็จะไปให้องค์กรอื่นที่เห็นคุณค่าของเขามากกว่า เพื่อทำงานให้ ดังนั้นคนรุ่นใหม่จึงชอบงานที่ท้าทาย ไม่จำเจ ซ้ำๆ บางคนชอบได้งานที่ต้องคิดเยอะๆ แบบว่าท้าทายมากๆ เพราะเขาจะรู้สึกว่าองค์กรให้ความไว้วางใจกับความสามารถของเขา และเขาจะต้องหาทางทำให้สำเร็จให้ได้ แม้ว่าอาจจะมีความล้มเหลวเกิดขึ้นบ้างก็ตาม
เชื่อเรื่องของการแบ่งปันในสังคมออนไลน์ คนรุ่นใหม่จะมองเรื่องของการแบ่งปันเป็นเรื่องธรรมดา คำว่าแบ่งปันนี้มาจากคำว่า Sharing กล่าวคือ มีอะไร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เห็นอะไร ไม่เห็นอะไร รู้สึกอะไร หรือไม่รู้สึกอะไร ฯลฯ ก็ขอให้ได้ประกาศให้คนอื่นเขารู้ด้วย โดยผ่านสื่อต่างๆ ทางโลกของ social network ดังนั้นบางครั้งเราอาจจะเป็นว่าจู่ๆ คนรุ่นนี้ก็บ่นอะไรที่ไม่ค่อยรู้ว่ามันคือเรื่องอะไรขึ้นไปใน facebook บ้าง ที่แรงๆ เกี่ยวกับองค์กร หรือเจ้านายตัวเองก็มีบ้าง แต่อาจจะไม่มาก เพราะมีระเบียบขององค์กรกำกับอยู่อีกที แต่อย่างไรก็ดี ระเบียบเหล่านี้ ก็ไม่สามารถห้ามคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ได้เลย เพราะเขารักที่จะบอกต่อกันไปเรื่อยๆ รักที่จะแบ่งปันเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของตนเอง และรักที่จะได้รับการตอบสนองในเรื่องราวนั้นๆ จากบุคคลอื่นๆ แม้กระทั่งคนที่เขาไม่เคยรู้จักเป็นการส่วนตัวเลยก็ตาม
เชื่อเรื่องการแข่งขัน และผลของงานมากกว่าเรื่องอื่น คนรุ่นใหม่ไม่สนแล้วว่า ใครจะอายุมากกว่าเขาสักเท่าไหร่ ถ้าไม่เคยทำผลงานอะไรเด่นๆ มาให้เห็น เขาก็จะไม่ค่อยนับถือ สิ่งที่ทำให้คนรุ่นใหม่นับถือได้ก็คือ ผลงานที่โดดเด่น และเป็นแบบอย่างให้เขาได้นั่นเอง ดังนั้นผู้จัดการที่มีแต่อายุเยอะๆ จะมาดูแลคนรุ่นใหม่แบบนี้ ก็คงจะยาก ถ้าผู้จัดการคนนั้นไม่เคยทำผลงานอะไรให้เห็นเด่นชัด อีกทั้งคนรุ่นมองเรื่องการแข่งขันเป็นเรื่องธรรมดามา เพราะการที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้น การแข่งขันกันในการทำงาน หรือทำธุรกิจ จะเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างเกิดผลที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ เขาก็เลยไม่ปฏิเสธว่าชีวิตคือการแข่งขัน และจะต้องใช้การแข่งขันนี้เป็นตัวสร้างผลงานของตนเองให้ดีขึ้น และถ้าองค์กรตอบสนอง และให้รางวัลกับคนกลุ่มนี้โดยเน้นไปที่ผลงานที่แสดงออก ก็จะยิ่งทำให้คนรุ่นใหม่นี้ เกิดความรู้สึกที่ดี และมีพลัง มีแรงจูงใจที่จะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง
อ่านจบแล้วรู้สึกอย่างไรกันบ้างครับ เหมือนหรือต่างกับทัศนคติของตนเองเองสักแค่ไหน ผมว่าสิ่งที่เขียนมาข้างต้นนั้น เกิดขึ้นในบ้านเราแล้ว กับคนรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังทยอยออกจากระบบการศึกษาเข้าสู่ระบบแรงงาน เพราะจะเห็นได้จาก เด็กเลือกงานมากขึ้น ปฏิเสธงานได้อย่างมั่นใจ โดยไม่กลัวว่าตนเองจะไม่มีงานทำ เพราะถ้าได้งานที่ตนเองไม่ได้รัก ก็สู้อย่าทำงานเลยจะดีกว่า เวลาเข้ามาทำงานในองค์กรแล้ว ก็มักจะแสดงตัวตนให้เห็นชัดเจนมาก รักความอิสระ ไม่ชอบกฎระเบียบต่างๆ ที่ทำให้ตนเองใช้ชีวิตไม่สะดวก รักที่จะสร้างผลงานที่ดี แต่ก็ต้องไม่มีมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ที่ตายตัวในการทำงาน ฯลฯ
ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร: Think People Consulting
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments