ไม่อยากเลิกจ้างแต่อยากย้ายงานลดเงินเดือน

โดย: winai.d [IP: 49.49.251.xxx]
เมื่อ: 2015-04-26 10:46:59
สวัสดีครับ

คัดลอกเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านครับ



คำถามและความเห็นเกี่ยวกับ กฎหมายแรงาน(ผ่านFB) HRD&ER:-(ตอนไม่อยากเลิกจ้างแต่อยากย้ายงานลดเงินเดือน)

กราบสวัสดีค่ะอาจารย์

หนูมีคำถามด้านแรงงานใคร่ขอความกรุณาขอคำปรึกษาจากอาจารย์ด้วยค่ะ

สถานการณ์ :

พนักงานท่านหนึ่งของบริษัททำงานด้านวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำงานบริษัทมา 12 ปี แต่ผลการปฏิบัติงานไม่เป็นที่น่าพอใจ เคยทำให้บริษัทเสียหายและลูกค้าร้องเรียนเยอะมาก แต่ที่ผ่านมาบริษัทก็ไม่เคยมีหนังสือเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร จนกระทั่งล่าสุด MD รู้สึกไม่ไหว จึงทำบันทึกข้อตกลงเพื่อจะลดเงินเดือนของพนักงานท่านนี้ คำถามคือ

1. ตามกฎหมาย บริษัทไม่มีสิทธิลดเงินเดือนพนักงาน แต่รายนี้ก่อนที่หนูจะเข้ามาเป็น HR ได้เคยมีการลดเงินเดือนไปแล้ว โดยให้พนักงานเซ็นยินยอม

คำถาม : จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายขึ้นหรือไม่ ถ้าจะลดเงินเดือนอีก แล้วให้พนักงานยินยอม

2. จากการพูดคุยกับผู้บริหารและพนักงานเอง พบว่า พนักงานขาดแรงจูงใจในการทำงาน และไม่สามารถทำงานได้ตามที่องค์กรต้องการ และบริษัทก็ไม่อยากจ้างพนักงานออก ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้พนักงานต้องออกจากงาน จึงได้มีการคุยกันว่า ถ้าลดเงินเดือนถึงแม้พนักงานยินยอมแต่ต้องทำงานที่มีโอกาสสร้างความเสียหายให้บริษัทอีก ควรโอนย้ายไปทำที่อื่นดีหรือไม่

คำถาม : เนื่องจากเงินเดือนที่พนักงานท่านนี้ได้รับ อัตราสูงกว่าหน้าที่งานของตำแหน่งที่จะโอนย้ายไป ถ้าให้พนักงานลาออกแล้วเขียนใบสมัครในตำแหน่งงานใหม่ สามารถทำได้หรือไม่คะ (เคยมีบางบริษัททำ)

ตามความเห็นของอาจารย์ในฐานะ HR ควรทำอย่างไรดีคะ เมื่อบริษัทไม่สามารถให้พนักงานทำงานในตำแหน่งเดิมได้ และเงินเดือนก็ไม่สามารถให้ได้เนื่องจากงานลดลง หนูจึงใครขอความกรุณาอาจารย์ด้วยค่ะ ถ้าอาจารย์สะดวกรบกวนด้วยนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ

ปัญหานี้เป็นปัญหายากมากปัญหาหนึ่งของงาน HR,ERเพราะไม่ใช่เรื่องกฎหมาย อย่างเดียวแต่เป็นเรื่องของการผูกพันองค์กรและผูกพันงานทั้งของพนักงานที่มีปัญหาและพนักงานที่รับรู้ปัญหา ผมมีความเห็นดังนี้

1.ความจริงแล้วหากพนักงานทำความเสียหายแก่ บ. เป็นอย่างมาก บ. สามารถเลิกจ้างได้เลยโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ คุ้มครองแรงงานฯ ม. 119(3)"ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง" แต่หากเสียหายเล็กน้อย บ. สามารถเตือนเป็น น.ส และหากซ้ำคำเตือนก็สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเช่นกันตาม พ.ร.บ คุ้มครองแรงงานฯ ม.119(4)"ฝ่าฝืนข้อบังคับอันเกี่ยวกับการทำงานระเบียบหรือคำสั่งอันชอด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้างซึ่งนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วเว้นแต่เป็นกรณีร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

2.บ. ไม่ได้ทำตามข้อ1.แต่ต้องการย้ายงานและลดเงินเดือนแต่เนื่องจากวิธีนี้ไม่ใช่การลงโทษ และยังเป็นการเ ปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง ตาม พ.ร.บแรงงานสัมพันธ์ฯ ม.20 บ. จะทำได้ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกจ้างก่อน

3. แต่อย่างไรก็ตามการทำตามข้อ 2.หัวใจสำคัญอยู่ที่จะต้องทำให้ลูกจ้างที่ถูกย้ายและลูกที่รับทราบ มีแรง จูงใจในการทำงาน มีความผูกพันในองค์กรและงานที่ทำด้วยโดยเห็นว่าการย้ายงานลูกจ้างและการลดเงินเดือนเป็นธรรมกับลูกจ้างแล้ว ดังนั้น บ. จึงต้องทำให้พนักงาน

ก. ยอมรับความผิดพลาด และความเสียหายที่ทำให้เกิดขึ้นกับ บ.

ข. ยอมรับว่าวิธีการย้ายตำแหน่งงานและลดเงินเดือนเป็นธรรมและเหมาะสมกับลูกจ้างแล้ว

4.เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารกับลูกจ้างอื่นๆที่รับทราบและเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันระหว่าง บ. และลูกจ้างที่ถูกย้ายงาน และสามารถใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้ ควรจัดทำเป็นบันทึกข้อตกลงระหว่าง บ. กับลูกจ้างที่ถูกย้ายงานถึงรายละเอียดดังกล่าวทั้งหมดไว้

<<หมายเหตุ>>..ผมขอนุญาตนำคำถามและความเห็นของผมลงในFBเพื่อแชร์ความรู้ให้คนอื่นด้วยนะครับเพราะคำถามน่าสนใจมากครับ

คำถามและความเห็นเกี่ยวกับ กฎหมายแรงาน(ผ่านFB) HRD&ER:-(ตอนไม่อยากเลิกจ้างแต่อยากย้ายงานลดเงินเดือน)

กราบสวัสดีค่ะอาจารย์

คำถามและความเห็นเกี่ยวกับ กฎหมายแรงาน(ผ่านFB) HRD&ER:-(ตอนไม่อยากเลิกจ้างแต่อยากย้ายงานลดเงินเดือน)

หนูมีคำถามด้านแรงงานใคร่ขอความกรุณาขอคำปรึกษาจากอาจารย์ด้วยค่ะ

สถานการณ์ :

พนักงานท่านหนึ่งของบริษัททำงานด้านวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำงานบริษัทมา 12 ปี แต่ผลการปฏิบัติงานไม่เป็นที่น่าพอใจ เคยทำให้บริษัทเสียหายและลูกค้าร้องเรียนเยอะมาก แต่ที่ผ่านมาบริษัทก็ไม่เคยมีหนังสือเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร จนกระทั่งล่าสุด MD รู้สึกไม่ไหว จึงทำบันทึกข้อตกลงเพื่อจะลดเงินเดือนของพนักงานท่านนี้ คำถามคือ

1. ตามกฎหมาย บริษัทไม่มีสิทธิลดเงินเดือนพนักงาน แต่รายนี้ก่อนที่หนูจะเข้ามาเป็น HR ได้เคยมีการลดเงินเดือนไปแล้ว โดยให้พนักงานเซ็นยินยอม

คำถาม : จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายขึ้นหรือไม่ ถ้าจะลดเงินเดือนอีก แล้วให้พนักงานยินยอม

2. จากการพูดคุยกับผู้บริหารและพนักงานเอง พบว่า พนักงานขาดแรงจูงใจในการทำงาน และไม่สามารถทำงานได้ตามที่องค์กรต้องการ และบริษัทก็ไม่อยากจ้างพนักงานออก ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้พนักงานต้องออกจากงาน จึงได้มีการคุยกันว่า ถ้าลดเงินเดือนถึงแม้พนักงานยินยอมแต่ต้องทำงานที่มีโอกาสสร้างความเสียหายให้บริษัทอีก ควรโอนย้ายไปทำที่อื่นดีหรือไม่

คำถาม : เนื่องจากเงินเดือนที่พนักงานท่านนี้ได้รับ อัตราสูงกว่าหน้าที่งานของตำแหน่งที่จะโอนย้ายไป ถ้าให้พนักงานลาออกแล้วเขียนใบสมัครในตำแหน่งงานใหม่ สามารถทำได้หรือไม่คะ (เคยมีบางบริษัททำ)

ตามความเห็นของอาจารย์ในฐานะ HR ควรทำอย่างไรดีคะ เมื่อบริษัทไม่สามารถให้พนักงานทำงานในตำแหน่งเดิมได้ และเงินเดือนก็ไม่สามารถให้ได้เนื่องจากงานลดลง หนูจึงใครขอความกรุณาอาจารย์ด้วยค่ะ ถ้าอาจารย์สะดวกรบกวนด้วยนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ

ปัญหานี้เป็นปัญหายากมากปัญหาหนึ่งของงาน HR,ERเพราะไม่ใช่เรื่องกฎหมาย อย่างเดียวแต่เป็นเรื่องของการผูกพันองค์กรและผูกพันงานทั้งของพนักงานที่มีปัญหาและพนักงานที่รับรู้ปัญหา ผมมีความเห็นดังนี้

1.ความจริงแล้วหากพนักงานทำความเสียหายแก่ บ. เป็นอย่างมาก บ. สามารถเลิกจ้างได้เลยโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ คุ้มครองแรงงานฯ ม. 119(3)"ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง" แต่หากเสียหายเล็กน้อย บ. สามารถเตือนเป็น น.ส และหากซ้ำคำเตือนก็สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเช่นกันตาม พ.ร.บ คุ้มครองแรงงานฯ ม.119(4)"ฝ่าฝืนข้อบังคับอันเกี่ยวกับการทำงานระเบียบหรือคำสั่งอันชอด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้างซึ่งนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วเว้นแต่เป็นกรณีร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

2.บ. ไม่ได้ทำตามข้อ1.แต่ต้องการย้ายงานและลดเงินเดือนแต่เนื่องจากวิธีนี้ไม่ใช่การลงโทษ และยังเป็นการเ ปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง ตาม พ.ร.บแรงงานสัมพันธ์ฯ ม.20 บ. จะทำได้ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกจ้างก่อน

3. แต่อย่างไรก็ตามการทำตามข้อ 2.หัวใจสำคัญอยู่ที่จะต้องทำให้ลูกจ้างที่ถูกย้ายและลูกที่รับทราบ มีแรง จูงใจในการทำงาน มีความผูกพันในองค์กรและงานที่ทำด้วยโดยเห็นว่าการย้ายงานลูกจ้างและการลดเงินเดือนเป็นธรรมกับลูกจ้างแล้ว ดังนั้น บ. จึงต้องทำให้พนักงาน

ก. ยอมรับความผิดพลาด และความเสียหายที่ทำให้เกิดขึ้นกับ บ.

ข. ยอมรับว่าวิธีการย้ายตำแหน่งงานและลดเงินเดือนเป็นธรรมและเหมาะสมกับลูกจ้างแล้ว

4.เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารกับลูกจ้างอื่นๆที่รับทราบและเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันระหว่าง บ. และลูกจ้างที่ถูกย้ายงาน และสามารถใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้ ควรจัดทำเป็นบันทึกข้อตกลงระหว่าง บ. กับลูกจ้างที่ถูกย้ายงานถึงรายละเอียดดังกล่าวทั้งหมดไว้

<<หมายเหตุ>>..ผมขอนุญาตนำคำถามและความเห็นของผมลงในFBเพื่อแชร์ความรู้ให้คนอื่นด้วยนะครับเพราะคำถามน่าสนใจมากครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 569,231