มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน ตอนจบ

โครงการอนุรักษ์การได้ยิน (Hearing Conservation Program: HCP) (ตอนจบ)

สองตอนแรกของบทความได้กล่าวถึงองค์ประกอบหลักที่สำคัญของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ครบไปแล้วทั้ง 4 หัวข้อ

โครงการอนุรักษ์การได้ยิน
(Hearing Conservation Program: HCP) (ตอนจบ)


อาจารย์ ศิริพร วันฟั่น
 

   
     สองตอนแรกของบทความได้กล่าวถึงองค์ประกอบหลักที่สำคัญของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ครบไปแล้วทั้ง 4 หัวข้อ ทั้งนโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน การเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring) การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring) และหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง มาตรการควบคุมเสียงดัง (Noise Control Measures) ด้วย ดังนั้นในตอนจบของบทความนี้ จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ที่มีเป้าหมายเพื่อป้องกันและลดระดับความดังของเสียงก่อนที่จะเข้าสู่หูผู้ใช้งาน และประเด็นทิ้งท้ายก็คือ การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้รับทราบ เข้าใจและตระหนักถึงอันตรายจากเสียงดัง

 

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE)

    เมื่อการควบคุมทางวิศวกรรมและการควบคุมทางการบริหารจัดการไม่สามารถที่จะลดการสัมผัสเสียงให้ต่ำกว่า 80 เดซิเบลเอหรือลดลงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ก็มีเหตุผลอันควรอย่างเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการได้ยิน (Hearing Protection Devices: HPD) หรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “อุปกรณ์ป้องกันเสียง (Hearing Protectors)”

อย่างไรก็ดี การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงไม่ใช่หนทางแก้ปัญหาที่ถาวร และไม่ใช่สิ่งที่จะทดแทนการควบคุมทางวิศวกรรมและการควบคุมทางการบริหารจัดการได้ เนื่องจากอุปกรณ์ชนิดนี้ไม่สามารถลดหรือขจัดอันตรายจากเสียงที่แหล่งกำเนิด (Sound Sources) และทางผ่านของเสียง (Sound Paths) จึงมักถูกพิจารณาว่าเป็นเพียงมาตรการชั่วคราว มาตรการเสริม หรือมาตรการลำดับสุดท้าย ที่ป้องกันอันตรายจากเสียงที่ตัวบุคคล (Personal Hearing Protection) หรือ “ตัวรับเสียง (Sound Receivers)” เฉพาะช่วงเวลาที่สวมใส่อุปกรณ์นี้เท่านั้น

    นอกจากนี้ เวลาใช้งานก็อาจมีความยุ่งยาก ต้องใช้ความระมัดระวังและทักษะในการสวมใส่ เพราะความมีประสิทธิผลจะขึ้นอยู่กับว่าสวมใส่อย่างกระชับและใช้ตลอดช่วงระยะเวลาที่สัมผัสเสียงดังทุกครั้งหรือไม่ แต่หากเกิดความบกพร่องในการใช้งานของอุปกรณ์ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม จะทำให้ผู้สวมใส่สัมผัสกับอันตรายจากเสียงนั้นโดยทันที แต่อย่างไรก็ตาม แม้วิธีนี้จะเป็นที่พึงปรารถนาน้อยที่สุดของการป้องกันหรือลดเสียงดัง แต่ในหลาย ๆ ครั้งก็มักเป็นเพียงวิธีเดียวที่เหลืออยู่ที่จะสามารถจำกัดการสัมผัสกับเสียงดังได้ในทางปฏิบัติ รวมถึงเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และดูเหมือนจะใช้งบประมาณไม่มากนักเมื่อเทียบกับการควบคุมทางวิศวกรรม


อุปกรณ์ป้องกันเสียงส่วนบุคคล (Personal Hearing Protection Devices) หรือ อุปกรณ์ป้องกันเสียง (Hearing Protectors) คือ อุปกรณ์ที่สวมใส่แล้วสามารถปิดกั้นหรือขัดขวางเสียง เพื่อลดปริมาณพลังงานเสียงหรือระดับเสียงันอันตรายจากเสียงส่วนบุคคล ที่จะถูกส่งผ่านไปยังหูชั้นใน มีจุดประสงค์ของการใช้งานที่มุ่งเน้นการป้องกันไปที่ตัวผู้ปฏิบัติงานจากการสัมผัสเสียงที่ดังเกินมาตรฐาน สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก็คือ การเลือกใช้ให้เหมาะสม มีความกระชับ และใช้งานได้อย่างถูกต้อง เพื่อความมีประสิทธิผลสูงสุดของอุปกรณ์ และส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการป้องกันอันตรายจากเสียงได้อย่างเพียงพอและปลอดภัย


 ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันเสียง (Types of Hearing Protectors) ที่นิยมใช้กันสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดหลัก ๆ คือ

1. ปลั๊กอุดหู (Earplugs) เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสียงชนิดสอดเข้าไปในรูหู (Insert Earplugs) เพื่อปิดกั้นเสียง สามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 แบบ ดังนี้

- ชนิดปั้นขึ้นรูป (Formable Earplugs) ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน โดยมากทำจากโฟมที่สามารถยืดขยายตัวได้ เวลาใช้งานต้องใช้มือบีบโฟมให้มีขนาดเล็ก ๆ แหลม ๆ แล้วสอดเข้าไปในรูหู ถ้าต้องการใส่ให้ใส่ให้กระชับมากขึ้น ให้เอื้อมมือข้างหนึ่งข้ามศีรษะมาดึงใบหูขึ้น แล้วใช้อีกมือหนึ่งสอดปลั๊กอุดหูเข้าไปในรูหู ข้อดีของปลั๊กอุดหูชนิดนี้

ก็คือ ใส่แล้วกระชับกับรูหูของแต่ละบุคคล มีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงได้ดีกว่าปลั๊กอุดหูชนิดอื่น ๆ ข้อเสียคือ ก่อนที่จะใช้งานต้องบีบก้อนโฟมให้มีขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ ซึ่งอาจทำให้สิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่มือนั้นปนเปื้อนไปที่ก้อนโฟม ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในรูหูได้ โดยมากจึงเป็นประเภทใช้แล้วทิ้ง

 - ชนิดขึ้นรูปสำเร็จ (Pre-Molded Earplugs) ปลั๊กอุดหูชนิดนี้ จะเป็นแบบมาตรฐานที่ทำจากยางซิลิโคนหรือพลาสติกและมีก้านเสียบไว้ให้มือจับ จึงทำให้สามารถเข้าไปในรูหูของผู้ใช้ถึงแค่จุดหนึ่งเท่านั้น ถ้าหากรูหูของผู้ใช้มีลักษณะแตกต่างจากผู้ใช้คนอื่น ๆ มาก ก็จะทำให้รู้สึกว่าใส่ไม่พอเหมาะหรืออาจเกิดความรำคาญได้

 - ชนิดสั่งทำโดยเฉพาะ (Custom–Made Earplugs) เป็นปลั๊กอุดหูชนิดที่ทำขึ้นเพื่อใช้ให้เหมาะกับขนาดรูหูของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องวัดขนาดรูหูของผู้ปฏิบัติงานเสียก่อน

     ปลั๊กอุดหูประเภทใช้แล้วทิ้ง (Disposable Earplugs) ส่วนใหญ่จะทำด้วยโพลียูรีเทนโฟม และพีวีซีโฟม โดยทั้งคู่มีค่าความสามารถในการลดเสียง (NRR) อยู่ระหว่าง 28–33 เดซิเบล แต่พีวีซีโฟมจะมีข้อดีกว่าตรงที่เมื่อสอดเข้าไปในรูหูแล้ว แรงดันในหูจะน้อยกว่าทำให้รู้สึกสบาย ติดไฟยาก ช่วยป้องกันสะเก็ดลูกไฟ และดูดซับน้ำได้ยากจึงช่วยป้องกันการลื่นหลุดออกจากรูหูอันเนื่องมาจากเหงื่อและความชื้น

     ส่วนปลั๊กอุดหูประเภทนำมาใช้ใหม่ได้ (Reusable Earplugs) ส่วนใหญ่ทำด้วยยาง ซิลิโคน และเธอร์โมพลาสติก มีค่า NRR อยู่ระหว่าง 24–26 เดซิเบล ข้อดีคือ ประหยัดและใช้ซ้ำได้ ข้อเสียคือ อาจจะเจ็บหูเพราะมีความนุ่มน้อยกว่าประเภทใช้แล้วทิ้ง แต่ถ้าทำจากซิลิโคนจะมีความนุ่มเพราะใกล้เคียงกับผิวหนังมนุษย์ มีอายุการใช้งานได้นาน แต่ราคาค่อนข้างสูง

 2. ที่ครอบหู (Earmuffs) ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ปิดครอบหูส่วนนอกหรือใบหูทั้งหมดเพื่อลดเสียง โดยประสิทธิภาพในการลดเสียงจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ ขนาด รูปทรง โครงสร้างอุปกรณ์และชนิดของสายคาด นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของที่ครอบหูอีก เช่น นวมที่บุภายในด้วยของเหลวจะกันเสียงได้ดีกว่านวมพลาสติก หรือโฟม แต่มักประสบปัญหาคือรั่วไหลได้ง่าย

 

3. ปลั๊กอุดหูชนิดกึ่งสอดพร้อมสายคล้องคอ (Semi-insert Earplugs) หรือ Ear Canal Caps หรือ Semi–Aural Caps เป็นอุปกรณ์ลูกผสมระหว่างปลั๊กอุดหูกับที่ครอบหู คือมีปลั๊กอุดหูติดอยู่ที่ปลายทั้ง 2 ข้างของสายคล้องคอ ถูกออกแบบมาใช้ปิดภายนอกของรูหูเพื่อลดเสียง โดยใช้ก้านที่คล้องคอคอยดันให้ปิดช่องหู ส่วนมากจะทำด้วยพลาสติกหรือยางที่อ่อนนิ่ม ข้อดีคือ มีน้ำหนักเบา สะดวกสบายเวลาสวมใส่ เป็นการนำข้อดีของปลั๊กอุดหูและที่ครอบหูมารวมกัน ข้อเสียคือมีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงน้อยกว่าปลั๊กอุดหูแบบสอดและที่ครอบหู


 โดยทั่วไปแล้ว ปลั๊กอุดหู (Earplugs) หากสอดพอดีกับรูหูจะสามารถลดเสียงที่จะเข้าสู่รูหูลงได้ราว ๆ 25–30 เดซิเบล และใช้ได้ผลกับเสียงที่ดังไม่เกิน 115–120 เดซิเบล ในขณะที่ ที่ครอบหู (Ear Muffs) สามารถลดระดับเสียงได้มากกว่าปลั๊กอุดหูอยู่ประมาณ 10–15 เดซิเบล และถ้าใช้ทั้งควบคู่กัน (Double Protection) จะลดเสียงลงได้มากกว่าเดิมประมาณ 3–5 เดซิเบล

    
      ตาราง แสดงคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียของอุปกรณ์ป้องกันเสียงแต่ละประเภท 

ผล (Effectiveness) ของอุปกรณ์ป้องกันเสียงจะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับรูปแบบของพลังงานเสียงที่ถูกส่งผ่านหรืออยู่โดยรอบอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มีอยู่ 4 เส้นทางที่เสียงสามารถเข้าถึงหูชั้นในได้เมื่อสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง กล่าวคือ

(1) จุดปิดกั้นรั่ว (Seal Leaks) ปริมาณอากาศจำนวนน้อยที่รั่วเข้าบริเวณจุดห่างระหว่างอุปกรณ์ป้องกันเสียงและผิวหนังผู้ใช้งาน สามารถลดความมีประสิทธิผลลงได้เป็นอย่างมาก และมักเป็นปัญหาที่พบอยู่เป็นประจำ

(2) วัสดุรั่ว (Material Leaks) เป็นทางผ่านเสียงที่เล็ดลอดเข้าตรงจุดรั่วของวัสดุที่ใช้ประกอบเป็นอุปกรณ์ป้องกันเสียง ส่งผลให้อุปกรณ์นี้ยังคงลดหรือป้องกันการผ่านเข้ามาของพลังงานเสียงส่วนมากได้ แต่จะมีเสียงส่วนที่เหลือที่เล็ดลอดผ่านจุดรั่วนี้เข้าไปได้

(3) การสั่นสะเทือนของอุปกรณ์ป้องกันเสียง (Hearing Protectors Vibration) เป็นอีกทางหนึ่งที่เสียงจะถูกส่งผ่านเข้าถึงหูชั้นในได้ ซึ่งเป็นการตอบสนองของอุปกรณ์ป้องกันเสียงในยามสัมผัสกับพลังงานเสียงจากภายนอก

(4) การนำพาเสียงผ่านทางกระดูกและเนื้อเยื่อ (Conduction through Bone and Tissue) แม้ว่าช่องรูหู (Ear Canal) จะได้รับการปิดกั้นและลดเสียงได้ 100% จากอุปกรณ์ป้องกันเสียง แต่ก็ยังมีเสียงบางส่วนที่สามารถผ่านเข้าสู่หูชั้นในได้โดยการนำพาเสียงผ่านทางกระดูก ซึ่งไม่ว่าอุปกรณ์ป้องกันเสียงจะดีเพียงไรก็ไม่สามารถลดเสียงที่ถูกนำพาผ่านทางกระดูกได้เกินกว่า 50 เดซิเบล

     หมายเหตุ: เสียงที่เราได้ยินมีอยู่ 2 ช่องทาง คือ การนำพาของอากาศ (Air–conducted Noise) เป็นช่องทางที่เสียงเดินทางผ่านมาตามอากาศ ส่วนช่องทางที่สอง เป็นการนำพาเสียงผ่านทางกระดูก (Bone–conducted Noise) เป็นการเดินทางของเสียงที่เป็นผลจากการสั่นสะเทือนของฟันและกะโหลกศีรษะแล้วเกิดการขยายเสียงขึ้นทำให้เราได้ยิน ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ เวลาเราขบเคี้ยวขนมกรุบกรอบก็จะได้ยินเสียงที่ว่านี้ดังกว่าเสียงที่ผ่านทางรูหู

และพบว่าโดยมากแล้วหูชั้นนอกของคนเราสามารถสกัดกั้นเสียงที่นำพาของอากาศได้มากสุดอยู่ราว ๆ 40 เดซิเบล นอกเหนือจากนี้ก็ยังคงได้ยินเสียงที่ผ่านมาทางระบบโครงกระดูก (Skeletal System) ของเรา


การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง (Selection of Hearing Protectors) มีหลายปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณา ดังนี้

     1. ระดับเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานสัมผัส (The Noise Exposure Level of the Employees) อุปกรณ์ป้องกันเสียงจะสามารถป้องกันในระดับที่เชื่อถือได้ประมาณ 15 เดซิเบลเอ ให้กับผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ (ประมาณ 84% ของแรงงานทั้งหมด) ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับระดับเสียงเกินกว่า 100 เดซิเบลเอในระหว่างสวมใส่อุปกรณ์ลดเสียง ก็ยังคงเผชิญความเสี่ยงสูงต่อภาวะการสูญเสียการได้ยินตลอดช่วงการทำงานอยู่ดี

 เนื่องจากการจะเริ่มต้นสวมใส่อุปกรณ์ลดเสียงก็เมื่อระดับเสียงสูงกว่า 85 เดซิเบล อย่างไรก็ตาม หนทางเลือกที่ควรจะเป็นก็คือ ถ้ามีการสัมผัสระดับเสียงที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 เดซิเบลเอ ควรเลือกใช้ปลั๊กอุดหูหรือที่ครอบหู แต่ถ้าสัมผัสระดับเสียงที่มากกว่า 100 เดซิเบลเอ ก็ควรเลือกใช้ปลั๊กอุดหูควบคู่กับที่ครอบหู

     
     2. ระดับเสียงที่ต้องการลด (The Degree of Attenuation Required) ในการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง สิ่งสำคัญที่ควรรับรู้ก็คือ ระดับเสียงที่สัมผัส (Noise Exposure Level) และค่าความสามารถในการลดเสียง (Noise Reduction Rating: NRR) ของอุปกรณ์ป้องกันเสียง ซึ่งเป็นระดับที่คาดหวังของการลดเสียงเมื่อสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง โดยค่า NRR

 จะมีการแจ้งอยู่บนป้ายฉลากของอุปกรณ์ป้องกันเสียงซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดและผู้ผลิตแต่ละราย ซึ่งค่า NRR ที่ผู้ผลิตระบุไว้นั้นถูกวัดภายใต้สภาพแวดล้อมในห้องทดลอง จึงมักสูงกว่าค่าที่วัดได้ในสภาพการใช้งานจริง ดังนั้นในการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง ก็ควรมีการปรับลดค่า NRR เสียก่อน 
    


 ามคำแนะนำของ NIOSH ระบุไว้ว่า ค่า NRR ที่แจ้งอยู่บนป้ายฉลากของอุปกรณ์ป้องกันเสียง ควรมีการปรับลด ดังนี้ คือ

 

 หลังจากที่มีการปรับลดค่า NRR แล้ว ลำดับถัดไปก็ใช้สูตรคำนวณเพื่อหาค่าระดับเสียงที่คาดว่าผู้ปฏิบัติงานจะสัมผัสจริงเมื่อใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงชนิดนั้น ๆ แล้ว ซึ่งสูตรในการคำนวณมีดังนี้ คือ
- ถ้าระดับเสียงที่สัมผัสถูกวัดในช่วงความถี่ A (ความถี่ที่มนุษย์ได้ยิน) หน่วยเป็นเดซิเบลเอ (dBA) โดยใช้เครื่องตรวจวัดระดับเสียง (Sound Level Meter) หรือใช้ Noise Dosimeter สูตรคำนวณ คือ
ระดับเสียงที่สัมผัส (Exposed Noise Level: ENL) = [ระดับเสียงในที่ทำงาน (dBA) – (ค่า NRR ที่ปรับลดแล้ว – 7)]

- ถ้าระดับเสียงที่สัมผัสถูกวัดในช่วงความถี่ C (Octave Bands) หน่วยเป็นเดซิเบลซี (dBC) สูตรคำนวณ คือ
ระดับเสียงที่สัมผัส (Exposed Noise Level: ENL) = [ระดับเสียงในที่ทำงาน (dBC) – (ค่า NRR ที่ปรับลดแล้ว – 7)]

 

ตัวอย่าง การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียง

- ตรวจวัดระดับเสียงของเครื่องจักรได้ 95 เดซิเบลเอ ต้องการลดระดับเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานสัมผัสให้ไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ โดยมีอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่หมายตาไว้ คือ ที่ครอบหู (Ear Muff) และปลั๊กอุดหูแบบโฟม (Foam Earplug) ซึ่งมีป้ายฉลากระบุค่า NRR ไว้ดังนี้

 

- วิธีการคำนวณเพื่อเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงที่สามารถลดระดับเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานสัมผัสให้ไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ

 
     กรณีเป็นที่ครอบหู (Ear Muff): ระดับเสียงในที่ทำงาน = 95 เดซิเบลเอ ค่า NRR จากป้ายฉลาก = 29
ค่า NRR ที่ปรับลดแล้ว = 29 – (29 x 25)/100 = 21.75
ระดับเสียงที่สัมผัส (Exposed Noise Level: ENL) = [ระดับเสียงในที่ทำงาน (dBA) – (ค่า NRR ที่ปรับลดแล้ว – 7)]
         = 95 – (21.75 – 7) = 80.25 เดซิเบลเอ


     กรณีเป็นปลั๊กอุดหูแบบโฟม (Foam Earplug): ระดับเสียงในที่ทำงาน = 95 เดซิเบลเอ ค่า NRR จากป้ายฉลาก = 25
ค่า NRR ที่ปรับลดแล้ว = 25 – (25 x 50)/100 = 12.50
ระดับเสียงที่สัมผัส (Exposed Noise Level: ENL) = [ระดับเสียงในที่ทำงาน (dBA) – (ค่า NRR ที่ปรับลดแล้ว – 7)]
         = 95 – (12.50 – 7) = 89.50 เดซิเบลเอ


     จากผลการคำนวณ จะเห็นได้ว่า สมควรเลือกที่ครอบหู เพราะสามารถตอบโจทย์ที่สามารถลดระดับเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานสัมผัสให้ไม่เกิน 85 เดซิเบลเอได้

     การใช้อุปกรณ์ลดเสียงร่วมกันมากกว่า 1 ชนิด ถ้ามองเผิน ๆ ก็อาจคิดไปเองได้ว่า น่าจะลดปริมาณเสียงที่สัมผัสได้เท่ากับประสิทธิภาพในการลดเสียงทั้ง 2 ชนิดบวกกัน ตัวอย่างเช่น การสวมใส่ที่ครอบหูที่มีค่า NRR อยู่ที่ 28 เดซิเบล เมื่อควบรวมกับการสวมใส่กับปลั๊กอุดหูที่มีค่า NRR อยู่ที่ 24 เดซิเบล ก็น่าจะลดระดับเสียงลงได้ที่ 52 เดซิเบล แต่ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะเสียงที่มีระดับความดังสูงจะมีปริมาณเสียงบางส่วนที่สามารถหลบเลี่ยงผ่านหูชั้นนอก ชั้นกลาง และเข้าไปกระตุ้นหูชั้นใน ดังนั้น การใช้อุปกรณ์ลดเสียงแบบดับเบิล (Dual Protection) เช่นนี้ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการลดเสียงได้อีกเพียงแค่ 5 -10 เดซิเบลเท่านั้น


     3. ความสะดวกกายและความกระชับต่อผู้ใช้งาน (Comfort & Fit to the User) ความกระชับของอุปกรณ์ป้องกันเสียงของผู้ใช้งานแต่ละคนเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเวลาใช้งาน ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอถ้าสวมใส่อุปกรณ์อย่างกระชับ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการปิดกั้นเสียง (Acoustic Seal) ไปพร้อม ๆ กับความรู้สึกสะดวกกายเมื่อใช้งานด้วย 


     4. ความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน (Suitability for Use) การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงควรจะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการทำงานและประเภทของงานที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น ที่ครอบหู (Ear Muffs) ควรที่จะถูกเลือกใช้มากกว่าปลั๊กอุดหู (Earplugs) ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่สกปรก เพราะถ้าใช้ปลั๊กอุดหูอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะการติดเชื้อในรูหูได้ ในทางกลับกัน ปลั๊กอุดหูจะมีความเหมาะสมในการใช้งานมากกว่าที่ครอบหูในพื้นที่งานที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง ในขณะที่งานที่ต้องการความคล่องตัวเพราะว่าจำเป็นต้องสวมใส่ตลอดวันและถอดออกเฉพาะตอนพักทานข้าว การใช้อุปกรณ์ลดเสียงแบบทำจากโฟมน่าจะมีความเหมาะสมมากที่สุด เป็นต้น


     5. ความจำเป็นในการได้ยินเสียงสัญญาณเตือนภัยและเข้าใจในคำพูด (Need for Hearing Warning Signals and Speech Intelligibility) อุปกรณ์ป้องกันเสียงที่ถูกเลือกใช้งานควรที่จะสามารถลดระดับเสียงให้ต่ำกว่า 85 เดซิเบลที่บริเวณหู แต่อย่างไรก็ดี ผู้ปฏิบัติงานไม่ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงที่มีการลดระดับเสียงมากเกินความจำเป็น

เพราะอาจเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานหรือการได้ยินเสียงสัญญาณเตือนภัย การป้องกันที่มากเกินความจำเป็น (Over Protection) เช่นนี้ยังสามารถเป็นสาเหตุให้ผู้ปฏิบัติงานหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงหรือใช้แล้วถอดออกเป็นช่วง ๆ (เช่น ช่วงที่ต้องการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน) ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่สามารถลดระดับเสียงให้ต่ำกว่าระดับเสียงสัมผัสตามมาตรฐานกำหนดลงมาได้ 5–10 เดซิเบลเอ ก็ถือว่าเพียงพอและไม่มากเกินความจำเป็น


     6. ภาวะการเจ็บป่วย (Medical Conditions) ก่อนที่จะมีการแจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันเสียงให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน พวกเขาควรได้รับคำปรึกษาถ้ามีอาการเจ็บป่วยใด ๆ เกี่ยวกับหู เช่น การระคายเคืองในช่องหู ซึ่งในกรณีนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปลั๊กอุดหู ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนอาจจะมีลักษณะเฉพาะทางกายภาพของหูที่แตกต่างกันกันไป (เช่น ความกว้าง–แคบ หรือลึกของช่องรูหู) ทำให้การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงชนิดเดียวกันหรือขนาดเดียวกัน อาจจะส่งผลที่แตกต่างกันได้ ดังนั้นโครงการอนุรักษ์การได้ยินที่ประสบผลสำเร็จควรพิจารณาและสนองตอบต่อความต้องการของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน

โดยผู้ปฏิบัติงานควรได้รับโอกาสในการพิจารณาเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่เหมาะสมกับตัวเองและมีความปลอดภัย เมื่อสวมใส่แล้วมีความกระชับและรู้สึกสะดวกกาย ถ้าผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมในการเลือกชนิดและขนาดของอุปกรณ์ป้องกันเสียง ก็จะเป็นการเพิ่มระดับของการยอบรับและเป็นแรงกระตุ้นให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงนั้นไปด้วยในตัว


 ถ้าเป็นไปได้ ก่อนสั่งซื้อควรมีโครงการนำร่องโดยการทดสอบ (Pre –test) เพื่อประเมินประสิทธิผลและการยอมรับของผู้ปฏิบัติงาน โดยขอตัวอย่างสินค้าจากผู้ผลิตแล้วให้ผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่งได้ทำการทดสอบในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบความกระชับของอุปกรณ์ป้องกันเสียง (Fit Testing) ความรู้สึกถึงความสะดวกกาย ความเหมาะสมกับงาน ประสิทธิภาพในการป้องกันหรือการลดเสียง เป็นต้น แล้วนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ตามหลักสถิติ ก็จะได้ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่จะไม่ใช่แค่หนึ่งชนิด และมีความจำเป็นต้องซื้อหลายขนาดเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน

 การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (Proper Warning of Hearing Protectors) การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมจะเป็นการลดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ และนำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการสูญเสียการได้ยิน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการฝึกอบรม และเรียนรู้เทคนิคในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงอย่างถูกวิธี รับรู้เหตุผลความจำเป็นที่ต้องสวมใส่อุปกรณ์ และข้อดี ข้อเสียหรือข้อจำกัดของอุปกรณ์ รวมถึงควรได้รับการกระตุ้น และส่งเสริมให้หมั่นตรวจสอบความกระชับของอุปกรณ์อยู่เป็นระยะตลอดช่วงเวลาที่สวมใส่ด้วย

 

วิธีสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงแต่ละประเภท


1. ปลั๊กอุดหู (Earplugs)
-  ชนิดปั้นขึ้นรูป (Formable Earplugs)

(1) ใช้มือที่สะอาดจับปลั๊กอุดหูบีบคลึงไปมา ให้มีลักษณะเป็นแท่งเล็ก ๆ เรียว

 


(2) ใช้มือข้างที่ว่างอยู่เอื้อมข้ามศีรษะมาจับใบหูอีกข้างแล้วดึงขึ้นเพื่อช่วยเปิดทางเข้ารูหู แล้วสอดปลั๊กอุดหูเข้าไปตรง ๆ ทันทีจนเกือบหมดความยาวของปลั๊กอุดหู

 

(3) จับปลั๊กอุดหูประมาณ 30–40 วินาทีรอจนกระทั่งขยายตัวจนเต็มรูหู

 

ถ้าใส่เข้าไปอย่างกระชับรูหู คนอื่นที่มองจากทางเบื้องหน้าจะไม่สังเกตเห็นส่วนท้ายของปลั๊กอุดหู

ทดสอบความกระชับหลังสอดปลั๊กอุดหูแล้ว โดยใช้ฝ่ามือป้องครอบใบหูแล้วเอามือออก เสียงที่ได้ยินต้องไม่แตกต่างกันระหว่างป้องมือกับไม่ป้องมือ

 

เวลาถอดปลั๊กอุดหูเออก ต้องค่อย ๆ ดึงออก เพราะแรงดูดภายในช่องรูหู อาจทำให้เจ็บหูได้

 

  

-  ชนิดขึ้นรูปสำเร็จ (Pre-Molded Earplugs)

(1)  จับก้านปลั๊กอุดหู (Stem) เอื้อมมือข้างที่ว่างอยู่อ้อมข้ามศีรษะมาจับใบหูอีกข้างแล้วดึงขึ้น เพื่อช่วยเปิดทางเข้ารูหู แล้วสอดปลั๊กอุดหูเข้าไปตรง ๆ

 


(2)  สอดส่วนที่เป็นครีบ (Flanges) ทั้งหมดเข้าไปในรูหู

 

(3)  ถ้าใส่ได้อย่างกระชับ คนอื่นที่มองจากทางเบื้องหน้าจะสังเกตเห็นเพียงก้านของปลั๊กอุดหู

 


    2. ที่ครอบหู (Ear Muffs)

(1) วางตำแหน่ง Ear Cups ทั้งสองข้างให้ครอบส่วนใบหูทั้งหมด

(2) ใช้มือข้างหนึ่งจับสายคาดศีรษะขึ้นหรือลง เพื่อปรับตำแหน่ง Ear Cups ทั้งสองข้างให้กระชับใบหู


การสวมใส่ที่ถูกต้อง :

-ตำแหน่ง Ear Cups ต้องครอบส่วนใบหูทั้งหมดและมีความกระชับ
การสวมใส่ที่ไม่ถูกต้อง :

 

- ตำแหน่ง Ear Cups ที่ไม่ครอบส่วนใบหูทั้งหมด
การสวมใส่ที่ไม่ถูกต้อง :

 

-มีเส้นผมมาอยู่ท่ามกลาง Ear Cups และใบหู

 


3. ปลั๊กอุดหูชนิดกึ่งสอดพร้อมสายคล้องคอ (Ear Canal Caps)
    

(1) วางตำแหน่งสายคล้องไว้ใต้คาง ใช้มือดันส่วนปลายที่เป็นปลั๊กอุดหูเข้าไปปิดช่องหู

 

 

(2) ถ้าต้องการความกระชับมากขึ้น ก็ให้ใช้มือข้างหนึ่งเอื้อมข้ามศีรษะแล้วจับใบหูยกขึ้น มืออีกข้างดันส่วนปลายที่เป็นปลั๊กอุดหูเข้าไปปิดช่องหู

(3) ในพื้นที่งานที่มีเสียงดัง ทดสอบความกระชับโดยการใช้นิ้วมือกดเบา ๆ ที่สายคล้องใกล้ปลั๊กอุดหู แล้วปล่อยมือออก ระดับเสียงที่ได้ยินไม่ควรแตกต่างกันมากระหว่างกดกับไม่กด

 

     การบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันเสียง (Maintenance of Hearing Protectors) ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการฝึกอบรมให้ทราบถึงวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ป้องกันเสียง เพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพเวลาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขอนามัยซึ่งถือว่ามีความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยอุปกรณ์ป้องกันเสียงควรได้รับการทำความสะอาดเพื่อขจัดสิ่งสกปรกหรือการปนเปื้อนภายหลังจากใช้งาน และถูกจัดเก็บไว้ในสถานที่ที่สะอาดเมื่อยังไม่ถูกใช้งาน เช่น ปลั๊กอุดหูชนิดนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Re–usable Earplugs) ต้องได้รับการชำระล้างอย่างบ่อยครั้งด้วยสบู่อ่อน ๆ และน้ำอุ่น

 

นอกจากนี้ อุปกรณ์ป้องกันเสียงควรได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอและเปลี่ยนแทนของเดิมเมื่อจำเป็น เช่น ปลั๊กอุดหูที่เปื่อยหรือฉีกขาดหรือมีความแข็งกระด้าง หรือนวมของที่ครอบหูมีการปริแตกและเสียรูปทรง สามารถที่จะส่งผลต่อความกระชับของอุปกรณ์ได้ ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรมีระบบในการตรวจสอบความสมบูรณ์พร้อมใช้งานของอุปกรณ์ป้องกันเสียงอย่างเป็นปกติพื้นฐาน และมีความพร้อมสำหรับการซ่อมแซมชิ้นส่วนที่เสียหายของอุปกรณ์ หรือมีของใหม่สำหรับเปลี่ยนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานได้ทันทีเมื่อถึงคราวจำเป็น


     ความสม่ำเสมอของการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันเสียง (Consistent use of Hearing Protectors) พื้นที่งานบริเวณใดที่มีแนวโน้มว่าผู้ปฏิบัติงานจะสัมผัสกับเสียงที่ดังเกินมาตรฐาน ควรได้รับการชี้บ่งและระบุให้ชัดเจน โดยการติดป้ายเตือน (Warning Signs) ที่ด้านหน้าบริเวณทางเข้าว่าเป็นพื้นที่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง (Hearing Protectors Areas) เพื่อเป็นการเตือนว่าต้องสวมใส่อุปกรณ์นี้ทุกครั้งเมื่อเข้าสู่พื้นที่ และควรมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานทุกคนรวมถึงบุคคลภายนอกได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดโดยไม่คำนึงว่าจะใช้เวลาเท่าไรในพื้นที่งานส่วนนี้


ป้ายเตือนให้ระวังอันตรายและจำเป็นต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงในพื้นที่นี้

    
      นอกจากนี้ยังต้องย้ำเตือนผู้ปฏิบัติงานให้รับรู้ว่า การถอดอุปกรณ์ป้องกันเสียงในระหว่างการทำงานที่สัมผัสเสียงดังแม้เพียงเสี้ยวนาที จะเป็นการลดประสิทธิภาพของอุปกรณ์และไม่เพียงพอต่อการป้องกัน โดยถ้ามีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงเพียงครึ่งหนึ่ง (50%) ของตลอดช่วงเวลาที่สัมผัสเสียงทั้งหมด จะส่งผลให้ได้รับการป้องกันเสียงเพียงแค่ 3 เดซิเบลเท่านั้น ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานควรถอดอุปกรณ์ป้องกันเสียงเฉพาะเมื่อออกจากพื้นที่เสียงดังเท่านั้น

     หัวหน้างานควรได้รับความรู้ที่เพียงพอสำหรับการกำกับดูแลการใช้และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ลดเสียงของผู้ใต้บังคับบัญชา รวมถึงปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงทุกครั้งในพื้นที่งานที่กำหนด และให้คำปรึกษาชี้แนะหรือตักเตือนผู้ปฏิบัติงานที่ปฏิเสธการสวมใส่อุปกรณ์ลดเสียง และมีการบังคับใช้มาตรการลงโทษถ้ายังฝ่าฝืนซ้ำ ๆ อีก

 การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้รับทราบ เข้าใจและตระหนักถึงอันตรายจากเสียงดัง

 ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2553” ได้ระบุเกี่ยวกับการฝึกอบรมไว้ดังนี้คือ ให้นายจ้างอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุมป้องกันและการใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) แก่ลูกจ้างที่ทำงานในบริเวณที่มีระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป และลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบกิจการ

การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานมีความสำคัญมาก เพราะถ้าผู้ปฏิบัติงานได้มีความเข้าใจถึงที่มาของเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ว่า เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ที่จะช่วยป้องกันอันตรายจากเสียงดังให้กับตัวผู้ปฏิบัติงานเอง ก็จะเกิดแรงกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของโครงการและตระหนักถึงอันตรายจากเสียงดังที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเองได้ ซ้ำยังจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเข้ามามีส่วนร่วมกับตัวโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความร่วมมือในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) และการเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน

ในการฝึกอบรม ต้องอธิบายให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) รวมถึงข้อดี ข้อด้อย และข้อจำกัดของอุปกรณ์ป้องกันเสียงประเภทต่าง ๆ ตลอดจนการเลือกใช้ วิธีการสวมใส่ที่ถูกต้อง และการบำรุงรักษา นอกจากนี้ ยังรวมถึงวัตถุประสงค์และขั้นตอนในการเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometric Testing) อีกด้วย

 การให้ความรู้และการสร้างแรงจูงใจเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เข้าใจว่าการที่โครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) จะประสบผลสำเร็จได้นั้น จะต้องมีพันธะสัญญา การสื่อสาร และความร่วมมือ โดยผู้บริหารควรจัดลำดับความสำคัญของการฝึกอบรมให้อยู่ในลำดับต้น ๆ และวิทยากรควรนำเสนอเนื้อหาการฝึกอบรมที่กระชับ ง่ายต่อการเข้าใจ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน

โดยวิทยากรจำเป็นต้องกระตุ้นให้เกิดการสื่อสาร 2 ทางระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรม เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริง และผู้เข้าร่วมฝึกอบรมควรได้รับการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยเปิดโอกาสให้มีการตั้งคำถามในข้อสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวิธีดำเนินการใด ๆ ที่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ วิทยากรต้องเตรียมตัวสำหรับการตอบคำถามเหล่านี้พร้อมกับการนำเสนอทางเลือกอื่น ๆ หรือวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าแต่สามารถนำไปปฏิบัติได้มากกว่า

ควรทำให้มั่นใจว่า การฝึกอบรมและการสร้างความตระหนักจะมีความเหมาะสมกับอันตรายจากเสียงดังที่สถานประกอบกิจการประสบอยู่ ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานกะกลางคืนก็ควรได้รับการฝึกอบรมในเนื้อหาเดียวกันกับกะกลางวัน มีการจดบันทึกการฝึกอบรมไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานทุกครั้ง มีการปรับปรุงเนื้อหาการฝึกอบรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ

 การฝึกอบรมและให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยหลัก ๆ แล้วข้อมูลที่ให้จะเกี่ยวกับผลกระทบที่เลวร้ายของการสัมผัสเสียงดัง และวิธีป้องกันการสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดัง โดยอย่างน้อย ๆ เนื้อหาควรประกอบไปด้วย

- การสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดัง (Noise–induced Hearing Loss)

- การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเสียงที่เป็นอันตราย

- ลักษณะอาการของการสัมผัสเสียงดังที่มากเกินมาตรฐาน

- อุปกรณ์ป้องกันเสียง (Hearing Protectors) ข้อดี ข้อด้อย และข้อจำกัด

- การเลือกใช้ การสวมใส่ให้กระชับ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ลดเสียง

- การอธิบายถึงขั้นตอนการตรวจวัดเสียง (Noise Measurement Procedures)

- ข้อกำหนดหรือองค์ประกอบของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP)


     หัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานที่มีการสัมผัสเสียงดังต้องมีความตระหนัก รับรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่เลวร้ายของการสัมผัสเสียงดัง และวิธีป้องกันการสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดัง โดยผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเสียงดังต้องมีการดำเนินการในเชิงรุก เพื่อป้องกันการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร โดยหัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานที่มีการสัมผัสเสียงดังสมควรที่จะได้รับความรู้ในประเด็นเหล่านี้


     - การสัมผัสเสียงดังอาจนำมาสู่ความเสียหายอย่างถาวรของระบบการได้ยิน (Auditory System) และไม่มีเทคนิคทางการแพทย์หรือการผ่าตัดใดที่จะรักษาการสูญเสียการได้ยินชนิดนี้ได้ แม้ว่าการใช้เครื่องช่วยฟัง (Hearing Aid) อาจจะพอช่วยได้บ้างแต่ก็ไม่สามารถทดแทนระบบการได้ยินตามปกติได้ ซึ่งหลาย ๆ คนไม่ได้ตระหนักว่าเสียงดังสามารถก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน

 ยิ่งไปกว่านี้ ในช่วงเริ่มแรกของการสูญเสียการได้ยินผู้มีอาการมักจะไม่ได้รับสัญญาณเตือนเนื่องจาก เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ไม่เจ็บปวด และการสูญเสียจะเกี่ยวข้องกับความบกพร่องต่อการได้ยินเสียงที่มีความถี่สูง ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมากถ้ายังเพิกเฉยต่อลักษณะอาการของการสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว เช่น เสียงกังวานหรือเสียงหึ่งในหู เป็นต้น 

 - แต่ละคนควรได้รู้ว่าจะรับรู้ถึงเสียงดังที่เป็นอันตรายได้อย่างไรแม้ว่าการสำรวจและตรวจวัดเสียงไม่ถูกดำเนินการหรือไม่มีป้ายเตือนติดอยู่ การรับรู้และเข้าใจถึงผลกระทบที่เลวร้ายของการสัมผัสเสียงดังนอกเวลางานก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีวิธีสังเกต หรือสิ่งบอกเหตุว่าสถานประกอบกิจการอาจจะมีสภาวะการทำงานภายใต้เสียงดังเกินไป เช่น มีเสียงกังวานหรือเสียงดังหึ่ง ๆ ในรูหูเมื่อผละจากงาน หรือต้องตะโกนเพื่อที่จะสื่อสารให้ผู้ร่วมงานได้ยินในระยะห่างแค่ช่วงแขน (ประมาณ 3 ฟุตหรือ 90 เซนติเมตร) หรือมีอาการการสูญเสียการได้ยินชั่วคราวเมื่อออกจากสถานที่ปฏิบัติงาน เป็นต้น

- การป้องกันการสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังจะสำเร็จได้ ก็ด้วยการลดทั้งช่วงเวลาและระดับเสียงของการสัมผัส โดยที่การลดช่วงระยะเวลาสัมผัสจะสำเร็จได้ก็โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใด ๆ ที่ไม่จำเป็นกับเสียงที่ดัง ส่วนการลดระดับเสียงก็มักจะสำเร็จได้โดยอาศัยการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง ซึ่งแต่ละคนต้องสามารถที่จะสวมใส่และบำรุงรักษาอย่างถูกวิธีสำหรับอุปกรณ์ลดเสียงแต่ละชนิดที่เลือกใช้


     นอกจากนี้ กฎหมายยังได้ระบุในตอนท้ายด้วยว่า ให้นายจ้างประเมินผลและทบทวนการจัดการโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละครั้ง ซึ่งการประเมินผลโดยละเอียดในแต่ละองค์ประกอบของโครงการอนุรักษ์ฯ เป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อพิจารณาทบทวนเนื้อหาของผลการดำเนินงานว่า มีส่วนใดที่ประสบผลสำเร็จ  ส่วนใดบกพร่อง และส่วนใดควรได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังต้องบันทึกข้อมูลและจัดทำเอกสารการดำเนินการตามองค์ประกอบหลัก (ข้อ 1–4) ของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) รวมถึงผลการประเมินและทบทวนการจัดการโครงการอนุรักษ์การได้ยินอีกด้วย และเก็บไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 5 ปี พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้


     โครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) เป็นสิ่งที่ดี ซึ่งจะช่วยป้องกันเสียงดังและคงสมรรถภาพในการได้ยินไว้  เนื่องจากไม่มีวิธีใดในการฟื้นฟูการได้ยินให้กลับมาดีดังเดิมได้ภายหลังสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรแล้ว ดังนั้นการป้องกันการสัมผัสกับเสียงดังก็มีเพียงวิธีเดียว นั่นก็คือ หลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการสัมผัสนั้นเสีย การสูญเสียการได้ยินจะคืบคลานอย่างช้า ๆ เราจะไม่ทันรู้ตัวและไม่ตระหนักถึงความเสียหายจนกระทั่งสายไปเสียแล้ว

นอกจากนี้ การสัมผัสกับเสียงเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะมีส่วนทำให้เกิดโรคเครียด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจและหลอดเลือด

 เสียงดังยังสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตด้วย มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ภายใต้โครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ที่มีประสิทธิผล จะรู้สึกว่าตนเองเหนื่อยน้อยลงและลดระดับความโกรธง่ายลง รวมถึงนอนหลับได้สนิทมากขึ้น และไม่ประสบกับการสูญเสียการได้ยินชั่วคราว หรือเสียงกังวานในรูหูภายหลังเสร็จสิ้นงานประจำวัน ทั้งนี้ สถานประกอบกิจการที่มีโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ที่มีประสิทธิผลจะสามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย และการขาดงานได้อีกด้วย

    โครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ที่ประสบผลสำเร็จนั้น จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อสถานประกอบกิจการและผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับผลกระทบจากเสียงดัง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ลำพังเพียงแค่ได้ชื่อว่ามีโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ ก็ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าจะป้องกันการสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Occupational Noise–Induced Hearing Loss) ได้

ถ้าผู้บริหารไม่ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาและตามติดนโยบายเกี่ยวกับโครงการนี้ตั้งแต่เริ่มต้น และไม่มีในสิ่งเหล่านี้ คือ การบูรณาการโครงการนี้ให้เข้ากับนโยบายอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ การระบุหน้าที่รับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ และแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการในแต่ละองค์ประกอบของโครงการ ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการที่กฎหมายได้ระบุไว้


 เราต่างคนต่างก็ใช้ชีวิต และบันเทิงเริงรมย์ในโลกแห่งเสียงดังอึกทึกวุ่นวายทันทีทันใดที่ตอกบัตรเลิกงาน  ไม่ว่าจะเป็นการผจญกับเสียงรถราจากการจราจรที่แออัดในท้องถนน เครื่องเสียงที่โชว์พลังก้องรถ หรือเสียงดนตรีเร้าใจในสถานเริงรมย์ ดังนั้น สถานประกอบกิจการมีส่วนอย่างมากในการริเริ่มสร้างวัฒนธรรมของการอนุรักษ์การได้ยินในช่วงต่อระหว่างสถานที่ปฏิบัติงานและที่บ้าน โดยการส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีความตระหนักถึงอันตรายจากการสัมผัสเสียงดังทั้งที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำและในชีวิตประจำวัน

ตลอดจนรับรู้วิธีการป้องกันการสูญเสียการได้ยินเหล่านั้น ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถประยุกต์ใช้ทักษะในการป้องกันเสียงดังที่เรียนรู้จากงานที่ทำ นำไปใช้ภายหลังเลิกงานและบอกกล่าวแก่คนรอบข้างได้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว นั่นก็จะทำให้พวกเราทุกคนสามารถคงความสามารถในการได้ยินไว้ใช้ชีวิตบนโลกแห่งเสียงดังและความอึกทึกวุ่นวายใบนี้ได้อีกนานเท่านาน

 

เอกสารอ้างอิง
- Hearing Conservation Program โดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ รพ.สมิติเวช ศรีราชา
- แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2549
- Industrial Noise Control By Patrick J. Brooks, P.E.Hearing Conservation OSHA 3074

โครงการอนุรักษ์การได้ยิน (Hearing Conservation Program: HCP) (ตอนจบ)

สองตอนแรกของบทความได้กล่าวถึงองค์ประกอบหลักที่สำคัญของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ครบไปแล้วทั้ง 4 หัวข้อ

โครงการอนุรักษ์การได้ยิน
(Hearing Conservation Program: HCP) (ตอนจบ)


ศิริพร วันฟั่น
    
     สองตอนแรกของบทความได้กล่าวถึงองค์ประกอบหลักที่สำคัญของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ครบไปแล้วทั้ง 4 หัวข้อ ทั้งนโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน การเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring) การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring) และหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง มาตรการควบคุมเสียงดัง (Noise Control Measures) ด้วย ดังนั้นในตอนจบของบทความนี้ จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ที่มีเป้าหมายเพื่อป้องกันและลดระดับความดังของเสียงก่อนที่จะเข้าสู่หูผู้ใช้งาน และประเด็นทิ้งท้ายก็คือ การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้รับทราบ เข้าใจและตระหนักถึงอันตรายจากเสียงดัง

 

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE)

    เมื่อการควบคุมทางวิศวกรรมและการควบคุมทางการบริหารจัดการไม่สามารถที่จะลดการสัมผัสเสียงให้ต่ำกว่า 80 เดซิเบลเอหรือลดลงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ก็มีเหตุผลอันควรอย่างเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการได้ยิน (Hearing Protection Devices: HPD) หรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “อุปกรณ์ป้องกันเสียง (Hearing Protectors)”

อย่างไรก็ดี การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงไม่ใช่หนทางแก้ปัญหาที่ถาวร และไม่ใช่สิ่งที่จะทดแทนการควบคุมทางวิศวกรรมและการควบคุมทางการบริหารจัดการได้ เนื่องจากอุปกรณ์ชนิดนี้ไม่สามารถลดหรือขจัดอันตรายจากเสียงที่แหล่งกำเนิด (Sound Sources) และทางผ่านของเสียง (Sound Paths) จึงมักถูกพิจารณาว่าเป็นเพียงมาตรการชั่วคราว มาตรการเสริม หรือมาตรการลำดับสุดท้าย ที่ป้องกันอันตรายจากเสียงที่ตัวบุคคล (Personal Hearing Protection) หรือ “ตัวรับเสียง (Sound Receivers)” เฉพาะช่วงเวลาที่สวมใส่อุปกรณ์นี้เท่านั้น

    นอกจากนี้ เวลาใช้งานก็อาจมีความยุ่งยาก ต้องใช้ความระมัดระวังและทักษะในการสวมใส่ เพราะความมีประสิทธิผลจะขึ้นอยู่กับว่าสวมใส่อย่างกระชับและใช้ตลอดช่วงระยะเวลาที่สัมผัสเสียงดังทุกครั้งหรือไม่ แต่หากเกิดความบกพร่องในการใช้งานของอุปกรณ์ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม จะทำให้ผู้สวมใส่สัมผัสกับอันตรายจากเสียงนั้นโดยทันที แต่อย่างไรก็ตาม แม้วิธีนี้จะเป็นที่พึงปรารถนาน้อยที่สุดของการป้องกันหรือลดเสียงดัง แต่ในหลาย ๆ ครั้งก็มักเป็นเพียงวิธีเดียวที่เหลืออยู่ที่จะสามารถจำกัดการสัมผัสกับเสียงดังได้ในทางปฏิบัติ รวมถึงเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และดูเหมือนจะใช้งบประมาณไม่มากนักเมื่อเทียบกับการควบคุมทางวิศวกรรม


อุปกรณ์ป้องกันเสียงส่วนบุคคล (Personal Hearing Protection Devices) หรือ อุปกรณ์ป้องกันเสียง (Hearing Protectors) คือ อุปกรณ์ที่สวมใส่แล้วสามารถปิดกั้นหรือขัดขวางเสียง เพื่อลดปริมาณพลังงานเสียงหรือระดับเสียงันอันตรายจากเสียงส่วนบุคคล ที่จะถูกส่งผ่านไปยังหูชั้นใน มีจุดประสงค์ของการใช้งานที่มุ่งเน้นการป้องกันไปที่ตัวผู้ปฏิบัติงานจากการสัมผัสเสียงที่ดังเกินมาตรฐาน สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก็คือ การเลือกใช้ให้เหมาะสม มีความกระชับ และใช้งานได้อย่างถูกต้อง เพื่อความมีประสิทธิผลสูงสุดของอุปกรณ์ และส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการป้องกันอันตรายจากเสียงได้อย่างเพียงพอและปลอดภัย


 ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันเสียง (Types of Hearing Protectors) ที่นิยมใช้กันสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดหลัก ๆ คือ

1. ปลั๊กอุดหู (Earplugs) เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสียงชนิดสอดเข้าไปในรูหู (Insert Earplugs) เพื่อปิดกั้นเสียง สามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 แบบ ดังนี้

- ชนิดปั้นขึ้นรูป (Formable Earplugs) ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน โดยมากทำจากโฟมที่สามารถยืดขยายตัวได้ เวลาใช้งานต้องใช้มือบีบโฟมให้มีขนาดเล็ก ๆ แหลม ๆ แล้วสอดเข้าไปในรูหู ถ้าต้องการใส่ให้ใส่ให้กระชับมากขึ้น ให้เอื้อมมือข้างหนึ่งข้ามศีรษะมาดึงใบหูขึ้น แล้วใช้อีกมือหนึ่งสอดปลั๊กอุดหูเข้าไปในรูหู ข้อดีของปลั๊กอุดหูชนิดนี้

ก็คือ ใส่แล้วกระชับกับรูหูของแต่ละบุคคล มีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงได้ดีกว่าปลั๊กอุดหูชนิดอื่น ๆ ข้อเสียคือ ก่อนที่จะใช้งานต้องบีบก้อนโฟมให้มีขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ ซึ่งอาจทำให้สิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่มือนั้นปนเปื้อนไปที่ก้อนโฟม ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในรูหูได้ โดยมากจึงเป็นประเภทใช้แล้วทิ้ง

 - ชนิดขึ้นรูปสำเร็จ (Pre-Molded Earplugs) ปลั๊กอุดหูชนิดนี้ จะเป็นแบบมาตรฐานที่ทำจากยางซิลิโคนหรือพลาสติกและมีก้านเสียบไว้ให้มือจับ จึงทำให้สามารถเข้าไปในรูหูของผู้ใช้ถึงแค่จุดหนึ่งเท่านั้น ถ้าหากรูหูของผู้ใช้มีลักษณะแตกต่างจากผู้ใช้คนอื่น ๆ มาก ก็จะทำให้รู้สึกว่าใส่ไม่พอเหมาะหรืออาจเกิดความรำคาญได้

 - ชนิดสั่งทำโดยเฉพาะ (Custom–Made Earplugs) เป็นปลั๊กอุดหูชนิดที่ทำขึ้นเพื่อใช้ให้เหมาะกับขนาดรูหูของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องวัดขนาดรูหูของผู้ปฏิบัติงานเสียก่อน

     ปลั๊กอุดหูประเภทใช้แล้วทิ้ง (Disposable Earplugs) ส่วนใหญ่จะทำด้วยโพลียูรีเทนโฟม และพีวีซีโฟม โดยทั้งคู่มีค่าความสามารถในการลดเสียง (NRR) อยู่ระหว่าง 28–33 เดซิเบล แต่พีวีซีโฟมจะมีข้อดีกว่าตรงที่เมื่อสอดเข้าไปในรูหูแล้ว แรงดันในหูจะน้อยกว่าทำให้รู้สึกสบาย ติดไฟยาก ช่วยป้องกันสะเก็ดลูกไฟ และดูดซับน้ำได้ยากจึงช่วยป้องกันการลื่นหลุดออกจากรูหูอันเนื่องมาจากเหงื่อและความชื้น

     ส่วนปลั๊กอุดหูประเภทนำมาใช้ใหม่ได้ (Reusable Earplugs) ส่วนใหญ่ทำด้วยยาง ซิลิโคน และเธอร์โมพลาสติก มีค่า NRR อยู่ระหว่าง 24–26 เดซิเบล ข้อดีคือ ประหยัดและใช้ซ้ำได้ ข้อเสียคือ อาจจะเจ็บหูเพราะมีความนุ่มน้อยกว่าประเภทใช้แล้วทิ้ง แต่ถ้าทำจากซิลิโคนจะมีความนุ่มเพราะใกล้เคียงกับผิวหนังมนุษย์ มีอายุการใช้งานได้นาน แต่ราคาค่อนข้างสูง

 2. ที่ครอบหู (Earmuffs) ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ปิดครอบหูส่วนนอกหรือใบหูทั้งหมดเพื่อลดเสียง โดยประสิทธิภาพในการลดเสียงจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ ขนาด รูปทรง โครงสร้างอุปกรณ์และชนิดของสายคาด นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของที่ครอบหูอีก เช่น นวมที่บุภายในด้วยของเหลวจะกันเสียงได้ดีกว่านวมพลาสติก หรือโฟม แต่มักประสบปัญหาคือรั่วไหลได้ง่าย

 

3. ปลั๊กอุดหูชนิดกึ่งสอดพร้อมสายคล้องคอ (Semi-insert Earplugs) หรือ Ear Canal Caps หรือ Semi–Aural Caps เป็นอุปกรณ์ลูกผสมระหว่างปลั๊กอุดหูกับที่ครอบหู คือมีปลั๊กอุดหูติดอยู่ที่ปลายทั้ง 2 ข้างของสายคล้องคอ ถูกออกแบบมาใช้ปิดภายนอกของรูหูเพื่อลดเสียง โดยใช้ก้านที่คล้องคอคอยดันให้ปิดช่องหู ส่วนมากจะทำด้วยพลาสติกหรือยางที่อ่อนนิ่ม ข้อดีคือ มีน้ำหนักเบา สะดวกสบายเวลาสวมใส่ เป็นการนำข้อดีของปลั๊กอุดหูและที่ครอบหูมารวมกัน ข้อเสียคือมีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงน้อยกว่าปลั๊กอุดหูแบบสอดและที่ครอบหู


 โดยทั่วไปแล้ว ปลั๊กอุดหู (Earplugs) หากสอดพอดีกับรูหูจะสามารถลดเสียงที่จะเข้าสู่รูหูลงได้ราว ๆ 25–30 เดซิเบล และใช้ได้ผลกับเสียงที่ดังไม่เกิน 115–120 เดซิเบล ในขณะที่ ที่ครอบหู (Ear Muffs) สามารถลดระดับเสียงได้มากกว่าปลั๊กอุดหูอยู่ประมาณ 10–15 เดซิเบล และถ้าใช้ทั้งควบคู่กัน (Double Protection) จะลดเสียงลงได้มากกว่าเดิมประมาณ 3–5 เดซิเบล

    
      ตาราง แสดงคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียของอุปกรณ์ป้องกันเสียงแต่ละประเภท 

     ความมีประสิทธิผล (Effectiveness) ของอุปกรณ์ป้องกันเสียงจะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับรูปแบบของพลังงานเสียงที่ถูกส่งผ่านหรืออยู่โดยรอบอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มีอยู่ 4 เส้นทางที่เสียงสามารถเข้าถึงหูชั้นในได้เมื่อสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง กล่าวคือ

(1) จุดปิดกั้นรั่ว (Seal Leaks) ปริมาณอากาศจำนวนน้อยที่รั่วเข้าบริเวณจุดห่างระหว่างอุปกรณ์ป้องกันเสียงและผิวหนังผู้ใช้งาน สามารถลดความมีประสิทธิผลลงได้เป็นอย่างมาก และมักเป็นปัญหาที่พบอยู่เป็นประจำ

(2) วัสดุรั่ว (Material Leaks) เป็นทางผ่านเสียงที่เล็ดลอดเข้าตรงจุดรั่วของวัสดุที่ใช้ประกอบเป็นอุปกรณ์ป้องกันเสียง ส่งผลให้อุปกรณ์นี้ยังคงลดหรือป้องกันการผ่านเข้ามาของพลังงานเสียงส่วนมากได้ แต่จะมีเสียงส่วนที่เหลือที่เล็ดลอดผ่านจุดรั่วนี้เข้าไปได้

(3) การสั่นสะเทือนของอุปกรณ์ป้องกันเสียง (Hearing Protectors Vibration) เป็นอีกทางหนึ่งที่เสียงจะถูกส่งผ่านเข้าถึงหูชั้นในได้ ซึ่งเป็นการตอบสนองของอุปกรณ์ป้องกันเสียงในยามสัมผัสกับพลังงานเสียงจากภายนอก

(4) การนำพาเสียงผ่านทางกระดูกและเนื้อเยื่อ (Conduction through Bone and Tissue) แม้ว่าช่องรูหู (Ear Canal) จะได้รับการปิดกั้นและลดเสียงได้ 100% จากอุปกรณ์ป้องกันเสียง แต่ก็ยังมีเสียงบางส่วนที่สามารถผ่านเข้าสู่หูชั้นในได้โดยการนำพาเสียงผ่านทางกระดูก ซึ่งไม่ว่าอุปกรณ์ป้องกันเสียงจะดีเพียงไรก็ไม่สามารถลดเสียงที่ถูกนำพาผ่านทางกระดูกได้เกินกว่า 50 เดซิเบล

     หมายเหตุ: เสียงที่เราได้ยินมีอยู่ 2 ช่องทาง คือ การนำพาของอากาศ (Air–conducted Noise) เป็นช่องทางที่เสียงเดินทางผ่านมาตามอากาศ ส่วนช่องทางที่สอง เป็นการนำพาเสียงผ่านทางกระดูก (Bone–conducted Noise) เป็นการเดินทางของเสียงที่เป็นผลจากการสั่นสะเทือนของฟันและกะโหลกศีรษะแล้วเกิดการขยายเสียงขึ้นทำให้เราได้ยิน ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ เวลาเราขบเคี้ยวขนมกรุบกรอบก็จะได้ยินเสียงที่ว่านี้ดังกว่าเสียงที่ผ่านทางรูหู

และพบว่าโดยมากแล้วหูชั้นนอกของคนเราสามารถสกัดกั้นเสียงที่นำพาของอากาศได้มากสุดอยู่ราว ๆ 40 เดซิเบล นอกเหนือจากนี้ก็ยังคงได้ยินเสียงที่ผ่านมาทางระบบโครงกระดูก (Skeletal System) ของเรา


การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง (Selection of Hearing Protectors) มีหลายปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณา ดังนี้

     1. ระดับเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานสัมผัส (The Noise Exposure Level of the Employees) อุปกรณ์ป้องกันเสียงจะสามารถป้องกันในระดับที่เชื่อถือได้ประมาณ 15 เดซิเบลเอ ให้กับผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ (ประมาณ 84% ของแรงงานทั้งหมด) ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับระดับเสียงเกินกว่า 100 เดซิเบลเอในระหว่างสวมใส่อุปกรณ์ลดเสียง ก็ยังคงเผชิญความเสี่ยงสูงต่อภาวะการสูญเสียการได้ยินตลอดช่วงการทำงานอยู่ดี

 เนื่องจากการจะเริ่มต้นสวมใส่อุปกรณ์ลดเสียงก็เมื่อระดับเสียงสูงกว่า 85 เดซิเบล อย่างไรก็ตาม หนทางเลือกที่ควรจะเป็นก็คือ ถ้ามีการสัมผัสระดับเสียงที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 เดซิเบลเอ ควรเลือกใช้ปลั๊กอุดหูหรือที่ครอบหู แต่ถ้าสัมผัสระดับเสียงที่มากกว่า 100 เดซิเบลเอ ก็ควรเลือกใช้ปลั๊กอุดหูควบคู่กับที่ครอบหู

     
     2. ระดับเสียงที่ต้องการลด (The Degree of Attenuation Required) ในการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง สิ่งสำคัญที่ควรรับรู้ก็คือ ระดับเสียงที่สัมผัส (Noise Exposure Level) และค่าความสามารถในการลดเสียง (Noise Reduction Rating: NRR) ของอุปกรณ์ป้องกันเสียง ซึ่งเป็นระดับที่คาดหวังของการลดเสียงเมื่อสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง โดยค่า NRR

 จะมีการแจ้งอยู่บนป้ายฉลากของอุปกรณ์ป้องกันเสียงซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดและผู้ผลิตแต่ละราย ซึ่งค่า NRR ที่ผู้ผลิตระบุไว้นั้นถูกวัดภายใต้สภาพแวดล้อมในห้องทดลอง จึงมักสูงกว่าค่าที่วัดได้ในสภาพการใช้งานจริง ดังนั้นในการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง ก็ควรมีการปรับลดค่า NRR เสียก่อน 
    


 ตามคำแนะนำของ NIOSH ระบุไว้ว่า ค่า NRR ที่แจ้งอยู่บนป้ายฉลากของอุปกรณ์ป้องกันเสียง ควรมีการปรับลด ดังนี้ คือ

กที่มีการปรับลดค่า NRR แล้ว ลำดับถัดไปก็ใช้สูตรคำนวณเพื่อหาค่าระดับเสียงที่คาดว่าผู้ปฏิบัติงานจะสัมผัสจริงเมื่อใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงชนิดนั้น ๆ แล้ว ซึ่งสูตรในการคำนวณมีดังนี้ คือ

- ถ้าระดับเสียงที่สัมผัสถูกวัดในช่วงความถี่ A (ความถี่ที่มนุษย์ได้ยิน) หน่วยเป็นเดซิเบลเอ (dBA) โดยใช้เครื่องตรวจวัดระดับเสียง (Sound Level Meter) หรือใช้ Noise Dosimeter สูตรคำนวณ คือ
ระดับเสียงที่สัมผัส (Exposed Noise Level: ENL) = [ระดับเสียงในที่ทำงาน (dBA) – (ค่า NRR ที่ปรับลดแล้ว – 7)]

- ถ้าระดับเสียงที่สัมผัสถูกวัดในช่วงความถี่ C (Octave Bands) หน่วยเป็นเดซิเบลซี (dBC) สูตรคำนวณ คือ
ระดับเสียงที่สัมผัส (Exposed Noise Level: ENL) = [ระดับเสียงในที่ทำงาน (dBC) – (ค่า NRR ที่ปรับลดแล้ว – 7)]

 

ตัวอย่าง การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียง

- ตรวจวัดระดับเสียงของเครื่องจักรได้ 95 เดซิเบลเอ ต้องการลดระดับเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานสัมผัสให้ไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ โดยมีอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่หมายตาไว้ คือ ที่ครอบหู (Ear Muff) และปลั๊กอุดหูแบบโฟม (Foam Earplug) ซึ่งมีป้ายฉลากระบุค่า NRR ไว้ดังนี้

 


- วิธีการคำนวณเพื่อเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงที่สามารถลดระดับเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานสัมผัสให้ไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ

 
     กรณีเป็นที่ครอบหู (Ear Muff): ระดับเสียงในที่ทำงาน = 95 เดซิเบลเอ ค่า NRR จากป้ายฉลาก = 29
ค่า NRR ที่ปรับลดแล้ว = 29 – (29 x 25)/100 = 21.75
ระดับเสียงที่สัมผัส (Exposed Noise Level: ENL) = [ระดับเสียงในที่ทำงาน (dBA) – (ค่า NRR ที่ปรับลดแล้ว – 7)]
         = 95 – (21.75 – 7) = 80.25 เดซิเบลเอ


     กรณีเป็นปลั๊กอุดหูแบบโฟม (Foam Earplug): ระดับเสียงในที่ทำงาน = 95 เดซิเบลเอ ค่า NRR จากป้ายฉลาก = 25
ค่า NRR ที่ปรับลดแล้ว = 25 – (25 x 50)/100 = 12.50
ระดับเสียงที่สัมผัส (Exposed Noise Level: ENL) = [ระดับเสียงในที่ทำงาน (dBA) – (ค่า NRR ที่ปรับลดแล้ว – 7)]
         = 95 – (12.50 – 7) = 89.50 เดซิเบลเอ


     จากผลการคำนวณ จะเห็นได้ว่า สมควรเลือกที่ครอบหู เพราะสามารถตอบโจทย์ที่สามารถลดระดับเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานสัมผัสให้ไม่เกิน 85 เดซิเบลเอได้

     การใช้อุปกรณ์ลดเสียงร่วมกันมากกว่า 1 ชนิด ถ้ามองเผิน ๆ ก็อาจคิดไปเองได้ว่า น่าจะลดปริมาณเสียงที่สัมผัสได้เท่ากับประสิทธิภาพในการลดเสียงทั้ง 2 ชนิดบวกกัน ตัวอย่างเช่น การสวมใส่ที่ครอบหูที่มีค่า NRR อยู่ที่ 28 เดซิเบล เมื่อควบรวมกับการสวมใส่กับปลั๊กอุดหูที่มีค่า NRR อยู่ที่ 24 เดซิเบล ก็น่าจะลดระดับเสียงลงได้ที่ 52 เดซิเบล แต่ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะเสียงที่มีระดับความดังสูงจะมีปริมาณเสียงบางส่วนที่สามารถหลบเลี่ยงผ่านหูชั้นนอก ชั้นกลาง และเข้าไปกระตุ้นหูชั้นใน ดังนั้น การใช้อุปกรณ์ลดเสียงแบบดับเบิล (Dual Protection) เช่นนี้ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการลดเสียงได้อีกเพียงแค่ 5 -10 เดซิเบลเท่านั้น


     3. ความสะดวกกายและความกระชับต่อผู้ใช้งาน (Comfort & Fit to the User) ความกระชับของอุปกรณ์ป้องกันเสียงของผู้ใช้งานแต่ละคนเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเวลาใช้งาน ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอถ้าสวมใส่อุปกรณ์อย่างกระชับ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการปิดกั้นเสียง (Acoustic Seal) ไปพร้อม ๆ กับความรู้สึกสะดวกกายเมื่อใช้งานด้วย 


     4. ความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน (Suitability for Use) การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงควรจะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการทำงานและประเภทของงานที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น ที่ครอบหู (Ear Muffs) ควรที่จะถูกเลือกใช้มากกว่าปลั๊กอุดหู (Earplugs) ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่สกปรก เพราะถ้าใช้ปลั๊กอุดหูอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะการติดเชื้อในรูหูได้ ในทางกลับกัน ปลั๊กอุดหูจะมีความเหมาะสมในการใช้งานมากกว่าที่ครอบหูในพื้นที่งานที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง ในขณะที่งานที่ต้องการความคล่องตัวเพราะว่าจำเป็นต้องสวมใส่ตลอดวันและถอดออกเฉพาะตอนพักทานข้าว การใช้อุปกรณ์ลดเสียงแบบทำจากโฟมน่าจะมีความเหมาะสมมากที่สุด เป็นต้น


     5. ความจำเป็นในการได้ยินเสียงสัญญาณเตือนภัยและเข้าใจในคำพูด (Need for Hearing Warning Signals and Speech Intelligibility) อุปกรณ์ป้องกันเสียงที่ถูกเลือกใช้งานควรที่จะสามารถลดระดับเสียงให้ต่ำกว่า 85 เดซิเบลที่บริเวณหู แต่อย่างไรก็ดี ผู้ปฏิบัติงานไม่ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงที่มีการลดระดับเสียงมากเกินความจำเป็น

เพราะอาจเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานหรือการได้ยินเสียงสัญญาณเตือนภัย การป้องกันที่มากเกินความจำเป็น (Over Protection) เช่นนี้ยังสามารถเป็นสาเหตุให้ผู้ปฏิบัติงานหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงหรือใช้แล้วถอดออกเป็นช่วง ๆ (เช่น ช่วงที่ต้องการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน) ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่สามารถลดระดับเสียงให้ต่ำกว่าระดับเสียงสัมผัสตามมาตรฐานกำหนดลงมาได้ 5–10 เดซิเบลเอ ก็ถือว่าเพียงพอและไม่มากเกินความจำเป็น


     6. ภาวะการเจ็บป่วย (Medical Conditions) ก่อนที่จะมีการแจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันเสียงให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน พวกเขาควรได้รับคำปรึกษาถ้ามีอาการเจ็บป่วยใด ๆ เกี่ยวกับหู เช่น การระคายเคืองในช่องหู ซึ่งในกรณีนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปลั๊กอุดหู ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนอาจจะมีลักษณะเฉพาะทางกายภาพของหูที่แตกต่างกันกันไป (เช่น ความกว้าง–แคบ หรือลึกของช่องรูหู) ทำให้การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงชนิดเดียวกันหรือขนาดเดียวกัน อาจจะส่งผลที่แตกต่างกันได้ ดังนั้นโครงการอนุรักษ์การได้ยินที่ประสบผลสำเร็จควรพิจารณาและสนองตอบต่อความต้องการของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน

โดยผู้ปฏิบัติงานควรได้รับโอกาสในการพิจารณาเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่เหมาะสมกับตัวเองและมีความปลอดภัย เมื่อสวมใส่แล้วมีความกระชับและรู้สึกสะดวกกาย ถ้าผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมในการเลือกชนิดและขนาดของอุปกรณ์ป้องกันเสียง ก็จะเป็นการเพิ่มระดับของการยอบรับและเป็นแรงกระตุ้นให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงนั้นไปด้วยในตัว


 ถ้าเป็นไปได้ ก่อนสั่งซื้อควรมีโครงการนำร่องโดยการทดสอบ (Pre –test) เพื่อประเมินประสิทธิผลและการยอมรับของผู้ปฏิบัติงาน โดยขอตัวอย่างสินค้าจากผู้ผลิตแล้วให้ผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่งได้ทำการทดสอบในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบความกระชับของอุปกรณ์ป้องกันเสียง (Fit Testing) ความรู้สึกถึงความสะดวกกาย ความเหมาะสมกับงาน ประสิทธิภาพในการป้องกันหรือการลดเสียง เป็นต้น แล้วนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ตามหลักสถิติ ก็จะได้ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่จะไม่ใช่แค่หนึ่งชนิด และมีความจำเป็นต้องซื้อหลายขนาดเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน

 การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (Proper Warning of Hearing Protectors) การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมจะเป็นการลดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ และนำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการสูญเสียการได้ยิน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการฝึกอบรม และเรียนรู้เทคนิคในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงอย่างถูกวิธี รับรู้เหตุผลความจำเป็นที่ต้องสวมใส่อุปกรณ์ และข้อดี ข้อเสียหรือข้อจำกัดของอุปกรณ์ รวมถึงควรได้รับการกระตุ้น และส่งเสริมให้หมั่นตรวจสอบความกระชับของอุปกรณ์อยู่เป็นระยะตลอดช่วงเวลาที่สวมใส่ด้วย

 วิธีสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงแต่ละประเภท


1. ปลั๊กอุดหู (Earplugs)
-  ชนิดปั้นขึ้นรูป (Formable Earplugs)

(1) ใช้มือที่สะอาดจับปลั๊กอุดหูบีบคลึงไปมา ให้มีลักษณะเป็นแท่งเล็ก ๆ เรียว

 

 


(2) ใช้มือข้างที่ว่างอยู่เอื้อมข้ามศีรษะมาจับใบหูอีกข้างแล้วดึงขึ้นเพื่อช่วยเปิดทางเข้ารูหู แล้วสอดปลั๊กอุดหูเข้าไปตรง ๆ ทันทีจนเกือบหมดความยาวของปลั๊กอุดหู

 

 


(3) จับปลั๊กอุดหูประมาณ 30–40 วินาทีรอจนกระทั่งขยายตัวจนเต็มรูหู

 

 


ถ้าใส่เข้าไปอย่างกระชับรูหู คนอื่นที่มองจากทางเบื้องหน้าจะไม่สังเกตเห็นส่วนท้ายของปลั๊กอุดหู

 

ทดสอบความกระชับหลังสอดปลั๊กอุดหูแล้ว โดยใช้ฝ่ามือป้องครอบใบหูแล้วเอามือออก เสียงที่ได้ยินต้องไม่แตกต่างกันระหว่างป้องมือกับไม่ป้องมือ

 

 

เวลาถอดปลั๊กอุดหูเออก ต้องค่อย ๆ ดึงออก เพราะแรงดูดภายในช่องรูหู อาจทำให้เจ็บหูได้

  

-  ชนิดขึ้นรูปสำเร็จ (Pre-Molded Earplugs)

 

(1)  จับก้านปลั๊กอุดหู (Stem) เอื้อมมือข้างที่ว่างอยู่อ้อมข้ามศีรษะมาจับใบหูอีกข้างแล้วดึงขึ้น เพื่อช่วยเปิดทางเข้ารูหู แล้วสอดปลั๊กอุดหูเข้าไปตรง ๆ

 

 


(2)  สอดส่วนที่เป็นครีบ (Flanges) ทั้งหมดเข้าไปในรูหู

 

 

(3)  ถ้าใส่ได้อย่างกระชับ คนอื่นที่มองจากทางเบื้องหน้าจะสังเกตเห็นเพียงก้านของปลั๊กอุดหู

 


    2. ที่ครอบหู (Ear Muffs)

 

(1) วางตำแหน่ง Ear Cups ทั้งสองข้างให้ครอบส่วนใบหูทั้งหมด

 

(2) ใช้มือข้างหนึ่งจับสายคาดศีรษะขึ้นหรือลง เพื่อปรับตำแหน่ง Ear Cups ทั้งสองข้างให้กระชับใบหู


การสวมใส่ที่ถูกต้อง :

 

-ตำแหน่ง Ear Cups ต้องครอบส่วนใบหูทั้งหมดและมีความกระชับ
การสวมใส่ที่ไม่ถูกต้อง :

 

 

- ตำแหน่ง Ear Cups ที่ไม่ครอบส่วนใบหูทั้งหมด
การสวมใส่ที่ไม่ถูกต้อง :

 

 

-มีเส้นผมมาอยู่ท่ามกลาง Ear Cups และใบหู

 


3. ปลั๊กอุดหูชนิดกึ่งสอดพร้อมสายคล้องคอ (Ear Canal Caps)
    

 

(1) วางตำแหน่งสายคล้องไว้ใต้คาง ใช้มือดันส่วนปลายที่เป็นปลั๊กอุดหูเข้าไปปิดช่องหู

 

(2) ถ้าต้องการความกระชับมากขึ้น ก็ให้ใช้มือข้างหนึ่งเอื้อมข้ามศีรษะแล้วจับใบหูยกขึ้น มืออีกข้างดันส่วนปลายที่เป็นปลั๊กอุดหูเข้าไปปิดช่องหู

 

(3) ในพื้นที่งานที่มีเสียงดัง ทดสอบความกระชับโดยการใช้นิ้วมือกดเบา ๆ ที่สายคล้องใกล้ปลั๊กอุดหู แล้วปล่อยมือออก ระดับเสียงที่ได้ยินไม่ควรแตกต่างกันมากระหว่างกดกับไม่กด

 

     การบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันเสียง (Maintenance of Hearing Protectors) ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการฝึกอบรมให้ทราบถึงวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ป้องกันเสียง เพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพเวลาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขอนามัยซึ่งถือว่ามีความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยอุปกรณ์ป้องกันเสียงควรได้รับการทำความสะอาดเพื่อขจัดสิ่งสกปรกหรือการปนเปื้อนภายหลังจากใช้งาน และถูกจัดเก็บไว้ในสถานที่ที่สะอาดเมื่อยังไม่ถูกใช้งาน เช่น ปลั๊กอุดหูชนิดนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Re–usable Earplugs) ต้องได้รับการชำระล้างอย่างบ่อยครั้งด้วยสบู่อ่อน ๆ และน้ำอุ่น

 

นอกจากนี้ อุปกรณ์ป้องกันเสียงควรได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอและเปลี่ยนแทนของเดิมเมื่อจำเป็น เช่น ปลั๊กอุดหูที่เปื่อยหรือฉีกขาดหรือมีความแข็งกระด้าง หรือนวมของที่ครอบหูมีการปริแตกและเสียรูปทรง สามารถที่จะส่งผลต่อความกระชับของอุปกรณ์ได้ ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรมีระบบในการตรวจสอบความสมบูรณ์พร้อมใช้งานของอุปกรณ์ป้องกันเสียงอย่างเป็นปกติพื้นฐาน และมีความพร้อมสำหรับการซ่อมแซมชิ้นส่วนที่เสียหายของอุปกรณ์ หรือมีของใหม่สำหรับเปลี่ยนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานได้ทันทีเมื่อถึงคราวจำเป็น


     ความสม่ำเสมอของการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันเสียง (Consistent use of Hearing Protectors) พื้นที่งานบริเวณใดที่มีแนวโน้มว่าผู้ปฏิบัติงานจะสัมผัสกับเสียงที่ดังเกินมาตรฐาน ควรได้รับการชี้บ่งและระบุให้ชัดเจน โดยการติดป้ายเตือน (Warning Signs) ที่ด้านหน้าบริเวณทางเข้าว่าเป็นพื้นที่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง (Hearing Protectors Areas) เพื่อเป็นการเตือนว่าต้องสวมใส่อุปกรณ์นี้ทุกครั้งเมื่อเข้าสู่พื้นที่ และควรมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานทุกคนรวมถึงบุคคลภายนอกได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดโดยไม่คำนึงว่าจะใช้เวลาเท่าไรในพื้นที่งานส่วนนี้


ป้ายเตือนให้ระวังอันตรายและจำเป็นต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงในพื้นที่นี้

    
      นอกจากนี้ยังต้องย้ำเตือนผู้ปฏิบัติงานให้รับรู้ว่า การถอดอุปกรณ์ป้องกันเสียงในระหว่างการทำงานที่สัมผัสเสียงดังแม้เพียงเสี้ยวนาที จะเป็นการลดประสิทธิภาพของอุปกรณ์และไม่เพียงพอต่อการป้องกัน โดยถ้ามีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงเพียงครึ่งหนึ่ง (50%) ของตลอดช่วงเวลาที่สัมผัสเสียงทั้งหมด จะส่งผลให้ได้รับการป้องกันเสียงเพียงแค่ 3 เดซิเบลเท่านั้น ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานควรถอดอุปกรณ์ป้องกันเสียงเฉพาะเมื่อออกจากพื้นที่เสียงดังเท่านั้น

     หัวหน้างานควรได้รับความรู้ที่เพียงพอสำหรับการกำกับดูแลการใช้และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ลดเสียงของผู้ใต้บังคับบัญชา รวมถึงปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงทุกครั้งในพื้นที่งานที่กำหนด และให้คำปรึกษาชี้แนะหรือตักเตือนผู้ปฏิบัติงานที่ปฏิเสธการสวมใส่อุปกรณ์ลดเสียง และมีการบังคับใช้มาตรการลงโทษถ้ายังฝ่าฝืนซ้ำ ๆ อีก

 การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้รับทราบ เข้าใจและตระหนักถึงอันตรายจากเสียงดัง

 ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2553” ได้ระบุเกี่ยวกับการฝึกอบรมไว้ดังนี้คือ ให้นายจ้างอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุมป้องกันและการใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) แก่ลูกจ้างที่ทำงานในบริเวณที่มีระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป และลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบกิจการ

การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานมีความสำคัญมาก เพราะถ้าผู้ปฏิบัติงานได้มีความเข้าใจถึงที่มาของเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ว่า เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ที่จะช่วยป้องกันอันตรายจากเสียงดังให้กับตัวผู้ปฏิบัติงานเอง ก็จะเกิดแรงกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของโครงการและตระหนักถึงอันตรายจากเสียงดังที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเองได้ ซ้ำยังจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเข้ามามีส่วนร่วมกับตัวโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความร่วมมือในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) และการเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน

ในการฝึกอบรม ต้องอธิบายให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) รวมถึงข้อดี ข้อด้อย และข้อจำกัดของอุปกรณ์ป้องกันเสียงประเภทต่าง ๆ ตลอดจนการเลือกใช้ วิธีการสวมใส่ที่ถูกต้อง และการบำรุงรักษา นอกจากนี้ ยังรวมถึงวัตถุประสงค์และขั้นตอนในการเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometric Testing) อีกด้วย

 การให้ความรู้และการสร้างแรงจูงใจเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เข้าใจว่าการที่โครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) จะประสบผลสำเร็จได้นั้น จะต้องมีพันธะสัญญา การสื่อสาร และความร่วมมือ โดยผู้บริหารควรจัดลำดับความสำคัญของการฝึกอบรมให้อยู่ในลำดับต้น ๆ และวิทยากรควรนำเสนอเนื้อหาการฝึกอบรมที่กระชับ ง่ายต่อการเข้าใจ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน

โดยวิทยากรจำเป็นต้องกระตุ้นให้เกิดการสื่อสาร 2 ทางระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรม เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริง และผู้เข้าร่วมฝึกอบรมควรได้รับการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยเปิดโอกาสให้มีการตั้งคำถามในข้อสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวิธีดำเนินการใด ๆ ที่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ วิทยากรต้องเตรียมตัวสำหรับการตอบคำถามเหล่านี้พร้อมกับการนำเสนอทางเลือกอื่น ๆ หรือวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าแต่สามารถนำไปปฏิบัติได้มากกว่า

ควรทำให้มั่นใจว่า การฝึกอบรมและการสร้างความตระหนักจะมีความเหมาะสมกับอันตรายจากเสียงดังที่สถานประกอบกิจการประสบอยู่ ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานกะกลางคืนก็ควรได้รับการฝึกอบรมในเนื้อหาเดียวกันกับกะกลางวัน มีการจดบันทึกการฝึกอบรมไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานทุกครั้ง มีการปรับปรุงเนื้อหาการฝึกอบรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ

 การฝึกอบรมและให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยหลัก ๆ แล้วข้อมูลที่ให้จะเกี่ยวกับผลกระทบที่เลวร้ายของการสัมผัสเสียงดัง และวิธีป้องกันการสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดัง โดยอย่างน้อย ๆ เนื้อหาควรประกอบไปด้วย

- การสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดัง (Noise–induced Hearing Loss)

- การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเสียงที่เป็นอันตราย

- ลักษณะอาการของการสัมผัสเสียงดังที่มากเกินมาตรฐาน

- อุปกรณ์ป้องกันเสียง (Hearing Protectors) ข้อดี ข้อด้อย และข้อจำกัด

- การเลือกใช้ การสวมใส่ให้กระชับ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ลดเสียง

- การอธิบายถึงขั้นตอนการตรวจวัดเสียง (Noise Measurement Procedures)

- ข้อกำหนดหรือองค์ประกอบของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP)


     หัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานที่มีการสัมผัสเสียงดังต้องมีความตระหนัก รับรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่เลวร้ายของการสัมผัสเสียงดัง และวิธีป้องกันการสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดัง โดยผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเสียงดังต้องมีการดำเนินการในเชิงรุก เพื่อป้องกันการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร โดยหัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานที่มีการสัมผัสเสียงดังสมควรที่จะได้รับความรู้ในประเด็นเหล่านี้


     - การสัมผัสเสียงดังอาจนำมาสู่ความเสียหายอย่างถาวรของระบบการได้ยิน (Auditory System) และไม่มีเทคนิคทางการแพทย์หรือการผ่าตัดใดที่จะรักษาการสูญเสียการได้ยินชนิดนี้ได้ แม้ว่าการใช้เครื่องช่วยฟัง (Hearing Aid) อาจจะพอช่วยได้บ้างแต่ก็ไม่สามารถทดแทนระบบการได้ยินตามปกติได้ ซึ่งหลาย ๆ คนไม่ได้ตระหนักว่าเสียงดังสามารถก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน

 ยิ่งไปกว่านี้ ในช่วงเริ่มแรกของการสูญเสียการได้ยินผู้มีอาการมักจะไม่ได้รับสัญญาณเตือนเนื่องจาก เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ไม่เจ็บปวด และการสูญเสียจะเกี่ยวข้องกับความบกพร่องต่อการได้ยินเสียงที่มีความถี่สูง ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมากถ้ายังเพิกเฉยต่อลักษณะอาการของการสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว เช่น เสียงกังวานหรือเสียงหึ่งในหู เป็นต้น 

 - แต่ละคนควรได้รู้ว่าจะรับรู้ถึงเสียงดังที่เป็นอันตรายได้อย่างไรแม้ว่าการสำรวจและตรวจวัดเสียงไม่ถูกดำเนินการหรือไม่มีป้ายเตือนติดอยู่ การรับรู้และเข้าใจถึงผลกระทบที่เลวร้ายของการสัมผัสเสียงดังนอกเวลางานก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีวิธีสังเกต หรือสิ่งบอกเหตุว่าสถานประกอบกิจการอาจจะมีสภาวะการทำงานภายใต้เสียงดังเกินไป เช่น มีเสียงกังวานหรือเสียงดังหึ่ง ๆ ในรูหูเมื่อผละจากงาน หรือต้องตะโกนเพื่อที่จะสื่อสารให้ผู้ร่วมงานได้ยินในระยะห่างแค่ช่วงแขน (ประมาณ 3 ฟุตหรือ 90 เซนติเมตร) หรือมีอาการการสูญเสียการได้ยินชั่วคราวเมื่อออกจากสถานที่ปฏิบัติงาน เป็นต้น

- การป้องกันการสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังจะสำเร็จได้ ก็ด้วยการลดทั้งช่วงเวลาและระดับเสียงของการสัมผัส โดยที่การลดช่วงระยะเวลาสัมผัสจะสำเร็จได้ก็โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใด ๆ ที่ไม่จำเป็นกับเสียงที่ดัง ส่วนการลดระดับเสียงก็มักจะสำเร็จได้โดยอาศัยการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง ซึ่งแต่ละคนต้องสามารถที่จะสวมใส่และบำรุงรักษาอย่างถูกวิธีสำหรับอุปกรณ์ลดเสียงแต่ละชนิดที่เลือกใช้


     นอกจากนี้ กฎหมายยังได้ระบุในตอนท้ายด้วยว่า ให้นายจ้างประเมินผลและทบทวนการจัดการโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละครั้ง ซึ่งการประเมินผลโดยละเอียดในแต่ละองค์ประกอบของโครงการอนุรักษ์ฯ เป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อพิจารณาทบทวนเนื้อหาของผลการดำเนินงานว่า มีส่วนใดที่ประสบผลสำเร็จ  ส่วนใดบกพร่อง และส่วนใดควรได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังต้องบันทึกข้อมูลและจัดทำเอกสารการดำเนินการตามองค์ประกอบหลัก (ข้อ 1–4) ของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) รวมถึงผลการประเมินและทบทวนการจัดการโครงการอนุรักษ์การได้ยินอีกด้วย และเก็บไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 5 ปี พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้


     โครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) เป็นสิ่งที่ดี ซึ่งจะช่วยป้องกันเสียงดังและคงสมรรถภาพในการได้ยินไว้  เนื่องจากไม่มีวิธีใดในการฟื้นฟูการได้ยินให้กลับมาดีดังเดิมได้ภายหลังสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรแล้ว ดังนั้นการป้องกันการสัมผัสกับเสียงดังก็มีเพียงวิธีเดียว นั่นก็คือ หลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการสัมผัสนั้นเสีย การสูญเสียการได้ยินจะคืบคลานอย่างช้า ๆ เราจะไม่ทันรู้ตัวและไม่ตระหนักถึงความเสียหายจนกระทั่งสายไปเสียแล้ว

นอกจากนี้ การสัมผัสกับเสียงเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะมีส่วนทำให้เกิดโรคเครียด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจและหลอดเลือด

 เสียงดังยังสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตด้วย มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ภายใต้โครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ที่มีประสิทธิผล จะรู้สึกว่าตนเองเหนื่อยน้อยลงและลดระดับความโกรธง่ายลง รวมถึงนอนหลับได้สนิทมากขึ้น และไม่ประสบกับการสูญเสียการได้ยินชั่วคราว หรือเสียงกังวานในรูหูภายหลังเสร็จสิ้นงานประจำวัน ทั้งนี้ สถานประกอบกิจการที่มีโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ที่มีประสิทธิผลจะสามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย และการขาดงานได้อีกด้วย

    โครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ที่ประสบผลสำเร็จนั้น จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อสถานประกอบกิจการและผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับผลกระทบจากเสียงดัง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ลำพังเพียงแค่ได้ชื่อว่ามีโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ ก็ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าจะป้องกันการสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Occupational Noise–Induced Hearing Loss) ได้

ถ้าผู้บริหารไม่ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาและตามติดนโยบายเกี่ยวกับโครงการนี้ตั้งแต่เริ่มต้น และไม่มีในสิ่งเหล่านี้ คือ การบูรณาการโครงการนี้ให้เข้ากับนโยบายอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ การระบุหน้าที่รับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ และแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการในแต่ละองค์ประกอบของโครงการ ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการที่กฎหมายได้ระบุไว้


 เราต่างคนต่างก็ใช้ชีวิต และบันเทิงเริงรมย์ในโลกแห่งเสียงดังอึกทึกวุ่นวายทันทีทันใดที่ตอกบัตรเลิกงาน  ไม่ว่าจะเป็นการผจญกับเสียงรถราจากการจราจรที่แออัดในท้องถนน เครื่องเสียงที่โชว์พลังก้องรถ หรือเสียงดนตรีเร้าใจในสถานเริงรมย์ ดังนั้น สถานประกอบกิจการมีส่วนอย่างมากในการริเริ่มสร้างวัฒนธรรมของการอนุรักษ์การได้ยินในช่วงต่อระหว่างสถานที่ปฏิบัติงานและที่บ้าน โดยการส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีความตระหนักถึงอันตรายจากการสัมผัสเสียงดังทั้งที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำและในชีวิตประจำวัน

ตลอดจนรับรู้วิธีการป้องกันการสูญเสียการได้ยินเหล่านั้น ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถประยุกต์ใช้ทักษะในการป้องกันเสียงดังที่เรียนรู้จากงานที่ทำ นำไปใช้ภายหลังเลิกงานและบอกกล่าวแก่คนรอบข้างได้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว นั่นก็จะทำให้พวกเราทุกคนสามารถคงความสามารถในการได้ยินไว้ใช้ชีวิตบนโลกแห่งเสียงดังและความอึกทึกวุ่นวายใบนี้ได้อีกนานเท่านาน

 

เอกสารอ้างอิง
- Hearing Conservation Program โดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ รพ.สมิติเวช ศรีราชา
- แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2549
- Industrial Noise Control By Patrick J. Brooks, P.E.Hearing Conservation OSHA 3074

 

ที่มาของข้อมูล จากเวปไซด์

http://www.thailandindustry.com/indust_newweb/news_preview.php?cid=19293

 

Visitors: 569,419