นโยบายความปลอดภัย

สวัสดีครับ

         อ่านเจอ ขออนุญาต นำมาเผยแพร่ต่อเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนะครับ

ข้อมูลจาก Siamsafety.com

โยบายความปลอดภัย

อยากทราบบทกำหนดโทษหากนายจ้าง ไม่เขียนนโยบายความปลอดภัยในสถานประกอบการค่ะ
พี่ๆพอจะช่วยได้ไหมคะ

โดยคุณ: หมีน้อย email: amonwan_phetin@pioneer.com.sg [ 11 January 2021 16:04:29 ]

 
ข้อความที่ 1
ตอบตามประสบการณ์นะครับแต่อย่าหัวหมอไปเรียกร้องเป็นข้อได้เปรียบกับนายจ้างนะครับ เพราะอย่างไรนายจ้างย่อมได้เปรียบกว่าเสมอ

เรื่องที่ถาม คือ นโยบายความปลอดภัยในสถานประกอบการ

- ส่วนประกอบที่จะเข้าหลักเกณฑ์ต้องมีนโยบายฯ ตามกฎหมาย

ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2553

- สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป

ถ้าเข้าหลักเกณฑ์ข้างต้นก็ต้องมีการจัดการ เรื่อง นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

แต่ลึก ๆ ไปอีกตามหลักเกณฑ์นี้ คือ สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ หรือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบห้าสิบคน

- หน้าที่ คปอ. = พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงานเพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง

จบประเด็นหากนายจ้างจัดให้มี คปอ. แล้ว นั่นเป็นหน้าที่ คปอ. ตามกฎหมายที่จะทำสิ่งนี้แทนนายจ้างแล้วครับ

ขออภัยร่ายยืดยาวอีกแล้ว ตามคำถามเรื่องบทลงโทษ ส่วนนี้กฎหมายกำหนดบทลงโทษไว้ที่ พรบ.ความปลอดภัยฯ พ.ศ. 2554 แล้วครับ

ตามคำถาม

- หนัก คือ มาตรา 8 = ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

- กลาง คือ มาตรา 13 = ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แต่ส่วนมากหากพบจริง ๆ แล้วไม่ใช่สิ่งที่โรงงานจะแก้ไขไม่ได้เลย การลงโทษหนักก็กระทบโรงงานซึ่งส่งผลเสียหลายด้านก็จะมีบทลงโทษอยู่ในแนวนี้ครับ (ส่วนใหญ่จะส่งเป็นหนังสือเตือน หรือหนังสือสั่งให้ดำเนินการ)

- เจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งหยุดการกระทำที่ฝ่าฝืน เพื่อให้แก้ไข ปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือเหมาะสมภายในระยะเวลาสามสิบวัน
- หยุดการใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ อาคารสถานที่ หรือผูกมัดประทับตราสิ่งที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อลูกจ้างดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว (แก้ไขแล้วก็เพิกถอนคำสั่งเพื่อสามารถใช้งานได้ตามปกติ)
- เจ้าหน้าที่มอบหมายให้บุคคลใดเข้าจัดการแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนั้นได้ ในกรณีเช่นนี้นายจ้างต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้าจัดการแก้ไขนั้นตามจำนวนที่จ่ายจริง

เดี๋ยวก็มีพี่ ๆ มาช่วยตอบครับ ผมเมา Covid 19 to 21

โดยคุณ: Ljungbass email: [ 11 January 2021 23:14:54 ]

 
Visitors: 595,756