คำศัพท์ทางความปลอดภัย
ความหมายของความปลอดภัยในการทำงาน
การเกิดอุบัติเหตุในการทำงานแต่ละครั้ง มิใช่จะเกิดขึ้นจากโชคชะตาหรือเคราะห์กรรมของแต่ละบุคคล หากแต่เกิดขึ้นโดยมี “สาเหตุ” ที่ชี้ชัดลงไปได้ การเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานจะเกิดขึ้นได้โดยการแก้ไขป้องกันที่ “สาเหตุของอุบัติเหตุ” ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมก่อนที่จะได้ศึกษาถึงสาเหตุของอุบัติเหตุและการป้องกันต่อไป ควรที่จะได้ทราบคำกำจัดความต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ภัย (Hazard) เป็นสภาพการณ์ซึ่งมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อบุคคลหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือวัสดุ หรือกระทบกระเทือนต่อขีดความสามารถในการปฏิบัติการของบุคคล
อันตราย (Danger) หมายถึงระดับความรุนแรงที่เป็นผลเนื่องมาจากภัย (Hazard) อันตรายจากภัยอาจจะมีระดับสูงมาก หรือน้อยก็ได้ ขึ้นอยู่กับมาตรการในการป้องกัน เช่น การทำงานบนที่สูง สภาพการณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นภัย ซึ่งอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บถึงตายได้หากมีการพลัดตกลงมา ในกรณีนี้ถือได้ว่ามีอันตรายอยู่ระดับหนึ่ง หากแต่ระดับอันตรายจะลดน้อยลง ถ้าผู้ปฏิบัติงานใช้สายนิรภัย(Harness) ขณะทำงานเพราะโอกาสของการพลัดตกและก่อให้เกิดการบาดเจ็บลดน้อยลง
ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง การปรารถจากภัย ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้ที่จะขจัดภัยทุกชนิดให้หมดไปโดยสิ้นเชิง ความปลอดภัยจึงให้รวมถึงการปรารถจากอันตรายที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นด้วยอุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมิได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บ พิการหรือตาย และ/หรือทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ความหมายในเชิงวิศวกรรมความปลอดภัยนั้น “อุบัติเหตุ ยังมีความหมายครอบคลุมถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว มีผลกระทบกระเทือนต่อกระบวนการผลิตปกติ ทำให้เกิดความล่าช้า หยุดชะงัก หรือเสียเวลา แม้จะไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ ก็ตาม (วิฑูรย์ สิมะโชคดี และ วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์, 2543)
อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครคาดคิด ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น ไม่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและไม่สามารถควบคุมได้ (เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ และชัยยะ พงษ์พานิช, 2533)
อุบัติเหตุ(Accident) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันแล้วมีผลกระทบกระเทือนต่อการทำงาน โดยให้งานหยุดชะงัก เครื่องมือเครื่องจักรชำรุดเสียหาย ผลผลิตตกต่ำ ราคาต้นทุนสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้ประสบอุบัติเหตุอาจจะรอดชีวิตบาดเจ็บ หรือพิการ หรือเสียชีวิตได้ (ณรงค์ ณ เชียงใหม่, 2525)
อุบัติเหตุ (Accident) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ไม่มีการวางแผนล่วงหน้าและควบคุมไม่ได้ เช่น การตกจากที่สูง การหกล้ม ฯลฯ ซึ่งจะทำให้เกิดความสูญเสียต่อผู้ประสบอุบัติเหตุบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยอุบัติเหตุจากการทำงานเป็นเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นในขณะทำงาน เช่น การบาดเจ็บจากการกระแทก หรือบดของเครื่องจักร การถูกสิ่งของหล่นทับ ฯลฯ
อุบัติเหตุกับการทำงานอุบัติเหตุและการทำงานมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกันเสมอ กล่าวคือ ในขณะที่เราทำงานนั้นจะมีอุบัติเหตุแอบแฝงอยู่ และเมื่อใดที่เราประมาท อุบัติเหตุก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นทันที ซึ่งในการเกิดอุบัติเหตุนั้นมักจะมีตัวการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ1.1 ตัวบุคคล คือ ผู้ประกอบการงานในหน้าที่ต่าง ๆ และเป็นตัวสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ1.2 สิ่งแวดล้อม คือ ตัวองค์การหรือโรงงานที่บุคคลนั้นทำงานอยู่1.3 เครื่องมือ เครื่องจักร คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานภาพอุบัติเหตุกับ
งานมีส่วนเกี่ยวข้องกันสาเหตุของอุบัติเหตุ (Causes of Accidents)H.W. Heinrich เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้ศึกษาถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุอย่างจริงจังในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในปี ค.ศ. 1920 ผลการศึกษาวิจัย สรุปได้ดังนี้
สาเหตุของอุบัติเหตุ ที่สำคัญมี 3 ประการ ได้แก่
1. สาเหตุที่เกิดจากคน (Human Cause) มีจำนวนสูงที่สุด คือ 88% ของการเกิดอุบัติเหตุทุกครั้ง ตัวอย่างเช่น การทำงานที่ไม่ถูกต้อง ความพลั้งเผลอ ความประมาท การมีนิสัยชอบเสี่ยงในการทำงาน เป็นต้น
2. สาเหตุที่เกิดจากความผิดพลาดของเครื่องจักร (Mechanical Failure) มีจำนวนเพียง 10% ของการเกิดอุบัติเหตุทุกครั้ง ตัวอย่างเช่น ส่วนที่เป็นอันตรายของเครื่องจักรที่ไม่มีเครื่องป้องกัน เครื่องจักร เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆชำรุดบกพร่อง รวมถึงการวางผังโรงงานไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ปลอดภัย เป็นต้น
3. สาเหตุที่เกิดจากธรรมชาติ (Acts of God) มีจำนวนเพียง 2 % เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ นอกเหนือการควบคุมได้ เช่น พายุ น้ำท่วม ฟ้าผ่า เป็นต้นในปี ค.ศ. 1931 Herbert W. Heinrich ได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง Industrial Accident Prevention ซึ่งเป็นการปฏิวัติแนวคิดเดิมเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุหรือเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงานอย่างสิ้นเชิง
เขาได้สรุปสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุ เป็น 2 ประการ ได้แก่
1. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts) เป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุคิดเป็นจำนวน85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด เช่น
1.1 การทำงานไม่ถูกวิธี หรือ ไม่ถูกขั้นตอน
1.2 การมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเช่นอุบัติเหตุเป็นเรื่องของเคราะห์กรรม แก้ไขป้องกันไม่ได้
1.3 ความไม่เอาใจใส่ในการทำงาน
1.4 ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
1.5 การมีนิสัยชอบเสี่ยง
1.6 การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของความปลอดภัยในการทำงาน
1.7 การทำงานโดยไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
1.8 การแต่งการไม่เหมาะสม
1.9 การถอดเครื่องกำบังส่วนอันตรายของเครื่องจักรออกด้วยความรู้สึกรำคาญ ทำงานไม่สะดวก หรือถอดออกเพื่อซ่อมแซมแล้วไม่ใส่คืน
1.10 การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไม่เหมาะกับงาน เช่น การใช้ขวดแก้วตอกตะปูแทนการใช้ค้อน
1.11 การหยอกล้อกันระหว่างทำงาน
1.12 การทำงานโดยที่ร่างกายและจิตใจไม่พร้อมหรือผิดปกติ เช่น ไม่สบาย เมาค้าง มีปัญหาครอบครัว ทะเลาะกับแฟน เป็นต้น
2. สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) เป็นสาเหตุรอง คิดเป็นจำนวน15% เท่านั้น เช่น
2.1 ส่วนที่เป็นอันตราย(ส่วนที่เคลื่อนไหว) ของเครื่องจักร ไม่มีเครื่องกำบังหรืออุปกรณ์ป้องกันอันตราย
2.2 การวางผังโรงงานที่ไม่ถูกต้อง
2.3 ความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยและสกปรกในการจัดเก็บวัสดุสิ่งของ
2.4 พื้นโรงงานขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ
2.5 สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัยหรือไม่ถูกสุขอนามัย เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอเสียงดังเกินควร ความร้อนสูง ฝุ่นละออง ไอระเหยของสารเคมีที่เป็นพิษ เป็นต้น
2.6 เครื่องจักรกล เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ชำรุดบกพร่อง ขาดการซ่อมแซมหรือบำรุง รักษาอย่างเหมาะสม
2.7 ระบบไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ชำรุดบกพร่อง เป็นต้น
ความสูญเสียจากอุบัติเหตุการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง ย่อมก่อให้เกิดความสูญเสียมากมาย นอกจากจะเกิดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย หรือเสียชีวิต หรือแม้แต่ทรัพย์สินเสียหาย อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรที่เกิดความเสียหาย ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงแล้ว ยังรวมถึงการสูญเสียเวลาในการผลิตที่ต้องหยุดและค่าใช้จ่ายอื่นๆ หรือแม้แต่เสียภาพพจน์ของบริษัทความสูญเสียหรือค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้คือ
1. ความสูญเสียทางตรง (Direct Loss)หมายถึง จำนวนเงินที่ต้องจ่ายไปอันเกี่ยวเนื่องกับผู้ได้รับบาดเจ็บโดยตรงจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือเป็นค่าเสียหายที่แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด ได้แก่
1.1 ค่ารักษาพยาบาล
1.2 ค่าทดแทนจากการได้รับบาดเจ็บ
1.3 ค่าทำขวัญ
1.4 ค่าทำศพ
1.5 ค่าประกันชีวิต
2. ความสูญเสียทางอ้อม (Indirect Loss)หมายถึง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ซึ่งส่วนใหญ่จะคำนวณเป็นตัวเงินได้) นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายทางตรงสำหรับการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง ได้แก่
2.1 การสูญเสียเวลาในการทำงานของ
2.1.1 คนงานหรือผู้บาดเจ็บ เพื่อรักษาพยาบาล
2.1.2 คนงานอื่นหรือเพื่อนร่วมงานที่ต้องหยุดชะงักชั่วคราว เนื่องจากช่วยเหลือผู้บาดเจ็บโดยการปฐมพยาบาล หรือนำส่งโรงพยาบาล อยากรู้อยากเห็น การวิพากษ์วิจารณ์ ความตื่นตกใจ
2.1.3 หัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา เนื่องจากช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ สอบสวน หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ บันทึกและจัดทำรายงานการเกิดอุบัติเหตุ จัดหาคนงานอื่นและฝึกสอนให้เข้าทำงานแทนผู้บาดเจ็บ หาวิธีแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิดซ้ำอีก
2.2 ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ได้รับความเสียหาย
2.3 วัตถุดิบหรือสินค้าที่ได้รับความเสียหายต้องทิ้ง ทำลายหรือขายเป็นเศษ
2.4 ผลผลิตลดลง เนื่องจากกระบวนการผลิตขัดข้อง ต้องหยุดชะงัก
2.5 ค่าสวัสดิการต่างๆของผู้บาดเจ็บ
2.6 ค่าจ้างแรงงานของผู้บาดเจ็บซึ่งโรงงานยังคงต้องจ่ายตามปกติ แม้ว่าผู้บาดเจ็บจะทำงานยังไม่ได้เต็มที่หรือต้องหยุดงาน
2.7 การสูญเสียโอกาสในการทำกำไร เพราะผลผลิตลดลงจากการหยุดชะงักของกระบวนการผลิต และการเปลี่ยนแปลงความต้องการของตลาด
2.8 ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า น้ำประปา และโสหุ้ยต่างๆที่โรงงานยังคงต้องจ่ายตามปกติ แม้ว่าโรงงานจะต้องหยุดหรือปิดกิจการหลายวันในกรณีเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
2.9 การเสียชื่อเสียงและภาพพจน์ของโรงงานนอกจากนี้ผู้บาดเจ็บจนถึงขั้นพิการหรือทุพพลภาพ จะกลายเป็นภาระสังคมซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย
ความสูญเสียทางอ้อมจึงมีค่ามหาศาลกว่าความสูญเสียทางตรงมาก ซึ่งปกติเรามักจะคิดไม่ถึง จึงมีผู้เปรียบเทียบว่า ความสูญเสียหรือค่าใช้จ่ายของการเกิดอุบัติเหตุเปรียบเสมือน “ภูเขาน้ำแข็ง” ส่วนที่โผล่พ้นน้ำให้มองเห็นมีเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ ในทำนองเดียวกันค่าใช้จ่ายทางตรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะเป็นเพียงส่วนน้อยของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดซึ่งผู้บริหารโรงงานจะมองข้ามมิได้การเกิดอุบัติเหตุก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมากทั้งต่อชีวิตของคนงานและทรัพย์สิน ทั้งที่คิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายอย่างเห็นได้ชัดเจน และที่เป็นค่าใช้จ่ายแฝงในรูปต่างๆ การสร้างสภาพการทำงานที่ปลอดภัยในโรงงานจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จของการบริหารงานในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะเป็นการป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการลดต้นทุนในการผลิตสินค้าแล้ว ยังทำให้ขวัญหรือกำลังใจของคนงานสูงขึ้น ผลผลิตและกำไรเพิ่มขึ้นด้วยในทางกลับกัน หากโรงงานใดมีการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โรงงานนั้นย่อมต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ขวัญและกำลังใจของคนงานตกต่ำลง ในที่สุดผลผลิตและกำลังการผลิตก็จะลดลง นั่นคือการบริหารงานที่ล้มเหลวดังนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่ผู้บริหาร จะต้องให้ความสำคัญต่อการป้องกันมิให้อุบัติเหตุเกิดขึ้น โดยการเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงาน และกำหนดเป็น “นโยบายของบริษัท” ที่ชัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
แนวทางในการป้องกันอุบัติเหตุการคิดหาแนวทางป้องกันอาจมีหลากหลายวิธี บ่อยครั้งที่แนวทางป้องกันอาจไม่ครอบคลุมทั้งหมด มีตกหล่นไปบ้าง ทําให้การป้องกันไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควรดังนั้น จึงต้องมีหลักในการช่วยหาแนวทางให้ครอบคลุมได้ทั้งหมด เพื่อจะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุที่ซ้ำรอยขึ้นมาอีกด้วยหลัก 3E กับ ตําแหน่งการป้องกัน
1) หลัก 3E ได้แก่ Engineering, Education และ Enforcement
(1) Engineering คือการใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร?มาจัดการ เช่น การออกแบบเครื่องจักรให้มีการใช้งานที่ปลอดภัย การติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายการวางผัง โรงงานและออกแบบสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(2) Education คือการให้การศึกษา หรือฝึกอบรมคนงาน ตลอดจนผู้ที่ เกี่ยวข้องในการทํางาน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้้องกันอุบัติเหตุการฝึกใช้เครื่องมือหรือ วิธีการทํางานที่ปลอดภัย
(3) Enforcement คือการออกมาตรการควบคุมบังคับให้คนงานปฏิบัติ ตามหากฝ่าฝึนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษเพื่อให้เกิดความสํานึกและหลีกเลี่ยงการกระทําที่ไม่ถูกต้องการใช้หลัก 3E นี้จะต้องดําเนินการให้ E ทั้ง 3 ไปพร้อมกัน จึงจะทําให้ การป้องกันอุบัติเหตุมีประสิทธิภาพสูงสุดถ้ามีการดําเนินการเฉพาะ E ตัวใดตัวหนึ่งก็จะเกิดปัญหาขึ้น เช่น เครื่องจักรที่ออกแบบมาดีมีเครื่องป้องกันอันตราย (Machine Guarding) ติดตั้งไว้คนงานอาจเห็นว่าเกะกะไม่จําเป็นจึงถอดออกเพราะขาดการฝึกอบรม หรือชี้แนะให้เห็นอันตรายที่เกิดขึ้น หากถอดเครื่องป้องกันอันตรายออก หรือว่ามีการอบรมมาอย่างดีแล้วแต่ขาดการออกกฎข้อบังคับ คนงานอาจเห็นว่าการ์ดนั้นเกะกะ ทําให้ทํางานไม่สะดวกจึงถอดทิ้งเสีย เพราะต้องการทํางานให้เร็วขึ้นทั้ง ๆ ที่รู้ว่าอันตรายแต่ก็ยอมเสี่ยงเพราะเข้าใจว่าจะสามารถเพิ่มผลผลิตได้ในทํานองเดียวกันแม้จะมีข้อบังคับแล้วหากคนงานไม่ได้รับการแนะวิธีการทํางานที่ถูกต้องปลอดภัยคนงานก็อาจจะ ปฏิบัติงานอย่างผิดวิธีเนื่องจากความไม่รู้เป็นเหตุหรือการทํางานที่ผิดพลาดไม่ถูกขั้นตอนเป็นผลทําให้ระบบป้องกันนั้นเสียหายไม่ทํางาน
2)หลักของ 5 ส. สู่ความปลอดภัย5 ส. สู่ความปลอดภัย เป็นการนํา ระบบ 5 ส. มาช่วยสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยในการทํางาน ระบบ 5 ส. มีกิจกรรมที่ต้องทํา 5 ประเภท ประกอบด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัยโดยมีรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมดังนี้
สะสาง คือการแยกชัดระหว่างของที่จําเป็นกับของไม่จําเป็น และกําจัดของ ที่ไม่จําเป็นทิ้ง ไป
สะดวก คือการจัดวางสิ่งของให้้เป็นระเบียบอยู่เสมอเพื่อง่ายต่อการนําไปใช้และการเก็บคืน ที่เดิม ดังคํากล่าวที่ว่า หายก็รู้อยู่ก็เห็น ดูแล้วเป็นระเบียบ
สะอาด คือการทําความสะอาด สถานที่อุปกรณ์สิ่งของเครื่องจักรให้สะอาดน่าดูอยู่เป็นนิจ
สุขลักษณะ คือสภาพที่สะอาดถูกลักษณะโดยการรักษาและปฏิบัติ 3 ส. แรกให้คงเดิมหรือ ดีขึ้นเสมอ
สร้างนิสัย คือการปฏิบัติตามระเบียบวินัยที่กําหนดขึ้นมาจนติดเป็นนิสัย5 ส. เป็นระบบพื้นฐานในการบริหารงานความปลอดภัยในการทํางานอยาางมีประสิทธิภาพ โดยถ้าแบ่ง
ปัจจัยการผลิตออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มสิ่งมีชีวิต (คน) และกลุ่มสิ่งไม่มีชีวิต (วัสดุและเครื่องจักร) จะเห็นได้ว่าเมื่อปัจจัยการผลิตทั้งสองกลุ่มได้รับการบริหารจัดการอย่างถูกต่อง จะสางผลให่การผลิตเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพความปลอดภัยในการทํางานเป็นเรื่องที่ครอบคลุมกว้างกว่า หลักของ 5 ส. เพราะเกี่ยวข่อง กับการกําจัดสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น ความรกรุงรังไม่เป็นระเบียบของการจัดเก็บวัสดุสิ่งของ เครื่องจักรไม้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนที่เคลื่อนไหว ระบบไฟฟ้าชํารุดบกพร่อง แสงสว่างไม่เพียงพอ เป็นต้น และการกําจัดการกระทําที่ไม่ปลอดภัย เช่น ทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง ประมาท ปฏิบัติงานโดยขาดความรู้ ความชํานาญ ละเลยกฎระเบียบ เป็นต้น
ดังนั้นความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ทํางาน ในส่วนของ การสร้างเสริมความปลอดภัยในการทํางาน จึงต้องจัดเก็บวัสดุสิ่งของอย่างเป็นระเบียบ ในส่วนนี้จึงตรงกับ 3 ส. คือ สะสาง สะดวก สะอาด ส่วนการขจัดการกระทําที่ไม่ปลอดภัยนั้น ต้องเริ่มจากการพัฒนาจิตสํานึก และสะสมทัศนคติที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นในตัวของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ทํางานอย่างปลอดภัย นิสัยรักความ สะอาดและมีระเบียบวินัยจะแสดงถึงการเป็นผู้มีจิตสํานึกและทัศนคติที่ดีต้อความปลอดภัย เช่นเดียวกับการ ทํา 3 ส. แรกอย่างต้อเนื่องดังรูปภาพอ้างอิง : http://thaisafetyengineer.blogspot.com/2014/04/blog-post_4782.html