ทำไม ต้อง BBS

กุลิสรา กระลาม 
ที่ปรึกษาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 
KULITSARA.K@NPC-SE.CO.TH 
บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอนไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด 


BBS (Behavior Based Safety) : ทำไมต้อง BBS ?

       ภาระกิจหลักของผู้คนในแวดวงด้านความปลอดภัย คือการลดการเกิดอุบัติเหตุและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ปลอดภัย ซึ่งมักเป็นกังวลกับพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน คำที่เรามักจะได้ยิน “พฤติกรรมและการเกิดอุบัติเหตุมันคือสิ่งที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน”การพัฒนาความปลอดภัยโดยมุ่งเน้นที่พฤติกรรม (Behavior Based Safetyหรือ BBS) เป็นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ในการส่งเสริม สนับสนุนพฤติกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัย หรือเป็นกระบวนการที่จะสร้างความร่วมมือด้านความปลอดภัยระหว่างผู้บริหารและพนักงานทุกคนอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญที่ “คน” และการทำงาน รวมถึงพฤติกรรมความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

 

 

       BBS มุ่งเน้นไปที่สิ่งที่คนทำ วิเคราะห์ว่าทำไมพวกเขาทำมัน และเนื่องจากวิธีการกระทำของคนเราขึ้นอยู่กับวิธีคิด BBS จึงเน้นการพัฒนาวิธีคิดที่ปลอดภัย เพื่อให้มีการกระทำที่ปลอดภัย โดยใช้กลยุทธ์เครื่องมือต่างๆ ของ BBS ในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่คนทำ BBS จะประสบความสำเร็จ ต้องได้รับความร่วมมือจากพนักงานทุกคน รวมถึงการเอาใจใส่ การมีส่วนร่วมและการสนับสนุนกิจกรรม BBS ของผู้บริหาร รวมถึงไม่จำกัดเงื่อนไข เช่น เวลาในการร่วมกิจกรรม, เงินเดือนพนักงานและผู้รับเหมารายย่อย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในองค์กร การเปลี่ยนแปลงนโยบาย วิธีการหรือระบบที่แน่นอนที่สุดยังจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นไม่สามารถทำได้โดยไม่ต้องลงทุน หรือไม่ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจเหล่านั้น

       BBS ไม่ได้ตั้งอยู่บนสมมติฐานความรู้สึกส่วนบุคคลหรือความรู้ทั่วไป จะประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน BBS ต้องดำเนินการอยู่บนพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ว่าวิธี หรือแนวทางของพฤติกรรมความปลอดภัยทำงานอย่างไร การวิเคราะห์พฤติกรรมเป็นวิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การวิเคราะห์พฤติกรรมประยุกต์เป็นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง เช่น ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ที่ทำเช่นนี้เรากำลังศึกษาความสัมพันธ์การทำงานหรือระบบ ระหว่าง

       · การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม คือสิ่งเร้า หรือสิ่งที่จะนำไปสู่พฤติกรรม

       · และผลที่ตามมาของพฤติกรรมคือการตอบสนองในเชิงบวกหรือเชิงลบ 

       ความท้าทายของการสร้างการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ด้วยการพัฒนาความปลอดภัยโดยมุ่งเน้นที่พฤติกรรม BBS ขั้นตอนพื้นฐานมีดังต่อไปนี้:

 

1.ศึกษาเพื่อให้เข้าใจต้นทุนเดิมวัฒธรรมความปลอดภัยขององค์กร

       การปรับแต่งการดำเนินงาน BBS ให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับลักษณะหรือวัฒนธรรมเฉพาะตัวขององค์กร ด้วยการ “รู้เขารู้เรา”รู้ว่าวัฒธรรมความปลอดภัยองค์กรเป็นอย่างไร อะไรคือช่องว่างที่ต้องเพิ่มเติม และเพิ่มเติมการดำเนินงานอย่างไรถึงเหมาะสมกับองค์กร รูปแบบการดำเนินงาน BBS ในองค์กรหนึ่งทำและประสบผลสำเร็จ หากนำแบบอย่างการดำเนินงานเช่นนั้นมาใช้ต่างองค์กร ต่างกลุ่มธุรกิจ ต่างต้นทุนเดิมขององค์กร อาจไม่ประสบผลสำเร็จเหมือนกัน รูปแบบการดำเนินงาน BBS จึงควรมีความยืดหยุ่น สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับแต่ละองค์กร

2.ดำเนินงาน BBSให้เกิดขึ้นจริงในองค์กร

       พนักงานต้องรู้สึกว่า BBS มีประโยชน์กับทุก ๆ คน และการที่พนักงานจะเห็นถึงประโยชน์จากการดำเนินงาน BBS ได้นั้น พนักงานต้องเข้าใจถึง “หัวใจ” ของ BBS เสียก่อนว่า BBS คืออะไร? ทำไปทำไม?ทำแล้วจะได้อะไร?และจะต้องทำอย่างไร? โดยกระบวนการสื่อสารด้วยวิธีที่เหมาะสมสำหรับแต่ละองค์กร ไม่เช่นนั้นพนักงานอาจเกิดความกังวลว่าเอากิจกรรมใหม่มาเพิ่มให้นอกเหนือจากงานประจำ และทำให้กระบวนการมีส่วนร่วมของพนักงานไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้

3. การวัดการดำเนินงาน และประสิทธิผลของ BBS ในองค์กร

       ควรมีการวัดผลกระบวนการดำเนินงาน BBS เป็นระยะ โดยการวัดการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อรักษาความสม่ำเสมอและความต่อเนื่องของกิจกรรมโดยรวมสำหรับพนักงานทุกคน ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมกับเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน สร้างเครื่องมือให้พนักงานเห็นถึงประโยชน์การดำเนินงาน BBSและได้นำไปถ่ายทอดต่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงกระบวนการสังเกตการณ์การทำงานเป็นไปอย่างมีคุณภาพ วัดการแสดงออกถึงการเอาใจใส่ การมีส่วนร่วม และการสนับสนุนกิจกรรม BBS ของผู้บริหาร การวัดประสิทธิผลของ BBS โดยการติดตามแนวโน้มการพบเห็นพฤติกรรมเสี่ยงในองค์กรลดลงมากน้อยเพียงใด โดยมองผ่านเครื่องมือกระบวนการการสังเกตการณ์การทำงาน ติดตามจำนวน NearMiss และอุบัติเหตุซึ่งมีพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานเป็นสาเหตุร่วมอยู่ด้วย และกำหนดความต้องการถึงจำนวน “พฤติกรรมเสี่ยงเป้าหมาย”ที่ต้องการลดหรือขจัดเป็นพิเศษจากองค์กร การใช้เกณฑ์เพื่อวัดประสิทธิผลการดำเนินงาน BBS ควรมีการติดตามเป็นระยะ โดยตัวอย่างและผลลัพธ์ที่เกี่ยวกับเกณฑ์เหล่านี้ จะถูกบันทึกและกลายเป็นส่วนหนึ่งของฐานข้อมูล และถูกนำไปใช้ในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กรต่อไป


4. การแสดงความคิดเห็นและผลกระทบอื่นๆ ในการดำเนินงานที่ผ่านมา

       ฐานข้อมูลจะต้องได้รับการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่องและชัดเจน เพื่อให้มีการพัฒนาปรับปรุงที่ตรงประเด็น โดยต้องมีการสื่อความผลลัพธ์ของ BBS ให้ทุกคนทราบอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ แสดงออกถึงความเชื่อมั่นว่า BBS เป็นประโยชน์ต่อองค์กรในการลดอุบัติเหตุ แสดงออกถึงการเอาใจใส่ต่อความคืบหน้า ข้อคิดเห็น แนวทางในการพัฒนาปรับปรุงระบบและผลลัพธ์ของ BBS อยู่เสมอ จัดให้มีการฉลองความสำเร็จร่วมกันตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ และได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาอุปสรรค BBS จากที่ได้ดำเนินงานและร่วมกันสะท้อนสิ่งที่อยากเห็นในอนาคต เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน BBSต่อไปอย่างยั่งยืน 

       แล้วทำไมวันนี้ทุกองค์กรจึงควรนำ BBS ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาความปลอดภัยโดยมุ่งเน้นที่พฤติกรรม ?

 

 


       พื้นฐานในการลงทุนสร้าง ปรับปรุงเทคโนโลยี และระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยในทุกองค์กรเป็นสิ่งที่จำเป็นและยังคงต้องดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ “การลงทุนสร้างภูมิคุ้มกันในกระบวนการคิด” ให้เกิดวิธีทำ พฤติกรรมที่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการสูญเสีย การบาดเจ็บ การสูญสัยทรัพย์สิน หากเทียบค่าใช้จ่ายในการลงทุนนั้น เป็นการตัดสินใจที่คุ้มในการที่จะรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่ประเมินหาค่ามิได้และได้สร้างวัฒธรรมความปลอดภัยขององค์กรให้เกิดขึ้นจริงอย่างยั่งยืน

 

 

*************************

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิงจาก

· BBS (Behavior Based Safety) - NPC Safety and Environmental Service Co.,Ltd.

· Cambridge Center for Behavioral Studies, Inc.

· http://www.aseanoshnet.org

· Wikipedia, the free encyclopedia

 

 
 
ที่มา : www.npc-se.co.th     7ต.ค.2558
Visitors: 595,558