SDS มาจากคำเต็มว่า Safety Data Sheet

คำว่า SDS มาจากคำเต็มว่า Safety Data Sheet ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาถึงแม้จะมีหน่วยงานใช้คำๆ นี้ก็ตาม

แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับอีกคำหนึ่ง คือ MSDS หรือคำเต็มว่า Material Safety Data Sheet โดยเฉพาะในประเทศ

ไทยจะนิยมใช้คำหลังนี้มาก อย่างไรก็ตามเมื่อระบบ GHS (Globally Harmonized System of Classification and

Labeling of Chemicals) กำหนดให้ใช้คำว่า SDS ให้เหมือนกันทั่วโลก คำๆ นี้จึงถูกใช้ในประเทศไทย (หมายเหตุ : ทั้ง 2

คำนี้มีความหมายเหมือนกัน)

SDS เป็นเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี ในกฏหมายความปลอดภัยในการทำงาน กับสารเคมี

อันตรายของกระทรวงแรงงาน กำหนดเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี โดยเรียกเป็น แบบ สอ. 1

รูปแบบของ SDS

ในที่นี้จะนำรูปแบบ SDS ที่ใช้ในระบบ GHS มาเสนอ ส่วนรูปแบบที่กำหนดใน สอ. 1 สามารถดูได้จากตัว

กฎหมายที่ระบุข้างต้น หรือสั่งพิมพ์ทาง www.oshthai.org

GHS กำหนดรูปแบบ SDS ประกอบด้วยข้อมูล 16 หัวข้อ (Headings) เรียงตามลำดับดังนี้

1. ชื่อสารเคมีหรือสารผสมและชื่อผู้ผลิต (Identification)

2. ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย (Hazard identification)

3. ส่วนประกอบ/ข้อมูลของส่วนผสม (Composition/information on ingredients)

4. การปฐมพยาบาล (First-aid measures)

5. มาตรการในการดับเพลิง (Fire-fighting measures)

6. มาตรการการจัดการเมื่อเกิดการหกรดหรือรั่วไหล (Accidental release measures)

7. การใช้และการเก็บรักษา (Handling and storage)

8. การควบคุมการสัมผัส/การป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Exposure control/personal protection)

9. คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี (Physical and chemical properties)

10. ความคงตัวหรือความเสถียรและเกิดปฏิกิริยา (Stability and reactivity)

11. ข้อสนเทศด้านพิษวิทยา (Toxicological information)

12. ข้อสนเทศด้านนิเวศวิทยา (Ecological information)

13. ข้อพิจารณาในการกำจัดหรือทำลาย (Disposal considerations)

14. ข้อสนเทศเกี่ยวกับการขนส่ง (Transport information)

15. ข้อสนเทศด้านกฎหมาย (Regulatory information)

16. ข้อสนเทศอื่นๆ รวมทั้งข้อสนเทศเกี่ยวกับการจัดทำและการแก้ไขปรับปรุง SDS (Other information)

ประโยชน์ของ SDS

อาหารบางอย่างมีผลต่อการดูดซึมของสารเคมีบางชนิดด้วย สารเคมีที่เข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจและถูก

ขับโดยเสมหะที่ทางเดินหายใจ

SDS เป็นข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

1. ใช้เป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับใช้สารเคมีในโรงงานได้อย่างปลอดภัย

2. ใช้เป็นสื่อประกอบการฝึกอบรมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในโรงงานทราบและเข้าใจว่าสารเคมีที่ใช้อยู่นี้มีอันตราย

อะไร มีวิธีป้องกันอย่างไร

3. นำข้อมูลใน SDS มาสื่อสารกับคนภายในและภายนอกโรงงาน

4. ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบ มอก./OHSAS 18001 , ILO – OSH 2001 , และ GHS ขึ้นในโรงงาน

  คลิ๊กเข้าไปดูตัวอย่างได้ ที่ 
 
 
 
 
 
 
Visitors: 595,760