ชาร์ป นิคมอุตสาหกรรมเวลโก

2012

ผมมีโอกาสเป็นผู้ช่วยไปร่วมการบรรยาย กับท่าน อาจารย์ สมชาย หลักสูตรเกี่ยวกับ การส่งเสริมความปลอดดภัย ที่บริษัท ชาร์ป ที่ นิคมอุตสาหกรรม เวลโก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน 2555
ท่านอาจารย์ สมชาย บรรยาย เกี่ยวกับ ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย กฏหมาย บทบาทหน้าที่ และความสำคัญ ของ คปอ จป หัวหน้างาน และ ความปลอดภัยมีความสำคัญอย่างไร การมีส่วนช่วยสนับสนุนเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานประกอบการ

ส่วนผม เอง อาจารย์สมชาย มอบหมาย สร้างความบันเทิง กิจกรรมสันทนาการ กับเกมละลายพฤติกรรม และอีก 40 นาที เกี่ยวกับ การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย และ การทำกิจกรรม ซึ่งต้องปฏิบัตอย่างสม่ำเสมอ ซ้ำ ๆ บ่อย ให้เป็นนิสัย ผมก็เน้นกิจกรรม การทำ JSA และ กิจกรรม KYT การหยั่งรู้ระวังภัย ปากย้ำ มือชี้ อุบัติเป็นศูนย์ อธิบาย ขั้นตอนและการทำ แบบคราว ๆ ไว้ให้ทำตอนประชุม เปลี่ยนกะ

ทำให้ผมนึกถึงคำสอนของ อ.วรภัทร์ ภู่เจริญ เคยบอกว่า “ต้องให้ความรัก ก่อนให้ความรู้” ผมก็เลยเอามาเปรียบเทียบจากประสบการณ์ในการทำงานจริง คำตอบก็เป็นอย่างที่อาจารย์บอก “องค์กรใดก็ตามถ้าผู้บริหารได้แสดงความห่วงใย ใส่ใจ ความปลอดภัย ออกมจากใจจริง พนักงานจะสามารถสัมผัสได้ และจะร่วมแรงร่วมใจกันทำพฤติกรรมด้านความปลอดภัย ด้วยจิตสำนึกที่ดี”

การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยนั้นในหลายๆ องค์กร ก็มีความพยายามหาวิธีการต่างๆนำมาใช้ เช่น การสร้างมาตรฐานต่างๆ, อบรมความปลอดภัย, ตรวจสอบความปลอดภัย, สนทนาความปลอดภัย (safety talk), จัดบอร์ด, การสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัย และอื่นๆ ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ หลายครั้งที่เราลืมนึกไปว่า เราออกคำสั่งมากไปหรือเปล่า, พนักงานเบื่อหรือไม่ที่ต้องปฏิบัติตาม, เราจัดหนักไปหรือเปล่า, พนักงานทราบหรือไม่ว่าทำไมเขาต้องปฏิบัติ, พนักงานอยากที่จะเสนอแนะอะไรบ้างหรือไม่, อะไรเป็นสาเหตุพื้นฐานของพฤติกรรมเสี่ยง และในตอนเราไม่ได้ตรวจสอบพนักงานยังคงมีพฤติกรรมปลอดภัยเหมือนที่เราเห็นหรือไม่

“การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย” จากวิธีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี แต่ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผู้บริหาร และหัวหน้างาน ควรที่จะเพิ่มเติมโดยการ “แสดงความรัก ความห่วงใย เข้าใจ ออกมาจากใจด้วยการกระทำที่ชัดเจน, ฟังให้มาก, พูดให้เขาคิดแต่ไม่สั่งให้เขาทำ, เสนอแนะให้เขายอมรับ และรับฟังที่เขาเสนอ, ชมเชยเมื่อมีโอกาส ไม่ต่อว่าถ้าต่อหน้าคนอื่น, เครียดไปไม่บรรเจิด สนุกเถิดจะเกิดผล”

การสร้างจิดสำนึกด้านความปลอดภัยต้องใช้เวลา การทำอย่างสม่ำเสมอ ถูกต้อง และได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร จะช่วยให้งานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยประสบความสำเร็จได้ อย่ารีบร้อน หรือผลักดันมากเกินไป พนักงานจำเป็นต้องใช้เวลาการปรับเปลี่ยน และซึมซับการสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย เพื่อให้กลายเป็นนิสัย และพฤติกรรมความปลอดภัยติดตัวตลอดไป


ยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจกรรม ทั้ง 2 นะครับ winai.d@fujiace.com
ผมเก็บภาพและบรรยายกาศมาให้ดูกันดีกว่า เผื่อ เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ สนใจ ผมยินดีให้คำปรึกษา แลกเปลี่ยน ความรู้ กันและกัน ผมรู้ ผมทราบก็เผยแพร่ แค่ในบริษัท ผมอยากให้เพื่อนพนักงานตามบริษัท ได้รู้ได้ทราบ มีการนำไปเผยแพร่ต่อ เพื่อนพนักงานจะได้มีความปลอดภัยกันทุกคน อุบัติเป็นศูนย์


เข้าไปดูภาพกันเต็ม ที่ http://www.bangpoosociety.com/forum/index.php?topic=2005.msg4165#msg4165

 

 

 

 

 

 

Visitors: 569,563