จิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน Safety Mind

 

หลักสูตร จิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน  ( Safety Mild  )

หลักการและเหตุผล

        การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน  Safety Mind แทนคำว่า Safety Awareness  ความตระหนักความปลอดภัย เราได้ยินคำนี้ ตั้งแต่ กระทรวงแรงงานประกาศให้ปี 2558 เป็นปีแห่งการรณรงค์ สร้างจิตสำนึก ความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระชนมายุครบรอบ 60 พรรษา

           เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ ชู 'เซฟตี้มายด์'ปลูกจิตสำนึกความปลอดภัย ... ชู 'เซฟตี้มายด์'รณรงค์สร้างจิตสำนึกความปลอดภัยแรงงานในสถานประกอบการ ตลอดปี 2558

          ความปลอดภัย ( Safety ) ถือเป็นหัวใจของการทำงานในทุกขั้นตอน   เพราะนอกจากจะป้องกันความสูญเสียทั้งชีวิตพนักงาน ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มาติดต่อตลอดจนทรัพย์สินของบริษัทแล้ว  ยังเป็นเรื่องที่ พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 และกฏหมายบัญญัติไว้อย่างเข้มงวดหากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษทั้งแพ่งและอาญา

          การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ต้องการนั้น  จิตสำนึกความปลอดภัยของบุคลากรทุกคนตั้งแต่พนักงานระดับล่างสุดจนถึงผู้บริหารสูงสุดในองค์กร นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นและจุดสำคัญของกระบวนการบริหารความปลอดภัยในการทำงานทั้งหมด  เนื่องจากโดยธรรมชาติของมนุษย์ การที่จะทำหรือไม่ทำสิ่งใดย่อมมีสาเหตุมาจากทัศนคติ มุมมองและความรู้สึกต่อประเด็นหรือสิ่งนั้นๆ   ดังนั้นการอบรม รณรงค์ส่งเสริมให้ทุกคนในองค์กรมีจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงานก่อน ( Safety First) ที่จะลงมือปฏิบัติงานใดๆ จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นยิ่งประการหนึ่งที่จะทำของการบริหารความปลอดภัยในองค์กรให้สามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

      1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกว่าความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งที่จะต้องตระหนักก่อนการทำงานและต้องระลึกถึงอยู่เสมอในขณะที่ทำงาน 

       2    เพื่อความปลอดภัยของตนเอง เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาผู้บังคับบัญชา  บุคคลภายนอกและทรัพย์สินขององค์กร

      3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงความสูญเสียและผลกระทบอย่างมหาศาลจากการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงในแต่ละครั้ง

      4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง

      5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ตระหนักเรื่องความปลอดภัย คิดและทำ ด้วยตัวเอง

หัวข้อการบรรยาย

             หลักในการทำงานให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์    ( ZERO ACCIDENT )

             องค์กรทุกๆองค์กรคาดหวังอะไร จากการทำงานของพนักงาน

             การทำงานด้วยใจ กับการทำงานด้วยใจไม่รัก

             ความหมายและคำจำจัดความด้านอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย 

            Incident , Near miss , Accident

             ความสูญเสียและผลกระทบจากอุบัติเหตุ ( Accident )

          ความสูญเสียทางตรง

           ความสูญเสียทางอ้อม

           สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

          การใช้รูปภาพ 4 แบบ เพื่อสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน

             หลัก 3E ในการป้องกันอุบัติเหตุ

             พูดให้คิด ดีกว่าบอกให้เขาทำ  "What if "

         เทคนิคการทำอุบัติเหตุ เป็น ศูนย์   

                     Safety Program by  JSA & KYT  

                     Safety Patrol

                     Safety Talk

                     Safety week

                      Lockout  & Tagout

              กรณีศึกษา เหตุการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในการทำงาน  วิเคราะห์หาสาเหตุ แนวทางป้องกันแก้ไขเชิงรุก

 ผู้เข้าอบรม   ผู้บริหาร  ผจก. หน.แผนก หน.งาน  วิศวกร / จนท. และพนักงานทุกหน่วยงาน

ระยะเวลาอบรม   1 วัน ( 09.00 น - 16.00 น. )

วิทยากร   :  วินัย  ดวงใจ

 

Visitors: 586,231