เส้นทางหนีไฟ หนทางความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม

เส้นทางหนีไฟ หนทางความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม


แม้ปัญหาไฟหม้จะไม่เกิดขึ้นบ่อย จนบางทีเราอาจละเลยเส้นทางที่สำคัญในการอพยพผู้คนออกจากอาคาร นั่นคือเส้นทางหนีไฟ แต่สำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ทางหนีไฟ ถือว่ามีความสำคัญมากในการอพยพผู้คนออกจากอาคารเวลาเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ ซึ่งเส้นทางหนีไฟที่ปลอดภัย ย่อมจะช่วยชีวิตพนักงานได้มากเลยทีเดียว ในบทความนี้ทางพีดีเอสจะพาทุกท่านไปเรียนรู้ความสำคัญของเส้นทางหนีไฟ

เส้นทางหนีไฟ หมายถึง ทางที่ต่อเนื่องและไม่มีอุปสรรคไม่ว่าจากตำแหน่งใดๆ จากอาคารไปยังทางสาธารณะ หรือจุดปลอดภัยที่มีทางนำไปสู่ทางสาธารณะได้ในอาคาร โดยตลอดเส้นทางแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

      1. ทางไปสู่ทางหนีไฟ

      2. ทางหนีไฟ

      3. ทางปล่อยออก


องค์ประกอบของเส้นทางหนีไฟ
1.ผนังบริเวณเส้นทางหนีไฟ ต้องมีอัตราทนไฟสูง หรือต่อต้านการลุกลามของไฟ
2.ประตูต้องทนไฟตามมาตรฐาน
3.การแบ่งส่วนพื้นที่ควบคุมควัน ไม่ให้ควันแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ
4.ทางเดินต้องกว้างขวาง และพื้นต้องทนต่อความร้อนหรือไฟไหม้
5.มีอุปกรณ์ดับเพลิงตั้งตามจุดต่างๆ
6.บันไดต้องออกแบบมาสำหรับการหนีหรืออพยพคนไปยังทางออก
7.ระบบควบคุมควันแบบแบ่งส่วน ระบายควันไฟไปยังส่วนอื่นๆ
8.ไม่มีสิ่งของที่เป็นเชื้อเพลิงวางอยู่ในเส้นทางหนีไฟ
9.โครงสร้างบริเวณเส้นทางหนีไฟ ต้องทนไฟและความร้อนสูงได้ เพื่อไม่ให้คานถล่มมา
10.ต้องมีเครื่องหมายหนีไฟตามเส้นทาง เพื่อนำทางพนักงานทุกคนไปยังทางออกฉุกเฉิน
12.ต้องมีไฟฉุกเฉินตามเส้นทางหนีไฟที่สว่างเพียงพอในการอพยพ

เมื่อเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือการอพยพทุกคนไปยังจุดรวมพล โดยใช้เส้นทางหนีไฟ ซึ่งเส้นทางหนีไฟที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย ย่อมจะช่วยให้พนักงานทุกคนออกจากตัวอาคารได้อย่างปลอดภัย ลดการสูญเสียชีวิต

 

http://www.pdsthailand.com

มาตรฐานบันไดหนีไฟตาม พรบ.การควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
การสร้างบันไดหรือบันไดหนีไฟในอาคารนั้น ต้องมีมาตรฐานการสร้างบันได ตามพรบ.การควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กำหนด มิเช่นนั้นหากละเลยอาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้อาคารได้ ในอาคารขนาดใหญ่ อาทิ โรงมหรสพ หอประชุม โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล หอสมุด ห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ท่าอากาศยาน สถานีขนส่งมวลชน ที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงเกิน 1 ชั้น นอกจากมีบันไดตามปกติแล้ว จำเป็นต้องมีทางหนีไฟโดยเฉพาะอย่างน้อยอีกหนึ่งทาง และต้องมีทางเดินไปยังทางหนีไฟนั้นได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง
สำหรับอาคารสาธารณะที่มีชั้นใต้ดินตั้งแต่ 1 ชั้น ขึ้นไป นอกจากมีบันไดตามปกติแล้ว จะต้องมีทางหนีไฟโดยเฉพาะอย่างน้อยอีกหนึ่งทางด้วย อาคารที่มีชั้นใต้ดินตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป ซึ่งสำหรับบันไดหนีไฟนั้นต้องทำด้วยวัสดุทนไฟและถาวร มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร และไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร และลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร ชานพักกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได มีราวบันไดสูง 90 เซนติเมตร ห้ามสร้างบันไดหนีไฟเป็นแบบบันไดเวียนพื้นหน้าบันไดหนีไฟต้องกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได และอีกด้านหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ในกรณีที่ใช้ทางลาดหนีไฟแทนบันไดหนีไฟ ความลาดชันของทางหนีไฟดังกล่าวต้องมีความลาดชันไม่เกินร้อยละ 12 ของพื้นที่

บันไดหนีไฟภายในอาคามาตรฐานบันไดหนีไฟรที่ไม่ใช่อาคารสูง ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร มีผนังที่ก่อสร้างด้วยวัสดุทนไฟและถาวรกั้นโดยรอบ เว้นแต่ส่วนที่เป็นช่องระบายอากาศและช่องประตูหนีไฟ และแต่ละชั้นต้องมีช่องระบายอากาศที่เปิดสู่ภายนอกอาคารได้มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.40 ตารางเมตร โดยต้องมีแสงสว่างให้เพียงพอทั้งกลางวันและกลางคืน บันไดหนีไฟภายในอาคาร ที่เป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่ไม่สามารถเปิดช่องระบายอากาศได้ ต้องมีระบบอัดลมภายในช่องบันไดหนีไฟที่มีความดันลมขณะใช้งานไม่น้อยกว่า 38.6 ปาสกาลมาตร ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ และบันไดหนีไฟที่ลงหรือขึ้นสู่พื้นของอาคารนั้นต้องอยู่ในตำแหน่งที่สามารถออกสู่ภายนอกได้โดยสะดวก
ส่วนตึกแถวหรือบ้านแถวที่มีจำนวนชั้นไม่เกิน 4 ชั้น หรือสูงไม่เกิน 15 เมตรจากระดับถนน บันไดหนีไฟจะอยู่ในแนวดิ่งก็ได้แต่ต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น โดยมีความกว้างไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ระยะห่างของขั้นบันไดแต่ละขั้นไม่มากกว่าที่ตั้งบันไดหนีไฟต้องมีระยะห่างระหว่างประตูห้องสุดท้ายด้านทางเดินที่เป็นทางตันไม่เกิน 10 เมตร ระยะห่างระหว่างบันไดหนีไฟตามทางเดินต้องไม่เกิน 60 เมตร ต้องมีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงสุดหรือดาดฟ้าสู่พื้นดินถ้าเป็นบันไดหนีไฟภายในอาคารและถึงพื้นชั้น 2 ถ้าเป็นบันไดหนีไฟภายนอกอาคาร และประตูของบันไดหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร สามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ต้องเป็นบานเปิดชนิดผลักเข้าสู่บันไดเท่านั้น

ชั้นดาดฟ้า ชั้นล่างและชั้นที่ออกเพื่อหนีไฟสู่ภายนอกอาคารให้เปิดออกจากห้องบันไดหนีไฟพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ชนิดที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง ประตูหรือทางออกสู่บันไดหนีไฟต้องไม่มีขั้นหรือธรณีประตูหรือขอบกั้น นอกจากนี้ยังต้องมีป้ายเรืองแสงหรือเครื่องหมายไฟแสงสว่างด้วยไฟสำรองฉุกเฉินบอกทางออกสู่บันไดหนีไฟ ติดตั้งเป็นระยะตามทางเดินบริเวณหน้าทางออกสู่บันไดหนีไฟ และทางออกจากบันไดหนีไฟ สู่ภายนอกอาคารหรือชั้นที่มีทางหนีไฟได้ปลอดภัย โดยป้ายดังกล่าวต้องแสดงข้อความทางหนีไฟ เป็นอักษรมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร หรือเครื่องหมายที่มีแสงสว่างและแสดงว่าเป็นทางหนีไฟให้ชัดเจนอีกด้วย

 

เส้นทางหนีไฟ

เส้นทางหนีไฟ
เส้นทางหนีไฟ (Means of Egress) หมายถึง เส้นทางที่ต่อเนื่องและไม่มีอุปสรรค สามารถเข้าถึงได้ไม่ว่าจากจุดใดๆ ในอาคารเพื่อไปยังจุดปลอดภัย (Point of Safety)
เส้นทางหนีไฟประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. ทางไปสู่ทางหนีไฟ (Exit Access) หมายถึง พื้นที่ใดๆ ภายในอาคารที่สามารถใช้เป็นเส้นทางเพื่อเคลื่อนที่ไปสู่ทางหนีไฟ (Exit)
2. ทางหนีไฟ (Exit) หมายถึงส่วนที่กั้นแยกออกจากส่วนอื่นๆ ของอาคารด้วยโครงสร้างที่มีการป้องกันไฟ โดยทางหนีไฟจะหมายรวมถึงประตูหนีไฟ บันไดหนีไฟและทางลาดเอียงที่มีการปิดล้อมอย่างเหมาะสม
3. ทางปล่อยออก (Exit Discharge) หมายถึง จุดปล่อยออกจากทางหนีไฟ เป็นจุดเชื่อมต่อทางหนีไฟกับ ทางสาธารณะ โดยทางปล่อยออกต้องปลอดภัยและมีขนาดใหญ่เพียงพอ ต่อการอพยพคนออกจากอาคาร
หลักพื้นฐานในการจัดเตรียมเส้นทางหนีไฟ ประกอบด้วย
• ต้องมีเส้นทางหนีไฟอย่างน้อย 2 ทางเสมอ ต้องคานึงอยู่เสมอว่าการหนีไฟต้องมีทางเลือก
• เส้นทางหนีไฟต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทาให้เป็นอุปสรรค ต้องสามารถใช้หนีไฟไต้ตลอดเวลา
• เส้นทางหนีไฟต้องมีป้ายที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไม่ว่าอยู่จุดใดของอาคาร
• เส้นทางหนีไฟต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉิน
เส้นทางหนีไฟ ต้องมีจานวนเพียงพอกับจานวนคน เพื่อให้สามารถอพยพหนีไฟออกจากอาคารได้ภายในเวลาที่กาหนด
ที่มา : คู่มือการปฏิบัติงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552

Visitors: 589,428